เป็ดก็ไม่เว้น! มารู้จัก Aigamo หุ่นยนต์กำจัดวัชพืชเลียนแบบเป็ด

สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเอเชียสัตว์บางชนิดอย่างเป็ดนั้นใช้เป็นทางเลือกทางธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืช ในขณะที่เหล่าเป็ดว่ายวนไปไปรอบ ๆ ในทุ่งนาที่มีน้ำท่วม เหล่าเป็ดก็จะทำการฉีกวัชพืชและจัดการแมลง

และปล่อยใหัเหล่าเศษซากต่าง ๆ กลายเป็นปุ๋ยเพิ่มเติม แต่ในวันนี้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่อาจเปลี่ยนแปลงวิถีแบบเดิม ๆ ของชาวเกษตรกรก็เป็นได้

วิศวกรที่ทำงานให้กับผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นอย่างบริษัทนิสสันได้สร้างหุ่นยนต์ทดแทนเป็ดในนา รายงานโดย Nippon.com และNerdist ,โดยเขากำลังทดสอบต้นแบบของเขาในจังหวัดยามากาตะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ดูเหมือนว่าจะเป็นเพียงโครงการ DIY ในขณะนี้โดยไม่มีแผนในเชิงพาณิชย์หรือแม้แต่ข้อมูลใด ๆ ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีที่น่าทึ่งเหมือนกัน

หุ่นยนต์ที่ถูก Design มาแบบน่ารักสไตล์ญี่ปุ่น
หุ่นยนต์ที่ถูก Design มาแบบน่ารักสไตล์ญี่ปุ่น

หุ่นยนต์ Aigamo นั้นได้รับการตั้งชื่อตามสายพันธุ์ของเป็ดที่ใช้ในการฝึกแบบโบราณนี้  โดยหุ่นยนต์ตัวนี้จะมีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมและมีขนาดของประมาณหุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่ แปรงยางหมุนสองอันที่อยู่ด้านล่างจะแทนเท้าของเป็ด ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชหยั่งราก

สามารถดูวิดีโอการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากคลิปด้านล่าง  ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันเป็นหุ่นยนต์ที่น่ารักที่สามารถผสมผสานเทคนิคการเกษตรแบบเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน ในญี่ปุ่นที่การทำนากำลังเกิดปัญหาจากการบริโภคที่ลดลงและจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และเจ้าหุ่นยนต์ Aigamo มันสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมที่สำคัญทางวัฒนธรรมอยู่รอดได้ในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

แต่ที่แน่ ๆ เจ้าเป็ดน้อยทั้งหลายอาจจะถูกแย่งงานโดยหุ่นยนต์ในอนาคตก็เป็นได้ครับ

References : 
https://www.theverge.com/tldr/2019/6/22/18700480/robot-duck-nissan-rice-fields-farming-weeds

Search War ตอนที่ 3 : Search & Microsoft

ในช่วงขณะที่ google กำลังเริ่มทะยานในธุรกิจด้านการค้นหา แต่ในขณะเดียวกันนั้น Microsoft กำลังเจอคดีที่เกี่ยวกับการต่อต้านการผูกขาดจากศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งได้ทำลายชื่อเสียงของ Microsoft ในวงการธุรกิจอย่างย่อยยับ

และการที่ google เป็นบริษัทน้องใหม่เต็มไปด้วยเด็กหนุ่มที่มาพร้อมกับความทะเยอทะยาน มันได้กลายเป็นเรื่องดีสำหรับ ผู้ที่ใช้งาน Search Engine ในยุคแรกที่ต้องการลองของใหม่ทางออนไลน์ในขณะที่กำลังเบื่อกับความยิ่งใหญ่ของ Microsoft ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่า Microsoft นั้นอยู่ไกลเกินไปจนไม่ใส่ใจ หรือ สังเกตเห็น google เลยด้วยซ้ำ

บรินและเพจ เริ่มพยายามสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ เพื่อดึงดูดคนหนุ่มสาวเข้ามาเปลี่ยนโลกกับเขา ด้วยทุนทรัพย์ที่จำกัดทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างแพง ๆ ได้ แต่พวกเขาได้ สร้างวัฒนธรรมอย่าง การให้หุ้น อาหารและเครื่องดื่มที่ฟรี และ เป้าหมายที่ใหญ่มากของพวกเขาที่จะให้คนทั่วโลกนับล้านได้ใช้งาน google มันก็เป็นแรงดึงดูดสำคัญให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจจะมาทำงานกับ google มากยิ่งขึ้น

ซึ่งเพจและบริน นั้นคิดอยู่เพียงอย่างเดียวที่จะพัฒนาบริการของเขาให้ดีที่สุด เรื่องการหาเงินนั้นพวกเขายังไม่สนใจใด  ๆด้วยซ้ำในช่วงแรกของการก่อตั้ง Google พวกเขาต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ซึ่งทำให้มีผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามามาก และเพื่อให้มั่นใจในความแม่นยำ ความเร็วในการตอบสนอง ทั้งสองก็ได้ลงทุนสร้างฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เพิ่มด้วยเงินที่่หามาได้แทบจะทั้งหมด

ฟากฝั่ง Microsoft นั้นไม่เคยคิดว่าการค้นหาเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ของธุรกิจของตัวเอง Microsoft นั้นผลักให้ส่วนของการค้นหาเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกลุ่ม MSN (Microsoft Network) และอยู่นอกผลิตภัณฑ์หลักของ Microsoft

Microsoft โฟกัสใน content online อย่าง MSN มากกว่า
Microsoft โฟกัสใน content online อย่าง MSN มากกว่า

และอีกเหตุผลที่สำคัญนั้น ก็ต้องบอกว่า ในตอนนั้นยังไม่มีใครมองเห็นว่า การค้นหานั้นจะทำเงินได้อย่างไร หากเราลองจินตนาการย้อนกลับไปในยุคนั้น ก็ต้องบอกว่า ก็ไม่มีใครคาดคิดเหมือนกันว่าธุรกิจค้นหานั้น จะทำเงินได้มหาศาลเหมือนในยุคปัจจุบันเช่นนี้

Microsoft นั้นมองหน่วยงานการสร้างโปรแกรมการค้นหา เป็นเพียงหน่วยงานที่มีแต่รายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และไม่รู้วิธีการที่จะทำเงินจากโปรแกรมเหล่านี้ได้อย่างไร Microsoft มุ่งเน้นไปทาง content online เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานผ่าน MSN มากกว่า

ซึ่งทุกคนต่างรู้ดีในขณะนั้นว่า Search Engine นั้นไม่มีวี่แววว่าจะทำเงิน เพราะโดยตัวมันเองนั้น เมื่อคนคลิกค้นหาคำค้นหาใด ๆ คนก็จะออกจากเว๊บไซต์การค้นหาเพื่อไปยังเว๊บไซต์ปลายทางอยู่ดี และมันไม่สามารถที่จะควบคุมเว๊บไซต์ปลายทางได้ในขณะนั้น มันจึงเป็นเพียงแค่จุดเชื่อมต่อเพื่อไปยังเว๊บไซต์ปลายทางและสุดท้ายก็ไปสร้างรายได้ให้กับเว๊บไซต์ปลายทางเพียงเท่านั้น

ในขณะนั้น มีเว๊บไซต์มากมายในอินเตอร์เน็ตที่ไม่ใช่ Yahoo.com หรือ MSN.com หรือ Askjeeves.com ซึ่งหากมองถึงพื้นฐานจริง ๆ แล้วนั้นหาก Search Engine ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะเสียโอกาสในการได้โฆษณามากขึ้นเท่านั้น และเหล่านักลงทุนก็มองมันเป็นธุรกิจที่ไม่ก่อรายได้ในยุคนั้น มันเป็นเพียงแค่ของเล่นเท่านั้น

 และแน่นอนว่า Search Engine นั้นไม่ใช่วิถีทางธุรกิจในยุคนั้น แม้กระทั่ง เจอร์รี่ หยาง CEO ของ Yahoo ก็ได้ปฏิเสธ google อย่างไม่ใยดี เพราะคิดว่าเหล่านักท่องอินเตอร์เน็ตคงไม่หาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ผ่านออนไลน์เหมือนในยุคนี้ 

ซึ่งแนวคิดของ Yahoo จะต่าง เพราะพวกเขาอยากให้ผู้ใช้อยู่กับ เว๊บไซต์ Yahoo นาน ๆ แต่การมีส่วนของการค้นหาแบบที่ Google ทำนั้น เป็นการส่งผู้ใช้งานไปยังเว๊บไซต์อื่นๆ  โดยรวดเร็ว ซึ่งดูจะไม่เหมาะกับโมเดลธุรกิจของ Yahoo ในตอนนั้น

เจอร์รี่ หยาง มองว่า google ไม่ตอบโจทย์ธุรกิจของ Yahoo
เจอร์รี่ หยาง มองว่า google ไม่ตอบโจทย์ธุรกิจของ Yahoo

ซึ่งไม่มีใครในขณะนั้นคิดว่า เราสามารถที่จะสร้างความภักดีของลูกค้าได้ โดยมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แบบที่ google ทำ ซึ่งแน่นอนว่า หากลูกค้าใช้ google แล้วได้สิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ไปใช้ Search Engine ตัวอื่นนั้นทำไม่ได้ ซึ่งนั่นคือจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่คนแห่มาใช้ google กันอย่างถล่มทลาย โดยที่เหล่าคู่แข่งแทบจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

ในขณะที่ Microsoft ดิ้นรนต่อสู้ในการพิจารณาคดีของกระทรวงยุติธรรม google ซึ่งอาศัยจังหวะที่ยักษ์ใหญ่กำลังหัวปั่นกับคดีต่าง ๆ และมองข้ามขุมทองคำใหม่บนโลกออนไลน์ ซุ่มพัฒนาและบริการอยู่เงียบ ๆ จนพุ่งทะยานจนใครที่คิดจะตามมาทีหลังนั้น ยากที่จะตาม google ได้ทันอีกต่อไป แล้ว Microsoft จะรู้ตัวเมื่อไหร่ว่ากำลังพลาดตกขบวนรถไฟแห่ง Search Engine ที่กำลังกลายเป็นขุมทรัพย์มหาศาลแห่งใหม่ โปรดอย่างพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : An Engineering Culture

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Image References : https://cdn.vox-cdn.com/thumbor/4auA8IwQPpiBi25jCDejhoI_z8g=/0x0:3200×1800/1200×675/filters:focal(1174×423:1686×935)/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_image/image/59774405/microsoft_antitrust_getty_ringer.0.jpg

Search War ตอนที่ 2 : Google Search

ในปี 1997 เพจและบริน ได้ทำการพยายามที่จะขายแนวความคิดของ PageRank ให้กับบริษัทหลายแห่ง เพราะพวกเขาทั้งสองไม่ได้ต้องการเข้าสู่วงการธุรกิจเลยเสียด้วยซ้ำ โดยทั้งคู่ได้พยายามขายให้กับยักษ์ใหญ่ทางด้านการค้นหาในขณะนั้นอย่าง Excite และ Yahoo

ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ดูเหมือน คู่หู ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ในตอนนั้นยังไม่ได้สนใจจะเข้าสู่โลกของธุรกิจนัก พวกเขาต้องการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ก็จริง แต่อยากทำในด้านวิชาการมากกว่า ทั้งสองก็ยังถกเถียงกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คอมพิวเตอร์ ปรัชญา หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เพิ่งคิดได้ พวกเขาจะเถียงกันเอาเป็นเอาตาย แต่ใช้เหตุผลมาสู้กัน เพราะพวกเขานั้นถือเป็นยอดอัจฉริยะทั้งคู่ที่ดูเหมือนจะไม่มีใครยอมใครได้เลย

ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยี PageRank ที่ทั้งสองคิดนั้นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ แต่ด้วยกระแสตอนนั้น ที่ยังไม่มีใครรู้จัก Search Engine มากนัก ซึ่งทั้ง Excite และ Yahoo นั้นก็มองว่ายังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อโปรแกรม Search Engine ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะทั้งสองต่างมีเครื่องมือของตัวเองอยู่แล้ว

Yahoo ของ เจอร์รี่ หยาง นั้น ดูเหมือนจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่น่าจะสนใจ Google เพราะตอนนั้น Yahoo เป็นเพียงเว๊บ ไดเรคทอรี่ ที่จัดโดยบรรณาธิการ ซึ่งเว๊บไซต์กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และในท้ายที่สุด มนุษย์จะไม่สามารถคัดกรองเหล่าเว๊บไซต์หน้าใหม่ที่มีเข้ามาทุกวันได้อีกต่อไป

แต่ดูเหมือนแนวคิดของ Yahoo จะต่าง เพราะพวกเขาอยากให้ผู้ใช้อยู่กับ เว๊บไซต์ Yahoo นาน ๆ แต่การมีส่วนของการค้นหาแบบที่ Google ทำนั้น เป็นการส่งผู้ใช้งานไปยังเว๊บไซต์อื่นๆ  โดยรวดเร็ว ซึ่งดูจะไม่เหมาะกับโมเดลธุรกิจของ Yahoo ในตอนนั้น

Jerry Yang ไม่ได้สนใจ Google เลยด้วยซ้ำ โดยมองว่าไม่ตรงกับ Business Model ของ Yahoo
Jerry Yang ไม่ได้สนใจ Google เลยด้วยซ้ำ โดยมองว่าไม่ตรงกับ Business Model ของ Yahoo

หลังจากถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าอยู่เป็นเวลาหลายเดือน บริน และ เพจ ก็เริ่มท้อแท้ผิดหวัง แต่พวกเขาก็ยังมีความมุ่งมั่น โดยเริ่มมาปรับปรุงหน้าเว๊บ Google ให้ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานก่อน และยังไม่ตัดสินใจเรื่องอนาคตว่าจะทำอย่างไรต่อกับ Google ดี

ซึ่งในฤดูร้อนปี 1998 เพจและบรินนั้นแทบจะหมดตัว ทั้งคู่รูดบัตรเครดิตจนแทบจะหมดตัวเพื่อหมุนมาใช้งานเพื่อพยุงโปรแกรมค้นหาของพวกเขาให้เดินต่อไปข้างได้ให้ได้ ถึงขนาดที่ว่าโต๊ะทำงานชิ้นแรกนั้น ได้ใช้ประตูที่พาดบนขาตั้งของโต๊ะเลื่อยไม้เพื่อให้ทำงานได้เท่านั้น

ซึ่งพวกเขาได้เก็บเรื่องราว ๆ ต่างของโปรเจคลับนี้ ไม่ให้แพร่งพรายให้ใครรู้ด้วยซ้ำ 
โดยชื่อแรกของโปรแกรมค้นหาตัวนี้คือ “แบ็ครับ” และเพจ คิดว่ามันต้องมีชื่อใหม่ที่เรียกง่าย ๆ พวกเขาและทีมวิจัย ได้คิดชื่อต่าง ๆ มากมายจนไอเดียสุดท้ายคือ กูเกิลเพล็กส์ ซึ่งคือจำนวนมาก ๆ สุดท้ายได้ตัดมาเหลือแค่ Google

ซึ่งเพจ เห็นว่ามันยอมรับได้และได้รีบไปจดทะเบียนชื่อโดเมน google.com ทันที แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาจดทะเบียนนั้น เป็นสิ่งที่สะกดผิด ที่จริงมันควรจะเป็น G-o-o-g-o-l แต่ทุกอย่างมันเสร็จสิ้นไปแล้ว และต้องเลยตามเลยในชื่อนี้ไปในที่สุด

ทั้งคู่นั้นจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ กับปัจจัยสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ใช้งานในหน้าเว๊บของ google ซึ่งต้องมีความเร็ว โหลดหน้าแรกได้อย่างรวดเร็ว และผลการค้นหาต้องออกมาอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

เพราะตอนนั้นด้วยอินเตอร์เน็ตที่ช้าเหมือนเต่าถ้าเทียบกับปัจจุบัน ทำให้ความเร็วสำคัญแทบจะเท่ากับความถูกต้องของผลการค้นหาเสียด้วยซ้ำ และความแตกต่างที่สำคัญคือหน้าเว๊บที่เรียบง่าย ไม่รบกวนผู้ใช้งาน

ส่วนหน้าตาของเว๊บ Search Engine อื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาดในขณะนั้น ล้วนมีหน้าตาที่แทบจะเหมือนกัน นั่นคือ มีป้ายโฆษณาอยู่ด้านบนสุด มีแท็บ และการแบ่งข้อความในแนวตั้ง คล้าย ๆ ข้อมูลในสมุดโทรศัพท์ หน้าค้นหาของ google จึงได้นำเอาความแปลกใหม่เข้ามาสู่วงการเว๊บอย่างชัดเจน

และด้วยรูปแบบที่ง่ายที่สุด มีแค่ตัวโลโก้กับช่องให้กรอกข้อความค้นหาเพียงเท่านั้น ผู้ใช้จะรู้ทันทีเลยว่านี่คือ Google เพียงแค่เริ่มพิมพ์ในกล่องค้นหา และคลิก และผลการค้นหาจะแสดงให้ผู้ใช้เห็นอย่างรวดเร็ว

และจากความต้องการให้หน้าเว๊บสะอาดและเป็นระเบียบนั้น ทั้งคู่จึงปฏิเสธข้อเสนอกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ของ Altavista ที่ต้องการซื้อพื้นที่โฆษณาบนโฮมเพจของ google ในปี 2000

หลังจากได้ทำการเปิดตัวไปได้ไม่นาน ผู้คนบอกปากต่อปากกับอย่างรวดเร็ว google นั้นได้รับการชื่มชมยกย่องเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งาน ในเดือน ธันวาคมปี 1998 สก็อตต์ โรเซนเบิร์ก เขียนชมเชยไว้ใน salon.com ว่า “ผมเพิ่งเจอ google เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ผมประทับใจมากกับประโยชน์และความเที่ยงตรง จนกระทั่งเลือกใช้ google เป็นเจ้าแรกทุกครั้งที่ต้องการค้นหา”

แม้โปรแกรมทดสอบรุ่นแรกที่เป็นเบต้า version ของ google นั้นจะมีการทำการ index ข้อมูลจากไซต์ทั่ว www เพียงแค่ 60 ล้านหน้าเว๊บ google ในยุคแรกก็ได้เสนอบริการแบบพิเศษขึ้นมาเช่น Standford Search หรือ Linux Search ที่เจาะกลุ่มลูกค้าในยุคแรก ๆ ของ google เป็นพิเศษ

Standford Search และ Linux Search ที่ Google สร้างมาเพื่อลูกค้ากลุ่มแรก
Standford Search และ Linux Search ที่ Google สร้างมาเพื่อลูกค้ากลุ่มแรก

และ Google ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเดือน กรกฏาคมปี 1999 google ได้บรรลุข้อตกลงในการเป็นโปรแกรมการค้นหาให้กับ NetScape ซึ่งในขณะนั้นกำลังต่อสู้กับ Microsoft ในชั้นศาล 

และเพียงไม่กี่นาทีหลังจากประกาศข้อตกลงดังกล่าวทำให้ มีคนเข้าไปใช้งาน google เพิ่มขึ้นสูงถึง 7 เท่า จนถึงกับว่าต้องปิดการให้บริการกับผู้ใช้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ NetScape ถึง 2 ชม. ซึ่งทำให้ google ได้รับบทเรียนที่สำคัญว่าจะต้องเตรียมความพร้อมให้มากกว่านี้ และนั่นเป็นการล่มครั้งใหญ่ครั้งแรกของ google เลยก็ว่าได้

ในเดือนกันยายายน ปี 1999 google ได้ประกาศว่ามีการค้นหามากถึง 3.5 ล้านครั้งต่อเดือนซึ่งถือเป็นตัวเลขทีสูงมากในขณะนั้น  แม้เชิงสถิตินั้น Yahoo จะเป็นผู้นำในตลาดนี้ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 38 ล้านครั้งต่อเดือน แต่หารู้ไม่ว่าตอนนี้เกมส์ของตลาดการค้นหามันได้ถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากกระแสแบบปากต่อปาก และการร่วม Deal ที่ทาง google นั้นวิเคราะห์มาอย่างดีว่าจะทำให้ยอดผู้ใช้งานพุ่งขึ้นแบบฉุดไม่อยู่กับ NetScape แล้ว Microsoft ยักษ์ใหญ่ที่แทบจะครองโลกอยู่ในขณะนั้นกำลังทำอะไรอยู่ ได้ระแคะระคายกับการเกิดขึ้นของ google ครั้งนี้หรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 3 : Search & Microsoft

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Autonomous Tractors- The Future of Farming?

ลองนึกภาพวินาทีที่คุณเป็นชาวนาและเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นช่วงที่คึกคักที่สุดและใช้แรงงานมากที่สุดของปี แต่แทนที่จะตื่นขึ้นมาในตอนเช้าตรู่เพื่อคาดหวังว่าจะมีงานทำในวันหนึ่ง

แต่กลายเป็นว่าคุณต้องดึง Labtop ของคุณออกมาและตรวจสอบรถแทรกเตอร์ขับเคลื่อนอัติโนมัติ ในขณะที่พวกมันกำลังขับเคลื่อนอยู่ในท้องนาของคุณ และคุณทำการปรับเปลี่ยนบางอย่างสำหรับการปรับเส้นทางความเร็ว จัดการเครื่องยนต์และระดับเชื้อเพลิง แต่หลังจากนั้นคุณเพียงแค่เอนกายนอนลงและปล่อยให้เครื่องยนต์อัติโนมัติเหล่านี้ทำงาน

รถแทรกเตอร์ Unmanned ของ CNH Industrial

นี่คือแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังรถแทรกเตอร์อัตโนมัติของ CNH Industrial โดยรถแทรกเตอร์สองคันชื่อ New Holland T8 NH และ Case IH Magnum โชว์เทคโนโลยี Machine Learning ที่น่าประทับใจ ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความแม่นยำโดยไม่ต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์

แนวคิดของรถแทรคเตอร์ไร้คนขับของ CNH นั้นพร้อมที่จะปฏิวัติวงการเกษตรอย่างที่เรารู้จัก ด้วยการแทนที่แรงงานมนุษย์ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ ซึ่งเครื่องจักรเหล่านี้ไม่มีข้อจำกัด ว่ารถไถจะสามารถเก็บเกี่ยวในนาหรือเก็บเกี่ยวพืชผล ไม่มีเหน็ดเหนื่อยต้องหยุดพักเหมือนแรงงานมนุษย์

“ แนวคิดของรถแทรกเตอร์ขับเคลื่อนอัติโนมัติของ CNH Industrial ช่วยให้เหล่าเกษตรกรสามารถควบคุมจากระยะไกลได้อย่างสมบูรณ์ ในการตรวจสอบและควบคุมเครื่องจักรทั้งหมด”

ด้วยระบบบังคับเลี้ยวแบบอัตโนมัติที่ติดตั้งอยู่ในรถแทรกเตอร์ และในปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน Machine Learning ของ CNH กำลังนำไปสู่ธุรกิจด้านปศุสัตว์ในระดับต่อไป ยกตัวอย่างเช่น IH Magnum เป็นรถแทรคเตอร์ไร้สายที่ใช้“ GPS และสัญญาณการเชื่อมต่อดาวเทียมที่มีความแม่นยำสำหรับ และมีการบันทึกและส่งข้อมูลจากภาคสนามได้ทันที”

โดยตามข่าวล่าสุดของ CNH รถแทรกเตอร์ New Holland T8 NH มีเทคโนโลยีแบบเดียวกันเดียวกัน แต่เพิ่มเติมด้วยห้องโดยสาร เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของผู้ปฏิบัติที่เป็นมนุษย์และตัวเลือกในการปรับเปลี่ยนกลับมาทำงานแบบอัติโนมัติของเครื่องจักร

ซอฟต์แวร์การวางแผนเส้นทางอัจฉริยะ

ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์การวางแผนเส้นทางแบบครบวงจรที่ทันสมัย ผู้ใช้สามารถออกแบบเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับรถแทรกเตอร์ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูก การฉีดพ่นและการตัดหญ้า โดยเจ้าเครื่องจักรอัตโนมัติของ CNH สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์การเกษตรอื่น ๆ ได้อย่างลงตัว 

ด้วยการเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการในการเข้าพื้นที่ทำงานและทำการตั้งค่า โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งงานเฉพาะอุปกรณ์ที่ดำเนินการได้ด้วยตนเอง ซึ่งใช้เวลาเพียง 30 วินาทีในการป้อนข้อมูล และชาวนาสามารถเข้าถึงหน้าจอปฏิบัติการที่ควบคุมเหล่ายานพาหนะขับเคลื่อนอัติโนมัติที่สนับสนุนทั้งในรูปแบบ มีคนควบคุมและไม่มีคนควบคุม

“ เกษตรกรจะคงไว้ซึ่งการควบคุมและความเป็นเจ้าของข้อมูลของพวกเขาอย่างเต็มที่”

แทรกเตอร์ไร้คนขับที่ควบคุมได้จากระยะไกล
แทรกเตอร์ไร้คนขับที่ควบคุมได้จากระยะไกล

ด้วยกล้องที่ติดตั้งในตำแหน่งอย่างดีจำนวนสี่ตัว (สองตัวที่ด้านหน้า / สองตัวที่ด้านหลัง) เกษตรกรสามารถจับตามองพืชผลของพวกเขาในขณะที่แน่ใจว่ารถแทรกเตอร์อยู่ในเส้นทาง เนื่องจากรถแทรกเตอร์ของ CNH นั้นมาพร้อมกับเซ็นเซอร์ LiDAR และกล้องวิดีโอความละเอียดสูงจึงไม่ต้องกังวลกับการหลีกเลี่ยงอุปสรรคเช่น คน หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในทุ่งนา

จุดประสงค์ทั้งหมดคือการสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องมีการรบกวนของมนุษย์ แต่ถ้ามีการเตือนบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อเพลิงหรือมีวัตถุที่มาปิดกั้นทางเดินรถแทรกเตอร์คันใดคันหนึ่ง  มันจะถูกปรับไปที่โหมดสแตนด์บายเพื่อรอคำแนะนำเพิ่มเติมจากมนุษย์ทันที

Machine Learning และอนาคตของการทำฟาร์ม

เนื่องจากในขณะนี้รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อนอัติโนมัติของ CNH สามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์โดยใช้ส่วน User Interface ที่ใช้งานง่าย ตัวอย่างเช่นหากเกิดพายุแบบฉับพลัน เกษตรกรสามารถปิดระบบและเริ่มต้นใหม่ได้

เนื่องจากทั้งรุ่น New Holland และ IH Magnum ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี Machine Learning ความจำเป็นในการควบคุมและการตรวจสอบโดยมนุษย์จึงลดลงอย่างมาก

ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป การเข้าถึง Big Data และเทคโนโลยี AI จะทำให้เครื่องเหล่านี้ฉลาดกว่าที่เคยเป็นมาไม่ว่าจะเป็นการพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้าหรือทำการย้ายจากการเก็บเกี่ยวไปสู่การปลูกโดยไม่ต้องมีคำแนะนำโดยมนุษย์

เครื่องจักรที่ไม่มีเหน็ดเหนื่อยทำงานได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน
เครื่องจักรที่ไม่มีเหน็ดเหนื่อยทำงานได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน

ประโยชน์ของรถแทรกเตอร์อัตโนมัตินั้นชัดเจนมาก: เกษตรกรสามารถควบคุมเครื่องจักรโดยไม่ต้องมีการเพิ่มพนักงาน นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องพักรถแทรกเตอร์หลังจากทำงานมาทั้งวัน และที่สำคัญมันปลอดภัยที่จะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี Machine Learning กำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมเกษตร

Autonomous Tractors กับวงการเกษตรกรรมไทย

ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว สำหรับการใช้งานรถแทรกเตอร์แบบขับเคลื่อนอัติโนมัติกับวงการเกษตรไทย 

แต่ปัญหาใหญ่ของวงการเกษตรไทยที่เป็นวังวน ซ้ำซาก ไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจังเสียที ก็คือ ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ โดยเฉพาะสินค้าหลัก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ปาล์ม ยางพารา ฯลฯ

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เราจะได้เห็นการแก้ไขปัญหาแบบเดิม ๆ ทุกครั้งไม่ว่าจะเป็น ประกันราคา จำนำข้าว ฯลฯ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุแทบจะทั้งสิ้น ไม่ได้ทำให้ชีวิตเกษตรกรไทยที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศได้ลืมตาอ้าปากเสียที

เป็นการใช้นโยบายทางการเมืองเพื่อหาเสียง และแก้แบบขอไปทีเพียงเท่านั้น และเราก็ต้องมาสูญสิ้นเงินงบประมาณส่วนนี้ ซ้ำไปซ้ำมาในทุก  ๆปี โดยที่ปัญหาไม่ได้ถูกแก้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ซึ่งการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตร นั้นเรื่องเทคโนโลยีต้องมามีบทบาทในอนาคตอย่างแน่นอน แม้การลงทุนเหล่านี้จะดูเหมือนสูง แต่ด้วยเทคโนโลยีเช่น Machine Learning,AI , Autonomous Driving นั้นสามารถช่วยยกระดับผลผลิต ลดต้นทุน รวมถึงการทำงานแบบไม่เหน็ดเหนื่อยของเครื่องจักรก็น่าจะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับวงการเกษตรได้อย่างแน่นอนครับ และมันอาจจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุด ที่คาราคาซังมาเป็นระยะเวลายาวนานของปัญหาเกษตรกรรมไทยก็อาจเป็นได้

References : 
https://www.ireviews.com/news/2017/03/27/autonomous-tractors-farming