Carmob Rider กับข้อคิดสำคัญสำหรับ Rider ที่จะยึด Platform เป็นช่องทางทำมาหากินหลัก

พอดีผมได้มีโอกาสนั่งอ่าน ข่าวเกี่ยวกับ การรวมตัวประท้วงของกลุ่มคนขับรถบริการส่งพัสดุ ของบริษัท ลาลามูฟ ที่มีการนัดหมายจัดการชุมนุม คาร์ม็อบหน้าสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่อาคารสาทรธานี เพื่อประท้วงหลังบริษัทปรับลดค่ารอบวิ่งโดยไม่แจ้งล่วงหน้า

โดยเนื้อหาข่าวน่าสนใจ และมันเกิดขึ้นอีกครั้งแล้ว กับการปรับแบบนี้ของแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ที่ต้องปรับธุรกิจให้เข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง ที่ไม่ใช่มามัวแต่ เผาเงินจากนักลงทุนอีกต่อไป

ซึ่งจากเคสของ ลาลามูฟ คุณ อนุกูล ราชกุณา เลขาธิการสหภาพไรเดอร์ ให้ข้อมูลว่า บริษัทได้ทำการปรับลดค่ารอบโดยไม่แจ้งไรเดอร์มา 5 ครั้ง ซึ่งมีไรเดอร์ที่ได้รับผลกระทบกว่า 20,000 คน

ตัวอย่างเช่น รถยนต์ 4 ประตู เดิมได้ค่ารอบกิโลเมตรแรก 99 บาท กิโลเมตรถัดไป 12 บาท แต่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้ค่ารอบกิโลเมตรแรก 79 บาท และ กิโลเมตรถัดไปเหลือ 9 บาท

การรวมตัวประท้วง(อีกครั้ง)ของไรเดอร์ที่ถูกลดรายได้จากแพล็ตฟอร์ม (CR:brickinfotv)
การรวมตัวประท้วง(อีกครั้ง)ของไรเดอร์ที่ถูกลดรายได้จากแพล็ตฟอร์ม (CR:brickinfotv)

ซึ่งเมื่อหักค่าคอมมิชชั่นที่บริษัทหักไรเดอร์ 15% และ ค่าภาษี 3% แทบจะไม่เหลือรายได้เลยด้วยซ้ำ เพราะยังมีต้นทุน ทั้งค่าน้ำมันและค่าเสื่อมสภาพรถ

Case Study ไรเดอร์ชาวสก็อตแลนด์ เกือบครึ่งที่มีรายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

มีข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้รับการวิเคราะห์จาก Bureau Local และ The Ferret ที่พบว่าเกือบหนึ่งในสามของไรเดอร์ในเมืองต่าง ๆ ของสก็อตแลนด์ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศ

แม้จะมีการอ้างจากเหล่าแพล็ตฟอร์มว่า ไรเดอร์ที่ประกอบอาชีพอิสระเหล่านี้ ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยมากกว่า 10 ปอนด์ต่อชั่วโมง และกล่าวถึงความพึงพอใจของไรเดอร์ที่อ้างว่าสูงเป็นประวัติการณ์

แต่ก็ต้องบอกว่ามันเป็นคำพูดลอย ๆ สวยหรูของแพล็ตฟอร์ม ที่สวนทางกับข้อมูลความเป็นจริง

โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวอย่างไรเดอร์หลายพันคนจากใบแจ้งหนี้ที่อัปโหลดโดยไรเดอร์ทั่วสหราชอาณาจักรชี้ให้เห็นว่า ไรเดอร์ร้อยละ 41 ได้รับรายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ 8.72 ปอนด์ต่อชั่วโมง

ไรเดอร์ร้อยละ 41 ของชาวสก็อตแลนด์มีรายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ (CR:Theferret.scot)
ไรเดอร์ร้อยละ 41 ของชาวสก็อตแลนด์มีรายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ (CR:Theferret.scot)

โดยมากกว่าครึ่งของไรเดอร์ ราว ๆ ร้อยละ 56 มีรายได้น้อยกว่า 10 ปอนด์ต่อชั่วโมง และบางคนน้อยกว่านั้นมาก โดยหนึ่งในหก ได้รับน้อยกว่า 6.45 ปอนด์ต่อชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามแพล็ตฟอร์มแทบไม่ต้องจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้กับไรเดอร์ เนื่องจากถือว่าเป็นการประกอบอาชีพอิสระ

เปลี่ยนจากการเผาเงินสู่การทำธุรกิจจริง ๆ

ผมได้ลองหาข้อมูลจากเรื่องราวดังกล่าวเกี่ยวกับการประท้วงของไรเดอร์ ก็พบว่าปัญหานี้มีอยู่ทั่วโลกจริง ๆ ที่จะเริ่มตัดรายได้ลงไปเรื่อย ๆ จนสู่จุดคุ้มทุนทางด้านธุรกิจจริง ๆ ไม่ได้สปอยเงินให้กับไรเดอร์เหมือนช่วงเปิดแพล็ตฟอร์มใหม่ๆ

ซึ่งต้องมองตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่บริษัทพวกนี้โดยเฉพาะบริการที่แข่งกันหนักอย่าง Delivery Service หรือ แม้กระทั่ง Platform Ecommerce อย่าง Shopee , Lazada ยอมขาดทุนมหาศาลทุก ๆ ปี

แน่นอนอยู่แล้วว่าพวกเขาต้องการ Data จากพฤติกรรมผู้บริโภคของเรา ว่าชอบสั่งอาหารแบบไหน มูลค่าเท่าไหร่ หรือช่วงเวลาใด และสุดท้ายพฤติกรรมเหล่านี้ก็จะกลายเป็นพฤติกรรมที่เราเคยชิน เหมือนที่เราเห็นใน platform Ecommerce อย่าง Lazada , Shopee ที่คนไทยเริ่มเสพติดกันหนักขึ้นเรื่อย ๆ

ด้วยการอัดโปรโมชั่นมากมายที่ดูเหมือนเป็นการสปอยเหล่าไรเดอร์ที่เข้ามาร่วมในระบบ ทำให้มีคนเข้าไป join ใน platform เหล่านี้ แน่นอนว่า รายได้ในช่วงแรก ๆ ต้องกระฉูด เพราะเป็นช่วงเผาเงินที่ได้รับจากนักลงทุน

เพราะแน่นอนว่ามันไม่ใช่เงินจากการทำธุรกิจจริง ๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในการอัดเงินให้ไรเดอร์มากมายขนาดนี้ ถ้าพวกเขาคิดจะใช้ Model นี้แบบเพื่อทำธุรกิจแบบยั่งยืนจริง ๆ

แต่บริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่นักบุญแน่นอน มาหว่านเงินแจกเล่น เหมือนช่วงแรก ๆ พวกเขาเอาข้อมูลไปวิเคราะห์อยู่แล้ว ซึ่งสุดท้ายแล้วนั้น ธุรกิจ มันก็คือ ธุรกิจ ที่ต้องทำเงินสร้างผลกำไรออกมา

ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย ในโมเดลก่อนหน้าที่เราได้เห็นกันอยู่ มันเป็นคณิตศาสตร์ตัวเลขง่าย ๆ ว่าทำยังไงก็ขาดทุน สอดคล้องกับข่าวที่ออกมาช่วง COVID-19 ที่บริการพวกนี้ขาดทุนกันเป็นว่าเล่น เรียกได้ว่า ยิ่งโตยิ่งขาดทุน

เพราะฉะนั้น สิ่งที่พี่ ๆ ไรเดอร์ ควรทำกับ platform กับเหล่านี้ คือ รีบโกยมาให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุด และควรหาทางเลือกสำรองไว้ ที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้บ้าง (ตัวอย่างกรณี Ecommerce เช่น การสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองขึ้นมาแทน) เพราะยังไงหากเป็นบ้านของตัวเองก็ไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนอะไรเราได้อยู่แล้ว

แล้วเปลี่ยนมุมมองกับพวก platform ต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เรากำลังพึ่งพานั้นเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการหารายได้เพียงเท่านั้น อย่ามองเป็นช่องทางทำรายได้หลักเด็ดขาด เพราะวันนึง เค้าจะเปลี่ยนนโยบายอะไรก็ได้ เราไม่สามารถที่จะ control ได้เลย

ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายแล้วที่อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยน policy ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสุดท้ายเราก็อยู่ไม่ได้ อย่างเช่นใน platform ใหญ่ ๆ อย่าง facebook , shopee , lazada หรือ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งสุดท้ายพวกนี้เค้าก็ต้องสร้างกำไรให้กับพวกเขาในท้ายที่สุดนั่นเองครับผม

References : https://thestandard.co/lalamove-delivery-drivers-carmob-140964/
https://www.brickinfotv.com/news/119078/
https://www.theguardian.com/australia-news/2018/may/16/food-delivery-riders-protest-against-wage-theft-by-deliveroo-foodora-and-ubereats
https://theferret.scot/deliveroo-riders-earning-less-than-minimum-wage/
http://davaotoday.com/main/headline/foodpanda-davao-riders-protest-low-earnings-harsh-policies/