It’s Okay to Not Be Okay (Google) กับความเป็นส่วนตัวที่น่ากังวลของอนาคต Voice Assistant

ต้องบอกว่าเทคโนโลยีอย่าง Voice Assistant ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ผ่านอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ ที่มีมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าบางอุปกรณ์นั้นอาจจะไม่มีหน้าจอ และสั่งการได้ด้วยเสียงเพียงเท่านั้น

บริษัทยักษ์ใหญ่ล้วนโฟกัสกับเทคโนโลยีนี้ ไม่ว่าจะเป็น Google Assistant , SIRI ของ Apple หรือ Alexa ของ Amazon และต้องบอกว่าเทคโนโลยี Voice Assistant ในปัจจุบันพัฒนาไปมากจนน่าตกใจ

แต่อีกไม่นาน เราอาจจะไม่ต้องเรียกมันเพื่อให้ทำงานอีกต่อไป เช่น ในเคสที่เกิดขึ้นกับ Google ซึ่งปรกติเราต้องเรียกเพื่อใช้งาน หรือ มีการกดปุ่มเพื่อเรียกการใช้งานในฟังก์ชั่นนี้ เช่น “Ok Google”

รานงานใหม่จาก สื่อชื่อดังอย่าง 9to5Google ได้ค้นพบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นใหม่ที่มีชื่อว่า “Guacamole” ซึ่ง Google อาจเรียกฟังก์ชั่นใหม่นี้ว่า Quick Phrase หรือ Voice Shortcuts

วิธีการที่ 9to5Google เจอฟังก์ชั่นนี้ก็คือ การถอดรหัสโค้ด จากแอปพลิเคชั่นเวอร์ชั่นล่าสุดที่ Google อัปโหลดไปยัง Play Store ซึ่งเป็นไฟล์ APK นั่นเอง

ซึ่งทาง 9to5Google นั้นได้เห็นโค้ดหลายบรรทัด ซึ่งสามารถคาดเดาได้ว่าฟังก์ชั่นในอนาคตของ Google Assistant จะเป็นอย่างไร (มีอยู่ใน Code แต่ต้องบอกว่าอาจจะไม่ได้นำมาใช้จริง ๆ ก็ได้)

มันมีความสามารถทั้งในการตั้งหรือยกเลิกการปลุก ตั้งการช่วยเตือน ถามเกี่ยวกับสภาพอากาศ ตั้งและควบคุมตัวจับเวลา และอื่น ๆ

ซึ่งน่าสนใจว่า เมื่อเราไม่ต้องสั่งมันอีกต่อไป เพราะฉะนั้นมันก็จะฟังเราอยู่ตลอดเวลานั่นเอง และคอยดักวลีต่าง ๆ ที่คิดว่าจะเป็นการสั่งงานจากเรา ซึ่งก็แน่นอนว่า มันจะเริ่มลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของเรามากยิ่งขึ้น

ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ 9to5Google ได้วิเคราะห์ไว้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น Nest/Smart Display ที่คอยดักฟังคำพูดของเราอยู่ตลอดเวลาและคอยจับหาวลีที่เกี่ยวข้องในการสั่งการ

แม้จะมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Google ว่า วิธีตรวจจับคำให้ดำเนินการคำสั่งของ Google Assistant นั้น Google ได้กล่าวว่า “ถ้าไม่มีการตรวจพบการเปิดใช้งาน ฟังก์ชั่นเหล่านี้จะไม่ถูกส่งหรือบันทึกไปยัง Google”

แต่ด้วยการทำงานจริงของ Quick Phrase ที่จะเกิดขึ้น มันทำให้เปิดโอกาสในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากกว่าเดิม เนื่องจากต้องมีการคอย monitor เราอยู่ตลอดเวลาในการสนทนาปรกติประจำวันของเรา

แต่นี่เป็นเพียงแค่ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น อาจจะยังไม่ออกมาใช้จริง ฟังก์ชั่นนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา และยังไม่ชัดเจนว่าจะเปิดตัวเมื่อไหร่และอุปกรณ์ใดจะรองรับบ้าง

แต่ก็ต้องบอกว่า ถือเป็นเรื่องน่าสนใจเลยทีเดียวนะครับ ว่าหากเทคโนโลยีนี้ พัฒนาต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไร และจะลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของเราเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่

แน่นอนว่า ข้อมูลที่เป็น text ที่อยู่บนเว็บไซต์ หรือ email ต่างๆ Google ได้นำมาวิเคราะห์อยู่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการยิงโฆษณาของพวกเขาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น แต่ในอนาคตมันอาจจะไม่ใช่แค่เพียงข้อมูล text เหล่านี้อีกต่อไป เพราะเสียงของเราอาจจะไปอยู่ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้ก็เป็นได้นั่นเองครับผม

References : https://9to5google.com/2021/09/01/google-assistant-quick-phrases/
https://www.androidauthority.com/google-assistant-ok-google-optional-2745962
https://www.theverge.com/2021/4/23/22400412/google-guacamole-voice-shortcuts-assistant-snooze-stop-alarm-call
https://www.cnet.com/tech/services-and-software/google-guacamole-will-reportedly-let-you-use-voice-assistant-without-saying-hey-google/
https://arstechnica.com/information-technology/2019/10/alexa-and-google-home-abused-to-eavesdrop-and-phish-passwords/

Geek Book EP3 : Noise: A Flaw in Human Judgment เสียงรบกวนสู่ข้อบกพร่องในการตัดสินใจของมนุษย์

เมื่อ Noise หรือเสียงรบกวนได้สร้างข้อบกพร่องในการตัดสินใจของมนุษย์ ในระยะยาว Daniel Kahneman มองเห็นโลกที่เราอาจ “ไม่ต้องการคน” เพื่อตัดสินใจในหลาย ๆ อย่าง เมื่อสามารถจัดโครงสร้างปัญหาและรวบรวมข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับปัญหาเหล่านั้นได้ ผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ก็อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป

ซึ่งต้องบอกว่ามันยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำในการลดความผิดพลาดของมนุษย์ โดยการปรับปรุงวิจารณญาณของมนุษย์ หรือสุดท้ายการตัดสินใจเรื่องใหญ่ ๆ อาจจะต้องถูก outsource ไปยังเครื่องจักรหรือ AI ให้ทำงานแทน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3yIrDBW

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/D0IXqMDP3pg

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่ :
Asia Book -> https://bit.ly/3h2F21Y
Kinokuniya -> https://bit.ly/3tcgpEN