เมื่อ TikTok กลายเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพที่มาแรงอันดับต้น ๆ ของคนอเมริกัน

ในยุคนี้ เราอาจจะได้เห็นญาติผู้ใหญ่ ทั้ง พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ที่มักแชร์อะไรมาแปลก ๆ โดยเฉพาะข้อมูลด้านสุขภาพ และที่น่าตกใจข้อมูลเหล่านั้นมักมาจาก TikTok

เรียกได้ว่าเป็นข้อมูลที่ซีเรียสมาก ๆ เลยทีเดียวนะครับ มันไม่ใช่แค่เกิดในประเทศไทยเท่านั้น แม้ในประเทศอย่างอเมริกาเองสิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

จากการสำรวจครั้งใหญ่ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 2,000 คนโดยบริษัทบัตรส่วนลดตามใบสั่งแพทย์ CharityRx ชาวอเมริกันเกือบ 1 ใน 5 เลือกที่หาข้อมูลใน TikTok เพื่อหาคำแนะนำด้านสุขภาพ

มันกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของเรื่อง Information ในอินเทอร์เน็ตไปเสียแล้ว เมื่อ Google ถูกท้ายทายในด้านการหาข้อมูล โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ

แต่ก็ต้องบอกว่ามันเป็นปัญหาที่ซีเรียสมาก ๆ เพราะถ้าเทียบกับ Google แล้วนั้น TikTok ดูจะห่างชั้นกว่ามากในเรื่องการกลั่นกรองข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลที่ ซีเรียสมาก ๆ อย่างข้อมูลด้านสุขภาพ

การเติบโตของแพลตฟอร์มอย่าง TikTok ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น ทำให้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่หลายคนเลือกจะเชื่อในข้อมูลเกี่ยวกับ COVID ซึ่งแทบไม่ได้รับการกลั่นกรองข้อมูลใด ๆ

ถ้าใครเล่น TikTok จะรู้ว่าข้อมูล sensitive ต่าง ๆ นั้น น้อยมาก ๆ ที่จะถูกกลั่นกรองจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งไม่แปลกที่ TikTok จะขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในการกระจายข้อมูลผิด ๆ ไปทั่วโลก และด้วยเหตุผลที่ไม่กลั่นกรองนี่แหละที่ทำให้คลิปกลายเป็นไวรัลง่ายมาก ๆ และทำให้เติบโตได้เร็วมากเช่นเดียวกัน

ซึ่งการสำรวจของ CharityRx ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจหลายประการดังต่อไปนี้

  • ชาวอเมริกันจะปรึกษาอินเทอร์เน็ตก่อนปรึกษาแพทย์ โดย 65% เลือก Google , 33% เลือก Youtube และอีก 20% นั้นพึ่งพา TikTok และจำนวนทั้งหมดนี้มีถึง 33% ที่หันไปหาเหล่า influencers บนโลกออนไลน์ เพราะเข้าถึงได้ง่ายกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตัวจริงเสียงจริง
  • ชาวอเมริกันมองหาความเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะปรึกษาในตัว Influencers ในขณะที่ 55% ของชาวอเมริกันกล่าวว่าพวกเขามอง Influencers ที่มีใบรับรองทางการแพทย์ และ อีก 26% พวกเขามองแค่ความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการปรึกษา ส่วนหัวข้อยอดนิยมสามอันดับแรก ได้แก่ ความวิตกกังวล การลดน้ำหนัก และภาวะซึมเศร้า
  • แต่ก็มีข้อมูลในแง่ดีที่ว่า ชาวเมริกันส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อ Influencers โดย 89% เชื่อว่า Influencers มีส่วนทำให้เกิดข้อมูลที่ผิด และ 76% มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนว่าพวกเขากำลังพูดอะไรอยู่ แต่ก็มีอีก 17% ของชาวอเมริกันที่เชื่อเหล่า Influencers มากกว่าแพทย์ และ 51% มีความเห็นว่าการได้รับการรับรองจากคนดังช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อยาหรืออาหารเสริมได้ง่ายขึ้น

บทสรุป

แม้ข้อมูลจากการค้นหาออนไลน์จะไม่ได้ถูกต้อง 100% นัก แต่ก็มีบางแพลตฟอร์มที่พัฒนา algorithm ของพวกเขาได้ล้ำหน้ากว่าใคร

ตัวอย่างเช่น Google หรือ Youtube ที่ถือว่ามี algorithm ในการจัดการข้อมูล sensitive เหล่านี้ได้ดีกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

ถ้าใครเป็นสาย SEO (Search Engine Optimization) น่าจะรู้จักสิ่งที่เรียกว่า EAT (Expertise , Authoritativeness, Trustworthiness) ของ Google เป็นอย่างดีที่เข้ามากวาดล้างข้อมูลผิด ๆ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพไม่ให้แสดงผลในลำดับต้น ๆ ของ Google

แต่มันต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทั้ง TikTok , Facebook หรือ Twitter ที่มีระบบการจัดการข้อมูลผิด ๆ พวกนี้น้อยมาก ๆ โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความ Sensitive สูงอย่างข้อมูลสุขภาพ

มันก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น ที่คนรุ่นใหม่เริ่มใช้ TikTok หาข้อมูลแทน Google กันมากยิ่งขึ้น ซึ่งตัวแพลตฟอร์มเองมันไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในการค้นหาข้อมูล เหมือนอย่างที่ Google ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสร้าง Algorithm ในด้านนี้มากกว่านั่นเองครับผม

References :
https://www.semrush.com/blog/eat-and-ymyl-new-google-search-guidelines-acronyms-of-quality-content/
https://mb.com.ph/2022/04/04/google-health-2022-the-vision-of-billions-of-healthier-people/
https://www.fastcompany.com/90793427/tiktok-health-information-doctors-google


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube