iPhone กับการทำลายล้างมาเฟียผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการเครือข่ายมือถือ

ถามว่าก่อนยุคที่ iPhone จะได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2007 นั้นสิ่งใดเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับวงการมือถือมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น เหล่า มาเฟีย แห่งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งหลายที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ที่เป็นตัวคั่นกลางระหว่างเหล่าผู้ผลิตบริษัทมือถือกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าโดยตรง

ซึ่งแม้ว่าในช่วงก่อนปี 2007 เทคโนโลยีต่าง ๆ มันจะได้รับการพัฒนาไปไกลมากแล้วก็ตาม แต่เราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมือถือยังเป็นอะไรที่ล้าหลังเป็นอย่างมากในหลาย ๆ เรื่องแม้กระทั่งการเล่นเว๊บไซต์ต่าง ๆ ก็เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานของผู้ใช้งานทั่วโลก ที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางอุปกรณ์ที่พกติดตัวเราอยู่ตลอดเวลาอย่างมือถือนั่นเอง

ในขณะนั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกต่างคุ้นเคยกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Broadband กันแล้ว แต่ค่าบริการข้อมูลแบบ 3G ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเหมือนได้ย้อนตัวเองกลับไปสู่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยุคโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์

แน่นอนว่าเหล่ามาเฟียเครือข่ายเหล่านี้ คอยจ้องแต่จะคิดค่าบริการต่าง ๆ แทบทุกอย่าง มีการคิดค่าบริการการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นนาทีที่ใช้งาน แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการบริการจากอินเทอร์เน็ตที่ห่วยแตกกว่าการใช้โทรศัพท์บ้านเสียอีก

เพราะเว๊บต่าง ๆ ที่โหลดมานั้นเป็นเว๊บที่ไร้คุณภาพเนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากทำให้เหล่าผู้ให้บริการไม่อยากเสีย bandwidth ไปกับบริการเหล่านี้ และทำการชาร์จเงินกับผู้บริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การเล่นเว๊บผ่านมือถือ ที่ไร้ซึ่งคุณภาพ
การเล่นเว๊บผ่านมือถือ ที่ไร้ซึ่งคุณภาพ

แต่ iPhone ของ Apple ได้มาเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง Apple ต้องการให้ iPhone นั้นใช้ปริมาณข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด และทำการเจรจากับ Cingular ที่เป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นหลายครั้ง

สุดท้ายได้มีการประกาศรูปแบบการจ่ายค่าบริการมือถือแบบให้ปริมาณข้อมูลไม่จำกัด ซึ่งสูงกว่าแบบโทรศัพท์โทรเข้าออกเพียงอย่างเดียวราว ๆ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน โดย Cingular (ตอนหลังกลายมาเป็น AT&T) จะได้รับเงินบางส่วนจากการดาวน์โหลดทาง iTunes ขณะที่ทาง Apple นั้นได้ส่วนแบ่งจากค่าบริการรายเดือนของ iPhone แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับ Cingular

และนี่เองได้เป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือทั้งหลายทั่วโลก โดย Apple ได้เปลี่ยนบทบาทของเหล่าเครือข่ายโทรศัพท์ ให้เป็นเพียงแค่ทางผ่านของโลกโทรศัพท์มือถือยุคใหม่หลังการเกิดขึ้นของ iPhone ให้พวกเขาเป็นเพียงแค่ท่อส่งข้อมูลระหว่างมือถือของลูกค้ากับโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

ทำให้เหล่าเครือข่ายมือถือไม่สามารถที่จะไปชาร์จค่าบริการใด ๆ กับลูกค้าได้อีก เรียกได้ว่า เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟียมือถือต้องมาง้อ บริษัทมือถืออย่าง Apple ซึ่งไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนเลยในธุรกิจมือถือ

iPhone ที่มาพร้อมแผนที่ของ Google และ การท่องเว๊บที่แสนง่ายดาย ได้กลายเป็นหายนะของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ตอนแรกได้วางแผนที่จะคิดค่าบริการการเข้าถึงข้อมูลแผนที่ผ่านเครือข่ายมือถือ

ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อแผนธุรกิจของ Nokia ที่ตอนนั้นเพิ่งซื้อ Navteq บริษัทแผนที่ยักษ์ใหญ่มาในราคาสูงถึง 8.1 พันล้านดอลลาร์  โดยหวังจะได้รายรับกลับคืนมาด้วยการขายบริการแผนที่ให้บรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลกนั่นเอง

Navteq ที่ Nokia หวังที่จะมาสร้างรายได้กับกับบริษํท
Navteq ที่ Nokia หวังที่จะมาสร้างรายได้กับกับบริษํท

Apple ได้พยายามอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมมือถือไปแนวทางที่ตัวเองต้องการ เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเริ่มหวาดกลัวกับการเข้ามาของ Apple ซึ่งพวกเขาประเมิน Apple ไว้ต่ำมาก ๆ ในตอนแรก

Apple กลายเป็นราชาแห่งวงการมือถือ ทุกเครือข่ายต้องเข้ามานำเสนอสิ่งที่เย้ายวนใจให้ Apple เพื่อร่วมธุรกิจกัน Apple ทำให้ทุกอย่างนั้นกลับตาลปัตรไปหมด เพราะตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2007 นั้น ไม่มีผู้ผลิตมือถือรายใดกล้ากำหนดเงื่อนไขกับบรรดาค่ายมือถือต่าง ๆ 

Nokia เป็นยักษ์ใหญ่มือถือเจ้าเดียวที่เคยลองทำแบบ Apple มาก่อน แล้วก็ได้บทเรียนครั้งสำคัญจากการนำโทรศัพท์ที่สามารถเล่นเพลงได้เข้าไปสู่ตลาดอเมริกา โดย Nokia ได้เคยพยายามรวมรวมข้อมูลลูกค้าที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เข้ามาในระบบของตัวเอง โดยไม่ผ่านค่ายโทรศัพท์มือถือ

แต่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายมือถือ ยื่นคำขาดให้ Nokia หยุดการกระทำนั้นทันที โดย Nokia ต้องยอมทำตามแต่โดยดี เพราะไม่งั้นจะถูกแบนโดยเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า หลังการเกิดขึ้นของ iPhone นั้นไม่เพียงแค่ปฏิวัติแค่วงการผู้ผลิตมือถือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ได้สร้างมือถือที่มีความแตกต่างออกมาเท่านั้น แต่ได้กำจัดเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมให้กับวงการมือถือโลกมาอย่างยาวนานได้อย่างราบคาบ

มันได้ทำให้เปลี่ยน ecosystem ใหม่ทั้งหมดของ Supply Chain ของธุรกิจมือถือ ให้ทุกส่วนนั้น ทำงานที่ควรจะทำ ไม่มายุ่งย่ามกับส่วนของธุรกิจอื่น ๆ อย่างที่เหล่าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเคยทำมาในอดีต และที่สำคัญมันได้ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง หลังจากปลดแอกจากเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้ได้สำเร็จนั่นเองครับ

Smartphone War ตอนที่ 7 : The Fall of Mafia Empire

ถามว่าก่อนยุค iPhone นั้นสิ่งใดเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับวงการมือถือมากที่สุดของจะหนีไม่พ้น เหล่า มาเฟีย แห่งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งหลายทั่วโลก ที่เป็นตัวคั่นกลางระหว่างเหล่าผู้ผลิตบริษัทมือถือกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าโดยตรงนั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่า ก่อนปี 2007 เทคโนโลยีต่าง ๆ มันได้พัฒนาไปไกลมากแล้ว แต่เราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมือถือยังเป็นอะไรที่ล้าหลังเป็นอย่างมากในหลาย ๆ เรื่องแม้กระทั่งการเล่นเว๊บไซต์ต่าง ๆ ก็เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานของผู้ใช้งานทั่วโลก ที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางอุปกรณ์ที่พกติดตัวเราอยู่ตลอดเวลาอย่างมือถือนั่นเอง

ในขณะนั้น ผู้คนทั่วโลกต่างคุ้นเคยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Broadband กันแล้ว แต่ค่าบริการข้อมูลแบบ 3G ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเหมือนย้อนตัวเองกลับไปสู่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยุคโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์

แน่นอนว่าเหล่ามาเฟียเครือข่ายเหล่านี้ คอยจ้องแต่จะคิดค่าบริการต่าง ๆ แทบทุกอย่าง มีการคิดค่าบริการการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นนาทีที่ใช้งาน แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการบริการจากอินเทอร์เน็ตที่ห่วยแตกกว่าการใช้โทรศัพท์บ้านเสียอีก เพราะเว๊บต่าง ๆ ที่โหลดมานั้นเป็นเว๊บที่ไร้คุณภาพเนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากทำให้เหล่าผู้ให้บริการไม่อยากเสีย bandwidth ไปกับบริการเหล่านี้ มีการชาร์จกับผู้บริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ถึงเวลาที่เหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือต้องถอยลงมาอยู่ในจุดที่ควรเป็น
ถึงเวลาที่เหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือต้องถอยลงมาอยู่ในจุดที่ควรเป็น

แต่ iPhone ของ Apple ได้มาเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง Apple ต้องการให้ iPhone นั้นใช้ปริมาณข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด และทำการเจรจากับ Cingular ที่เป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นหลายครั้ง

สุดท้ายได้มีการประกาศรูปแบบการจ่ายค่าบริการมือถือแบบให้ปริมาณข้อมูลไม่จำกัด ซึ่งสูงกว่าแบบโทรศัพท์โทรเข้าออกเพียงอย่างเดียวราว ๆ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน โดย Cingular (ตอนหลังกลายมาเป็น AT&T) จะได้รับเงินบางส่วนจากการดาวน์โหลดทาง iTunes ขณะที่ทาง Apple นั้นได้ส่วนแบ่งจากค่าบริการรายเดือนของ iPhone แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับ Cingular

และนี่เองได้เป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือทั้งหลาย โดย Apple ได้เปลี่ยนบทบาทของเหล่าเครือข่ายโทรศัพท์ ให้เป็นเพียงแค่ทางผ่านของโลกโทรศัพท์มือถือยุคใหม่หลังการเกิดขึ้นของ iPhone เป็นเพียงแค่ท่อส่งข้อมูลระหว่างมือถือของลูกค้ากับโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

ทำให้เหล่าเครือข่ายมือถือไม่สามารถที่จะไปชาร์จค่าบริการใด ๆ กับลูกค้าได้อีก เรียกได้ว่า เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟียมือถือต้องมาง้อ บริษัทมือถืออย่าง Apple ซึ่งไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนเลยในธุรกิจมือถือ

iPhone ที่มาพร้อมแผนที่ของ Google และ ข้อมูล ได้กลายเป็นหายนะของเครืองข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ตอนแรกได้วางแผนที่จะคิดค่าบริการการเข้าถึงข้อมูลแผนที่ผ่านเครือข่ายมือถือ

ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อแผนธุรกิจของ Nokia ที่ตอนนั้นเพิ่งซื้อ Navteq บริษัทแผนที่ยักษ์ใหญ่มาในราคาสูงถึง 8.1 พันล้านดอลลาร์  โดยหวังจะได้รายรับกลับคืนมาด้วยการขายบริการแผนที่ให้บรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก

Nokia ที่เพิ่งทุ่มซื้อ Navteq มาหวังจะชาร์จค่าบริการจากลูกค้า แต่แผนต้องล่มแบบไม่เป็นท่า
Nokia ที่เพิ่งทุ่มซื้อ Navteq มาหวังจะชาร์จค่าบริการจากลูกค้า แต่แผนต้องล่มแบบไม่เป็นท่า

Apple ได้พยายามอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมมือถือไปแนวทางที่ตัวเองต้องการ เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเริ่มหวาดกลัวกับการเข้ามาของ Apple ซึ่งพวกเขาประเมิน Apple ไว้ต่ำมาก ๆ ในตอนแรก

Apple กลายเป็นราชาแห่งวงการมือถือ ทุกเครือข่ายต้องเข้ามานำเสนอสิ่งที่เย้ายวนใจให้ Apple เพื่อร่วมธุรกิจกัน Apple ทำให้ทุกอย่างนั้นกลับตาลปัตรไปหมด เพราะตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2007 นั้น ไม่มีผู้ผลิตมือถือรายใดกล้ากำหนดเงื่อนไขกับบรรดาค่ายมือถือต่าง ๆ 

Nokia เป็นยักษ์ใหญ่มือถือเจ้าเดียวที่เคยลองทำแบบ Apple มาก่อน แล้วก็ได้บทเรียนครั้งสำคัญจากการนำโทรศัพท์ที่สามารถเล่นเพลงได้เข้าไปสู่ตลาดอเมริกา โดย Nokia ได้เคยพยายามรวมรวมข้อมูลลูกค้าที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เข้ามาในระบบของตัวเอง โดยไม่ผ่านค่ายโทรศัพท์มือถือ

แต่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายมือถือ ยื่นคำขาดให้ Nokia หยุดการกระทำนั้นทันที โดย Nokia ต้องยอมทำตามแต่โดยดี เพราะไม่งั้นจะถูกแบนโดยเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า หลังการเกิดขึ้นของ iPhone นั้นไม่เพียงแค่ปฏิวัติแค่วงการผู้ผลิตมือถือ ที่ได้สร้างมือถือที่แตกต่างออกมาเท่านั้น แต่ได้กำจัดเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมให้กับวงการมือถือโลกมานานได้อย่างราบคาบ

มันได้ทำให้เปลี่ยน ecosystem ใหม่ทั้งหมดของ Supply Chain ของธุรกิจมือถือ ให้ทุกส่วนนั้น ทำงานที่ควรจะทำ ไม่มายุ่งย่ามกับส่วนของธุรกิจอื่น ๆ อย่างที่เหล่าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเคยทำมาในอดีต และที่สำคัญมันได้ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง หลังจากปลดแอกจากเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้ได้สำเร็จนั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 7 : It’s time to open

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 6 : The Outsider

แม้ว่าในตอนแรกนั้น มัสก์ ยังไม่มั่นใจนักว่าจะได้ทำงานในเรื่องที่สนใจ อย่าง อินเตอร์เน็ต , พลังงานที่ยั่งยืน หรือ เรื่องการสำรวจอวกาศ ซึ่งล้วนจะมีอิทธิพลอย่างสูงต่ออนาคตของมนุษยชาติ ซึ่งตัวเขาเชื่อว่าทั้งสามสิ่งเหล่านี้ จะทำให้โลกมีความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หากเขาได้ทำงาน หรือ สร้างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทั้งสามเรื่องดังกล่าว

ในช่วงที่เขากำลังศึกษาในระดับ มหาลัยนั้น มัสก์ เริ่มที่จะสนใจ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยไฟฟ้า ซึ่งไม่ต้องพึ่งพาพลังงานที่กำลังจะหมดโลกอย่างน้ำมัน ความสนใจของเขามุ่งไปที่การที่จะสร้างแบตเตอรี่ เพื่อใช้ขับเคลื่อนยานพาหนะเหล่านี้

ซึ่งในปี 1995 ได้ทุนการศึกษาเข้าเรียนระดับ PhD ในสาขา materials science & applied physics ที่ Stanford University งานธีสิส ของเขานั้นเป็นไอเดียเกี่ยวกับการสร้างแหล่งพลังงานแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ให้กับเหล่ายานพาหนะที่ถูกขับเคลื่อนโดยไฟฟ้านั่นเอง

สำหรับดีกรี PhD ที่จะได้มาหลังเรียนจบนั้นมัสก์ไม่ได้สนใจมันนัก แต่เขาสนใจผลจากงานวิจัยชิ้นนี้มากกว่า เป้าหมายของเขาต้องการที่จะทดแทนแบตเตอรี่รูปแบบเดิมๆ  ด้วยแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ที่เขาได้วิจัยขึ้น ซึ่งจะทำให้มันสามารถที่จะชาร์จได้อย่างรวดเร็วที่สุดแบบที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน

มัสก์ ได้ทุนเรียนต่อ PhD ที่ Stanford University
มัสก์ ได้ทุนเรียนต่อ PhD ที่ Stanford University

และมันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ อินเตอร์เน็ต กำลังเติบโตแบบสุดขีด มันทำให้มัสก์ ต้องเลือกทางเดินของชีวิตอีกครั้ง ว่าจะอยู่เรียนระดับ PhD เพื่อทำงานวิจัยให้สำเร็จ และเฝ้ามอง อินเตอร์เน็ตที่กำลังจะเปลี่ยนโลกใบนี้อยู่เฉย ๆ หรือ ออกมาทำความฝันอีกอย่างหนึ่งของเขาในโลกอินเตอร์เน็ตแล้วค่อยกลับมาเรียนต่อที่ Stanford

และเมื่อเขาได้วิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วนั้น เขาก็เลือก อินเตอร์เน็ตก่อน เขาลาออกจากการเรียน PhD ที่ Stanford เพราะดูแล้วว่าการทำความฝันทางด้านอินเตอร์เน็ตนั้นน่าจะบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าต้องเรียน PhD ที่อีกหลายปีกว่าจะเรียนจบ

ซึ่งตอนนั้นหลาย ๆ คนมองว่าความคิดของเขาเป็นความคิดที่บ้าน่าดู เพราะเขาได้รับทุนที่ stanford และมีเส้นทางที่สดใสสำหรับการเรียนที่ stanford ที่ทุกคนต่างอิจฉา 

เขาต้องเริ่มหางานที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทันที แต่ปัญหาใหญ่ คือ เขาแทบจะไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ที่เป็นรูปธรรมมาก่อนเลย แม้เขาจะเป็นอัจฉริยะด้านคอมพิวเตอร์คนหนึ่ง ที่เคยสร้างเกมส์ที่ประสบความสำเร็จมามากมายแล้วก็ตามที

ในขณะนั้น Web Browser ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่คือ NetScape ซึ่งครองส่วนแบ่งได้ถึง 90% แต่เพียงแค่ปีให้หลัง ก็ถูก Microsoft แย่งชิงตลาดไปจนเกือบหมด ด้วยกลยุทธ์ขายพ่วง Windows และแจก Internet Explorer ให้ใช้กันฟรี ๆ 

มัสก์นั้นเคยสมัครไปทำงานกับ NetScape แต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาต้องการทำงานกับบริษัทที่สร้างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลก และ เมื่อเขาไม่สามารถเข้าไปทำงานกับบริษัทอินเตอร์เน็ตเหล่านี้ได้ อีกทางเลือกหนึ่งคือเขาต้องสร้างบริษัทขึ้นมาเอง

มัสก์ ถูกปฏิเสธ การทำงานกับ NetScape จนต้องคิดมาสร้างบริษัทตัวเอง
มัสก์ ถูกปฏิเสธ การทำงานกับ NetScape จนต้องคิดมาสร้างบริษัทตัวเอง

มัสก์ นั้นฉุกคิดถึงเรื่องธุรกิจอินเตอร์เน็ตได้จาก ในวันหนึ่งเขาได้พบกับพนักงานขายของเยลโลว์เพจเจส ซึ่งพนักงานขายคนนั้นได้นำเสนอเรื่องการทำบัญชีรายชื่อออนไลน์เพื่อพัฒนารายชื่อแบบดั้งเดิม ที่ปรกติก็คือสมุดหน้าเหลือเหล่าหนาเต๊อะ ให้มาอยู่ในอินเตอร์เน็ต

และ ไอเดียนี้ นี่เองที่ทำให้มัสก์นั้นได้ไปคุยกับ คิมบัล น้องชายของเขา และได้พูดถึงไอเดียแนวคิดที่จะช่วยธุรกิจต่าง ๆ ให้สามารถก้าวสู่โลกออนไลน์ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งในปี 1995 สองพี่น้องก็ได้เริ่มก่อตั้ง Global Link Information Network บริษัทสตาร์ทอัพ ที่สุดท้ายได้กลายร่างมาเป็นบริษัท Zip2 

สองพี่น้องมาร่วมกันตั้ง Zip2
สองพี่น้องมาร่วมกันตั้ง Zip2

ในตอนนั้น มีธุรกิจขนาดเล็กเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่เข้าใจอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อธุรกิจพวกเขาเหล่านี้ ยังมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร มัสก์ กับน้องชาย นั้นมีแนวคิดที่จะโน้มน้าว ร้านอาหาร ร้ายขายเสื้อผ้า ร้านทำผม และร้านที่เป็นธุรกิจขนาดย่อมอื่น ๆ และพาพวกเขาเหล่านี้ขึ้นสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

สองพี่น้องมัสก์ และ คิมบัล ได้ให้กำเนิด Zip2 ขึ้นใน พาโล แอลโต พวกเขาได้เช่าสำนักงานขนาดเล็กเท่าอพาร์ตเมนต์แบบสตูดิโอ ขนาด กว้าง 20 ฟุต คูณ 30 ฟุต มันเป็น ออฟฟิสขนาดเล็ก ๆ เพื่อให้พวกเขาได้เริ่มธุรกิจกันได้เท่านั้น

ช่วงแรกนั้น มัสก์ ที่มีพื้นฐานด้านโปรแกรมมิ่งมาจากการเขียนเกมส์มาก่อน เป็นคนเขียนโค้ดหลักทั้งหมดด้วยตัวเขาเอง เขาได้ซื้อฐานข้อมูลธุรกิจในเขตเบย์แอเรียมาได้ ในราคาไม่แพงนัก ซึ่งจะมีการรวบรวมรายชื่อที่อยู่และธุรกิจต่าง ๆ เพื่อมาเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นของ Zip2

ส่วนเรื่องของแผนที่นั้น มัสก์ ได้ไปเจรจากับ บริษัท Navteq บริษัทด้านแผนที่ในอุปกรณ์นำทางแบบจีพีเอสในยุคแรก ๆ มัสก์ได้ใช้เทคนิคเจรจาจนได้เทคโนโลยีมาใช้แบบฟรี ๆ ซึ่งเหล่าวิศวกรของ Zip2 ก็ได้เพิ่มข้อมูลฐานข้อมูลและเชื่อมกับแผนที่ ที่ได้จาก Navteq ให้กลายเป็นระบบพื้นฐานและเปิดใช้งานให้ได้อย่างเร็วที่สุด

Navteq บริการด้านแผนที่ชื่อดังในขณะนั้น
Navteq บริการด้านแผนที่ชื่อดังในขณะนั้น

แม้ Zip2 นั้นจะเป็นกิจการอินเตอร์เน็ตที่น่าจะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในยุคบูมสุดขีดของ อินเตอร์เน็ต แต่การที่จะจูงใจให้เหล่าธุรกิจต่าง ๆ มาเข้าร่วมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยทีเดียว มัสก์ ต้องทำการจ้างทีมเซลล์ เพื่อไปเคาะประตูขายไอเดียดังกล่าวให้ธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นลูกค้าเป้าหมายของเขาถึงหน้าบ้าน

มัสก์ ทำงานอย่างหนักจนแทบจะไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลยด้วยซ้ำ  เขาแทบจะใช้ชีวิตอยู่ในออฟฟิส นอน กิน ทำงาน ทุกอย่างอยู่ภายในออฟฟิส มันทำให้ Zip2 พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเปลี่ยนจากแค่การพิสูจน์แนวคิด มาเป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ  ที่ใช้และสาธิตให้ลูกค้าเห็นภาพได้

และเหล่านักลงทุนนั้นเชื่อในความทุ่มเทถวายชีวิตให้บริษัทของมัสก์ ตอนนี้มัสก์ได้แขวนชีวิตไว้กับการสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา เขาจะพลาดไม่ได้ เขาทุ่มสุดตัวกับโปรเจคนี้เป็นอย่างมาก 

หนึ่งในนักลงทุนคนสำคัญ คนแรก ๆ คือ เกรก โครี นักธุรกิจชาวแคนาดา ซึ่งเจอพี่น้องมัสก์ ในเมืองโตรอนโต และร่วมสนับสนุนการระดมความคิดของ Zip2 ยุคแรก ๆ เขาได้ลงทุนกว่า 6,000 เหรียญ จนในปี 1996 เขาย้ายไปยังแคลิฟอร์เนียและร่วมเป็นผู้ก่อตั้ง Zip2

ซึ่งเกรก นี่เองเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ อีลอน มัสก์ นั้นจะฟัง และมีวิธีอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้มัสก์เข้าใจได้ ซึ่งการที่มัสก์ เป็นคนที่ฉลาดมาก ๆ ทำให้บางทีหลาย ๆ คนไม่เข้าใจว่ามัสก์กำลังคิดอะไรอยู่ และจะสื่อสารกับเขาได้อย่างไร

ในตอนต้นปี 1996 Zip2 ก็ได้รับการลงทุนจาก  Mohr Davidow Ventures โดยได้รับเงินทุนกว่า 3 ล้านเหรียญ และได้เริ่มว่าจ้างวิศวกรเพิ่มมากขึ้น รวมถึง ปรับ โมเดล ธุรกิจใหม่ให้กลายเป็นระบบบอกทางที่ดีที่สุดบนเว๊บไซต์  และได้เริ่มขยายธุรกิจไปทั่วประเทศ

Mohr Davidow Ventures บริษัทด้านการลงทุนแรก ๆ ทีสนใจ Zip2 ของ มัสก์
Mohr Davidow Ventures บริษัทด้านการลงทุนแรก ๆ ทีสนใจ Zip2 ของ มัสก์

แม้ภายหลังมัสก์ นั้นจะถูกบีบให้ขึ้นไปเป็นประธานฝ่ายเทคโนโลยี และ ให้ ริช ซอร์คิน มาเป็น CEO ของบริษัทแทนก็ตาม เพื่อให้บริษัทเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมัสก์ ก็ยอมแต่โดดยดี แม้จะขมขื่นกับการที่ต้องวางมือจากบริษัทที่เขาสร้างมาเองก็ตาม แต่มันก็แลกกับผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่เขาได้รับ

ซึ่งการสร้าง Zip2 ของมัสก์นั้น มันได้เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเขาเป็นอย่างมาก เขาควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น และเริ่มรู้ตัวและจัดการกับนิสัยเสีย ๆ บางอย่างของตัวเองเช่น การชอบไปวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นแบบแรง ๆ 

มัสก์นั้นก็ยังเป็นขุมกำลังหลักในบริษัทเหมือนเดิม เขาเป็นผู้นำปลุกใจเหล่าพนักงานของเขาได้อย่างดี ตอนนี้ภาวะผู้นำของเขานั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และ Zip2 ก็เริ่มที่เห็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ นั้น ได้รับการตอบรับที่ดีจากบริษัทสื่อใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ไนท์รีดเดอร์ หรือ เฮิร์สท์คอร์เปอเรชั่น และสื่อใหญ่ ๆ อื่น ๆ อีกมากมายต่างลงทะเบียนมาใช้บริการ

บางแห่งก็ได้ทำการลงทุนเพิ่มใน Zip2 เลยด้วยซ้ำ บางรายให้สูงถึง 50 ล้านเหรียญ ตอนนั้นบริการอย่าง Craigslist นั้นเพิ่งเริ่มจะก่อตั้งขึ้น ยังไม่ได้เป็นคู่แข่งกับ Zip2 เสียทีเดียว 

Zip2 ก็เป็นที่กล่าวขวัญ ในวงกว้าง เนื่องจากสื่อยักษ์ใหญ่เหล่านี้อยากได้โฆษณาย่อย และรายชื่อสำหรับหน้าอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ และข่าวบันเทิง และมันทำให้เงินไหลเทมาที่ Zip2 อย่างต่อเนื่อง และทำให้เติบโตอย่างรวดเร็ว 

เพียงแค่ 2 ปีหลังจากนั้น Zip2 ได้รับข้อเสนอในการรวมกิจการกับคู่แข่งอย่าง CitySearch ซึ่งข้อตกลงมีมูลค่ากว่า 300 ล้านเหรียญ ทำให้ทั้งสองแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการตลาดจาก CitySearch และเหล่าวิศวกรอัจฉริยะจาก Zip2

แต่การรวมกันของสององค์กรที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งสองมีการทำงานที่ซับซ้อนกันอยู่หลายส่วน ต้องมีการตัดบางส่วนออกไป หรือ ผู้บริหารบางคนของ Zip2 ก็ถูกลดความสำคัญลงไป มัสก์นั้นแม้ตอนแรกจะสนับสนุนการควบรวม ก็ได้เปลี่ยนเป็นมาต่อต้านแทนในที่สุด

การรวมกับ CitySearch ดูจะไม่ค่อย Work สำหรับมัสก์
การรวมกับ CitySearch ดูจะไม่ค่อย Work สำหรับมัสก์

แต่ข้อตกลงต่าง ๆ มันได้คุยกันไปไกลมากแล้ว ตอนนี้ สถานการณ์ของ Zip2 เป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก แถม ยังมีคู่แข่งรายใหญ่อย่าง ไมโครซอฟต์ กำลังเข้ามาสู่ตลาดนี้ รวมถึงสตาร์ทอัพรายอื่น ๆ ก็กำลังสนใจตลาดนี้เช่นกัน มันทำให้คู่แข่งเริ่มเข้ามาเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ

แต่แล้ว ในปี 1999 เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อ บริษัท คอมแพค ที่ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรายใหญ่ของโลกในขณะนั้น ได้เสนอขอซื้อ Zip2 ด้วยเงินสดถึง 307 ล้านเหรียญ มันแทบจะเป็นสวรรค์มาโปรดสำหรับผู้ลงทุนใน Zip2 ที่สถานการณ์กำลังย่ำแย่ และพวกเขาแทบจะไม่ต้องคิดอะไรเลยในการตกลงรับข้อเสนอดังกล่าว

ข้อเสนอของ คอมแพค นี้มันทำให้ มัสก์ และ คิมบัล สองพี่น้อง กลายเป็นเศรษฐีย่อม ๆ มัสก์ ได้ส่วนแบ่งถึง 22 ล้านเหรียญ ส่วน คิมบัล นั้นได้ไป 15 ล้านเหรียญ มันเป็นเงินมากมายที่พวกเขาแทบไม่เคยได้จับมาก่อน มันเป็นความสำเร็จครั้งแรกของมัสก์เลยก็ว่าได้ในเรื่องของการทำธุรกิจ และที่สำคัญมันเพิ่งจะเป็นธุรกิจแรกของเขาเท่านั้น

Zip2 ธุรกิจแรกของมัสก์ สามารถขายให้ compaq ได้สำเร็จ ทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีย่อม ๆ
Zip2 ธุรกิจแรกของมัสก์ สามารถขายให้ compaq ได้สำเร็จ ทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีย่อม ๆ

และแน่นอน ว่าเงินจำนวนนี้ ที่มัสก์ได้มานั้น เขาต้องการลงมือในโปรเจคต่อไปทันที มัสก์ยอมรับว่า การสร้างบริษัทแรกอย่าง Zip2 นั้น มันมีข้อผิดพลาดหลายอย่าง ซึ่งเขาแทบจะไม่เคยบริหารบริษัทมาก่อนเลยด้วยซ้ำ

การดูและลูกน้องก็ทำได้ไม่ดีนัก มัสก์ มักจะไปแก้งานของพวกเขา โดยไม่คุยกันก่อน เขามองว่าตัวเองเป็นอัจฉริยะ ที่พวกลูกน้องต้องทำตามให้ได้ สไตล์การเผชิญหน้ากับลูกน้องของมัสก์ ก็ไม่ใช่แนวทางของผู้บริหารบริษัทที่ดีเลย มักจะมีแต่เสียกับเสียเสมอ เวลามัสก์ต้องเผชิญหน้ากับลูกน้องพร้อมกับปัญหา

มัสก์ ผู้ซึ่งดิ้นรนต่อสู้ในยุคดอทคอม ต้องเรียกได้ว่า มีทั้งความสามารถและมีดวงผสมอยู่ด้วย เขามีไอเดียเหมาะเจาะที่มาทำ Zip2 ได้ถูกที่ถูกเวลา และทำให้มันกลายเป็นบริการได้จริง ๆ แถมสามารถก้าวออกมาพร้อมเงินทุนที่จะไปสร้างธุรกิจใหม่ ตอนนี้ เขามีเงินทุนมากพอที่จะสร้างธุรกิจอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนโลกได้แล้ว แล้วธุรกิจนั้น จะเป็นธุรกิจอะไร และมัสก์จะปรับตัวในการเป็นนักธุรกิจที่ดีได้มากขึ้นแค่ไหน จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับชายที่จะก้าวมาเป็นบุคคลหนึ่งทีทรงอิทธิพลที่สุดของโลกอย่างในปัจจุบัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 7 : Joining the Mafia

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ