เมื่อ LinkedIn มีความลำเอียง กับระบบ AI หาตำแหน่งงานที่ไม่แฟร์ อย่างที่คุณคาดคิด

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับแทบจะทุก ๆ แพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่เลยทีเดียวนะครับสำหรับปัญหาในเรื่องความ Bias หรือลำเอียงที่เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้มันได้กลายเป็นปัญหาแม้กระทั่งในเรื่องการหางานของคุณ

ผมก็เป็นคนเชื่อเรื่องนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่ แพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่ตอนนี้แทบจะไม่ได้ถูกควบคุมโดยมนุษย์อีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และข้อมูลมหาศาลจาก Big Data

AI ได้ก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกจากการประชุมที่คณะคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ ในปี 1956 ซึ่งต้องบอกว่า กลุ่มคนในรุ่นนั้น มีเพียงแค่ 100 คนจากประชากรทั้งโลกที่เข้าไปมีบทบาทกับ AI ในยุคเริ่มต้น

ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งในยุคนั้น ได้ตัดสินใจว่า เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI จะมีการโชว์ให้โลกเห็นผ่านทางทักษะการเล่นเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกมหมากรุก

นั่นเองได้เป็นที่มาให้เกิดการประชันหน้าครั้งแรกระหว่าง AI กับมนุษย์ในเกมหมากรุก ซึ่ง คาสปารอฟ แชมป์หมากรุกโลกชาวรัสเซีย ได้พ่ายแพ้ให้กับ Deep Blue ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM

และมันส่งผ่านถึงยุคปัจจุบันโดยตรง กับแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ในปัจจุบันที่เราคิดว่ามันปรกติ แต่ที่จริงแล้ว มันเป็นแนวคิดที่มาจากกลุ่มคนที่เล็กมาก และไม่มีความหลากหลายเอาเสียเลย

ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มคนกลุ่ม ๆ แรกก็เป็นมนุษย์ ซึ่งมีอคติในเรื่องราวต่าง ๆ ในจิตใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และคนเหล่านี้ก็นำมาใส่มันลงไปในเทคโนโลยีอย่าง AI

ซึ่งนั่นเองมันได้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง Machine Learning ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุก ๆ อุตสาหกรรมในปัจจุบัน

เมื่อการหางานถูกบดบังโดยอคติจาก AI

เมื่อหลายปีก่อน LinkedIn ค้นพบว่าอัลกอริธึมการแนะนำในการจับคู่ผู้สมัครงานมีโอกาสสร้างผลลัพธ์ที่ลำเอียง

อัลกอริธึมได้จัดอันดับผู้สมัครบางส่วนโดยพิจารณาจากแนวโน้มที่จะสมัครตำแหน่งหรือตอบสนองต่อนายหน้ามากกว่า ซึ่งสุดท้ายระบบลงเอยด้วยการอ้างถึงผู้ชายมากกว่าผู้หญิงสำหรับบทบาทที่เปิดกว้าง เพียงเพราะผู้ชายมักมีความทะเยอทะยานมากกว่าในการหาโอกาสใหม่ ๆ ในการทำงาน

แน่นอนว่าหากคุณเริ่มหางานใหม่ในวันนี้ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจะมีอิทธิพลต่อการหางานของคุณ

AI สามารถกำหนดสิ่งที่คุณเห็นในแพล็ตฟอร์ม และตัดสินใจว่าจะส่งเรซูเม่ของคุณไปยังนายหน้าของบริษัทหรือไม่ หรือบางครั้ง ก็อาจจะให้คุณเล่นเกม ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่จะวัดลักษณะบุคลิกภาพของคุณ และวัดว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งงานต่าง ๆ หรือไม่

การหางานส่วนใหญ่ในปัจจุบันเริ่มต้นด้วยการค้นหาง่าย ๆ ผู้หางานหันไปใช้แพล็ตฟอร์มต่างๆ เช่น LinkedIn , Monster หรือ ZipRecruiter ซึ่งสามารถที่จะอัปโหลดประวัติโดยย่อ เรียกดูประกาศรับสมัครงาน และสมัครตำแหน่งงานที่ว่างได้

เป้าหมายของแพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่เหล่านี้ คือ การจับคู่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่มีอยู่ เพื่อจัดระเบียบตำแหน่งงาน และ ผู้สมัคร

แน่นอนว่าตอนนี้มันแทบจะไม่ได้ขับเคลื่อนโดยมนุษย์อีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างขับเคลื่อนโดยพลังของ AI ที่จะประมวลผลข้อมูลทั้งผู้หางานและนายจ้าง เพื่อรวบรวมรายการคำแนะนำสำหรับแต่ละรายการ

ซึ่งเครื่องมือในการจับคู่ส่วนใหญ่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

John Jersin อดีตรองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ LinkedIn กล่าวว่า ระบบเหล่านี้อ้างอิงจากข้อมูลมูลสามประเภท : ข้อมูลที่ผู้ใช้ให้กับแพล็ตฟอร์มโดยตรง ข้อมูลโดยอ้างอิงจากผู้อื่นที่มีทักษะ ประสบการณ์และความสนใจที่คล้ายคลึงกัน และข้อมูลด้านพฤติกรรม เช่น ความถี่ที่ผู้ใช้ตอบกลับข้อความหรือโต้ตอบกับประกาศรับสมัครงาน

John Jersin อดีตรองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ LinkedIn  ที่ออกมาให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าว (CR:SHRM)
John Jersin อดีตรองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ LinkedIn ที่ออกมาให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าว (CR:SHRM)

ซึ่งอัลกอริธึมเหล่านี้ จะไม่รวมเอาชื่อ อายุ เพศ และเชื้อชาติ เนื่องจากการรวมเอาลักษณะเหล่านี้สามารถนำไปสู่อคติในระบบอัตโนมัติที่ถูกตัดสินใจจาก AI ได้

แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจเมื่อทีมของ Jersin พบว่า อัลกอริธึมมีการตรวจจับพฤติกรรมที่แสดงโดยกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ทางเพศเฉพาะ

ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ผู้ชายมักจะสมัครงานที่ต้องใช้ประสบการณ์การทำงานที่มากกว่าคุณสมบัติของพวกเขา แต่ผู้หญิงมักจะไปสมัครงานที่มีคุณสมบัติที่ตรงตามข้อกำหนดของตำแหน่งนั้น ๆ

ซึ่งท้ายที่สุด อัลกอริธึม จะตีความรูปแบบพฤติกรรมเหล่านี้ และปรับคำแนะนำในลักษณะที่ทำให้ผู้หญิงเสียเปรียบโดยไม่ตั้งใจ

การหางานกำลังถูกขับเคลื่อนโดย AI มากกว่าทักษะงานจริง ๆ หรือไม่?

ก็ต้องบอกว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ว่าตอนนี้ แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังของ AI และ Big Data นั้น ทำสิ่งต่าง ๆ ในการจับคู่คนหางานกับตำแหน่งงานได้ถูกต้อง 100% หรือไม่

จากที่กล่าวไปข้างต้น หากผู้หางานเรียนรู้อัลกอริธึม และ เข้าใจเทคนิคการทำงานของมันจริง ๆ ย่อมทำให้มีความได้เปรียบมากกว่าคนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องแพล็ตฟอร์มเหล่านี้

ลองยกตัวอย่างง่าย ๆ ในเรื่องความถี่ที่ผู้ใช้ตอบกลับข้อความหรือโต้ตอบกับประกาศรับสมัครงาน จุดนี้ มันแทบจะไม่เกี่ยวข้องกับทักษะงานใด ๆ เลย แต่อยู่ที่ความขยันในการเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับระบบเสียมากกว่า ซึ่งมันเป็นส่วนสำคัญเสียด้วยในแพล็ตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่ต้องการปฏิสัมพันธ์จากผู้ใช้ให้มากที่สุด

คุณเคยสงสัยหรือไม่ ทำไมเพื่อนคุณบางคนที่คุณอาจจะคิดว่า ความสามารถก็ไม่เท่าไหร่นี่หว่า แต่ทำไมได้แต่งานดี ๆ ก็ต้องบอกว่าการทำความเข้าใจกับอัลกอริธึมเบื้องหลังของแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ ก็อาจทำให้คุณเป็นต่อได้ แม้คุณจะไม่ได้เป็นคนที่เก่งที่สุดในตำแหน่งงานนั้น ๆ ก็ตามที แต่คุณก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการหางานที่ดี ๆ ได้นั่นเองครับผม

References : https://www.xanjero.com/news/linkedin-search-engine-results-suggest-gender-bias/
https://www.johnjersin.com/
https://www.technologyreview.com/2021/06/23/1026825/linkedin-ai-bias-ziprecruiter-monster-artificial-intelligence
https://www.technologyreview.com/2021/02/11/1017955/auditors-testing-ai-hiring-algorithms-bias-big-questions-remain/

Geek Story EP120 : ประวัติ Tim Cook ผู้ยกระดับ Apple สู่จุดสูงสุด (ตอนที่ 6 – ตอนจบ)

ต้องบอกว่าเป็นการเดินทางมาไกลมาก ๆ ของชายที่ชื่อ Tim Cook ที่ต้องมารับภารกิจอันหนักอึ้งในการสานต่อบริษัท Apple ที่ Steve Jobs ทำไว้อย่างยิ่งใหญ่ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นตัวจริง ที่สามารถยกระดับ Apple ให้สูงขึ้นไปอีก และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดการเติบโตแต่อย่างใด

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหาร การปฏิบัติการ การสร้างนวัตกรรม Cook ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเขานั้นสามารถทำให้ Apple ประสบความสำเร็จได้ แล้วอนาคตข้างหน้ากับแผนการในอนาคตของเขากับ Apple จะเป็นอย่างไร ไปรับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3tTiDcD

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/8dlclhjmf8c