ลัทธิชาตินิยมวัคซีน เกมการเมืองโลกบนความปวดร้าวของมวลมนุษยชาติ

ผ่านไป 6 เดือนในการรณรงค์ฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ที่สุดนประวัติศาสตร์โลก แต่ต้องบอกว่ามันเต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียมอย่างยิ่ง มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้น ที่ได้รับวัคซีนปริมาณถึง 3 ใน 4 ของปริมาณวัคซีนที่มีมากกว่า 2 พันล้านโดสทั่วโลก

และมันได้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิชาตินิยมวัคซีน” ซึ่งประเทศต่าง ๆ จัดลำดับความสำคัญของความต้องการภายในประเทศเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะประเทศที่มีความมั่งคั่งไม่กี่ประเทศที่อ้างสิทธิ์ในส่วนแบ่งวัคซีนสำหรับของประเทศตนเอง

แน่นอนว่าการแข่งขันระหว่างรัฐต่าง ๆ เพื่อพัฒนาวัคซีน และการทูตด้านวัคซีน ชาติยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้ใช้ความสามารถของตนในการจัดหา ผลิต และจำหน่ายวัคซีน เป็นตัวชี้วัดอำนาจรัฐของตัวเองทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประเทศมหาอำนาจส่วนใหญ่ อาศัยการลงทุนในการผลิตวัคซีนและสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนวัคซีนทั้งหมด ที่วางแผนที่จะผลิตได้ในปี 2021 ได้รับการจับจองโดยกลุ่มประเทศร่ำรวย อย่าง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนเพียง 14% ของประชากรโลกเพียงเท่านั้น

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวมานานแล้วว่า การระบาดใหญ่จะสิ่งสุดลงเมื่อทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และ WHO ก็หวังว่าจะมีประชากรโลก 20% ได้รับการฉีดวัคซีนภายในสิ้นปี 2021

แต่ดูเหมือนเป้าหมายนี้ จะไกลเกินเอื้อม เพราะประชากรกว่า 88% ของโลกยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลย และการส่งมอบวัคซีนให้กับประชากรโลกจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนนั้น ถูกขัดขวางจากเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ และ ลัทธิชาตินิยมวัคซีน

องค์การอนามัยโลก ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ลัทธิชาตินิยมวัคซีน ดังกล่าว โดยไม่คำนึงถึงความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรคติดต่อ จะไม่เพียงแค่ ยืดอายุการแพร่ระบาดเท่านั้น แต่ยังถือเป็นความล้มเหลวทางศีลธรรมอีกด้วย

ในโลกอุดมคติ ดูเหมือนวัคซีนนั้นจะถูกแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกันในทุก ๆ ประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีประเทศใดถูกกีดกันจากการเข้าถึงวัคซีนเพื่อช่วยเหลือชีวิตมนุษย์เหล่านี้ ซึ่งมันเป็นเป้าหมายของ COVAX ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศมีสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม

COVAX ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศมีสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม (CR:Reliefweb)
COVAX พันธมิตรระดับนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศมีสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม (CR:Reliefweb)

แต่ต้องบอกว่าโลกแห่งความเป็นจริงนั้น มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย มีประเทศมากกว่า 180 แห่งซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้ลงนามเข้าร่วมในโครงการดังกล่าว

จำนวนโดสที่ผลิตมาทั้งหมดนั้นถูกสงวนไว้โดยประเทศที่ร่ำรวยไม่กี่ประเทศ และไม่สามารถถึงเป้าหมายในการจัดหาปริมาณที่เพียงพอในการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 20% ของประชากรแต่ละประเทศที่มีการเข้าร่วม

ซึ่งจนถึงปัจจุบัน การบริจาควัคซีนแบบทวิภาคส่วนใหญ่นั้นมีปริมาณเพียง 200,000 โดส หรือ น้อยกว่า ซึ่งสามารถปกป้องผู้คนได้อย่างมากก็แค่ 100,000 ชีวิตเพียงเท่านั้น

แต่ประเทศเล็ก ๆ หลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคริบเบียน และ มหาสมุทรอินเดีย ได้รับวัคซีนเพียงพอสำหรับประชากรมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ในทางตรงกันข้ามประเทศที่มีประชากรมากกว่า ได้รับวัคซีนเพียงพอสำหรับประชากรเพียงแค่ 1% เท่านั้น

และต้องบอกว่าประเทศต่าง ๆ ก็ไม่ได้รับวัคซีนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่อย่างใด แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงจะสูงกว่าที่บันทึกไว้ในหลาย ๆ ประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการตรวจต่ำ แต่กลับได้รับการบริจาคเกินจำนวนผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ใน เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และ อัฟกานิสถาน ล้วนได้รับบริจาคตั้งแต่ 1.2 ถึง 2.2 ล้านโดส แม้จะมีรายงานผู้ป่วย COVID-19 ค่อนข้างน้อยก็ตามที

และเมื่อพิจารณาถึงการจัดสรรปริมาณวัคซีนตามภูมิภาค การแจกจ่ายยิ่งไม่เท่าเทียมกัน ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียได้รับบริจาคไปกว่า 55.59 % แม้จะมีผู้ป่วยยืนยันเพียงแค่ 20.73 %

ในทางตรงกันข้าม ละตินอเมริกา และ ยุโรปตะวันออก ซึ่งยังประสบปัญหาการแพร่ระบาดจำนวนมาก กลับได้รับวัคซีนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น อาร์เจนตินา โคลอมเบีย และแอฟริกาใต้ คิดเป็น 4.83% ของผู้ป่วยทั่วโลก แต่ให้วัคซีนเพียงแค่ 1.22% ของปริมาณวัคซีนทั้งหมดเพียงเท่านั้น

แล้วปัจจัยอะไรเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนการบริจาคและแจกจ่ายวัคซีนกันแน่?

ต้องบอกว่า ทั้ง จีน อินเดีย อิสราเอล และ รัสเซีย ซึ่งเป็น 4 ประเทศที่ใช้แนวทางระดับโลกในการทูตด้านวัคซีน กล่าวคือ มีการจัดหาวัคซีนให้กับประเทศอย่างน้อย 10 ประเทศในสามทวีป หรือ มากกว่านั้น โดยได้ดำเนินการที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ระดับชาติและยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของพวกเขา

ซึ่งจาก 72 ประเทศที่จีนให้คำมั่นสัญญาในเรื่องการบริจาควัคซีนนั้น เข้าร่วมในโครงการ Belt and Road Initiative ซึ่งเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่มีความทะเยอทะยานซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มอิทธิพลของจีน พัฒนาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ และเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าใน 139 ประเทศ

ประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ Belt and Road Initiative ของจีนได้รับสิทธิ์แจกวัคซีนก่อน (CR:wikipedia.org)
ประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ Belt and Road Initiative ของจีนได้รับสิทธิ์แจกวัคซีนก่อน (CR:wikipedia.org)

รวมถึงแรงจูงใจที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งสำหรับการบริจาคของจีน ก็คือ การสร้างความมั่นใจ หรือจูงใจให้ประเทศเหล่านั้น สนับสนุนจีน ในเรื่อง นโยบายจีนเดียว รวมถึงเรื่องปัญหาทั้งใน ฮ่องกง ไต้หวัน ทิเบต และซินเจียง รวมถึงในทะเลแคริบเบียน

หลังจากที่ ประเทศ กายอานา และ โดมินิกา ยอมรับการบริจาค พวกเขาได้ยืนยันคำมั่นสัญญาต่อ “นโยบายจีนเดียว” ในขณะที่ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามหลายประเทศ เช่น อียิปต์ และ คีร์กีซสถาน ได้ให้การสนับสนุนจุดยืนของจีนในซินเจียง และได้รับการบริจาควัคซีนแล้ว

อินเดีย ซึ่งแม้จะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก แม้มีความพยายามแข่งขันกับจีนในเรื่องการบริจาค แต่ปัญหาการแพร่ระบาดภายในประเทศก็ทำให้การส่งต่อวัคซีนนั้นหยุดชะงัก

อย่างไรก็ดี การบริจาคของอินเดียก็ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ทุกประเทศอย่างเท่าเทียม สามในสี่ของการบริจาคของพวกเขา หรือราว ๆ 8.2 ล้านโดส ส่งไปยัง 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้เท่านั้น ส่วนอื่น ๆ ของโลก อินเดียบริจาคเฉลี่ยเพียง 70,000 โดสต่อประเทศเพียงเท่านั้น

นายกรัฐมนตรีของอินเดียอย่าง Modi ได้เน้นย้ำที่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อตอบโต้อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีนในภูมิภาคดังกล่าว และนอกเหนือจากนั้น อินเดียวกำหนดเป้าหมายประเทศที่สามารถแข่งขันกับปักกิ่ง ในประเทศแถบแอฟริกา และ แคริบเบียน หรือ ประเทศในเครือจักรภพ

ส่วนการทูตวัคซีนของอิสราเอล ได้มีความพยายามต่อเนื่อง โดยมีการโฟกัสไปที่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาและยุโรป

ส่วนรัสเซีย แม้จะประกาศให้วัคซีนของตนเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในโลก และพยายามอย่างยิ่งที่จะ promote วัคซีนดังกล่าวในต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้สนใจในเรื่องการบริจาคมากนัก

มอสโก เลือกใช้ข้อตกลงการซื้อและอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบทวิภาคี โดยกล่าวว่า พวกเขาต้องการข้อตกลงทวิภาคี มากกว่า COVAX และ เสนอการบริจาคเล็กน้อยให้กับเพียงไม่กี่ประเทศ

การบริจาคของรัสเซียส่วนใหญ่อยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า 20,000 โดส ซึ่งหลายประเทศเหล่านี้ ได้รับตัวอย่างฟรี และกำลังพิจารณาจัดซื้อวัคซีนของรัสเซียอยู่แล้ว ตัวอย่าง เช่น ใน อาร์เมเนีย เบลารุส เลบานอน มอลโดวา นิการากัว และ เวียดนาม

ส่วนฝั่งของอเมริกา แน่นอนว่า พวกเขามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Pfizer และ Moderna และกำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่พิสูจน์แล้วว่า เหนือกว่า วัคซีนชนิดอื่น ๆ

นั่นเองที่กลายเป็นอำนาจต่อรองที่สำคัญของอเมริกาเอง เพราะ การพัฒนาวัคซีนในช่วงเริ่มต้นนั้น ได้รับการอุดหนุนเงินจากรัฐบาลสหรํบอเมริกาจำนวนมหาศาล

และเคสที่เกิดขึ้นกับ พันธมิตรที่สำคัญของอเมริกาอย่างไต้หวันนั้น ก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

“ประเด็นความช่วยเหลือด้านวัคซีนป้องกัน COVID-19 นี้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของตนเองก่อนเสมอ” คำกล่าวจาก Xin Qiang รองผู้อำนวยการ Center of US Studies ที่ Fudan University กล่าวกับ Global Times

ชาวไต้หวันน้อยกว่า 1% ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งทำให้เป็นประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนน้อยที่สุดในเอเชีย ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย The New York Times อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 จำนวนมาก และจำกัดการส่งออกวัตถุดิบวัคซีน ซึ่งการกระทำเหล่านี้ สะท้อนถึงนโยบาย “American First” อย่างเต็มที่

ในปี 2020 เพียงปีเดียว สหรัฐฯ ได้ขายอาวุธมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์ให้แก่เกาะไต้หวัน แต่ความกระตือรือร้นของสหรัฐฯ ในการนำเสนอวัคซีนป้องกัน COVID-19 แก่ไต้หวันนั้นน้อยกว่าความกระตือรือร้นในการขายอาวุธให้ไต้หวันมาก

แน่นอนว่า การทตูวัคซีน ของสหรัฐอเมริกานั้นถูกผูกเงื่อนปม ไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เกมการเมืองระหว่างประเทศ ในการจัดลำดับความสำคัญของปริมาณวัคซีนที่จะมีการแจกจ่าย

เมื่อไล่ดูรายชื่อประเทศที่ได้รับวัคซีนก่อน คงไม่แปลกใจ ตัวอย่างเช่น ฟิลิปปินส์ ที่เป็นพันธมิตรมาอย่างช้านาน และ ยังเป็นประเทศที่มีปัญหากับจีน ในเรื่องน่านน้ำทะเลจีนใต้ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของยุทธศาสตร์ล้อมจีนของสหรัฐ หรือ มาเลเซียที่มีปัญหาในเรื่องประเด็นเดียวกันกับประเทศจีน

หรือ ประเทศ อย่างอาร์เจนตินา ที่ ได้ตกเป็นเป้าหมายของความพยายามของจีนที่จะเข้ามามีบทบาท ก็ได้รับจัดอันดับความสำคัญขึ้นมาก่อนจากสหรัฐอเมริกา ตามแนวทางการแข่งขันในการทูดด้านวัคซีนของสหรัฐฯ ที่จะต้องมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์หลักของสหรัฐฯ นั่นคือ การสนับสนุนระเบียบโลกใหม่ ที่มีสหรัฐเป็นผู้นำนั่นเอง

บทสรุป

ในเวลาที่ประชากรโลกจำนวนมากกำลังเจ็บปวดรวดร้าว กับสถานการณ์โรกระบาดที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้นง่าย ๆ แต่ดูเหมือนประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ จะดูไม่ได้สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากนัก

แน่นอนว่า พวกเขาก็ลงทุนไปจำนวนมากมายมหาศาล ที่ทำให้สามารถผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพออกมา และตอนนี้มันก็ได้เป็นเกมของพวกเขา ที่เป็นต่อ จาก demand ที่มีอยู่จำนวนมหาศาล กับ supply ที่มีอยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น

ฉะนั้น มันไม่ได้เป็นเรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด ว่า ทำไม การที่จะได้รับวัคซีนจากประเทศเหล่านี้ มันไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขได้แบบการเจรจาแบบธุรกิจ ต่อ ธุรกิจ เหมือนอย่างที่เราเข้าใจกัน ที่สามารถ สั่งซื้อ จ่ายเงิน แล้วจะจบกันได้แบบง่าย ๆ

เพราะตอนนี้ มันได้กลายเป็นเรื่องเกมการเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงยุทธศาสตร์ ที่สำคัญของประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ ซึ่งการจะได้วัคซีน เร็ว หรือ ช้า หรือ ฟรี นั้น มันไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเงินตรา แต่มันขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังเลือกเดิน ที่มันกำลังส่งผลต่อประเทศมหาอำนาจเหล่านี้นั่นเองครับผม

References : https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/08039410.2021.1918238
https://www.globaltimes.cn/page/202105/1224716.shtml
https://www.thinkglobalhealth.org/article/politics-vaccine-donation-and-diplomacy
https://www.theatlantic.com/international/archive/2020/12/vaccine-nationalism-doomed-fail/617323/https://www.cbc.ca/news/world/global-vaccine-supply-1.6056550
https://longreads.tni.org/immunity-is-liberty-vaccine-internationalism-during-a-pandemic
https://foreignpolicy.com/2021/04/30/covid-vaccine-diplomacy-us-china-russia
https://lastfuturist.com/vaccine-nationalism-will-boost-covid-19-treatments-like-rlftfs-zyesami/

Geek Story EP102 : Smartphone War (ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้ว วิธีเดียวที่จะรับประกันอนาคตของ Google ให้มีที่ยืนในโปรแกรมค้นหาบนมือถือได้ ณ ขณะนั้นก็คือ Android และต้องมีแรงจูงใจพิเศษที่เหล่าผู้ผลิตมือถือได้รับแล้วไม่อาจปฏิเสธข้อเสนอได้

แล้ววิธีการนั้นกับระบบปฏิบัติการน้องใหม่อย่าง Android มันคืออะไร และเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญต่อธุรกิจในอนาคตของ Google เป็นอย่างยิ่ง รับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3ykPLL7

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/1Zxx29Vzt8Q