ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 และในช่วงกลางของการเปิดตัว Windows 95 ไมโครซอฟท์เผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ครั้งแรกนั่นคือกระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตในบ้าน
ยักษ์ใหญ่แห่ง Redmond กำลังจะปล่อยระบบปฏิบัติการใหม่อย่าง Windows 95 และในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น Bill Gates ได้ส่งบันทึกให้ทีมผู้บริหารของเขาซึ่งกลายเป็นเอกสารที่มีความหมายมากสำหรับสถานการณ์ของ Microsoft ในขณะนั้น
เอกสารดังกล่าวมีชื่อว่า“ The Tidal Wave” ที่กล่าวถึง ความสำคัญของการพัฒนาอินเทอร์เน็ตสำหรับบริษัทในยุคต่อไป
ใจความสำคัญของเอกสารก็คือ Bill Gates ให้ความสำคัญสูงสุดกับอินเทอร์เน็ต ในบันทึกนี้ Gates ต้องการทำให้ชัดเจนว่าการให้ความสำคัญกับอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจของ Microsoft ในทุก ๆ ส่วน อินเทอร์เน็ตเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ IBM เปิดตัวพีซีเครื่องแรกในปี 1981 มันสำคัญยิ่งกว่าการมาถึงของส่วนต่อประสานกราฟิกผู้ใช้ (GUI)
Gates ตกใจกับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่มีต่อธุรกิจของเขา เขาพิจารณาว่า Microsoft ยังไม่พร้อมสำหรับการมาถึงของอินเทอร์เน็ต และซอฟต์แวร์หลักของ Microsoft ในยุคนั้น ซึ่งก็คือ Internet Explorer และ MSN ยังไม่พร้อมให้บริการ แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาก็สามารถดันมันออกมาได้พร้อมกับ Windows 95 ในวันเปิดตัวได้แบบฉิวเฉียด
ในเวลานั้นอินเทอร์เน็ตถูกลดขนาดให้เหมาะกับสิ่งที่ บริษัท อย่าง AOL หรือ Microsoft ที่มี MSN เสนอบนพอร์ทัลของพวกเขา การรวม MSN ใน Windows 95 เป็นการกระทำที่นำปัญหาทางกฎหมายมาสู่ Microsoft เนื่องจากคู่แข่งกล่าวหาว่าเขากำลังผูกขาดตลาดในทางที่ผิด
แต่สิ่งที่ทำให้ Windows Live Messenger ต้องจบชะตากรรมไป คือ การเกิดขึ้นของสมาร์ทโฟน แม้ว่า Microsoft จะไม่พลาดในคลื่นลูกใหม่นี้ และพยายามผลักดัน Windows Live Messenger ไปในทุก ๆ แพล็ตฟอร์มในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็น BlackBerry OS, Xbox 360, iOS, Java ME, S60 และแม้แต่ Zune HD ของ Microsoft เอง แต่ดูเหมือนมันไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
คู่แข่งอย่าง BlackBerry Messenger กลายเป็นผู้บุกเบิกในการส่งข้อความมือถือ แต่มันเป็นเช่นนั้นได้เพียงไม่นาน จนกระทั่งการปรากฏตัวขึ้นของ iPhone ในเดือนมกราคม 2007 การเปิดตัว App Store ในปี 2008 และความนิยมของ Android จากปี 2010 ทำให้ Windows Live Messenger ได้รับผลกระทบอย่างหนักมาก ๆ
เมื่อสถานการณ์ตลาดพีซีในขณะนั้นยอดขายกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการล่มสลายของ Windows Live Messenger เป็นเหมือนสัญญาณเตือน ที่กำลังบ่งชี้ว่าสมาร์ทโฟนกำลังจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อแทนที่การส่งข้อความแบบเดิม ๆ ผ่านพีซี นั่นเอง
Messenger ไม่สามารถกู้คืนสถานการณ์ที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องของยุค Post-PC และในท้ายที่สุด ในช่วงปลายปี 2012 ไมโครซอฟท์ประกาศการรวมบริการ Windows Live Messenger กับ Skype ในช่วงสิ้นปี 2013 ถือเป็นเป็นการสิ้นสุดอดีตที่ยิ่งใหญ่ของ Windows Live Messenger ไปในท้ายที่สุด
ต้องบอกว่าถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สนใจของการไม่สามารถปรับตัวได้ เมื่อธุรกิจถูก Disrupt ซึ่งในยุคนั้น ก็คือการเปลี่ยนผ่านจากยุค PC ไปยังยุคของ Smartphone ที่ดูเหมือน Microsoft นั้นจะปรับตัวช้าเกินไป ทั้งที่บริการอย่าง Windows Live Messenger มีผู้ใช้งานสูงสุดถึงกว่า 300 ล้านคนในยุคนั้น
Jan Koum เด็กน้อยชาวยิว เกิดในปี 1976 ที่เมือง Kiev เหมืองหลวงของประเทศ ยูเครน โดยแม่ของเขานั้น รับทำงานเป็นแม่บ้าน ส่วนพ่อของเขาเป็นผู้จัดการใน Site งานก่อสร้าง ต้องบอกว่าเป็นชีวิตที่ลำบากตั้งแต่วัยเยาว์ สำหรับ Jan Koum เนื่องจากประเทศยูเครนในขณะนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
หลังจากได้งานที่ Yahoo! เพียง 2 อาทิตย์ มี Server ตัวหนึ่งของเว๊บไซต์ Yahoo เสีย David Filo หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Yahoo! ได้โทรตามตัว Koum ให้มาช่วยดู Server ตัวนั้น ซึ่งเขาตอบกลับไปว่ากำลังเรียนอยู่
Koum และ Acton ที่ก่อนจะกลายมาเป็นคู่หูสร้าง WhatsApp
แต่ Filo ซึ่งเป็นเจ้านายไม่สนใจ บังคับให้เขารีบมาที่ออฟฟิศโดยด่วน ซึ่งเหตุการณ์นี้นี่เองที่ทำให้ Koum ได้ตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัยกลางคัน เพื่อทำงานที่ Yahoo! แบบเต็มเวลา ซึ่งเขาก็ทำงานที่นี่ได้ 9 ปี จนเขาตัดสินใจลาออกในปี 2007
ในปี 2009 นั้นเอง Brian Acton และ Jan Koum ได้ซื้อ iPhone มาใช้ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้พวกเค้าเกิดไอเดียขึ้นมาทันทีว่า iPhone ที่มีระบบ App Store นี่แหละที่จะเป็นตัวเปลี่ยนอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และ iPhone นี่แหละที่น่าจะต้องการใช้ระบบอะไรสักอย่างที่จะสามารถทำให้พวกเค้าติดต่อกับผู้ที่ใช้ BlackBerry ได้ พวกเค้าใช้เวลาคิดอยู่ไม่นานและชื่อ WhatsApp ก็เกิดขึ้นโดน Jan Koum นี่แหละที่เป็นผู้เลือกชื่อ เพราะมันฟังดูเหมือน What’s Up ดี
ต้นปี 2011 WhatsApp ติดอันดับ Top 20 ใน App Store ของอเมริกา และสองหนุ่มเริ่มมองหาเงินทุนสำหรับการเติบโต มีนักลงทุนหลายรายให้ความสนใจ โดยเหล่านักลงทุนก็พยายามเกลี้ยกล่อมให้ WhatsApp ใช้โฆษณาเป็น Business Model ซึ่งสองผู้ก่อตั้งปฏิเสธ เพราะเกลียดโฆษณา ดังนั้นที่โต๊ะทำงานของ Koum จึงมีกระดาษแผ่นหนึ่งแปะไว้ว่า No Ads! No Games! No Gimmicks! นั่นเอง
No Ads , No Games , No Gimmicks concept หลักของ Whatsapp
และในเดือน ธันวาคม ปีเดียวกันนั้นเองที่ WhatsApp เติบโตจนมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 450 ล้านคนต่อเดือน ซึ่งเร็วกว่าบริการ Social Network ทุกตัวในตอนนั้น ซึ่งจำนวนผู้ใช้ที่มหาศาลก็ไปเข้าตา Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook จนขอเข้าซื้อกิจการในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 ด้วยเงินจำนวน 1.6 หมื่นล้านเหรียญ พร้อมหุ้นประเภทจำกัดสิทธิ์อีก 3 พันล้านเหรียญ ทำให้ Koum และ Acton กลายเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่ทันทีจากการถือหุ้น 45% และ 20% นั่นเอง
ซึ่งเมื่อเรามามองถึงอัตราการเติบโตของ users ของ WhatsApp ก็ค่อนข้างน่าตกใจว่า 4 ปีแรกนั้น whatsapp นั้นสร้างฐานการเติบโตของ User ได้ดีกว่าเจ้าของใหม่อย่าง (facebook) เสียอีกซึ่งถือว่าดีสุดในบรรดา social network ต่าง ๆ ที่มีมาในประวัติศาสตร์วงการเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้
ซึ่งตัวเลขพวกนี้คงเป็นตัวเลขที่สำคัญที่ทำให้ facebook นั้นได้ทุ่มทุนขนาดนี้แล้วค่อยมาหารูปแบบ business model ในภายหลังซึ่งก็เหมือนกับที่ google ทุ่มทุนซื้อ youtube ในอดีตตอนนั้นกว่า 1.6 พันล้านเหรียญ ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น
แต่ตอนนี้คนก็คงไม่ต้องสงสัยกันแล้ว google มองเกมส์ขาดมากในตอนนั้นที่รีบซื้อ youtube เข้ามา ซึ่งถ้าตีมูลค่าตอนนี้ youtube นี่คงทะลุ 2 หมื่นล้านเหรียญเข้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งหากวิเคราะห์จริง ๆ เราก็พอมองเห็นในอนาคตว่า บริษัทด้านซอฟแวร์ ที่เน้นไปที่การเก็บข้อมูล User Data จะมีมูลค้าที่สูงกว่า hardware ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเป็นผู้ takeover กิจการของบริษัท hardware ทั้งหลายแทน โดยเฉพาะเหล่าบริษัทที่มี data ข้อมูลผู้ใช้งานซึ่งตีมูลค่าได้มหาศาลนั่นเองครับ
ปี 1984 สองหนุ่มคู่หูวิศวกรต่างมหาวิทยาลัยอย่าง Mike Lazaridis นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลู และ Douglas Fregin นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งวินเซอร์ ร่วมกันเปิดบริษัทชื่อ Research In Motion (RIM)
แน่นอนว่า Apple นั้นเพิ่งเข้ามาในตลาดนี้ แต่เป็นการแหกกฏเกณฑ์ทุกอย่างที่ เหล่ามาเฟียที่คอยคุมเครือข่ายมือถือทั้งหลายได้ตั้งไว้ Apple ไม่ได้มีความคุ้นเคยเลยกับเหล่าบริษัทที่ดูแลเครือข่ายมือถือ