Tadashi Yanai กับการสร้างแบรนด์ Uniqlo โดยใช้แนวคิดแบบ Silicon Valley

การทำงานหนักและความอุตสาหะเป็นคุณสมบัติสองประการของผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ Tadashi Yanai เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุด เขาเป็น CEO คนปัจจุบันของ Fast Retailing Co เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า Uniqlo ที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ 

Yanai เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี 1949 เขามีใจรักในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เริ่มแรก เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวาเซดะในโตเกียวในปี 1971 ในสาขารัฐศาสตร์ 

หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาเริ่มต้นจากการขายเสื้อผ้าบุรุษและเครื่องครัวที่ซูเปอร์มาร์เก็ต Jusco หลังจากใช้เวลาหนึ่งปีที่ Jusco เขาลาออกจากงาน เข้าร่วมธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าของพ่อของเขา และตั้งชื่อว่า Ogori Shoji

เขาเปิดร้าน Uniqlo แห่งแรกในปี 1984 ที่เมืองฮิโรชิมา และเรื่องราวของ Uniqlo ก็ได้เริ่มต้นหลังจากนั้นเป็นต้นมา

เขาใช้เวลาเพียงแค่ 10 ปี ในการนำพาร้านเล็กๆ ในย่านชานเมืองแห่งนี้ จนสามารถเปิดร้านค้าอื่นๆ อีกหลายสิบร้าน และสามารถนำเสนอขายหุ้นสู่สาธารณะชนได้สำเร็จในปี 1994

เปิดสาขาแรกที่ฮิโรชิม่า ก็ฮิตติดลมบนทันที (CR:SCMP)
เปิดสาขาแรกที่ฮิโรชิม่า ก็ฮิตติดลมบนทันที (CR:SCMP)

ในปี 1998 เมื่อแบรนด์เปิดร้านสาขาโตเกียวแห่งแรกในฮาราจูกุ โดยเป็นการเปิดตัวท่ามกลางเศรษฐกิจหลังฟองสบู่ของญี่ปุ่น

แคมเปญเปิดตัวของแบรนด์ที่จำหน่ายผ้าฟลีซน้ำหนักเบาในราคา 1,900 เยนสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับกลุ่มลูกค้าในโตเกียวเป็นอย่างมาก

ย้อนกลับไปในตอนนั้น Uniqlo เป็นเพียงตัวแทนของเสื้อผ้าราคาถูกเท่านั้น แต่ก็เพียงพอแล้วที่จะเห็นรายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นห้าเท่าระหว่างปี 1998 ถึง 2001

เป็นเวลาหลายปีที่ Uniqlo ยังไม่ก้าวไปไหนไกล แม้ก่อนหน้านี้จะได้รับการสนับสนุนจากสินค้าฮิตใหม่ๆ และแรงผลักดันในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ แต่ Fast Retailing Co ได้กลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังจากผ่านวิกฤตการเงินโลกในปี 2008

นับตั้งแต่เริ่มต้น จุดแข็งของ Fast Retailing Co คือการกำหนดราคาที่สมเหตุสมผลสำหรับสินค้าพื้นฐานมาโดยตลอด

Takahiro Kazahaya นักวิเคราะห์การค้าปลีกของ Credit Suisse Securities กล่าว “Yanai ได้กำหนดภารกิจที่ชัดเจนสำหรับบริษัทในการจัดหาเสื้อผ้าราคาถูกและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นสำหรับทุกคนทุกวัย และได้ทำในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุสิ่งนั้น”

ความลับของอำนาจในการกำหนดราคาของ Uniqlo ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการสั่งซื้อจำนวนมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งช่วยให้ทำงานร่วมกับผู้ผลิตสิ่งทอได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อผลิตวัสดุพิเศษเฉพาะจำนวนมากในราคาถูก

ความสมดุลของคุณภาพและราคาได้รับการจัดการอย่างดี ซึ่งนำไปสู่ส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นในเอเชียเป็นหลัก . . ซึ่งนั่นไม่ได้เปลี่ยนแปลงแม้จะเจอผลกระทบจาก Covid-19 ก็ตาม ซึ่งแม้ว่าผู้บริโภคทั่วโลกจะเลือกมากขึ้น แต่ Fast Retailing Co ก็ยังสามารถเติบโตได้

Uniqlo สร้างเครือข่ายที่กว้างขวางโดยมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าทุกวัยและทุกไลฟ์สไตล์ ซึ่งหมายความว่า ตลาดที่มีศักยภาพในระยะยาวนั้นใหญ่สำหรับ Uniqlo มากกว่า Zara ที่เป็นคู่แข่งหลักของพวกเขา

การก้าวขึ้นสู่บริษัทค้าปลีกระดับโลก

Uniqlo ประสบความสำเร็จอย่างมากในการปลูกฝังความภักดีของลูกค้าชาวญี่ปุ่น แต่พื้นที่ที่จะเติบโตนั้นมีจำกัด ตลาดในประเทศของ Uniqlo นั้นอิ่มตัวและหดตัวเนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุที่สูงขึ้น

จีนยังเป็นศูนย์กลางการผลิตหลักของ Fast Retailing Co มาอย่างยาวนานและเป็นตลาดหลักด้วย บริษัทตั้งฐานการผลิตครั้งแรกในเซี่ยงไฮ้ในปี 1999 ก่อนที่จะเปิดตัวร้านแรกในปี 2002 แรงบันดาลใจของ Yanai คือ Giordano แบรนด์ในฮ่องกงที่ก่อตั้งโดย Jimmy Lai

อีกหนึ่งตลาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดของ Uniqlo คือประเทศจีน (CR:dichanddadang.com)
อีกหนึ่งตลาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดของ Uniqlo คือประเทศจีน (CR:dichanddadang.com)

ปัจจุบัน Uniqlo มีร้านค้าประมาณ 60 แห่งในอเมริกาเหนือและ 100 แห่งในยุโรป ร้านค้าในเมืองสำคัญๆ เช่น นิวยอร์ก มิลาน และปารีส เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ระดับโลก

ในขณะที่บริษัทมีแผนที่จะเปิดร้านค้า 200 แห่งในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2020 แต่ก็ประสบปัญหาในการสร้างผลกำไร ซึ่งมีร้านค้าอย่างน้อย 50 แห่งประสบกับสภาวะขาดทุนในตลาดอเมริกา

Fast Retailing Co ได้สร้างชื่อเสียงในการเป็น อุตสาหกรรมค้าปลีกผู้บริโภคดิจิทัลรูปแบบใหม่ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยความพยายามอย่างทะเยอทะยานที่จะ Transform สู่ดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงทุกส่วนของซัพพลายเชนให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลมากยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่เปิดคลังสินค้าอัตโนมัติสำหรับการขายอีคอมเมิร์ซในเขตอาริอาเกะของโตเกียวในปี 2018 ก็ได้ตั้งคลังสินค้าแห่งที่สองในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะเปิดคลังสินค้าที่คล้ายกันในตลาดอื่น ๆ อีกด้วย

Uniqlo เข้าสู่เวียดนามและอินเดีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นอีกตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่มีศักยภาพสำหรับบริษัท

Uniqlo มีร้านค้า 251 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และออสเตรเลีย Yanai กล่าวว่า เขาเล็งเห็นถึงยอดขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในที่สุดจะสามารถทำได้ในระดับเดียวกับจีน

ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปเต็มไปด้วยคู่แข่งที่ขายสินค้าพื้นฐานราคาถูก ตลาดเกิดใหม่ยังคงเป็นสนามรบใหม่ที่ไม่มีผู้ชนะที่ชัดเจน

Kensuke Kojima ที่ปรึกษาด้านการค้าปลีกแฟชั่นยังแนะนำว่า Uniqlo มีข้อได้เปรียบเหนือ Zara และ H&M ในเอเชีย เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว Uniqlo ได้มีการออกแบบสำหรับรูปร่างของคนเอเชีย

Yanai กำลังคิดเกี่ยวกับประเภทของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นหลังการระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19 “เป็นความจริงที่ว่า coronavirus แพร่กระจายอย่างรวดเร็วนั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าโลกเราไม่ได้แบ่งแยก เราใกล้ชิดกันมากกว่าที่หลายคนคาดคิดในอดีต” เขากล่าว

“ทุกคนเริ่มคิดถึงชีวิตและความตาย” เขากล่าว ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกที่ต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคอยู่เสมอ เขากล่าวว่า “สิ่งนั้นจะสะท้อนให้เห็นในส่วนต่างๆ ของชีวิตของพวกเขา และเราต้องปรับให้เข้ากับพฤติกรรม New Normal ใหม่ที่จะเกิดขึ้น”

ต้องบอกว่า เรื่องราวของ Tadashi Yanai นั้นเป็นอีกหนึ่งนักธุรกิจที่สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างมาก เขานำพา Uniqlo จากร้านเล็ก ๆ ในเมืองฮิโรชิม่า ก้าวขึ้นสู่แบรนด์ชั้นนำระดับโลกได้อย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้

มันไม่ใช่เพียงแค่สู้กับธุรกิจท้องถิ่น แต่ตอนนี้พวกเขากำลังขึ้นไปท้าทายแบรนด์ชั้นนำระดับโลกอย่าง Zara และสิ่งที่ Yanai ได้กล่าวไว้อย่างนึง ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจเลยทีเดียว

“ผมคิดเหมือนผู้ประกอบการในซิลิคอนแวลลีย์ ความล้มเหลวเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกัน คุณต้องจำไว้ ความสำเร็จไม่มีวันคงอยู่… ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือแฟชั่น เพราะฉะนั้นคุณต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูกค้าของคุณ” Tadashi Yanai

References : https://successstory.com/people/tadashi-yanai
https://asia.nikkei.com/Spotlight/The-Big-Story/The-man-who-clothes-Asia-Uniqlo-chief-Tadashi-Yanai
https://en.wikipedia.org/wiki/Tadashi_Yanai
https://www.businessoffashion.com/community/people/tadashi-yanai
https://iluminasi.com/bm/tips-berjaya-tadashi-yanai-uniqlo.html

Geek Monday EP95 : เมื่อ Zuckerberg ต้องการเปลี่ยน Facebook จากบริษัทโซเชียลมีเดียให้เป็น ‘บริษัท metaverse’

Mark Zuckerberg ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของเขาในการเปลี่ยน Facebook จากเครือข่ายโซเชียลมีเดียให้เป็น “บริษัท metaverse” ในอีกห้าปีข้างหน้า

แม้ว่าวิสัยทัศน์ดังกล่าว จะฟังดูตรงไปตรงมา และดูเหมือนมาจากภาพยนตร์ไซไฟ แต่การประกาศดังกล่าวมีผลกระทบร้ายแรงต่ออนาคตของเราทุกคน และอาจใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าที่คุณคิด และท้ายที่สุดมันจะทำให้ Facebook กลายเป็นองค์กรธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้สำเร็จ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2UDAGXb

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/b7u7FC2DvSo