Gene Berdichevsky อดีตพนักงานคนที่ 7 ของ Tesla สู่การสร้างจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

ต้องบอกว่าปัญหาใหญ่ของอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นก็คือเรื่องของแบตเตอรี่ ที่จะเห็นว่าในยุคปัจจุบันผู้คนต่างเสพติดการหาปลั๊กไฟ เพื่อชาร์จอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนอาจจะเบื่อกับการต้องมานั่งชาร์จ Apple Watch ในทุก ๆ วัน แต่ปัญหานี้กำลังจะถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ

บริษัทวัสดุแห่งหนึ่งในเมืองอลาเมดา รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทุ่มเทใช้เวลากว่าทศวรรษในการทำงานเพื่อเพิ่มพลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ลิเธียมไออน ซึ่งตอนนี้ได้มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ที่จะช่วยให้อุปกรณ์ขนาดเล็ก หรือ แม้กระทั่งรถยนต์ไฟฟ้ามีระยะการทำงานที่ไกลกว่าเดิมมาก

บริษัทที่มีชื่อว่า Sila ได้มีการพัฒนาอนุภาคที่มีซิลิกอนเป็นหลักซึ่งสามารถแทนที่กราไฟท์ในแอโนดและเก็บประจุลิเธียมไอออนที่นำกระแสไฟไปไว้ในแบตเตอรี่ได้มากขึ้น

ซึ่งเทคโนโลยีของ Sila ได้เพิ่มความหนาแน่นของพลังงานในแบตเตอรี่ของ Fitness Tracker สูงถึง 17% ซึ่งต้องบอกว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งในกรณีของอุปกรณ์ Fitness Tracker ที่มีชื่อว่า Whoop 4.0 ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของ Sila นั้น พวกเขาสามารถลดขนาดอุปกรณ์ได้ 33% ในขณะที่คงอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้ 5 วัน และความบางขึ้นทำให้สามารถใส่เข้าไปใน “เครื่องแต่งกายอัจฉริยะ” ได้ดียิ่งขึ้น

Whoop 4.0 อุปกรณ์สุดล้ำของบริษัท Sila ที่เปิดตัวพร้อมกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ (CR:DC Rainmaker)
Whoop 4.0 อุปกรณ์สุดล้ำของบริษัท Sila ที่เปิดตัวพร้อมกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ (CR:DC Rainmaker)

Venkat Viswanathan รองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่ Carnegie Mellon University ได้ระบุว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่เทียบเท่ากับการพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ ถึง 4 ปี และเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของเทคโนโลยีนี้

แม้ Sila จะเผชิญความท้าทายทางด้านเทคนิคอยู่บ้าง แต่ความก้าวหน้าครั้งนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงศักยภาพของแบตเตอรี่ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

การเพิ่มปริมาณพลังงานในแบตเตอรี่ที่สามารถจัดเก็บได้มากขึ้น ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้พลังงานที่สะอาดจากพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งพลังงานไปให้กับ เหล่า ยานพาหนะ โรงงานและธุรกิจต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น

Gene Berdichevsky ซีอีโอของ Sila ซึ่งเป็นพนักงานคนที่ 7 ของบริษัท Tesla เป็นหนึ่งในคีย์แมนคนสำคัญ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของ Tesla

Gene Berdichevsky ซีอีโอของ Sila อดีตพนักงานคนที่  7 ของบริษัท Tesla (CR:Twitter)
Gene Berdichevsky ซีอีโอของ Sila อดีตพนักงานคนที่ 7 ของบริษัท Tesla (CR:Twitter)

Sila ซึ่งประกาศระดมทุน 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริษัทยังได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งรวมถึง BMW และ Daimler ซึ่งเทคโนโลยีของ Sila สามารถบรรจุพลังงานได้มากขึ้นถึง 40% ในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

ก็ต้องบอกว่าเทคโนโลยีทางด้านแบตเตอรี่ ถือเป็นจุดสำคัญสำหรับหลาย ๆ ธุรกิจในยุคปัจจุบัน ทั้ง รถยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์ IoT Device ต่าง ๆ แม้กระทั่ง Apple ยักษ์ใหญ่ในวงการก็ยังติดปัญหาในเรื่องของแบตเตอรี่ อย่างที่เราเห็นในอุปกรณ์ iDevice ของพวกเขาที่ก็มีปัญหากับอายุของแบตเตอรี่

โดยเฉพาะอุปกรณ์อย่าง Apple Watch เอง ใครจะไปคิดว่าเราแทบจะต้องชาร์จ นาฬิกา เพื่อให้มันได้ใช้งานทุกวัน ซึ่งตอนนี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการตัดสินใจซื้อนาฬิกาอัจฉริยะเหล่านี้

ผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่ลองไปใช้ Apple Watch แล้วก็พบว่าทุกอย่างมันดีมาก เซ็นเซอร์ต่าง ๆ อุปกรณ์มีความสเถียร ระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ก็ทำได้ดี แต่มันมีข้อเสียอย่างเดียวที่ผมต้องขายก็คือ อายุการใช้งานของมันจากปัญหาแบตเตอรี่นั่นเอง ที่คิดว่าหลายคนน่าจะตัดสินใจจากจุดนี้เช่นเดียวกัน

ข่าวของบริษัท Sila ถือว่าเป็นข่าวที่น่าสนใจมาก และ CEO ผู้ก่อตั้งบริษัท ที่มีประวัติการทำงานกับ Tesla ในยุคแรก ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหานี้ให้กับ Tesla ได้สำเร็จ ก่อนที่เขาจะออกมาศึกษาต่อ และ สุดท้ายเมื่อเจอเทคโนโลยีที่เหมาะสม ก็ได้เริ่มตั้งบริษัทของตัวเองอย่าง Sila

แม้จะเป็นข่าวเล็ก ๆ แต่มันส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อหลากหลายธุรกิจในยุคปัจจุบัน มันจะส่งผลกระทบครั้งสำคัญต่ออุปกรณ์ไฮเทคทั้งหลาย ที่จะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น และจะทำให้โลกเราเปิดไอเดียให้กับอุปกรณ์ใหม่ ๆ อีกมากมายที่จะมาเปลี่ยนโลกของเราให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน หากปัญหาเรื่องแบตเตอรี่หมดไปนั่นเองครับผม

References : https://www.technologyreview.com/2021/09/08/1035143/sila-whoop-lithium-ion-battery-fitness-wearable-evs
https://www.whoop.com/
https://techcrunch.com/2021/01/26/sila-nanotechnologies-raises-590m-to-fund-battery-materials-factory/

Geek China EP29 : Baidu Other Investments

• นอกเหนือจากธุรกิจ search engine, digital map, cloud, O2O, fintech, anti-virus ที่ได้เล่าไปใน EP 24-27 แล้ว ไป่ตู้ยังเริ่มมีการลงทุนขยายการลงทุนในด้านธุรกิจอื่น

• เมื่อ M&A สำเร็จ Baidu ก็จะกลายเป็นผู้นำในตลาด OTAในประเทศจีน และดีลนี้ก็สำเร็จในช่วงตุลาคม 2015 เมื่อไป่ตู้ swap หุ้นกับ Ctrip ก็จะถือประมาณ 19% share ใน Ctrip

• Ctrip เป็น OTA ที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีรายได้มาจาก 3 ส่วนคือ การจองโรงแรม การจองตั๋วและการท่องเที่ยว ถึงแม้ qunar จะเก็บสะสม business resources มาหลายปี แต่ก็ไม่สามารถ เอาชนะ Ctrip ได้อย่างง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มsegmentระดับบน

• ดังนั้นถ้าไป่ตู้รวม Ctrip กับ Qunar ได้ Baidu จะควบคุมตลาด OTAในจีนได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นจากคู่แข่งระหว่าง Ctrip และ Qunar ก็มาจับมือกับกลายเป็นพันธมิตร ตอนนี้ ตลาด OTA เปลี่ยนการต่อสู่ระหว่างTencent, Alibaba และ Baidu

• นอกจากต้องการชนะ ในตลาด OTA แล้ว ปลายปี 2014 Baidu ก็ประกาศข่าวใหญ่ในด้านการลงทุนคือ ได้ลงทุนใน Uber กว่า 600 ล้าน USD โดยการแลกกับการถือหุ้นเป็นส่วนน้อย (minority stake) เพื่อที่จะต่อสู้กับ Tencent และ Alibaba ในตลาด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกจองรถยนต์

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2XdFZO0

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Eo7tefFCtYU