South Korea ตอนที่ 1 : Foundation

ประเทศเกาหลีใต้ในขณะนี้นั้นได้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าของโลก เป็นประเทศที่ผลิต chip ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่เป็นหัวใจของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค ทั่วโลกได้มากกว่าใครในโลก มันนับเป็นก้าวย่างที่รวดเร็วมากที่สามารถทำให้ประเทศเกาหลีใต้ก้าวมาถึงจุดนี้ได้

หลาย ๆ คนทั่วโลกยังเข้าใจผิดในหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับประเทศเศรษฐกิจใหม่แห่งนี้ การร่วมมือ และร่วมใจของคนทั้งชาติ การทำงานอย่างหนัก ความคิดสร้างสรรค์ที่สุดโต่ง ล้วนเป็นสิ่งที่นำพาให้ประเทศเกาหลีใต้มาถึงจุดนี้ได้ 

ซึ่งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของประเทศใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งคมนาคม หรือ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่มีหัวใจคือ ระบบ internet Hi-Speed มันช่วยยกระดับประเทศเกาหลีให้เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วได้อย่างเหลือเชื่อ

ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีเพียงเท่านั้น เกาหลีใต้ ยังเป็นผู้นำทางด้านศิลปะ มีการสร้างงานศิลปะ ระดับ World-Class รวมถึงเรื่องดนตรี ที่ K-Pop นั้นได้กระจายกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ไปทั่วโลก ทุกคนหลงรัก K-Pop แม้กระทั่งชาติมหาอำนาจอย่าง อเมริกาเองก็ตามยังต้องยอมสยบให้กับวัฒนธรรมที่กำลังบุกรุกอย่างบ้าคลั่งของ K-Pop มันไม่ใช่แค่บุกเพียงทวีปเอเชียแล้วแต่ตอนนี้มันกำลังบุกไปทั่วโลก

กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว
กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว

ซึ่งเมื่อย้อนไปเมื่อร้อยปีที่แล้ว นั้น ประเทศแห่งนี้ ถูกบุกรุก จนแทบจะสูญสิ้นประเทศ จากสงครามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนบ้านกันเองอย่างญี่ปุ่น หรือ การถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศในการแบ่งแยก เกาหลีเหนือ – เกาหลีใต้ แต่พวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วอายุคนเท่านั้น ในการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศ จากประเทศที่แสนยากจนข้นแค้น GDP ต่อหัว เพียงแค่ 100 เหรียญสหรัฐเท่านั้น จนกลายมาเป็นมหาอำนาจที่มี GDP ต่อหัว สูงถึงกว่า 30,000 เหรียญในปัจจุบัน 

จากการที่ต้องถูกแบ่งประเทศเป็น เกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ ผลพวงจากยุคสงครามเย็นระหว่างมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปี 1950 แม้สงครามของทั้งสองจะจบลงแล้วตั้งแต่ ปี 1953 ก็ตาม แต่มันก็ยังไม่สามารถรวมทั้งสองประเทศให้กลายเป็นหนึ่งได้เหมือนในอดีต

และนี่ก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงที่ถ้าเทียบกับเหล่าประเทศผู้นำ G20 ทั่วโลก มันก็คือ ความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่ระหว่าง เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มันเป็นแรงผลักสำคัญให้ชาวเกาหลีใต้รีบสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นมาโดยเร็วที่สุด ความไม่มั่นคงกับปัญหานิวเคลียร์ ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ต้องเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างนึงเลยก็ว่าได้ มันเปรียบเหมือนชาวเกาหลีใต้กำลังอยู่ภายใต้ความมืดมนที่ปกคลุมอยู่ มันเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้มานานหลายทศวรรษแล้ว สำหรับความแตกแยกระหว่างประเทศทั้งสอง

การเร่ง สปีดการพัฒนาของเกาหลีใต้ นั้น แม้ตอนเริ่มต้นดูเหมือนเกาหลีเหนือจะได้เปรียบอยู่บ้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในยุครวมประเทศนั้นอยู่ในแถบดินแดนเกาหลีเหนือ แต่ตอนนี้ เกาหลีใต้ได้แซงหน้าไปไกลแล้ว GDP ต่อหัวของ เกาหลีใต้นั้นมากกว่า เกาหลีเหนือกว่า 130 เท่า 

แม้ช่วงทศวรรษ 1950 นั้น เกาหลีใต้จะอยู่ในสภาพที่ยากจนที่สุด  ผลจากสงครามเกาหลี ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไร้บ้าน GDP ที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินต่ำกว่าหัวละ 100 เหรียญสหรัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐ การเมืองก็เต็มไปด้วยการคอรัปชั่น มองไม่เห็นอนาคตของเกาหลีในปัจจุบันได้เลยด้วยซ้ำ

จุดเปลี่ยนที่น่าสนใจของประเทศเกาหลีใต้ นั้น มาจากการที่ นายพลปาร์ค ซุงฮี ซึ่งได้ฉวยโอกาสจากสถานการณ์ย่ำแย่ดังกล่าว ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 16 พฤษภาคม 1961 และได้คิดริเริ่มวางแผนการในการที่จะทำให้ประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นประเทศร่ำรวยให้จงได้

แนวทางการบริหารแบบเผด็จการ มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่ได้รับเครดิตสำคัญในการชุบชีวิตเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เลยก็ว่าได้ ในช่วงยุค 1950 อันเลวร้ายนั้น เหล่านักธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลก่อนหน้า ต่างร่ำรวยขึ้นจากการกว้านซื้อทรัพย์สินที่เจ้าอาณานิคมญีปุ่นในยุคก่อนหน้าทิ้งไว้

นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้
นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้

และหนึ่งในบริษัทที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ บริษัทซัมซุงนั่นเอง โดย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้ง ซัมซุง เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเกาหลีใต้ช่วงทศวรรษ 1950 นายพลปาร์คนั้น ลีบยองซอล ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรงว่าเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่มิชอบ ซึ่งท่านนายพลปาร์คมองว่าเป็นทรัพย์สินของชาติ

แต่ ด้วยไหวพริบและความสามารถในการเจรจาของเขา จึงได้ยื่นข้อเสนอต่อนายพล ปาร์ค โดยจะบริจาค ทรัพย์สินส่วนใหญ่คืนให้กับประเทศ และจะชวนเหล่าผู้ประกอบการให้คล้อยตามแผนเศรษฐกิจที่ท่านนายพลปาร์คได้ร่างไว้

และนี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้นาย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้งซัมซุง ได้รับการแต่งตั้งจากนายพลปาร์คเป็นหัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมเกาหลี (Federation of Korean Industries) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่จนมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้

โดยนายพล ปาร์ค นั้นมุ่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 1962-1967 และเริ่มมีจำนวนบริษัทเอกชนที่ตบเท้าเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ คิม วูซุง ผู้ก่อตั้งบริษัท Daewoo ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น Daewoo เป็นบริษัทผลิตสิ่งทอ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนไปผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และเรือเดินสมุทร เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)
คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)

และเนื่องด้วยรัฐบาลนั้นมีเงินมากมายจากการอัดฉีดของต่างชาติที่นำโดยอเมริกา จึงได้เป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยถูกผ่านธนาคารแห่งชาติเกาหลี เพื่ออัดฉีดให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ได้ไปก่อร่างสร้างตัว

นายพลปาร์ค ที่ต่อมาได้กลายเป็นประธานาธิบดีปาร์ค นั้นได้เริ่มนโยบายที่จะส่งเสริมการส่งออก เพื่อให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้เรียนรู้ที่จะแข่งขันในระดับสากลได้ แต่ยังคงกำแพงภาษีไว้สูงเพื่อกีดกันการแข่งขันจากต่างชาติ เมื่อต้องแข่งขันในประเทศ ในขณะเดียวกันการส่งเสริมการส่งออกนั้นก็ช่วยให้บริษัทอย่างซัมซุงหรือแอลจี สามารถดำเนินการได้อยา่งมีประสิทธิภาพมีมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

ซึ่งเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้ ภายใต้การอัดฉีดเงินจากรัฐบาลด้วยดอกเบี้ยต่ำทำให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ถูกเรียกในภายหลังว่า แชโบล โดยใช้แนวคิดคล้าย ๆ กับระบบของประเทศญี่ปุ่น แต่แชโบล นั้นจะเน้นรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางมากกว่า และรัฐบาลจะรับหน้าที่จัดการเรื่องการเงินให้ โดยมีพี่ใหญ่อย่าง ประธานาธิบปาร์ค นั้นเป็นคนคอยคุมกระเป๋าเงินให้

กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล
กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล

ส่วนเรื่องการบริหารงานแบบ แชโบลนั้น ก็เป็นแนวคิดแบบภายในครอบครัวเป็นหลัก กล่าวคือ ลูกชายของประธานบริษัทจะค่อย ๆ ไต้เต้าขึ้นมาจากตำแหน่งล่าง ๆ จนได้รับโอกาสดูแลธุรกิจในเครือในที่สุด โดยทายาทที่มีผลงานดีที่สุดนั้น จะได้รับการสืบทอดตำแหน่งประธานของกลุ่มบริษัททั้งหมดต่อจากพ่อ ซึ่งแชโบลนั้นใช้รูปแบบนี้มาจวบจนถึงปัจจุบัน โดย แชโบลใหญ่ ๆ จะบริหารโดยสืบสายเลือดหรืออาจจะเป็นลูกเขยของเหล่าผู้ก่อตั้งแทบจะทั้งสิ้น 

ซึ่งมันทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีถูกครอบครองโดยยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันแบบเสรี มันไม่มีเกิดขึ้นในเกาหลีใต้ เหล่าแชโบลยักษ์ใหญ่มักจะแข่งขันอย่างหนักในตลาดต่างประเทศมากกว่า

แต่มันไม่ใช่ชาวเกาหลี ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก สินค้าแทบจะทุกอย่างในประเทศผลิตจากแชโบลยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นสินค้า copy จากต่างชาติ หรือ สินค้าที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์มาจากต่างชาติ

และมันทำให้อิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้นั้นครอบคลุมไปทั้งประเทศ ไม่มีวัฒนธรรมการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เมื่อเรียนจบเหล่านักศึกษาก็จะมุ่งเข้าหาบริษัทยักษ์ใหญ่ของแชโบลแทบจะทั้งสิ้น 

มันมีเพียงธุรกิจสมัยใหม่เท่านั้น ที่พอจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ เช่นธุรกิจทางด้าน internet ตัวอย่างเช่น NHN เจ้าของ Naver.com หรือ NCSoft บริษัทผลิตเกมส์ชื่อดัง ซึ่ง internet นั้นได้สร้างความเท่าเทียมทางการแข่งขันให้กับเหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ได้พอจะลืมตาอ้าปากได้บ้าง แต่พวกเขาก็ยังคงหลีกเลี่ยงธุรกิจที่จะต้องแข่งขันกับเหล่า แชโบล ยักษ์ใหญ่โดยตรงอยู่ดี

มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้
มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศเกาหลีใต้การผสานความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล กับเหล่าธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง แชโบลนั้น แม้ถ้ามองในปัจจุบันระบบแบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับรูปแบบเศรษฐกิจในยุคใหม่ แต่ผลลัพธ์ของเกาหลีใต้นั้นมันทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

มันช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ ตัวเลขการส่งออกถีบตัวขึ้นสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญ ในปี 1977 เป็นการเติบโตสูงถึง 100 เท่าหากเริ่มนับจากจุดเปลี่ยนครั้งครั้งสำคัญในปี 1964 ซึ่งแนวคิดหลักในการบริหารดังกล่าวนั้น มักจะเปิดให้มีการเล่นพรรคพวก และ เปิดช่องให้โกงแบบไม่น่าเกลียดจนเกินไป แต่มันเป็นวิธีแก้ปัญหาระดับชาติที่ได้ผล มันยกระดับชาติจากประเทศยากจน ที่แทบจะแตกสลายให้มาลุกขึ้นยืนได้สำเร็จ และมันถึงเวลาแล้วที่เกาหลีใต้จะวิ่งแซงประเทศอื่น ๆ ได้เสียที แล้ว วิธีการใด ที่ทำให้ เกาหลีใต้สามารถเร่งสปีดแซงหน้าประเทศต่าง ๆ กลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจได้อย่างในปัจจุบัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Fighting DNA

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : Rise of South Korea

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศเกาหลี ดินแดนที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ เปลี่ยนจากประเทศที่แทบจะยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกให้กลายมาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เทียบกับ ญี่ปุ่น , ยุโรป หรือแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาได้อย่างไร?

เทคโนโลยีจากประเทศเกาหลีใต้ แรกซึมอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ ไล่ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง เครื่องบิน หรือ เรือขนส่งขนาดยักษ์ ประเทศที่มีประชากรเพียง 50 ล้านคนแห่งนี้ บัดดนี้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ มี GDP ต่อหัวสูงอันดับต้น ๆ ของโลก Blog Series ชุดนี้ จะพาไปทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับประเทศเกาหลี ที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนยังไม่รู้

ในขณะที่เทียบกับประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่าง สิงคโปร์ หรือ จีน ที่เป็นระบอบผสมผสานระหว่าง อำนาจนิยม (การควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จจากรัฐบาล) และ ทุนนิยม แต่ เกาหลีใต้นั้น ไม่ได้ใส่ใจแค่เรื่องความมั่งคั่งร่ำรวยเพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังยึดหลักประชาธิปไตย และสิทธิพลเมืองอีกด้วย ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่จะสามารถก้าวมาได้ไกลถึงขนาดนี้

หนังสือ Korea The Imppossible Country
หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

โดยข้อมูลที่มาจะมาจาก 2 แหล่งหลักคือ Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch และ หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor ที่แปลโดยคุณ ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ฝากติดตามกันด้วยน้า

–> อ่านตอนที่ 1 : Foundation

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

หนังสือ มหัศจรรย์เกาหลี : จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ผู้เขียน Daniel Tudor (แดเนียล ทิวดอร์)
ผู้แปล ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ

หนังสือ Samsung’s Way วิถีแห่งผู้ชนะ
ผู้เขียน John Hyungjin Moon (จอห์น ฮยองจิน มุน)
ผู้แปล ภัททิรา จิตต์เกษม

Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch

Netflix Documentary : Explained ( K- Pop )

en.wikipedia.org/wiki/South_Korea

นวัตกรรมจอพับ กับ Game Changer ของ Samsung ในตลาดมือถือ

ตลาดโทรศัพท์มือถือโลก เริ่มอิ่มตัวมาซักพักแล้ว เราไม่ได้เห็น นวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาเลย ไม่ว่าจะทั้งฝั่ง Android หรือ Iphone ตลาดตอนนี้เป็นการแข่งขันเพียงแค่ การยัดสเป๊คทางด้าน Hardware ไม่ว่าจะเป็น CPU , GPU หรือ คุณสมบัติของกล้องเองก็ตาม แต่ไม่ได้ถือว่ามีนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาเป็นเวลานานแล้ว

แต่แล้ว ในงานประชุมนักพัฒนาประจำปีของ Samsung Developers conference (SDC) ประจำปี 2018 ทาง samsung ได้มีการเปิดตัวหน้าจอพับได้ Infinity Flex Display และ อินเตอร์เฟซ One UI ที่จะนำมาใช้กับ สมาร์ทโฟน หน้าจอพับได้ของ Samsung รวมถึง อุปกรณ์ อื่น ๆ ของ Samsung ด้วย

ต้องขอชมงานด้ายวิจัย ของ Samsung ที่ได้ทุ่มเททรัพยากร และ ทุ่มเทเงินไปเป็นจำนวนมาก ในการ วิจัย และพัฒนา อะไรใหม่ ๆ มาให้เราเห็นเสมอ เมื่อสถานการณ์ ของ Samsung ในตลาดมือถือในตอนนี้ก็ไม่สู้ดีนัก การก้าวตามมาติด ๆ ของมือถือจากจีน ที่ มาแย่งตลาด Samsung ไปเป็นอย่างมาก

ทางเดียวที่จะฉีกหนีคู่แข็ง ที่กำลัง รุมสกรัม Samsung   ในตลาดมือถือ ได้คือ นวัตกรรมเท่านั้น และInfinity Flex Display ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพือฉีกหนีคู่แข่งของ Samsung เพราะ การแข่งขันทางด้าน Hardware นั้นใกล้จะถึงจุด ที่ไม่สามาถแข่งขันกันได้แล้ว เพราะความแตกต่างแทบจะไม่มี ในตลาดมือถือยุคปัจจุบันการฉีกหนี ด้วยการสร้างนวัตกรรมใหม่ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้วของ Samsung

จอพับได้ Infinity Flex Display

Infinity Flex Display

Infinity Flex Display

ต้องถือว่า มีข่าวมาอย่างยาวนาน สำหรับ มือถือจอพับได้ ซึ่งคิดว่าไม่น่าเป็นเรื่องง่ายในการพัฒนาอย่างที่ samsung ทำได้ในขณะนี้ ซึ่งเป็นข้อดีในการฉีกหนีคู่แข่ง Android อื่น ๆ ไม่ให้ไล่ตามทันได้ง่าย ๆ แม้กระทั่ง Iphone เอง หาก Infinity Flex display เกิดขึ้นมา ทำให้มีโอกาสสูงที่จะมาแย่งส่วนแบ่งตลาด จาก ผู้ใช้ Iphone ได้ เพราะตอนนี้ เป็นเรื่องยากที่จะไปแย่งฐานลูกค้าจาก Iphone หากแข่งขันกันที่กล้อง หรือ Spec ทางด้าน Hardware เท่านั้น

โดยตัว Infinity Flex Display นั้น เป็นแผงหน้าจอแบบ OLED ขนาด 7.3 นิ้ว ที่จะได้รับการติดตั้งเป็ ฟีเจอร์หลัก โดยมีความสามารถที่จะพับในแนวตั้งได้ เพื่อให้ใช้งานบนหน้าจอขนาดใหญ่ และสามารถพับเก็บได้อย่างสะดวก

ซึ่งจะมาในมือถือรุ่นใหม่อย่าง Samsung Galaxy X เรียกได้ว่า ชนกับ Apple โดยตรง

โดยมือถือรุ่นใหม่นี้ จะออกแบบโดย Techconfigurations โดยจะสามารถกางออก ให้กลายเป็น Tablet ได้ โดยจะมาพร้อมหน้าจอปรกติขนาด 5 นิ้ว แต่เมื่อกางออก จะแปลงร่างกายเป็น แท็ปเล็ต ขนาดหน้าจอที่ 7 นิ้ว ความละเอียดระดับ 4K และมีความบางเพียง 3.25 mm เท่านั้น

อินเตอร์เฟซ One UI

อินเตอร์เฟซ One UI

อินเตอร์เฟซ One UI

ในส่วนของ การใช้งานนั้น สามารทโฟน Galaxy X จะได้รับการติดตั้ง อินเตอร์เฟซ One UI  โดยเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Samsung กับ Google เพื่อออกแบบ อินเตอร์เฟซ แบบใหม่ ให้จัดวาง application อยู่ที่พื้นที่ด้านล่างของหน้าจอแทน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน  โดยสามารถที่จะใช้งานโดยใช้มือเดียวได้

และเมื่อ กางหน้าจอออกในโหมด แท็ปเล็ตนั้น จะปรับเปลี่ยนการแสดงผลในรูปแบบของ แท็ปเลต  โดยใช้พื้นที่เต็มหน้าจอขนาด 7.3 นิ้ว และสามารถแสดงการทำงานของ app ได้สูงสุดถึง 3 ตัวพร้อมกันอีกด้วย

Game Changer ของ Samsung ในตลาดมือถือโลก

Samsung Game Changer

Samsung Game Changer

ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ตอนนี้นั้น ยอดขายของ samsung แทบจะไม่กระเตื้องมานานมากแล้ว การมีคู่แข่งจากจีนที่ตามมาติด ๆ และตีในทุกตลาดเดิมของ Samsung ไม่ว่า ตลาด High End ตอนนี้ Huawei ก็สามารถตี samsung ได้สำเร็จ ด้วยการร่วมพัฒนากล้องกับ Leica ทำให้เสียส่วนแบ่งการตลาดไปเป็นจำนวนมาก

ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ในตลาดล่างลงมา ตอนนี้ Samsung แทบจะไม่มีที่ยืน เลยด้วยซ้ำ ด้วยพาเหรด การเข้ามาทำตลาดของ Brand จีน ไม่ว่าจะเป็น Oppo Vivo  xiami  Asus ฯลฯ  กลายเป็นตลาดแดงเดือดไปซะเรียบร้อยแล้ว การแข่งขันทางด้าน Spec นั้น Samsung ไม่สามารถลงมาเล่นได้เหมือนเดิม เพราะ โดยตัดราคาจากกล่มมือถือจีน

ตอนนี้ ทางรอดทางเดียว และ Game Changer ของ Samsung ที่จะกลับมายิ่งใหญ่ในตลาดโทรศัพท์มือถือ ก็เหลือเพียง นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่าง นวัตกรรมจอพับ ล่าสุด ที่ใช้เวลาวิจัยมาอย่างยาวนาน เท่านั้น ซึ่งผลจากการทุ่มเทวิจัยครั้งนี้ อาจจะกลับมาชนะในศึกใหญ่ ทั้งจาก Brand จีน รวมถึง ทางฝั่ง Iphone เอง ก็เป็นไปได้ เราก็ต้องดูกระแสตอบรับ ในนวัตกรรมดังกล่าวกันต่อไป ว่าจะชนะใจผู้บริโภคได้หรือไม่

 

Book Review : Xiaomi กลยุทธ์ปั้นแบรนด์หมื่นล้านแบบเสียวหมี่

 

ต้องยอมรับตามตรงหลังจากได้ยินชื่อแบรนด์ Xiaomi ในช่วงแรก ๆ ก็เป็นแบรนด์ดาวรุ่งแบรนด์หนึ่งของจีน ที่ช่วงแรก ๆ นั้นยังไม่ได้รับการจับตามองจากผู้คนทั่วไปเท่าที่ควร รวมถึงตัวผมเองด้วยเมื่อได้ยินชื่อครั้งแรกออกแนวตลกกับชื่อแบรนด์นี้ด้วยซ้ำ และเมื่อมองจากข้อมูลที่ได้รับเหมือนจะเป็นแนวของการ copy “Apple” อย่างน่าเกลียดไปด้วยซ้ำในช่วงแรก ๆ  ของการเปิดตัวมือถือ MI รุ่นแรก ๆ มีการแต่งตัว การตกแต่งเวที รวมถึง สไตล์การ presentation นั้นแทบจะ Clonning การนำเสนอของ apple มาล้วน ๆ

หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบความคิดของผมก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แบรนด์ Xiaomi นั้นเป็นต้นแบบของการปฏิวัติการสร้างแบรนด์ในยุคปัจจุบันได้อย่างชัดเจน โดยใช้เวลาหลังจากก่อตั้งเพียง 2-3 ปีก็กลายเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึงหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เรียกได้ว่าเป็นการฉีกกรอบการสร้าง Brand ของตำราในรูปแบบเดิม ๆ ออกไปโดยสิ้นเชิง

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นการบอกเล่าโดย “หลี่ว่านเฉียง” หนึ่งผู้ร่วมก่อตั้ง Xiaomi  ที่เริ่มเรื่องราวตั้งแต่การเริ่มก่อตั้ง การสร้าง MIUI ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ให้กับ Xiaomi มาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า แบรนด์ Xiaomi นั้นใส่ใจกับผู้บริโภคเป็นอย่างมากมีการรับ Feedback จากผู้ใช้งานเพื่อไปปรับปรุงและออกผลิตภัณฑ์ version ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นน้อย brand ที่จะทำได้ขนาดนี้

การที่ Xiaomi นั้นก้าวขึ้นมาเป็น brand ผู้ผลิตมือถือ อันดับสามในปัจจุบัน เป็นรองเพียงแค่ Apple กับ Samsung นั้น ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้เวลาแค่ 5 ปีเท่านั้นในการก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้ ซึ่งคิดว่าเป้าหมายคงไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้แน่  ในหนังสือจะเล่าถึงที่มาที่ไปและแนวคิดรูปแบบใหม่ในการบริหารงานองค์กร และการสร้างทีมงานของ Xiaomi ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการฉีกกฏเกณฑ์เก่า ๆ ที่นักการตลาดทั่วไปได้ร่ำเรียนมา กลยุทธ์ด้านการตลาดที่สามารถล้มคู่แข่งยักษ์ใหญ่ได้จนกลายเป็น Brand ที่ทั้งโลกตัองหันมาจับตามองอย่างจริงจัง

เก็บตกจากหนังสือ

  • เราจะเห็นถึงกระบวนการในการบริหาร และ การจัดการภายในของ Xiaomi ที่ฉีกกฏเกณฑ์ทั่วไปจำนวนมาก
  • Xiaomi นั้นแจ้งเกิดจาก MIUI ซึ่งเป็นการสร้าง Software จนผู้ใช้ติด และหันมาทำ Hardware เองในภายหลัง

April Fools Day

ตามธรรมเนียมของทางฝั่งเมืองนอกสำหรับวันที่ 1 เมษายนของทุกปี หรือ april Fools Day  ซึ่งเป็นวันโกหกแห่งชาติตามธรรมเนียมของเมืองนอกเค้ากัน ซึ่งผมก็ชอบมานั่งดูว่า ปีนี้บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ เค้าจะเอาอะไรมาโชว์เรียกความฮากันบ้าง ปีนี้ก็เหมือนเคยครับ หลาย ๆ เจ้า ก็ส่งของแปลกแหวกแนวมาหลอกกันเช่นเคย

Google Panda

มาในตัวแรกเลยคือ Google Panda จาก Google Japan  อันนี้เล่นเอาฮาเลยทีเดียว สำหรับผู้ช่วยส่วนตัวโดยใช้ตุ๊กตา panda จริง ๆ มาคอยโต้ตอบกับผู้ใช้ (idea นี้ทำจริงน่าจะ Work เหมือนกัน )

UberBoat

uberboat

เจ้านี้มาพร้อมกระแสน้ำท่วมที่มาแรงในไทยได้ดีทีเดียว เป็นการล้อเลียนชาวกรุงได้อย่างเจ๊บแสบมาก ๆ อันนี้ไม่ใช่เรือสำหรับแล่นในแม่น้ำ แต่เป็นเรือสำหรับแล่นในท้องถนนจริง ๆ ของบ้านเรา

Samsung Galaxy Blade Edge

ทางฝั่งค่าย Samsung ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกันครับ เปิดตัว Galaxy Blade Edge มีดทำครัวของโค้งด้วย spec ไร้เทียมทานขนาดนี้ เหล่า Brand มีทำครัวน่าจะหนาว ๆ ร้อน ๆ กัน

Amazon Dash Button

ทางฝั่ง amazon.com ก็ธรรมดาซะที่ไหน เปิดตัว ปุ่ม amazon dash เมื่อของใกล้ตัวเครื่องใช้ประจำวันอย่างสบู่ ยาสีแฟน น้ำยาลางจานหมด  เพียงแค่กด ปุ่มเพื่อสั่งซื้อสินค้าก็จะมาส่งทันที  ตัวนี้น่าคิดเหมือนกันว่าน่าจะทำออกมาขาย จริง ๆ ได้นะสำหรับ amazon เป็น product ที่น่าสนใจมาก

Gmail SmartBox

สำหรับ google นี่ค่อนข้างจะเด่นชัดไปหน่อยไม่ค่อยเนียน มาแบบเว่อร์อลังการ กับ SmartBox ที่สามารถ connect กับรูปแบบของจดหมายจริงได้ สามารถแจ้งเตือนผ่าน app ได้ด้วย นี่ถ้าทำได้จริงนี่มันหลุดโลกเลยนะ

Com.google

google รู้สึกจะออกมาเยอะมากสำหรับวันนี้ นี่ก็เช่นกัน  สำหรับ com.google สามารถใช้ได้งานได้จริงเหมือนกัน www.google.com แต่แค่ สลับซ้ายขวาเหมือนมองกระจกเท่านั้น

Moto SelfieStick

อันนี้จากฝั่ง motorolla ซึ่งถือว่า จริงจังกับการทำ production มาก เป็นการออกแบบ ไม้ selfies สำหรับ moto รุ่น X  จะเห็นได้ว่างาน craft และ leather นั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมากดู มืออาชีพมากสำหรับ คลิปนี้

MS-DOS mobile for Lumia

ฝั่ง Microsoft ก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน นำ product classic อย่าง MS-DOS มาลงในมือถือรุ่นล่าสุดอย่าง Microsoft Lumia  ซึ่งดูแล้ว classic ไม่เบาเลยทีเดียว

Zenfone Zero

มาทางฝั่ง Brand จากไต้หวันกันบ้างสำหรับ Zenfone ที่ออก รุ่นใหม่ Zenfone Zero สำหรับใช้ภายในบ้านแบบเดียวกับโทรศัพท์บ้าน นี่แถมมาพร้อมกับ ZenUI ด้วยนะไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

Sony PlayStation Flow

มาปิดท้ายด้วยค่ายเกมส์ยังใหญ่อย่าง Sony เปิดตัว PlayStation Flow ที่จะช่วยให้ผู้เล่นสามารถพบกับประสบการณ์เหมือนจริงสำหรับเกมส์ที่มีฉากดำน้ำ  อันนี้ต้องยอมรับเลยว่า idea เจ๋งมา ๆ