Geek Story EP19 : ประวัติ Jan Koum ผู้ก่อตั้ง WhatsApp ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าละคร

Jan Koum เด็กน้อยชาวยิว เกิดในปี 1976 ที่เมือง Kiev เหมืองหลวงของประเทศ ยูเครน โดยแม่ของเขานั้น รับทำงานเป็นแม่บ้าน ส่วนพ่อของเขาเป็นผู้จัดการใน Site งานก่อสร้าง ต้องบอกว่าเป็นชีวิตที่ลำบากตั้งแต่วัยเยาว์ สำหรับ Jan Koum เนื่องจากประเทศยูเครนในขณะนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

Koum ได้เคยบรรยายเกี่ยวกับสภาพการใช้ชีวิตของเขาในวัยเด็ก โรงเรียนที่เขาเรียนตอนเด็กนั้น ไม่มีแม้กระทั่งห้องน้ำจะใช้ แถมอากาศของประเทศยูเครน ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุดที่หนึ่งของโลก บ้านของเขาแทบจะไม่มีไฟฟ้าใช้ และแน่นอนว่าเขาไม่สามารถอาบน้ำอุ่น ๆ ผ่านเครื่องทำน้ำอุ่นได้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3gtanb3

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/2EuHNsw

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2YrtID3

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/SJk6TeKYGdU

Copycat กับกลยุทธ์ง่าย ๆที่ Facebook ใช้จัดการกับภัยคุกคามที่มาจาก Snapchat

Mark Zuckerberg ตระหนักดีถึงภัยคุกคามที่อาจทำให้ Facebook ถึงคราวล่มสลายได้จากบริการ Social Network ดาวรุ่งอื่น ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้เข้าซื้อ Startup ยอดนิยมเช่น Instagram, WhatsApp  เพื่อไม่ให้กลายมาเป็นภัยคุกคามกับบริการหลักอย่าง Facebook ของเขาในอนาคต

แต่วิธีการนั้นใช้ไม่ได้กับ Snapchat เมื่อ Facebook พยายามซื้อในปี 2013 แต่ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Snapchat อย่าง Evan Spiegel ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 3 พันล้านเหรียญ 

สำหรับ Zuckerberg นั้น Snapchat กลายเป็นเด็กดื้อ ที่ไม่ยอมเชื่อฟังพวกเขาแต่โดยดี และที่สำคัญ Snapchat ก็ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ดึงดูดผู้ใช้มากขึ้นและที่สำคัญยังพยายามเข้ามาแย่งส่วนแบ่งของบริการรูปภาพและวิดีโอที่ผู้ใช้โพสต์ไปยัง Facebook หรือ Instagram อีกด้วย

Evan Spiegel CEO ของ Snapchat ปฏิเสธการเข้าซื้อของ Mark Zuckerberg
Evan Spiegel CEO ของ Snapchat ปฏิเสธการเข้าซื้อของ Mark Zuckerberg

Snapchat พิสูจน์แล้วว่ามีตลาดขนาดใหญ่สำหรับวิธีการของพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่รู้สึกสะทกสะท้านกับความพยายามที่ล้มเหลวในการซื้อ Snapchat ของ Zuckerberg และนั่นทำให้ Zuckerberg พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อโจมตีภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของ Facebook ในหลาย ๆ ด้านทันที

Facebook คัดลอกฟีเจอร์ Story ของ Snapchat ซึ่งให้ผู้ใช้โพสต์ภาพสไลด์และวิดีโอสไลด์ที่หายไปหลังจาก 24 ชั่วโมง ในแอพ Facebook, Messenger, WhatsApp และ Instagram  

ไม่เพียงเท่านั้น Facebook ยังเพิ่มตัวเลือกการส่งข้อความที่ไม่ถาวรซึ่งเป็นการเลียนแบบมากจาก Snapchat โดยตรง ให้กับบริการทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น Instagram และ Messenger และเริ่มทำการทดสอบ Filter ใบหน้าที่คล้ายคลึงกันกับเลนส์ของ Snapchat

ในช่วงกีฬาโอลิมปิก ในประเทศบราซิลและแคนาดา ผู้ใช้ที่เปิดแอป Facebook ของพวกเขาจะเห็นหน้าต่างกล้องเปิดขึ้นซึ่งคล้ายกับ Snapchat ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาใช้สีใบหน้าแบบบราซิลหรือแคนาดาเพื่อให้กำลังใจประเทศของพวกเขาในการเชียร์กีฬาโอลิมปิก  พวกเขายังสามารถเพิ่มตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์บนภาพถ่ายที่กล่าวว่า “ทีมแคนาดา” และ “ทีมบราซิล” ได้อีกด้วย

นี่คือสงคราม Copycat อย่างแท้จริง ด้วยการใช้คุณสมบัติทั้งหมดของ Snapchat ในส่วนต่าง ๆ ของอาณาจักร Facebook และ Instagram และแน่นอนว่ามันส่งผลให้การเติบโตของ Snapchat ช้าลงทันที ผู้คนหลายร้อยล้านคนใช้ Facebook และ Instagram แทนที่ Snapchat เพราะมันทำทุกอย่างได้เหมือนกัน

ตลอดสิ้นปี 2016 และต้นปี 2017 มีการแสดงความคิดเห็น และจำนวนการ View บน Instagram Stories มากกว่าใน Snapchat Stories 

ในช่วงดังกล่าว Instagram มีผู้ใช้งานมากกว่า 700 ล้านรายต่อวันเปรียบเทียบกับ Snapchat เพียงแค่ 166 ล้านคนและผู้ใช้ส่วนใหญ่มีเพื่อนและผู้ติดตามบน Instagram มากกว่าบน Snapchat 

Story ได้กลายมาเป็น Features สุดฮิตบน Instragram
Story ได้กลายมาเป็น Features สุดฮิตบน Instragram

ด้วย Features Story ที่เพิ่มเข้ามา มันได้สร้างความตื่นเต้นที่ได้เห็นว่ามีคนกี่คนกำลังเฝ้าดู Story ของผู้ใช้งานแต่ละคน Zuckerberg ต้องขอบคุณ Snapchat ที่ได้สร้าง Features ดี ๆ แบบนี้ออกมา และมันกำลังแพร่กระจายผ่านฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ของ Instagram ในท้ายที่สุด

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งบทเรียนทางธุรกิจที่น่าสนใจมาก ๆ ในเรื่องนี้ ที่ Facebook พยายามคัดลอก Snapchat หลายครั้ง เพราะความล้มเหลวในการเข้าซื้อกิจการ Snapchat มันไม่สำคัญอีกต่อไป พวกเขามองเพียงแค่ความสำเร็จเท่านั้น และสุดท้ายพวกเขาก็ชนะในเกมครั้งนี้นั่นเองครับ

–> อ่าน Blog Series ประวัติ Mark Zuckerberg
ตอนที่ 1 : Facemash (The Beginning)

References : https://thenextweb.com/socialmedia/2018/05/21/facebook-is-killing-snapchat-with-the-format-it-created/
https://www.wired.com/story/copycat-how-facebook-tried-to-squash-snapchat/
https://www.businessinsider.com/how-developer-mark-zuckerberg-invented-instagram-stories-copied-snapchat-2020-4

AI กับการตามหารักแท้ผ่านบทสนทนาของคุณ

เรื่องราวความรักนั้นมีช่วงเวลาหนึ่งที่ความล้ำลึกที่ซ่อนเร้นอยู่กับความซับซ้อนของโลกในการความตีการเคลื่อนไหวของเหล่าคู่รัก  แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรามีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ที่จะมาวิเคราะห์ถึงคนที่เราสนทนาด้วยว่าใช่รักแท้ของเราจริงหรือไม่? และนี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมแอปรูปแบบใหม่ที่ใช้พลังของปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความสัมพันธ์กำลังจะเกิดขึ้น

หนึ่งในนั้นคือ MEI ถูกเรียกในฐานะแอป “ผู้ช่วยด้านความสัมพันธ์” โดยแอปเวอร์ชั่น Android ซึ่งปล่อยออกมาเมื่อเดือนกันยายน มีความสามารถในการแยกแยะวิเคราะห์การสนทนาบนข้อความเพื่อประเมินความเข้ากันได้และบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลที่คุณกำลังสนทนาด้วย

และมีการให้คะแนนตามรูปแบบการสนทนา 4 รูปแบบ: การเปิดกว้าง การควบคุมอารมณ์ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และความมีสติ โดยในเวอร์ชัน iOS ซึ่งจะเปิดตัวในสุดสัปดาห์นี้มีฟังก์ชั่นใหม่: ที่จะแนะนำความน่าจะเป็นในระดับคะแนน 1- 100 เพื่อให้คะแนนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นผ่านบทสนทนา

โดย MEI มีค่าใช้จ่าย 9 ดอลลาร์ ในการซื้อเครดิต 100 Mei ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ต่อการสนทนาแต่ละครั้ง  ซึ่งตอนนี้แอปสามารถวิเคราะห์การสนทนาจาก แอปพลิเคชั่น WhatsApp เท่านั้น

จากการทดลองใช้ข้อมูลการแชทใน WhatsApp หลายรายการ ซึ่งจากการวิเคราะห์ Mei ต้องการคำอย่างน้อย 1,000 คำในวิเคราะห์เบื้องต้น

ผู้สร้าง Mei อย่าง Es Lee ได้เริ่มโปรแกรมเพื่อวัดความสนใจที่โรแมนติกหลังจากเฝ้ามองดูเพื่อนที่กำลังออกเดท แล้วมาคิดว่าน่าจะสร้างอะไรมาวิเคราะห์โอกาสในการสร้างความสัมพันธ์จากการออกเดทเหล่านี้ โดยไม่ให้เพื่อนเสียเวลาไปเปล่า ๆ กับคนที่ไม่ได้จริงจังกับเธอ

โดย Lee ได้หยิบโทรศัพท์ของเพื่อนของเขาเลื่อนดูข้อความและเห็นว่าเพื่อนของเขาตีความการสนทนาเหล่านี้ผิดไปแทบจะทั้งสิ้น “ มันดูเหมือนกับภาษากาย ผ่านบทสนทนาใน Whatsapp” เขากล่าว “ซึ่งการที่คุณรอที่จะตอบ หรือการที่คุณตอบแบบทันที หรือไม่คุณใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ทำให้ Lee คิดว่าหลายอย่างสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยอัลกอริธึม

Lee กล่าวว่าแอปประมวลผลการสนทนาเหล่านี้ ผ่านข้อมูลผู้ใช้งานกว่าแสนคน  ซึ่งนั่นเป็นชุดข้อมูลที่มหาศาลซึ่งเป็นการสนทนาด้วยข้อความจริงในกลุ่มประชากรต่างๆ รวมถึงในความสัมพันธ์ประเภทต่างๆ ซึ่งรูปแบบบางอย่างนั้นมันชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น คนที่พูดว่า “ฉันคิดถึงคุณ” ในช่วงต้นของการสนทนาน่าจะมีความรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ

ซึ่ง แอปวิเคราะห์ข้อความอย่าง Mei นั้นสามารถทำอะไรได้มากกว่าเพียงแค่บอกคุณว่าเรื่องราวความรักนั้นต้องปรึกษาใคร แต่มันเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลึกลับที่ซ่อนเร้นของเหล่าผู้คนรอบตัวเราและเป็นหนทางที่จะเจอกับคู่รักและเพื่อนที่ดีขึ้นนั่นเอง

References : https://www.wired.com

ประวัติ Jan Koum ผู้ก่อตั้ง WhatsApp ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าละคร

Jan Koum เด็กน้อยชาวยิว เกิดในปี 1976 ที่เมือง Kiev เหมืองหลวงของประเทศ ยูเครน โดยแม่ของเขานั้น รับทำงานเป็นแม่บ้าน ส่วนพ่อของเขาเป็นผู้จัดการใน Site งานก่อสร้าง ต้องบอกว่าเป็นชีวิตที่ลำบากตั้งแต่วัยเยาว์ สำหรับ Jan Koum เนื่องจากประเทศยูเครนในขณะนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

Koum ได้เคยบรรยายเกี่ยวกับสภาพการใช้ชีวิตของเขาในวัยเด็ก โรงเรียนที่เขาเรียนตอนเด็กนั้น ไม่มีแม้กระทั่งห้องน้ำจะใช้ แถมอากาศของประเทศยูเครน ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุดที่หนึ่งของโลก บ้านของเขาแทบจะไม่มีไฟฟ้าใช้ และแน่นอนว่าเขาไม่สามารถอาบน้ำอุ่น ๆ ผ่านเครื่องทำน้ำอุ่นได้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ

หนีตายสู่ประเทศอเมริกา

และแน่นอนว่าด้วยสงครามที่มีความวุ่นวายในยูเครนในขณะนั้น ทำให้ครอบครัวของเขาต้องอพยพ ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ ณ เมืองเมาน์เทนวิว ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในตอนแรกนั้นพ่อของเขาไม่ได้ตามมาด้วย มีเพียงแค่เขากับแม่ของเขาเท่านั้น ที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศอเมริกา

แต่เหมือนโชคชะตาที่เล่นตลกกับเขาอีกครั้ง เพราะหลังจากย้ายมาอยู่อเมริกาไม่นาน แม่ของเขาก็ตรวจพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคมะเร็งและไม่สามารถออกไปทำงานได้ ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุได้เพียง 16 ปีเท่านั้น

ชีวิตของ Koum จึงต้องพึ่งสวัสดิการของรัฐ และ แสตมป์อาหาร ที่รัฐบาลแจกให้กับคนยากจน เพื่อมาประทังชีวิตไปวัน ๆ ให้ได้ และเพียงไม่นานหลังจากที่แม่เขาต่อสู้กับโรคร้ายอย่างมะเร็ง ก็เสียชีวิตลงในปี 2000 ขณะที่พ่อของเขานั้นเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1997 แล้ว คงเหลือเพียงตัวเขาเท่านั้นที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ชีวิตในประเทศอเมริกาเพียงคนเดียวเท่านั้น

เปลี่ยนความยากจนให้เป็นแรงผลักดันชีวิต

ความยากจน คือ สิ่งที่ทำให้เด็กหนุ่ม Koum ในวัย 18 ปี ที่เพิ่งเข้ามาใช้ชีวิตในอเมริกา ได้มีโอกาสศึกษาเรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ซึ่งเขาเรียนรู้จากหนังสือคู่มือที่ซื้อมาจากร้านหนังสือมือสอง

วัย 19 ปี Koum ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแซน โฮเซ (San Jose University) ในขณะที่ตอนกลางคืนทำงานให้กับบริษัท Ernst & Young ตำแหน่ง Security Tester

โดยในปี 1997 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี Brian Acton ได้ชักชวนให้เขามาทำงานที่ Yahoo! ในตำแหน่ง Infrastructure Engineer

หลังจากได้งานที่ Yahoo! เพียง 2 อาทิตย์ มี Server ตัวหนึ่งของเว๊บไซต์ Yahoo เสีย David Filo หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Yahoo! ได้โทรตามตัว Koum ให้มาช่วยดู Server ตัวนั้น ซึ่งเขาตอบกลับไปว่ากำลังเรียนอยู่

Koum และ Acton ที่ก่อนจะกลายมาเป็นคู่หูสร้าง WhatsApp

แต่ Filo ซึ่งเป็นเจ้านายไม่สนใจ บังคับให้เขารีบมาที่ออฟฟิศโดยด่วน ซึ่งเหตุการณ์นี้นี่เองที่ทำให้ Koum ได้ตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัยกลางคัน เพื่อทำงานที่ Yahoo! แบบเต็มเวลา ซึ่งเขาก็ทำงานที่นี่ได้ 9 ปี จนเขาตัดสินใจลาออกในปี 2007

ก่อกำเนิด WhatsApp โปรแกรม Messenger ที่ใช้งานฟรี!

หลังจากออกจาก Yahoo และได้พักผ่อนไม่ได้ทำงานเป็นเวลา 1 ปี ต่อมาในปี 2009 พวกเค้าทั้งสองคนก็เกิดอยากทำงานอีกครั้งจึงไปสมัครงานที่ Facebook แต่ Facebook ไม่รับพวกเค้าเข้าทำงานอย่างไร้เยื่อใย

ในปี 2009 นั้นเอง Brian Acton และ Jan Koum ได้ซื้อ iPhone มาใช้ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้พวกเค้าเกิดไอเดียขึ้นมาทันทีว่า iPhone ที่มีระบบ App Store นี่แหละที่จะเป็นตัวเปลี่ยนอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และ iPhone นี่แหละที่น่าจะต้องการใช้ระบบอะไรสักอย่างที่จะสามารถทำให้พวกเค้าติดต่อกับผู้ที่ใช้ BlackBerry ได้ พวกเค้าใช้เวลาคิดอยู่ไม่นานและชื่อ WhatsApp ก็เกิดขึ้นโดน Jan Koum นี่แหละที่เป็นผู้เลือกชื่อ เพราะมันฟังดูเหมือน What’s Up ดี

WhatsApp จึงถูกจดทะเบียนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ในปี 2009 และถูกปล่อยครั้งให้ใช้ครั้งแรกในเดือน พฤษภาคม ปีเดียวกันนั่นเอง แต่ก็ยังพบข้อผิดพลาดอยู่เยอะมาก ซึ่งเขาได้ให้พวกเพื่อน ๆ ของเขาช่วยกันทดสอบและหาข้อผิดพลาดของระบบให้มากที่สุด

และจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งนึงก็คือ ในปีนั้น Apple ได้ปล่อยฟีเจอร์ Push Notification ทำให้ WhatsApp ได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์นี้ไปเต็ม ๆ และเขายังพบว่าผู้ใช้บริการ WhatsApp ส่วนใหญ่นั้น จะใช้มันเหมือนเป็นแอพแชทมากกว่า

Push Notification ที่ Apple ได้ปล่อยออกมานั้นดูจะเข้าทาง Whatsapp เสียเหลือเกิน

ต้องบอกว่าในขณะนั้นบริการส่งข้อความฟรี มีเพียงแค่ BBM เท่านั้น ซึ่งจำกัดแค่สำหรับผู้ใช้งาน BlackBerry (BB) ด้วยกันเอง แม้จะมี G-Talk ของ Google และ Skype ที่ถูก Microsoft ซื้อมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่ WhatsApp นั้นแตกต่าง เพราะใช้เพียงแค่เบอร์โทรศัพท์ในการ Login ซึ่งความแตกต่างนี้มาจากการตระหนักเรื่อง Privacy ในวัยเด็ก ทำให้ WhatsApp ไม่มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้เลยในช่วงแรกของการพัฒนา ทำให้ผู้ใช้มั่นใจที่จะใช้ WhatsApp เป็นอย่างมาก แตกต่างจากบริการอื่น ๆ ที่มุ่งเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เพื่อไปหาเงินอีกทางหนึ่ง

ดังนั้นพวกเขาจึงรีบพัฒนา Features ต่อทันทีและเมื่อ WhatsApp 2.0 ที่รองรับการแชทถูกปล่อยออกมา ปรากฏว่าได้มีผู้ใช้งานเข้ามาอย่างถล่มทลายถึง 250,000 คน เขาจึงชักชวนให้ Acton มาช่วยกันพัฒนาและทำให้มันกลายเป็นธุรกิจที่จริงจังเสียที

No Ads, No Games ,  No Gimmicks

ต้นปี 2011 WhatsApp ติดอันดับ Top 20 ใน App Store ของอเมริกา และสองหนุ่มเริ่มมองหาเงินทุนสำหรับการเติบโต มีนักลงทุนหลายรายให้ความสนใจ โดยเหล่านักลงทุนก็พยายามเกลี้ยกล่อมให้ WhatsApp ใช้โฆษณาเป็น Business Model ซึ่งสองผู้ก่อตั้งปฏิเสธ เพราะเกลียดโฆษณา ดังนั้นที่โต๊ะทำงานของ Koum จึงมีกระดาษแผ่นหนึ่งแปะไว้ว่า No Ads! No Games! No Gimmicks! นั่นเอง

No Ads , No Games , No Gimmicks concept หลักของ Whatsapp

ถูก Facebook ซื้อไปมูลค่ากว่า 1.9 หมื่นล้านเหรียญ!!!

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013 WhatsApp มีผู้ใช้งานทั่วโลกประมาณ 200 ล้านคน มีพนักงาน 50 คน และมีการระดมทุนเพิ่มจาก Sequoia บริษัทด้านการลงทุนชื่อดังใน Silicon Valley จำนวน 50 ล้านเหรียญ ทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ

และในเดือน ธันวาคม ปีเดียวกันนั้นเองที่ WhatsApp เติบโตจนมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 450 ล้านคนต่อเดือน ซึ่งเร็วกว่าบริการ Social Network ทุกตัวในตอนนั้น ซึ่งจำนวนผู้ใช้ที่มหาศาลก็ไปเข้าตา Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook จนขอเข้าซื้อกิจการในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 ด้วยเงินจำนวน 1.6 หมื่นล้านเหรียญ พร้อมหุ้นประเภทจำกัดสิทธิ์อีก 3 พันล้านเหรียญ ทำให้ Koum และ Acton กลายเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่ทันทีจากการถือหุ้น 45% และ 20% นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเรามามองถึงอัตราการเติบโตของ users ของ WhatsApp ก็ค่อนข้างน่าตกใจว่า 4 ปีแรกนั้น whatsapp นั้นสร้างฐานการเติบโตของ User ได้ดีกว่าเจ้าของใหม่อย่าง (facebook) เสียอีกซึ่งถือว่าดีสุดในบรรดา social network ต่าง ๆ  ที่มีมาในประวัติศาสตร์วงการเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้

ซึ่งตัวเลขพวกนี้คงเป็นตัวเลขที่สำคัญที่ทำให้ facebook นั้นได้ทุ่มทุนขนาดนี้แล้วค่อยมาหารูปแบบ business model ในภายหลังซึ่งก็เหมือนกับที่ google ทุ่มทุนซื้อ youtube ในอดีตตอนนั้นกว่า 1.6 พันล้านเหรียญ ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น

แต่ตอนนี้คนก็คงไม่ต้องสงสัยกันแล้ว google มองเกมส์ขาดมากในตอนนั้นที่รีบซื้อ youtube เข้ามา ซึ่งถ้าตีมูลค่าตอนนี้ youtube นี่คงทะลุ 2 หมื่นล้านเหรียญเข้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งหากวิเคราะห์จริง ๆ เราก็พอมองเห็นในอนาคตว่า บริษัทด้านซอฟแวร์ ที่เน้นไปที่การเก็บข้อมูล User Data จะมีมูลค้าที่สูงกว่า hardware ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเป็นผู้ takeover กิจการของบริษัท hardware ทั้งหลายแทน โดยเฉพาะเหล่าบริษัทที่มี data ข้อมูลผู้ใช้งานซึ่งตีมูลค่าได้มหาศาลนั่นเองครับ

References :
http://www.forbes.com/sites/parmyolson/2014/02/19/exclusive-inside-story-how-jan-koum-built-WhatsApp-into-facebooks-new-19-billion-baby/
http://www.wired.co.uk/news/archive/2014-02/19/WhatsApp-exclusive
https://en.wikipedia.org/wiki/WhatsApp
https://en.wikipedia.org/wiki/Jan_Koum
https://www.cnbc.com/2018/01/19/how-jan-koum-got-the-idea-for-whatsapp.html
https://i.ytimg.com/vi/k7Q59an0kME/hqdefault.jpg