Search War ตอนที่ 1 : The Beginning of Search

ไม่ว่ามันเป็นโชคชะตา หรือ เรื่องบังเอิญให้ ลาร์รี่ เพจ ได้มาพบกับ เซอร์เกย์ บริน ในฤดูใบไม้ผลิของปี 1995 ปีที่ อินเตอร์เน็ตกำลังเติบโตอย่างสุดขีด มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของคนทั่วโลกกับกระแสของ อินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้น

เซอร์เกย์ นั้นเป็นยอดอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ ที่หาตัวจับยากคนหนึ่งในสแตนฟอร์ดเลยก็ว่าได้ เขาสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วยวัยเพียงแค่ 19 ปีเพียงเท่านั้น เป็นคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะ ว่ายน้ำ และ ยิมนาสติก เขาเป็นคนชอบเข้าสัมคมมากกว่า ลาร์รี่ ที่ดูเหมือนจะรู้สึกอึดอัดกับการเป็นนักเรียนระดับปริญญาเอกของสแตนฟอร์ด

หลังจากการพบกัน ทั้งคู่ก็เริ่มตัวติดกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน และมักจะทำงานด้วยกันอยู่เสมอ ทั้งคู่มีความคิดว่าอินเตอร์เน็ตนั้นจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ในอนาคตอย่างแน่นอน อินเตอร์เน็ตมันมีพลังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกให้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

การแจ้งเกิดของ NetScape เว๊บ Browser ตัวแรก  ๆที่สามารถสร้างมูลค่าบริษัทได้กว่าพันล้านเหรียญ ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ทั้งที่ยังไม่สร้างกำไรเลยเสียด้วยซ้ำ ตอนนั้นนักลงทุนต่างพร้อมแล้วที่จะเสี่ยงกับเทคโนโลยีใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต ที่กำลังจะมาเปลี่ยนโลก

และเรื่องราวของ NetScape ที่เองที่ทำให้เกิดความคึกครื้นขึ้นกับกระแสของเงินทุน และมันได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของสแตนฟอร์ด ด้วยเช่นกัน ซึ่งได้เริ่มเป็นที่ฟูมฟักให้เหล่านักธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีหน้าใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนโลก

NetScape ทำให้กระแสดอทคอมเฟื่องฟู
NetScape ทำให้กระแสดอทคอมเฟื่องฟู

และทั้งเพจและบริน ก็ได้เริ่มทำการสร้าง Index หรือ ดัชนีให้กับเหล่าเว๊บไซต์ทั้งหลายทั่วโลก ซึ่งแม้วิธีเริ่มต้นในสิ่งที่ทั้งคู่ทำนั้นจะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้น มีหลายบริษัทก็ทำอยู่เช่นกัน แต่ปัญหาก็คือ ตอนนั้นไม่มีใครคาดคิดถึง Model ธุรกิจของ Search Engine ว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร เพราะกระแสในขณะนั้นกำลังแห่ไปทาง Web Directory อย่าง Yahoo ที่กำลังดังอยู่ในขณะนั้น

เนื่องจากเว๊บเพจได้เริ่มเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดจึงทำให้ Yahoo นั้นได้เริ่มสร้าง Directory ให้กับเหล่าเว๊บไซต์หน้าใหม่เหล่านี้ โดยใช้การคัดเลือกจากบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ และแน่นอนว่า พอจำนวนเว๊บไซต์ยิ่งมากขึ้น มันก็เริ่มที่จะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ในการคัดเลือกเหล่านี้

อีกฝากฝั่งหนึ่งนั้น Microsoft และเหล่าผู้บริหาร แทบจะไม่ยินดียินร้ายกับการเกิดขึ้นของเหล่าบริการค้นหาทางออนไลน์เลยเสียด้วยซ้ำ ต้องเข้าใจว่า Microsoft นั้นชัดเจนว่าเกิดมาจาก Software ด้านองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ ชุด Microsoft Office ซึ่งพวกเขาก็ขายกันไม่ทันอยู่แล้วแค่เพียง product สองตัวนี้

มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ว่า Microsoft แทบไม่แยแสกับกระแสออนไลน์ บ้าเห่อ ของเหล่าบริษัทหน้าใหม่ในขณะนั้น เพราะมันมีจำนวนผู้ใช้งานเพียงน้อยนิด และยังไม่มีใครคิดว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร

แต่ด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่ จึงได้ทำการกระจายความเสี่ยงไว้ โดยในปี 1997 นั้น Microsoft ได้สร้างเว๊บท่าขนาดใหญ่ แต่จะใช้บริการค้นหาจริง ๆ ของอีกหนึ่งบริษัทคือ Inktomi ซึ่งตอนนั้นเริ่มทำบริการที่เป็นลักษณะเว๊บ Crawler เพื่อไปดึงดูดข้อมูลต่าง ๆ ทั่ว WWW มาทำ Index หรือดัชนี

Microsoft เริ่มต้นโปรแกรมค้นหาด้วยการพึ่งพา Inktomi
Microsoft เริ่มต้นโปรแกรมค้นหาด้วยการพึ่งพา Inktomi

แต่ Microsoft ก็ไม่ได้เพิ่มเทคโนโลยีการค้นหาที่วิเศษอะไรเลยให้กับ  Inktomi และไม่ได้จริงจังกับมันมากนักในขณะนั้น ทำให้หลาย ๆ บริการค้นหาในออนไลน์ในขณะนั้น แทบจะมีความสามารถไม่ต่างกัน

ซึ่งในรายปลายทศวรรษ 1990 แม้จะมี Search Engine มากมาย เช่น Yahoo , Altavista , Lycos , Excite , AOL , Infoseek แต่ดูเหมือนว่าเหล่า Search Engine เหล่านี้นั้น ไม่มีตัวไหนเลย ที่ทำให้เหล่าผู้บริโภคถูกใจและแก้ปัญหาสำคัญของเหล่า User เมื่อมาค้นหาได้

ตอนนี้ยังไม่มีใครที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ๆ ในเรื่องการค้นหา ทำให้ผลการค้นหาไม่ได้ดั่งใจคนใช้งานเท่าที่ควร คือมีแค่ให้ใช้ แต่ไม่มีตัวไหนที่ประทับใจผู้ใช้งาน แม้กระทั่ง Microsoft เองก็ตามก็ยังไม่เข้าใจจริง ๆ ของความต้องการของ User

ซึ่งในช่วงเวลานั้นนั่นเอง ขณะที่เหล่าผู้ใช้งานกำลังเบื่อกับ โปรแกรมการค้นหาที่มีอยู่เต็มไปหมดในตลาด เพจและบริน ได้สร้างอัลกอริทึมสำหรับจัดลำดับเว๊บเพจที่เรียกว่า “PageRank” ภายใน Lab ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ซึ่งตอนนั้น พวกเขาทั้งสองเองก็ตามก็ยังไม่รู้เลยว่าสิ่งยิ่งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น การทดลองที่บังเอิญของพวกเขา สิ่งที่ทั้งสองต้องการนั่นคือ การนำไปสู่หัวข้อวิทยานิพันธ์ปริญญาเอก โดยใช้เพจแรงค์ กับ อินเตอร์เน็ต ซึ่งตอนแรกนั้น พวกเขาทั้งสองรวมถึง อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้คิดถึงการสร้างโปรแกรมค้นหาเลยด้วยซ้ำ แต่เมื่อทำไประยะหนึ่ง กับพบกับความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่พวกเขาร่วมกันสร้าง มันได้ยิ่งใหญ่เกินกว่างานวิชาการเสียแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปหลังจากนั้น อย่าพลาดติดตามชมตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Google Search

Blog Series : Search War Google vs Microsoft

แน่นอนว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีทั้งสอง ทั้ง Google และ Microsoft นั้นได้เกิดการปะทะกันขึ้นหลายครั้ง ซึ่งต้องบอกว่าในยุคก่อนหน้า internet นั้น Microsoft ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ใครจะล้มได้

แต่การเกิดขึ้นของ Search Engine จากสองหนุ่มแห่งสแตนฟอร์ด ที่ได้ค้นพบสิ่งที่กำลังเปลี่ยนโลกโดยบังเอิญ พวกเขาเพียงแค่ต้องการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ตัวเองเรียนจบเพียงเท่านั้น แต่หัวข้อที่พวกเขาทำนั้น มันมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนโลกได้

แน่นอนว่า บริษัทหน้าใหม่ในขณะนั้นอย่าง Google ที่ต้องมาเจอกับพี่ใหญ่ที่เจนศึกอย่าง Microsoft ที่ล้มใครที่คิดว่าแน่มาแล้วนับไม่ถ้วน จนหลายๆ  คนขยาดที่จะสู้กับพี่ใหญ่อย่าง Microsoft แล้วมันเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างทั้งสองบริษัทนี้ในสงครามชิงความเป็นหนึ่งของ Search Engine โปรดอย่าพลาดติดตามจาก Blog Series ชุดนี้ครับผม

–> อ่านตอนที่ 1 : The Beginning of Search

Geek Monday EP9 : Libra Coin กับอนาคตของ Facebook

Facebook จากเดิมที่เป็นเพียงแค่บริษัทยักษ์ใหญ่ ทางด้านเทคโนโลยี ตอนนี้กำลังคิดการณ์ใหญ่ เพื่อที่จะมุ่งเป็นมหาอำนาจทางการเงิน

ด้วยจำนวนประชากรของ Facebook ที่มีอยู่อย่างมหาศาลกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก
ซึ่งมากกว่าประชากรใน สหรัฐอเมริกาและจีนรวมกันเสียอีก เราน่าจะพอเห็นภาพว่า Facebook มีศักยภาพขนาดไหนในการสร้างอาณาจักรหรือประเทศออนไลน์ของตนเอง

และที่สำคัญเหล่าร้านค้าและผู้บริโภคนั้นก็พร้อมที่จะปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่า สกุลเงินดิจิตอลนั้นทำให้ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ลดลงไปอย่างแน่นอน  ดังนั้นการมาของ Libra Coin ของ Facebook ครั้งนี้ ก็คงไม่ต่างกัน หากมันมีประโยชน์ คนจะใช้มันอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้น ก้าวย่างครั้งนี้ของ Facebook นั้นคงมีเพียงแค่เป้าหมายเดียวเท่านั้น คือการทำให้ Libra Coin สกุลเงินดิจิตอลของ Facebook นั้น กลายเป็นสกุลเงินออนไลน์อันดับ 1 ของโลกอย่างแน่นอน

ฟังผ่าน Podbean : 
https://tharadhol.podbean.com/e/geek-monday-ep9-libra-coinfacebook/

ฟังผ่าน Spotify :
 https://open.spotify.com/episode/6xqblcq4HXIG7SGpie7pqy

VR กับการยกระดับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของจีน

แพลตฟอร์มด้านการบริการในจีนอย่าง 58.com กล่าวว่ากำลังจะเพิ่มการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโบรกเกอร์อสังหาริมทรัพย์ของประเทศจีน

เหยา จิน โบ CEO ของ  58.com กล่าวว่าในขณะนี้ บริษัท ให้บริการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 1.3 ล้านรายในประเทศจีนซึ่งครอบคลุมนายหน้าประมาณ 70-80% ของประเทศ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน

“ เราหวังว่าจะใช้เทคโนโลยีเช่นบริการคลาวด์และ VR (Virtual Reality) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการบริการในวงการอสังหาริมทรัพย์” นายเหยากล่าว

บริษัท จะใช้เทคโนโลยี VR เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้เพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพอันงดงามของอพาร์ทเมนท์ในรูปแบบออนไลน์เสมือนจริง

เหยากล่าวว่า บริษัท จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสร้างเนื้อหา VR จากกว่า 10,000 หยวน ( 1,458 ดอลลาร์สหรัฐ) เหลือเพียงแค่หลักพันหยวนเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะให้บริการแบบครบวงจรมากขึ้นเพื่อเชื่อมต่อตัวแทนบ้านและผู้ซื้ออพาร์ตเมนต์ที่มีศักยภาพมากขึ้น

ตามรายงานล่าสุดของ 58.com พบว่ากว่าครึ่งของจำนวน 1.3 ล้านนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในแพลตฟอร์มเกิดขึ้นในปี 1990 บ่งชี้ว่าเหล่ามืออาชีพในอุตสาหกรรมกำลังเริ่มอายุน้อยลงเรื่อย ๆ และพร้อมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยียุคใหม่

ตัวแทนบ้านกว่า 75 เปอร์เซ็นต์สามารถสรุปข้อตกลงได้ทันที หลังจากพาผู้ซื้อที่มีศักยภาพไปเยี่ยมอพาร์ทเมนท์ราว ๆ 5-10 คนเพื่อปิดการขาย

Anjuke หน่วยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ภายใต้ 58.com ได้ลงนามในความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในเดือนเมษายนด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ Myfun บริษัทธุรกิจโฆษณาดิจิทัลในออสเตรเลียภายใต้เครือ REA Group ที่เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยขยายธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ต่อไป

การร่วมมือกันของสองยักษ์ใหญ่วงการอสังหาริมทรัพย์จากจีน และ ออสเตรีเลีย
การร่วมมือกันของสองยักษ์ใหญ่วงการอสังหาริมทรัพย์จากจีน และ ออสเตรีเลีย

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงดังกล่าว Myfun จะทำการจัดส่ง List ของรายการที่พักอาศัยในออสเตรเลียรวมถึงการอัพเดทรายวันเกี่ยวกับที่พักอาศัยมากกว่า 50,000 รายการบนแพลตฟอร์มของ Anjuke Myfun ซึ่งจะให้บริการประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ตลอดการทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร

เทคโนโลยี VR กับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย

ตอนนี้ก็ต้องบอกว่า นักท่องเที่ยวจีนนั้น ได้เข้ามาท่องเที่ยวในไทยเป็นจำนวนมาก และได้เกิดความต้องการด้านที่พักเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่า ถูกใจเหล่าบรรดา นายหน้าอสังหาในไทยอย่างแน่นอน

และการที่คนจีนนั้นเริ่มปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง VR เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็ถือว่า เป็นส่งทีส่งเสริมให้ เทคโนโลยีดังกล่าวนั้นสามารถนำมาใช้ในไทยได้อย่างดียิ่งขึ้น

และเริ่มมี Startup ไทยบางรายนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้วตัวอย่างเช่น บริษัท บลูโอเชี่ยน เทคโนโลยี ที่ส่งเทคโนโลยีอย่าง VRReal.EstateTH  มาทำตลาดในบ้านเราบ้างแล้ว

ไทยก็มีเทคโนโลยี VR ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทแล้วเหมือนกัน
ไทยก็มีเทคโนโลยี VR ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทแล้วเหมือนกัน

หาก VR นั้นต่อไปได้กลายเป็นมาตรฐานคนใช้กันทั่วไป ก็น่าสนใจจริง ๆ ว่าตลาดด้านอสังหาริมทรัพย์ของบ้านเรานั้นจะเปลี่ยนไปขนาดไหน ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือการปรับของเหล่านายหน้ายุคเก่า ที่ต้องปรับตัวให้กับเทคโนโลยียุ่งใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายและบริการให้ดีขึ้นนั่นเองครับผม

References : 
http://www.chinadaily.com.cn/a/201906/20/WS5d0b40eba3103dbf1432959f.html