ประวัติ Delivery Hero แอปส่งอาหารนัก Take Over จากเยอรมนี

ต้องบอกว่าเป็นการเดินทางที่น่าสนใจมาก ๆ ของ Delivery Hero Holding ที่ตอนนี้ได้แพร่กระจายกิจการของพวกเขาไปทั่วโลกผ่านกลยุทธ์การเข้า take over และที่สำคัญเคยบุกประเทศไทยมาแล้วผ่านแพล็ตฟอร์มอย่าง Food Panda

Delivery Hero Holding ก่อตั้งขึ้นในกรุงเบอร์ลินโดย Niklas Östberg, Kolja Hebenstreit, Markus Fuhrmann และ Lukasz Gadowski ในเดือนพฤษภาคม 2011โดยมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในการผลักดันให้แพล็ตฟอร์มของพวกเขากลายเป็นแพล็ตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ทั่วโลก

สำหรับ Niklas Östberg CEO ของ Delivery Hero เป็นผู้ประกอบการชาวสวีเดน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการจาก Royal Institute of Technology Stockholm และ ETH Zurich

หลังจากห้าปีในฐานะที่ปรึกษาด้านการจัดการที่ Oliver Wyman Niklas ได้ร่วมก่อตั้ง Pizza.nu (ต่อมาคือ OnlinePizza.se) ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็นประธานของบริษัท หลังจากนำพา Pizza.nu เอาชนะตลาดในสวีเดนได้สำเร็จ

เขามีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบริษัทชั้นนำด้านการตลาดในการสั่งอาหารออนไลน์ในโปแลนด์ ฟินแลนด์ และออสเตรีย

ปลายปี 2010 Niklas โน้มน้าว Team Europe ให้พัฒนาแนวคิดสู่ตลาดเยอรมนีภายใต้ชื่อ Lieferheld (Lieferheld.de) และได้รับใบอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีและความรู้จากบริษัทดั้งเดิมของสวีเดน

หลังจากการเข้าสู่ตลาดที่ประสบความสำเร็จในตลาดเยอรมนีที่มีการแข่งขันสูง Niklas Östberg และทีมงานของเขาตัดสินใจที่จะเปิดตัวรูปแบบธุรกิจในระดับสากลภายใต้ชื่อ Delivery Hero

ภายใต้การนำของผู้นำอย่าง Niklas Östberg Delivery Hero ได้ขยายไปยังออสเตรเลียและสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกในปี 2011 ในช่วงต้นปี 2012 บริษัทได้เข้าซื้อกิจการ Lieferheld ในเยอรมนี และเข้าซื้อหุ้นใน Foodarena ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

จากนั้น Delivery Hero ได้ระดมทุนรอบใหม่กว่า 25 ล้านยูโรเพื่อซื้อกิจการทางการเงินใน 4 ประเทศในยุโรปได้แก่ สวีเดน ฟินแลนด์ ออสเตรีย และ โปแลนด์

ในเดือนสิงหาคมปี 2012 Delivery Hero ได้เริ่มขยายตัวมายังเอเชียทั้งในเกาหลีใต้และจีนผ่านบริการอย่าง YoGiYo และ Aimifan

บุกเกาหลีใต้ด้วยการเข้าซื้อ YoGiYo (CR:The Investor.com)
บุกเกาหลีใต้ด้วยการเข้าซื้อ YoGiYo (CR:The Investor.com)

สงคราม DDoS จุดเริ่มต้นของการต่อสู้อย่างดุเดือด

เส้นทางที่ดูเหมือนจะโรยด้วยกลีบกุหลาบของ Delivery Hero นั้นต้องมาสะดุดในลงในช่วงปี 2012-2013 เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างบริการพอร์ทัลออนไลน์ของบริการจัดส่งอาหารต่าง ๆ

สิ่งนี้ทำให้สื่อในเยอรมนีเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า Cyber War ระหว่างเว็บพอร์ทัลขนาดใหญ่

มีรายงานการโจมตี DDos บ่อยครั้งกับแต่ละบริการที่กำลังแข่งกันอย่างดุเดือด และแน่นอน ว่า Delivery Hero ก็ต้องปกป้องตัวเองและแสดงตัวตนที่มีความก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการโจมตีโต้กลับ

มีข้อกล่าวหาต่าง ๆ สาดเสียเทเสียกันไปกันมาระหว่างบริการที่แข่งกัน ตลอดจนคดีความจำนวนมากที่มีต่อกัน เรียกว่าเป็นศึกสงครามเทคโนโลยีที่โหดที่สุดครั้งนึงของวงการเทคโนโลยีในประเทศเยอรมนี

ในปี 2012 สำนักงาน Delivery Hero ในกรุงเบอร์ลินถูกตำรวจบุกค้น และอัยการตั้งข้อกล่าวหากับ Delivery Hero จนพวกเขาถูกดำเนินคดีในข้อหาโจมตี DDos กับคู่แข่งและขโมยข้อมูลจากบริการเว็บอื่น ๆ

จบสงครามภายใน และลุย take over กิจการต่อเนื่อง

หลังจบสงครามถายในประเทศที่เรียกได้ว่า เจ็บไปตาม ๆ กัน ในปี 2014 Delivery Hero ได้เข้าถือหุ้นใน PedidosYa ซึ่งเป็นผู้นำในแพล็ตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์ในแถบละตินอเมริกา

จากนั้นในเดือนสิงหาคมปี 2014 พวกเขาก็ได้เข้าซื้อกิจการของ pizza.de หนึ่งในคู่แข่งที่สำคัญของเยอรมนีของพวกเขา

ในปี 2014 เป็นปีที่รุ่งเรืองมาก ๆ ของ Delivery Hero พวกเขาได้กลายเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่เติบโตเร็วที่สุด 3 อันดับแรกของเยอรมนีในขณะนั้น

ในเดือนเมษายนปี 2015 พวกเขาได้เข้าซื้อกิจการบริการจัดส่งอาหารของเกาหลีใต้อย่าง Baedaltong ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่แข่งสำคัญของบริการ YoGiYo ของตนเอง

ในเดือนพฤษภาคม 2015 พวกเขาก็ยังคนเดินหน้าซื้อกิจการอย่างบ้าคลั่ง โดยเข้าซื้อกิจการ e-food.gr ซึ่งเป็นผู้ให้บริการส่งอาหารรายใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ

และ Deal ที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขาคงหนีไม่พ้นการเข้าซื้อกิจการ Foodpanda ในเดือน ธันวาคม ปี 2016 ซึ่งต้องบอกว่า Foodpanda เองก็เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ในขณะนั้นเลยทีเดียว

ในเดือนมีนาคมปี 2017 CEO อย่าง Niklas Östberg ประกาศว่าเขาต้องการให้บริษัทของเขาพร้อมสำหรับการเสนอขายหุ้น IPO ในไตรมาสที่สองของปีนั้น โดย Delivery Hero จะเน้นไปที่การรวมตัวครั้งสำคัญกับ Foodpanda โดยตั้งเป้าการประเมินมูลค่าของบริษัทไว้ที่ประมาณ 3.5 พันล้านยูโร

ในเดือนพฤษภาคมปี 2017 Naspers กลุ่มอินเทอร์เน็ตและความบันเทิงระดับโลก และเป็นหนึ่งในนักลงทุนด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลกเข้าลงทุน 387 ล้านยูโรใน Delivery Hero และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท

Delivery Hero ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนปี 2017 กลายเป็นธุรกิจเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในเกือบสองปีที่มีการทำ IPO โดยสามารถระดมทุนไปได้เกือบ 1 พันล้านยูโรทำการ Exit จากการเป็นสตาร์ทอัพได้สำเร็จไปในที่สุด

สามารถพา Delivery Hero เข้าสู่เส้นชัยใน IPO ได้สำเร็จ (CR:artichoax.com)
สามารถพา Delivery Hero เข้าสู่เส้นชัยใน IPO ได้สำเร็จ (CR:artichoax.com)

ต้องบอกว่าสิ่งที่เริ่มแรกคือวิสัยทัศน์เล็กๆ ที่ Niklas มองเห็นและเริ่มทำการตลาดในสวีเดน ได้ขยายไปสู่วิสัยทัศน์ระดับโลกในปัจจุบัน

วิสัยทัศน์หลักของ Niklas คือการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม ดังนั้นบริการของ Delivery Hero จะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับโอกาสใหม่ๆ ในด้านเทคโนโลยีและการขนส่งในอนาคตนั่นเองครับผม

แนวคิดที่น่าสนใจจาก CEO Niklas Östberg ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่กับ Delivery Hero

มี quote คำพูดที่น่าสนใจที่ได้จากการสัมภาษณ์เขาที่ถือว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจในการบริหารกิจการของเขาดังนี้

“ในฐานะผู้ประกอบการ คุณจะเจอปัญหาเสมอเมื่อคุณกล้าที่จะลองอะไรใหม่ๆ”

“เราได้ทำงานเพื่อสร้างองค์กรที่มีคอขวดน้อยที่สุด ซึ่งหมายความว่ามีเพียงไม่กี่การตัดสินใจที่มาจากด้านบนโดยตรง”

“ผมมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นอย่างมากในองค์กรของผม ผมคิดว่าเหล่าพนักงานสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ดีที่สุดเมื่อคุณปล่อยให้พวกเขาเป็นอิสระ ทันทีที่คุณเริ่มบอกทิศทางหรือข้อจำกัดมากเกินไป ผู้คนจะสูญเสียความคิดสร้างสรรค์และความหลงใหลในสิ่งที่พวกเขากำลังทำ”

References : https://www.deliveryhero.com/blog/niklas-delivery-hero/
https://en.wikipedia.org/wiki/Delivery_Hero
https://www.crunchbase.com/person/niklas-stberg
https://www.deliveryhero.com/blog/10-things-you-didnt-know-about-delivery-hero/

Geek Monday EP94 : Conversational Commerce จะเป็น next big thing ในวงการช็อปปิ้งออนไลน์หรือไม่

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้แอปด้านการส่งข้อความเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด การส่งข้อความบน Instagram แอปแชร์รูปภาพของ Facebook และบน Messenger เพิ่มขึ้น 40% และขณะนี้ผู้คนใช้เวลาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สี่ในห้าไปกับแอปแชท

“C-Commerce” เป็นที่นิยมในเอเชียและละตินอเมริกามาเป็นเวลานานแล้ว  แต่ตอนนี้ผู้บริโภคชาวตะวันตกเริ่มที่จะยอมรับความสะดวก ความรวดเร็ว ความเป็นส่วนตัว และความสะดวกในการส่งข้อความ เพื่อเข้าถึงธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3xQtsgv

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/WCXDZOE8FBQ

เมื่อ VinFast หาญกล้าท้าชน Tesla ในศึกรถยนต์ไฟฟ้าแห่งอเมริกาเหนือ

VinFast ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจยานยนต์ของ VinGroup ของมหาเศรษฐี Pham Nhat Vuong กำลังเปิดตัวรถไฟฟ้ารุ่นล่าสุดทั่วโชว์รูมในอเมริกาเหนือและยุโรป ภายในเดือนมีนาคมปีหน้า ซึ่งเป็นการก้าวเข้ามาท้าทาย Tesla ที่กำลังขยายธุรกิจไปทั่วโลก

ทาง Vinfast เองได้ทำการสรรหาผู้บริหารระดับสูงจากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Tesla , BMW , Porche , Toyota และ Nissan เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะระดับโลก

โดยทาง Jeremy Snyder หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเติบโตของ VinFast US ได้กล่าวว่า “ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะที่ได้รับการสนับสนุนจากการวิจัยและการผลิตที่พิสูจน์แล้วของ VinFast เรามั่นใจว่า VinFast สามารถแข่งขันกับแบรนด์ชั้นนำในสหรัฐฯ ได้ในวันนี้”

ต้องบอกว่าเป็นคำกล่าวที่น่าสนใจเพราะ Snyder เองนั้นมีประสบการณ์ในการทำงานกับ Tesla ซึ่งเขาได้ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหลายตำแหน่งมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ จนกระทั่งปี 2018

VinFast จะมีการตั้งสาขาทั่วสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี และ เนเธอร์แลนด์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ทั่วโลก

โดยรถยนต์รถต์ไฟฟ้ารุ่นนี้จะทำการเปิดตัวในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ โดยมีรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะสองรุ่นคือ VF e35 และ VF e36 ที่จะวางจำหน่ายทั่วโลกในเดือนมีนาคมปี 2022

โดย VinFast ตั้งเป้าที่จะขายรถยนต์ไฟฟ้า 56,000 คันในปี 2022 แต่เป้าหมายได้ลดลงเหลือ 15,000 คัน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลก

ต้องบอกว่าข่าวนี้ เป็นข่าวสั้น ๆ แต่สร้าง impact ได้อย่างมหาศาล เมื่อ VinFast นั้นมองเห็นถึงเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรถยนต์ไฟฟ้า และมุ่งเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างจริง ๆ จัง ๆ แบบมีรูปแบบแผนการที่ชัดเจน

แน่นอนว่ามันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่ต้องลุกขึ้นมาต่อกรกับบริษัทอย่าง Tesla หรือ ยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ที่กำลังจะมาลุยตลาดนี้ รวมถึงแบรนด์อีกมากมายจากประเทศจีน ที่กำลังเข้าสู่ธุรกิจนี้เช่นเดียวกัน

แต่ต้องยอมรับในความคิดใหญ่ของ Pham Nhat Vuong เป็นอย่างมากที่กล้าพาแบรนด์น้องใหม่ของพวกเขาอย่าง VinFast ลุยในศึกใหญ่และเป็นเทรนด์ในอนาคตของโลก

Pham Nhat Vuong เจ้าของอาณาจักร VinGroup ผู้กล้าท้าชน Tesla
Pham Nhat Vuong เจ้าของอาณาจักร VinGroup ผู้กล้าท้าชน Tesla

พอนึกย้อนกลับมาในประเทศไทยก็รู้สึกน่าเสียดาย ที่เราแทบจะเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์มาอย่างยาวนาน แต่แทบจะไม่มีแม้กระทั่งแบรนด์รถยนต์สัญชาติตัวเองเลยด้วยซ้ำ

มันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่น่าสนใจอย่างเหลือเชื่อ ที่หลาย ๆ ธุรกิจที่ประเทศเราควรจะทะยานไกลด้วยความได้เปรียบหลาย ๆ อย่าง ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เราเป็นฐานผลิตมาอย่างยาวนาน ซึ่งน่าจะมี know how ต่าง ๆ ในการสร้างแบรนด์ของตัวเองได้แล้ว

กลับกัน VinFast ที่ดูเหมือนจะมาทีหลังด้วยซ้ำ กลับแซงหน้าเราไปไกล ได้ถึงระดับที่สามารถไปท้าทายอำนาจของ Tesla ในอเมริกาเหนือ ซึ่งดูเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ และเป็นธุรกิจแห่งอนาคตอย่างแท้จริง ซึ่งต้องบอกว่าเพียงแค่พวกเขาได้ไปแข่งขัน ก็ถือว่า พวกเขาก้าวไปไกลกว่าเรามาก ๆ แล้วจริง ๆ นั่นเองครับผม

References : https://www.forbes.com/sites/jonathanburgos/2021/07/14/vietnams-richest-person-aims-to-challenge-tesla-in-north-america-europe
https://www.reuters.com/business/autos-transportation/vietnams-answer-tesla-has-us-its-electric-sights-2021-04-30/
https://auto.economictimes.indiatimes.com/news/passenger-vehicle/cars/vietnams-answer-to-tesla-bets-big-on-the-us-market/82326148

Groupon เปลี่ยนจากยูนิคอร์นที่โตเร็วที่สุดสู่จุดตกต่ำสุดของพวกเขาได้อย่างไร

หลาย ๆ ท่านน่าจะเคยคุ้นเคยกับยุคหนึ่งในโลกออนไลน์ที่ Groupon ได้กลายเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมเป็นอย่างมาก ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วยราคาถูกเป็นพิเศษ ตั้งแต่ การนวดไปจนถึงขายเครื่องปั้นดินเผา

Groupon นั้นก่อกำเนิดขึ้นในปี 2008 ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2010 นั้น Groupon มีการให้บริการใน 150 เมืองในอเมริกาเหนือ และ 100 เมืองในยุโรป

โดยในปี 2015 ถือว่าแทบจะเป็นจุดสูงสุดของ Groupon ซึ่งได้เปิดให้บริการมากกว่า 500 เมืองทั่วโลก และมีลูกค้าประจำที่ใช้งานอยู่ถึง 48.1 ล้านคน

ในปี 2006 Andrew Mason ที่กำลังเรียนวิชาเอกดนตรี ตอนนั้น เขาได้ดูแลเว็บไซต์ที่เรียกว่า Policy Tree ซึ่งเป็นเว็บที่แบ่งปันมุมมองทางด้านการเมืองในประเด็นต่าง ๆ

ในเดือนมกราคมปี 2007 Mason ได้เข้ามาเริ่มทำงานในบริษัทที่เดิมนั้นมีแนวคิดเป็นกิจการเพื่อสังคมของ Eric Lefkofsky ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง

แนวคิดนี้เรียกว่า “The Point” และควรจะเป็นแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้ มันไม่ใช่บริษัทที่สร้างมูลค่าพันล้าน แต่เป็นการทำ CSR ของบริษัทเพื่อสังคมเท่านั้น

แต่ความคิดดังกล่าวมันก็ไม่ work และในที่สุด แนวคิดของแพล็ตฟอร์มดังกล่าวก็เปลี่ยนไป เนื่องจาก Eric และ Mason เองได้สังเกตเห็นอะไรบางอย่าง

“ผู้ใช้บางคนคิดว่าพวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากอำนาจต่อรองแบบกลุ่ม”

Eric จึงสั่งลุย และสั่งให้ตั้งเพจแยกออกจากกัน และทำมันใหม่โดยโฟกัสไปที่การซื้อแบบกลุ่ม

นั่นทำให้เหตุการณ์พลิกผันอย่างน่าประหลาดใจ ผู้ใช้ในแพล็ตฟอร์มตั้งกลุ่มกันเพื่อซื้อของที่ถูกกว่า ซึ่งทำให้ Eric สนใจมาก ๆ ซึ่งได้ให้เงินทุนจำนวน 1 ล้านเหรียญแก่ Mason เพื่อทำงานเกี่ยวกับแนวคิดการซื้อแบบกลุ่มต่อไป

ในที่สุดสิ่งนี้ได้กลายเป็นแนวคิดของ Groupon (Group and Coupon) กลายเป็นว่าการปรับเปลี่ยนแนวคิดง่าย ๆ ดังกล่าวประสบความสำเร็จแบบพุ่งกระฉูด

บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในเวลาเพียงแค่ 16 เดือนเท่านั้น กลายเป็นยูนิคอร์นที่เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ในยุคนั้น และในปี 2010 Groupon ได้ปฏิเสธข้อเสนอมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์จาก Google

ซึ่งต้องบอกว่าในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับการที่เศรษฐกิจของอเมริกานั้นบอบช้ำมาจากวิกฤติ hamburger crisis ในปี 2008

ทำให้ Solution ใหม่ๆ อย่าง Sharing Economy ที่เปิดให้คนหารายได้พิเศษอย่าง AirBNB หรือ Uber หรือแม้แต่ โมเดลแบบ Daily Deal ที่ขายเรื่องการเปลี่ยนค่าโฆษณามาเป็นส่วนลดให้ลูกค้าอย่าง Groupon สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในยามเศรษฐกิจฝืดเคืองได้สำเร็จ

มุ่งหน้าสู่การทำ IPO

นั่นทำให้บริษัทมุ่งหน้าสู่การทำ IPO ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ปี 2011 ซึ่งในช่วงเวลาที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดนั้น Groupon มีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามากที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่าได้

อย่างไรก็ตามเพียงปีเดียวหลังจากนั้นในปี 2012 Groupon มูลค่าหายไปถึง 80% นับตั้งแต่มีการทำ IPO ซึ่งปัญหาแรกที่พวกเขาเจอก็คือ เรื่องของบัญชี ของบริษัทที่เริ่มถูกตรวจสอบโดย ก.ล.ต. ของสหรัฐ

มีการใช้เมตริกการบัญชีที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเกิดขึ้นคล้าย ๆ กรณีของ WeWork ที่มีการตบแต่งตัวเลขให้สวยงามเพื่อทำ IPO

ซึ่งหมายความว่า โดยพื้นฐานแล้วนั้น Groupon ไม่ได้กำไรมากมายอย่างที่แสดงในบัญชีงบดุลของบริษัท ซึ่งเดิมรายงานไว้ที่ 60.6 ล้านดอลลาร์ในปี 2010 ก่อนการทำ IPO

มูลค่าของธุรกิจลดฮวบ เนื่องจากการแข่งขันที่ดุเดือด
มูลค่าของธุรกิจลดฮวบ เนื่องจากการแข่งขันที่ดุเดือด

แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงการวัดทางบัญชีที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น ทำให้ เปลี่ยนจากกำไรเป็นขาดทุนจากการดำเนินงาน 420 ล้านดอลลาร์ทันที

Model การ Copy ที่โครตง่าย

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งและใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ของ Groupon คือ การเลียนแบบนั้นทำโครตง่ายมาก ๆ เด็กจบใหม่ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สามารถเลียนแบบสร้างเว็บไซต์ Coupon ได้แบบสบาย ๆ

และนั่นเองที่ทำให้การแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างสูงมาก มันไม่มีเทคโนโลยีอะไรที่เป็นนวัตกรรมใหม่เลย พวกเขาเพียงแค่เดินเข้ามาในธุรกิจนี้ก่อนเพียงเท่านั้น

ตัวอย่าง ensogo ในประเทศไทยก็ใช้แนวคิดเดียวกัน เพียง copy จาก Groupon มาแบบง่าย ๆ มาเปิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สุดท้ายก็ขายให้กับ LivingSocial ไปในปี 2011

ensogo เลียนแบบ Groupon มาเปิดที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CR:iphone-droid)
ensogo เลียนแบบ Groupon มาเปิดที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CR:iphone-droid)

Groupon ได้พยายามดำเนินการหลายครั้งเพื่อทำการ pivot ธุรกิจของตัวเอง เช่น การร่วมมือกับผู้จำหน่ายตั๋วเพื่อเข้าชมคอนเสิร์ตและสร้างบริการที่มีชื่อว่า Groupon Live

หรือบริการอย่าง Groupon Goods เป็นความพยายามอีกครั้งของบริษัทในการเป็นเวทีสำหรับผู้ขายในการขายสินค้าที่จับต้องได้เช่น สินค้าบน ebay

หรือแม้กระทั่งการเข้าไปแข่งขันในธุรกิจบริการจัดส่งอาหารด้วยก็ตาม เมื่อ Groupon เข้าซื้อกิจการของ OrderUp ซึ่งมองว่าเป็นอนาคตในยุคนั้น ที่คาดว่าตลาดจะมีมูลค่าสูงกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์

แต่ก็เหมือนเดิม เมื่อมีเจ้าใหญ่ในตลาดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Seamless/GrubHub หรือ Delivery.com ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่ลูกค้าจะต้องเปลี่ยนไปใช้บริการของ Groupon เพราะมันมีของที่ดีอยู่แล้วในตลาด

จากจุดสูงสุดสู่พื้นฐานเดิมของธุรกิจ

แน่นอนว่า เมื่อธุรกิจมันขยายต่อไปไม่ได้ เนื่องจากพื้นฐานทางธุรกิจที่อ่อนแอ มีความพยายามในการไล่ Mason ออกในปี 2013 หลังจากไม่สามารถรักษาผลกำไรของบริษัทได้เหมือนเดิมอีกต่อไป

และด้วยความสับสนวุ่นวายภายใน ปัญหาทางด้านการเงิน และการแข่งขันที่รุนแรง Groupon ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ในฐานะที่จะฟื้นตัวจากธุรกิจของพวกเขาได้อีกเลยในอีกทศวรรษต่อมา

ณ วันนี้ มูลค่าของบริษัทลดลงจากจุดสูงสุด เหลือแค่ 1.3 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดที่ 30,000 ล้านดอลลาร์ นั้นต้องบอกว่า เป็นการเดินทางย้อนกลับที่ยาวไกลมาก ๆ ของพวกเขา

แม้ว่าบริษัทจะยังคงดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็กลายเป็นเพียงแค่ธุรกิจดาด ๆ ที่คงไม่มีโอกาสที่จะก้าวไปไหนได้ไกลกว่านี้แล้ว ด้วยจำนวนการแข่งขันที่ยังคงมีอยู่อย่างรุนแรงในธุรกิจดังกล่าว

ต้องบอกว่า Groupon นั้นเป็น case study ที่น่าสนใจมาก ๆ ในการเริ่มต้นธุรกิจ Startup ในยุคถัดไป เมื่อการเติบโตแบบเว่อร์ ๆ ในช่วงแรกที่ไม่มีการควบคุม มาบรรจบกับแนวคิดผลิตภัณฑ์ที่ไร้ซึ่งนวัตกรรม มันก็นำไปสู่ความล้มเหลวแบบสิ้นเชิงอย่างที่ Groupon แสดงให้เราได้เห็นนั่นเองครับผม

References : https://medium.com/cornertechandmarketing/how-groupon-went-from-the-fastest-growing-unicorn-to-nothing-a17eab2bbdc1
https://www.marmind.com/blog/groupon-rise-fall/
https://nymag.com/intelligencer/2018/10/andrew-mason-on-groupon.html
https://www.eater.com/2015/8/4/9091069/groupon-to-go-orderup-delivery-comeback-strategy
https://theweek.com/articles/466876/rise-fall-groupon

Geek China EP23 : The Rise of Alibaba in 2009-2015

EP ปิดท้ายเรื่องราวของก๊กอาลีบาบาในยุค 2009-2015 ถือเป็นยุคที่แจ๊คหม่า อาลีบาบา รุ่งโรจน์ที่สุด

• สรุปการเติบโตและการขยายธุรกิจ ผลงานของหม่าหยุนว่าได้สร้างอาลีบาบาให้กลายมาเป็นอาณาจักรยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลระดับโลกอย่างนี้ได้อย่างไร นอกเหนือจากธุรกิจหลักแล้วมีธุรกิจอื่นๆอะไรอีกบ้าง
• เรื่องราวของการซื้อหุ้นคืนจาก Yahoo ในปี 2012
• การลงจากตำแหน่ง CEO ของหม่า หยุนในปี 2013
• จากการ Delist จากตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในปี2012 สู่การเข้า IPO ในตลาด NYSE ในปี 2014
• จาก start-up เล็กๆไปสู่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ลงทุนกว้านซื้อในกิจการอื่นๆและรวบควมมาอยู่ภายใต้อาณาจักรของตัวเอง
• สรุปผลการดำเนินงานในยุคนี้ของ Alibaba

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2VHk9kS

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
http://tinyurl.com/yjmnmsua

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/iVVFV5Wo_-s