Geek Story EP8 : How iPod Builds an Apple Empire (ตอนที่ 1)

หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่า iPhone เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของบริษัท apple ให้กลายมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้จวบจนถึงทุกวันนี้ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้น แนวคิดของ apple รูปแบบใหม่ ที่หันมาสร้างนวัตกรรม และ เปลี่ยนจากบริษัทคอมพิวเตอร์ ให้กลายมาเป็นบริษัทที่จำหน่าย สินค้า consumer product มันเริ่มมาจาก iPod 

มันเป็นนวัตกรรม ชิ้นเอกของ apple ในศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้ แม้เวลาจะร่วงเลยมาทำให้ตัว iPod เองได้สูญหายไปตามกาลเวลา แต่เรื่องราวสตอรี่ ของการสร้างมันขึ้นมานั้น ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย กับการที่จะสร้างเครื่องเล่น Mp3 ขึ้นมา แล้วสามารถบรรจุเพลงได้ถึง 1,000 เพลง ถือว่าในตอนนั้นมันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ๆ ที่ apple สามารถสร้างมันขึ้นมาและกลายเป็นสินค้า hot hit ติดตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว

ทุก ๆ ทั่วโลกต่างพกเจ้า iPod ตัวนี้ พร้อมด้วยหูฟังสีขาว ที่เป็นเอกลักษณ์ ถึงวัฒนธรรมของยุคใหม่ของบริษัท apple บริษัท ที่ก่อนจะสร้าง iPod นั้น แทบจะกลายเป็นบริษัทที่ใกล้จะล้มละลายเต็มที สถานะการเงินก็ย่ำแย่ สินค้าตัวชูโรงอย่าง apple หรือ macintosh ก็แทบจะทำตลาดไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

มันเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี ที่เปลี่ยนบริษัท apple จากบริษัทที่ใกล้ตาย กลับมายิ่งใหญ่ในโลกของธุรกิจได้อีกครั้ง

สำหรับเรื่องราวของ Blog Series ชุดนี้นั้น จะอ้างอิง จากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ iPod รวมถึงหนังสือ อัตชีวประวัติของ Steve Jobs รวมถึงข้อมูลจาก wikipedia online ต่างๆ  มารวมรวมใหม่ ในแบบฉบับของผมเองครับ โปรดอย่าพลาดติดตามเป็นอันขาด รับรองสนุกอย่างแน่นอนคร้าบผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/36hZ94r

ฟังผ่าน Apple Podcast :   https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/341JeWm

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/2PmDi52

ฟังผ่าน Youtube :  https://youtu.be/Dj-WePZS7Ws 

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 5 : Windows to the World

หลังจากเห็นความสำเร็จของ Macintosh กับระบบปฏบัติการใหม่ที่เป็นกราฟฟิก Microsoft ก็ได้เริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองที่ใช้รูปแบบของกราฟฟิก และ ใช้การ input ข้อมูลด้วย เม้าส์ แบบเดียวกับที่ Macintosh ทำ

ซึ่งระบบปฏิบัติการดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า “Windows” โดยเป็นการขยายความสามารถของ MS-DOS และให้ผู้ใช้งานใช้เม้าส์สั่งงานผ่านภาพกราฟฟิกที่ปรากฏบนหน้าจอ ซึ่ง Windows มาจากการที่มีหน้าต่างหลาย ๆ หน้าต่าง แต่ละหน้าต่างจะใช้กับโปรแกรมที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง

เป้าหมายใหญ่ของ Microsoft ก็คือการสร้างมาตรฐานแบบเปิด และนำการสั่งงานด้วยภาพกราฟฟิกมาใช้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นั่นเอง ที่ขณะนั้นได้แพร่หลายไปทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งเนื่องจากการที่ตอนนั้นมีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์กว่าพันรายทั่วโลก ทำให้ลูกค้าทั่วไปที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีตัวเลือกมากมาย แต่ Microsoft นั้นเสนอความสามารถในการทำงานร่วมกันได้กับทุกผู้ผลิต

และเหล่าผู้ผลิต Software ที่เกี่ยวข้องที่ตอนนั้นกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่มาก ๆ นับแสนราย แทบจะไม่ต้องกังวลว่า Software ของตนจะนำไปเล่นในเครื่องรุ่นใด แบบใด เพราะ Windows ของ Microsoft นั้นเปิดรับให้กับผู้ผลิตทุกรายนั่นเอง

แม้ตัว Gates เองจะมองว่าความสำเร็จของ Windows นั้นอาจจะต้องใช้เวลาอีกนาน ใน Windows เวอร์ชั่นแรก ๆ นั้น ต้องใช้กับเครื่องที่มีหน่วยความจำสูง ซึ่งมีราคาแพง และ ยังต้องใช้งานร่วมกับโปรแกรมหลายตัว

หลังจากที่ทำการปล่อย Windows 1.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 16 bit ที่มีกราฟฟิก ตัวแรกของ Microsoft โดยออกวางขายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 วางขายในรูปแบบของ Floppy Disk โดยผู้ใช้ต้องลง DOS ก่อน แล้วถึงลง Windows 1.0 ตามอีกที สามารถรันโปรแกรมของ MS-DOS ได้แบบ Multitasking โปรแกรมที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 1.0 เช่น Calculator, Calendar, Clock, Notepad, Paint เป็นต้น

Windows 1.0 ที่มาพร้อมโปรแกรมมากมาย

ซึ่งหลังจากปล่อย Windows ออกมานั้น ก็มีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับระบบปฏิบัติการใหม่อย่าง Windows ในเมื่อ MS-DOS มันใช้งานได้ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องมีโปรแกรมมาเขียนซ้อนลงไปบน MS-DOS แล้วใครจะเสียเวลาทำงานกับระบบกราฟฟิก ซึ่งกระแสต่อต้านเหล่านี้มีอยู่หลายปี กว่า Windows จะประสบความสำเร็จ

ซึ่งความสำเร็จของ Windows นั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง โดย Microsoft พยายามเติมความสามารถใหม่ ๆ เข้าไปอย่างต่อเนื่องให้กับ Windows เพื่อลบคำสบประมาท เหล่านี้

และที่สำคัญยังเปิดให้เหล่าผู้ผลิต Software ทั่วโลก ทุกรายสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานบน Windows โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งหรือขออนุญาติจาก Microsoft ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งอย่าง Macintosh ของ Apple ที่เป็นระบบปิด

Gates นั้นเปิดเสรีเต็มที่ในด้านการพัฒนา Software เพื่อให้ทำงานกับ Windows มันเป็นการเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม Software ให้ยกระดับจากหน้าจอ Terminal แบบเดิม ๆ ให้กลายมาเป็นระบบกราฟฟิกทั้งหมด ซึ่งแม้จะเป็นโปรแกรมที่มาแข่งกับ Microsoft เอง Gates ก็ไม่เคยโกรธเคืองแต่อย่างใด เขาเพียงต้องการให้อุตสาหกรรม Software ไปในทิศทางที่เขาคิดไว้เท่านั้น

Microsoft นั้นไม่เคยหยุดพัฒนาเพราะรู้ว่าคู่แข่งแต่ละรายนั้นไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น Macintosh , Unix หรือ OS/2 ของ IBM เองก็ตาม Microsoft จะปรับปรุงให้ Windows รุ่นใหม่ ๆ ของเขาดึงดูดใจต่อผู้บริโภคมากที่สุด ทั้งในด้านของราคาและประโยชน์การใช้สอยเองก็ตามที

และในปี 1993 Microsoft ได้ปล่อย Windows 3.11 ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจาก Windows 3.1 โดยเสริมคุณสมบัติระบบ network และการสร้าง Protocol TCP/IP ที่ช่วยทำให้เครื่อง PC สามารถใช้งานได้ในระบบ Network และคอมพิวเตอร์แบบ Home user สามารถติดต่อผ่านเครือข่าย Internet นับเป็นการเปิดโลกใหม่ให้กับ PC ในแบบที่ไม่มี Windows ตัวไหนทำได้มาก่อนนั่นเอง

Bill Gates กับการในการผลักดัน Windows ให้เป็นเบอร์ 1 ได้สำเร็จ

ซึ่งสุดท้ายด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถครองใจผู้บริโภคทั่วโลกได้สำเร็จ ก็ทำให้ Windows นั้นกลายเป็นระบบปฏิบัติการหลักที่มีผู้ใช้งานกันทั่วโลก กลายเป็นมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนั้นได้สำเร็จ

แต่ความท้าทายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับ Gates และ Microsoft คือการเข้ามาของ Internet ซึ่งแน่นอนว่าเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของ Gates ที่จะทำให้โลกเห็นว่า Windows เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการเข้าสู่โลก Internet จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Microsoft เมื่อเทคโนโลยีกำลังจะหมุนเปลี่ยนผ่านไปยังโลกของ Internet โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 6 : NetScape Killer

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : http://tahupedia.com/img/uploaded/post/post_4/bill_gates_berhenti_kuliah.jpg

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 4 : The Downfall of IBM

ในช่วงปี 1983 Gates เริ่มมองเห็นอนาคตบางอย่างของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แม้จะประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ MS-DOS แต่เขาก็ได้คิดถึงแผนการในอนาคตของ Microsoft ว่าจะต้องสร้างระบบปฏิบัติการเชิงรูปภาพขึ้นมาแบบมี User Interface แทนที่จะใช้การ input แบบ terminal เหมือนใน MS-DOS

ซึ่งแน่นอนว่า หาก Microsoft ยังยึดติดอยู่กับ MS-DOS ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ Terminal ที่ต้อง input แบบตัวอักษร ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งลงไปก่อนการประมวลผล และจะไปปรากฏบนหน้าจอ MS-DOS โดยไม่มีโปรแกรมรูปภาพหรือกราฟฟิกที่ช่วยให้ผู้ใช้ติดต่อกับโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย

โดยในขณะนั้น นักวิจัย จาก Xerox ที่ศูนย์วิจัย พาโลอัลโต ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการทดลองสร้างวิธีการสื่อสารวิธีใหม่ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ซึ่งมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า ‘เมาส์’ ซึ่งสามารถเลื่อนไปมาบนโต๊ะเพื่อเลื่อนลูกศรไปมาบนจอภาพได้

แม้ในขณะนั้นในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก็ได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้บ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Apple Lisa ที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาโดย Steve Jobs นั่นเอง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของราคาที่ค่อนข้างสูง

และ Jobs ก็สร้างโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ Apple ให้กลายเป็นระบบปิด มันจึงไม่สามารถดึงดูดความสนใจของบริษัทผู้ผลิต Software รายใหญ่ ๆ ให้หันมาเขียนโปรแกรมมาสนับสนุนระบบปฏิบัติการแบบใหม่นี้ได้

ซึ่งแม้ระบบปฏิบัติการแบบกราฟฟิกที่ได้รับความนิยมระบบแรก ๆ นั้นจะเป็น เครื่อง Macintosh ของ Apple ในปี 1984 ซึ่งการทำงานทุกอย่างนั้นแตกต่างจาก MS-DOS อย่างสิ้นเชิง เพราะมันทำงานผ่านกราฟฟิก และขับเคลื่อนด้วยการ input ข้อมูลแบบใหม่ผ่านเมาส์นั่นเอง

Macintosh ของ Apple ที่ดูดีหมดทุกอย่าง แต่เสียดายที่เป็นระบบปิด จนไม่สามารถแจ้งเกิดได้

ซึ่งแน่นอนว่า เครื่อง Mac นั้นประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น แต่ปัญหาคือเรื่องของ Software ที่มีอยู่อย่างมากมายในตลาดในขณะนั้น ยังไม่มาเข้าร่วมกับเครื่อง Macintosh ของ Apple ซึ่งเป็นระบบปิดนั่นเอง

ซึ่งเบื้องหลังนั้น Microsoft ก็ได้ร่วมงานกับ Apple เพื่อช่วยกันผลักดันระบบปฏิบัติการที่เป็นกราฟฟิกให้แจ้งเกิดขึ้นมาให้ได้ ซึ่ง Microsoft ก็ได้สร้างโปรแกรม Microsoft Word และ Excel ที่เป็นระบบกราฟฟิกครั้งแรกให้กับ Macintosh นี่เอง

แต่ความคิดของ Apple นั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง Jobs ไม่ยอมให้ผู้อื่นผลิต Hardware มาใช้ร่วมกับ Apple โดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้าสมัยมากในขณะนั้น และหากผู้ใช้ต้องการใช้ระบบปฏิบัติการ Mac ก็ต้องซื้อคอมพิวเตอร์จาก Apple เท่านั้น

ซึ่งการที่ Apple เป็บระบบปิด ไม่สามารถเชื่อมต่อกับใครได้ software ก็รันของตัวเอง ก็ทำให้ ครองส่วนแบ่งการตลาดได้น้อยมาก ๆ แม้จะวางจำหน่าย แมคอินทอช พร้อมระบบ Inteface ใหม่ พร้อม เม้าส์ ที่เป็นการปฏิวัติวงการในขณะนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าสุดท้ายแล้ว Apple เป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ ไปเลยเมื่อเทียบกับตลาด PC ที่ IBM ครองตลาดอยู่ในตอนนั้น

ส่วนฟากฝั่งของ IBM นั้น เมื่อยอดขายของ PC ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะย้อนกลับมาทำร้ายธุรกิจหลักของตัวเอง เพราะผู้ซื้อ PC ส่วนมากนั้นก็เป็นลูกค้าเก่าแก่ของ IBM แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเดิมทีนั้น IBM คิดว่า PC จะขายได้แต่ในตลาดผู้ใช้งานระดับล่างเพียงเท่านั้น

แต่เนื่องจากตัว Microprocessor ที่มีสมรรถนะที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ IBM จึงต้องเริ่มชะลอโครงการพัฒนา PC เพื่อป้องกันไม่ให้ไปทำลายตลาดเมนเฟรมซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ IBM ในขณะนั้น

แม้ในธุรกิจเมนเฟรมนั้น IBM จะคอนโทรลทุกอย่างได้ ทั้ง Hardware และ Software ที่ IBM นั้นผลิตขึ้นมาเองแทบจะทั้งหมด แต่ในตลาด PC ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว IBM ไม่สามารถโก่งราคา PC ได้ เพราะคู่แข่งสามารถสร้าง PC ที่มีคุณสมบัติเหมือนที่ IBM สร้างได้ในราคาที่ถูกกว่า

และนี่เองเป็นเหตุให้เกิดแบรนด์ใหม่อย่าง Compaq ซึ่งมาเปลี่ยนเกมส์ธุรกิจ PC ไปอย่างสิ้นเชิง โดย Compaq ได้เริ่มทำการผลิตตัว Compaq Portable ตัวแรกออกมา โดยใช้วิธีการ Reverse Engineer หรือ วิศวกรรมย้อนกลับจาก IBM PC  เนื่องจาก IBM ขณะนั้นประสบความสำเร็จ และขายได้ติดตลาดไปแล้ว แค่ทุกอย่างให้สามารถ Run Software ของ IBM ได้ทั้งหมด ก็จะเข้าถึงตลาดขนาดมหาศาลที่ IBM ได้เริ่มเปิดตลาดไว้แล้ว

น้องใหม่อย่าง Compaq Portable ที่เตรียมมาสู้กับพี่ใหญ่อย่าง IBM PC

ซึ่งแม้ IBM นั้นมักจะได้สิทธิ์ Exclusive กับ Chip ของบริษัท intel อยู่เสมอ แต่ แต่สำหรับ Chipset 386 นั้นถือเป็นครั้งแรกที่ IBM ถูกปฏิเสธโดย intel ซึ่ง Chipset 386 นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ รวมถึงเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานของ Chip ที่ ทำให้การทำงานของ PC ก้าวกระโดดไปอีกขั้น

เมื่อ intel ไม่ได้ Exclusive ตัว Chip 386 กับ IBM แล้ว  Compaq ก็เร่งในการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ใช้ Chipset 386 เพื่อออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด ก่อนหน้าที่ IBM จะออกตลาด เพราะตอนนั้น IBM ก็ดูจะยังตัดสินใจได้ไม่ชัดเจนว่าจะเอายังไงกันแน่กับตลาด PC

ซึ่งไม่เพียงแค่ Chipset intel 386 เท่านั้น เมื่อ Compaq ออกผลิตภัณฑ์อย่าง Desktop386 นั้น ได้ร่วมมือกับ Microsoft ของ Bill Gate ที่ยอมให้ระบบปฏิบัติการของเค้าสามารถรันได้บน Compaq แบบที่ว่าไม่ต้องไปทำการ Copy Chip Code ใด ๆ จาก IBM อีกต่อไป  เป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอย่างสิ้นเชิง และ ปลดแอ็ก จาก IBM ได้ในที่สุด

การแก้เกมส์ของ IBM คือ การต้องการออกแบบระบบใหม่ทั้งหมด เพื่อไม่ให้ Compaq สามารถลอกเลียนแบบได้ โดยออกระบบปฏิบัติการใหม่คือ PS2 ที่ยากที่คู่แข่งจะเลียนแบบ ซึ่งต้องบอกว่า IBM ต้องการฆ่าทุกคนในธุรกิจนี้เลยก็ว่าได้แม้กระทั่ง Microsoft เองก็ตาม

PS2 กับการสร้างหายนะด้วยน้ำมือตัวเองของ IBM

แต่หารู้ไม่ การสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ ที่ไม่สามารถเข้ากับผลิตภัณฑ์ตัวเดิมของ IBM ได้เลยนั้น ถือเป็นการฆ่าตัวตายของ IBM เอง เพราะองค์กรใหญ่หลาย ๆ องค์กรในสหรัฐนั้น ได้สั่งซื้อเครื่อง computer ของ IBM ไปเป็นจำนวนมากแล้ว ซึ่ง หากต้องการเปลี่ยน ต้องมีการเปลี่ยนแบบยกองค์กร ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ทำให้องค์กรหลาย ๆ องค์กรไม่ต้องการซื้อ PS2 ของ IBM เพราะต้องมาเริ่มเรียนรู้กันใหม่หมด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่มหาศาลมาก ๆ

เหมือนยื่นดาบให้ศัตรูมาฆ่าตัวเองเลยก็ว่าได้สำหรับ IBM ชัดเจนว่า ต่อจากนี้ ตลาด PC นั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว IBM ไม่ได้เป็นผู้กำหนดตลาดอีกต่อไป ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการรวมตัวของผู้ผลิต PC ขนาดใหญ่จำนวน 9 ราย และได้มีการเจรจากับ Bill Gate จาก Microsoft และพัฒนามาตรฐานของพวกเค้าเองในชื่อ EISA (Extended Industry Standard Architecture) โดยที่ไม่เกี่ยวข้องใด  ๆ กับ IBM อีกต่อไป เป็นการถีบ IBM ออกจากตลาด PC อย่างเป็นทางการนับจากนั้นเป็นต้นมานั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 5 : Windows to the World

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : http://blog.stephengates.com/wp-content/uploads/2010/04/19842.jpg
https://hackaday.com/wp-content/uploads/2017/12/ibmpc.jpg

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : Digital Music War Apple vs Microsoft

ในยุคปี 80 บริษัท Apple ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก ขายคอมพิวเตอร์ Macintosh ของตนได้ดีอย่างเทน้ำเทท่า Apple ทำกำไรได้มหาศาล เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์แถวหน้าของโลกในขณะนั้น แต่หลังจากมีการถือกำเนิดขึ้นของบริษัท Microsoft ได้เริ่มแย่งส่วนแบ่งไปจาก Apple ที่ละน้อย จนในที่สุดก็ตามทัน แซง และทิ้งห่างไปอย่างไม่เห็นฝุ่นในช่วงยุคปี 90

ทำให้ในปลายยุค 90 บริษัท Apple ได้ทำการไล่ CEO  สตีฟ จ๊อบส์ ออก เพราะว่าเป็นส่วนนึงที่ต้องรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ให้กับ Microsoft ในครั้งนี้ 

แต่เหมือนหนีเสือปะจรเข้ เมื่อ CEO ที่มาแทนจ๊อบส์อีกหลายคนก็ไม่สามารถกู้วิกฤติของ Apple ได้ โดยช่วงก่อนปี 2000 ยอดขายตกต่ำอย่างถึงที่สุดจนถึงขนาดที่ว่าใกล้จะต้องปิดบริษัทอยู่เต็มทนแล้ว เดือดร้อนถึงผู้บริหารไม่รู้ว่าจะแก้วิกฤตนี้อย่างไร จึงไปเชิญ สตีฟ จ๊อบส์ กลับเข้ามาทำงานเป็น CEO อีกครั้ง เพราะคนที่บริษัท Apple ต่างก็รู้ดีว่าเขาคือมันสมองของบริษัท

หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่า iPhone เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของบริษัท apple ให้กลายมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้จวบจนถึงทุกวันนี้ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้น แนวคิดของ apple รูปแบบใหม่ ที่หันมาสร้างนวัตกรรม และ เปลี่ยนจากบริษัทคอมพิวเตอร์ ให้กลายมาเป็นบริษัทที่จำหน่าย สินค้า consumer product มันเริ่มมาจาก iPod สินค้าที่ต้องโจทย์ในเรื่อง Digital Music ที่ตอนนั้นยังไม่มีผู้นำอย่างชัดเจน

Blog Series ชุดนี้จะมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น กับการแก้แค้นที่สาสมของ Apple ที่มีต่อ Microsoft ในศึกสงครามเพลงในรูปแบบดิจิตอล ที่มันได้กลายเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ที่พา Apple กลับสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง หลังจากตกอยู่ภายใต้เงาของ Microsoft มาอย่างยาวนานนั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 1 : Digital Hub

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 6 : The Magical Port

ไม่ว่าจะเป็นในยุคไหน หรือ สมัยใดก็ตาม เวลาของมนุษย์เรานั้น ก็มีเพียงแค่ 24 ชั่วโมงเท่าเดิม และทุก ๆ คนนั้นมีเวลาเท่าเทียมกัน มันเป็นกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความจริงในข้อนี้ได้

หากเราย้อนเวลากลับไปในช่วงยุคปลายของ ค.ศ. 1990 การถ่ายโอนข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์นั้น โดยเฉพาะข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ อย่าง ข้อมูลเพลง รูปภาพ หรือ วีดีโอ มันต้องใช้เวลานานมาก ๆ กับการที่ผู้คนจะนำเอาข้อมูล ดิจิตอล ไลฟ์สไตล์ เหล่านี้ลงไปยังคอมพิวเตอร์

และแทบไม่ต้องพูดถึงการ upload ขึ้นระบบ internet ซึ่งยุคนั้น ยังเป็นช่วงที่ใหม่มากสำหรับ internet บริษัทอย่าง google ก็เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่นาน ยังไม่ได้ใช้งานแพร่หลายทั่วโลกเหมือนปัจจุบัน  แทบจะยังไม่มีการใช้งาน internet แบบ hi-speed มีคนไม่มากนักที่จะได้เข้าถึง internet การใช้งานส่วนใหญ่เป็นการเชื่อมต่อผ่าน modem ที่มีความเร็วเพียง 56kbps ซึ่งถ้าเทียบกับปัจจุบัน ที่มีความเร็วระดับ 100 Mbps ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองนั้น ต้องบอกว่ามันแตกต่างกันมาก ๆ แบบเทียบกันไม่ติด

ในยุคนั้นยังใช้ internet ผ่าน modem ความเร็ว 56kbps
ในยุคนั้นยังใช้ internet ผ่าน modem ความเร็ว 56kbps

วิสัยทัศน์ของ จ๊อบส์ ที่ว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถที่จะผันตัวไปเป็น ดิจิตอลฮับส่วนตัวได้นั้น มันเริ่มต้นมาจากเทคโนโลยีที่ชื่อ FireWire ที่ apple ได้พัฒนาขึ้นในต้นทศวรรษ 1990 

FireWire เป็นซีเรียลพอร์ต ที่สามารถจะถ่ายโอนข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์ วีดีโอ จากอุปกรณ์หนึ่ง ไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งด้วยความเร็วสูง ซึ่งในตอนนั้น ผู้ผลิตกล้องหลายรายในญี่ปุ่น เลือกจะนำเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ และ จ๊อบส์ นั้นก็ได้ตัดสินใจที่จะบรรจุ FireWire Port นี้ไปในเครื่อง iMac เวอร์ชั่น ที่จะออกตลาดในเดือน ตุลาคม ปี 1999

FireWire Port ที่สามารถ transfer ข้อมูลได้เร็วถึง 400 Mbps
FireWire Port ที่สามารถ transfer ข้อมูลได้เร็วถึง 400 Mbps

ในตอนนั้น iMac ยังขาดซอฟต์แวร์ ตัดต่อวีดีโอชั้นเยี่ยม จ๊อบส์ จึงได้โทรติดต่อไปหาเกลอเก่าที่ Adobe บริษัทดิจิตอลกราฟิก ที่เขาช่วยให้สามารถแจ้งเกิดได้ เพื่อขอให้ Adobe ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ Adobe Premiere ซึ่งขณะนั้น กำลังเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้ใช้งาน Windows ของ Microsoft

และเนื่องจาก ผู้ใช้ Mac ในขณะนั้น ยังมีน้อยเกินไป ทางผู้บริหารของ Adobe จึงปฏิเสธจ๊อบส์ อย่างไม่ใยดี ยิ่งกว่านั้น ยังปฏิเสธ ไม่ยินยอมเขียนโปรแกรมยอดฮิต อย่าง Photoshop และ Quark สำหรับระบบปฏิบัติการ Mac OSX แม้ว่าตัวเครื่อง Macintosh นั้นจะเป็นที่นิยมในหมู่นักออกแบบ และคนทำงานด้านครีเอทีฟ ที่ล้วนเป็นผู้ใช้งานหลักของ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ตาม มันทำให้จ๊อบส์ โมโหมาก และ รู้สึกเหมือนกำลังถูกหักหลัง เพราะเค้าเป็นคนเปิดโอกาสให้ Adobe ได้แจ้งเกิดในช่วงแรก ๆ ของการก่อตั้งบริษัท

และการถูกปฏิเสธครั้งนี้ ทำให้ จ๊อบส์ ได้รับบทเรียนที่สำคัญ คือ ไม่ควรไปทำธุรกิจใด ๆ โดยไม่สามารถควบคุมทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ไม่อย่างงั้นจะเจ็บตัวทุกที ซึ่งแนวคิดดังกล่าวก็ยังสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน ที่ apple มักจะ control ecosystem ของตัวเองไว้ทุกอย่าง

ดังนั้น ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา apple จึงได้เริ่มสร้างซอฟต์แวร์สำหรับเครื่อง Mac ด้วยตัวเอง โดยกลุ่มเป้าหมายของ apple คือ กลุ่มคนที่อยู่ ณ จุดบรรจบระหว่างศิลปะ กับ เทคโนโลยี ซึ่ง ซอฟต์แวร์ เหล่านี้ประกอบไปด้วย Final Cut Pro สำหรับตัดต่อวีดีโอสำหรับมืออาชีพ iMovie ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน แต่ใช้สำหรับผู้บริโภคทั่วไป iDVD สำหรับบันทึกวีดีโอ หรือ เพลงลงแผ่น CD , iPhoto ซึ่งตั้งใจออกมาแข่งกับ Adobe Photoshop โดยตรง  GarageBand สำหรับทำเพลงและมิกซ์เพลง และสุดท้ายและสำคัญอย่างยิ่งต่ออุปกรณ์เครื่องเล่นเพลงแบบพกพาตัวใหม่ของ apple คือ iTunes ที่ใช้สำหรับจัดระเบียบไฟล์เพลง ซึ่งมี iTunes Store สำหรับใช้ในการซื้อเพลงแบบดิจิตอล

ชุด ซอฟต์แวร์สามัญประจำเครื่อง mac ที่ apple ต้องสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด
ชุด ซอฟต์แวร์สามัญประจำเครื่อง mac ที่ apple ต้องสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด

ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ทำให้คนสามารถสร้างสรรค์งานที่แสดงออกถึงตัวตนได้ และสร้างสิ่งที่มีความหมายทางอารมณ์ และมันกำลังจะทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึงเลยทีเดียว

และมีเพียง apple บริษัทเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะที่สุดที่จะทำงานนี้ คู่แข่งอย่าง Microsoft นั้นผลิตเพียง ซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว ส่วน Dell และ Compaq นั้นผลิตฮาร์ดแวร์ Sony นั้นทำอุปกรณ์ดิจิตอลหลากหลายประเภทไปหมด ส่วน Adobe นั้นทำได้เพียงพัฒนาแอพพลิเคชันมากมายเท่านั้น

แต่มีเพียง apple เท่านั้น ที่ทำทุกอย่างที่กล่าวมาได้ apple เป็นบริษัทเพียงแห่งเดียวที่เป็นเจ้าของหมดทุกอย่าง ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ ระบบปฏิบัติการ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลทำให้ apple นั้นสามารถที่จะ control ประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทอื่นทำไม่ได้อย่างที่ apple ทำอย่างแน่นอน

apple สามารถควบคุมได้หมดทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบปฏิบัติการ
apple สามารถควบคุมได้หมดทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบปฏิบัติการ

แม้มีสิ่งนึง ที่จ๊อบส์มองพลาดไป คือ ในช่วงนั้น HP และ บริษัทอื่นอีก 2-3 บริษัท กำลังผลิตไดร์ฟ ที่สามารถเบิร์นซีดีเพลงได้ แต่จ๊อบส์นั้นยืนกรานอย่างหนักแน่นให้กำจัดดิสก์ไดร์ฟ แบบถาดที่ดูน่าเกลียดเหล่านี้ออกจากเครื่อง iMac แล้วใส่ไดร์ฟแบบสอดแผ่นซีดีเข้าไปแทน ซึ่งมันทำให้ไม่สามารถใส่ไดร์ฟ ที่สามารถเบิร์นซีดีเพลงลงไปได้ในเครื่อง iMac 

แต่คุณสมบัติของบริษัทที่สร้างนวัตกรรม ไม่ได้อยู่เพียงแค่การสร้างไอเดียใหม่ ๆ เป็นรายแรกเพียงอย่างเดียวเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่การรู้ว่า เมื่อตกเป็นฝ่ายตามหลัง จะต้องทำอย่างไรถึงจะกระโดดข้ามคู่แข่งได้ด้วยต่างหาก

และแน่นอน การที่จะกระโดดข้ามคู่แข่งที่นำหน้าไปได้แล้ว นั้นจ๊อบส์ ก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ บริษัทมาอยู่ในลู่วิ่งของการแข่งขันอีกครั้ง ตอนนั้น ถือว่ายังไม่มีใครที่สามารถคลองตลาดแบบเบ็ดเสร็จได้อย่างชัดเจน และเขาก็เริ่มจะตระหนักได้แล้วว่า ในไม่ช้าเพลงจะกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มหึมา เนื่องมาจาก หลังจากปี 2000 คนคัดลอกเพลงจากซีดีใส่คอมพิวเตอร์ หรือ ดาวน์โหลดจากบริการแชร์ไฟล์เพลงอย่าง Napster แล้วบันทึกเพลงที่น่าสนใจลงใน CD แผ่นเปล่าๆ   กันอย่างแพร่หลาย แล้ว จ๊อบส์ จะทำอย่างไรกับ ตลาดใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นตลาดที่คาดว่าจะใหญ่โต และเติบโตอย่ารวดเร็วที่สุดตลาดหนึ่งของโลกเรา  จ๊อบส์จะทำอย่างไรกับธุรกิจเพลงนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

อ่านตอนที่ 7 : iTunes

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ