Geek Story EP22 : การปรับตัวที่ช้าไป กับความยิ่งใหญ่ที่กลายเป็นอดีตของ MSN Messenger

เริ่มแรกที่เรารู้จัก MSN Messenger นั้นต้องนับย้อนไปตั้งแต่การก่อตั้งขึ้นในปี 1999 และ ในภายหลังได้ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็น Windows Live Messenger ซึ่งอดีตยักษ์ใหญ่แห่งบริการส่งข้อความถูกปิดฉากบริการไปในวันที่ 31 ตุลาคม 2014 และ คุณอาจสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น?

ต้องบอกว่าถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สนใจของการไม่สามารถปรับตัวได้ เมื่อธุรกิจถูก Disrupt ซึ่งในยุคนั้น ก็คือการเปลี่ยนผ่านจากยุค PC ไปยังยุคของ Smartphone ที่ดูเหมือน Microsoft นั้นจะปรับตัวช้าเกินไป ทั้งที่บริการอย่าง Windows Live Messenger มีผู้ใช้งานสูงสุดถึงกว่า 300 ล้านคนในยุคนั้น

ซึ่งตัวอย่างดังกล่าว มันแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แค่ไหน มีเงินมากมายขนาดไหน แต่ในยุค Disruption นั้น การเคลื่อนตัวที่ช้า อาจจะส่งผลให้ธุรกิจถึงคราวล่มสลายได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเลยทีเดียว เหมือนอย่างที่เราได้เห็นบทเรียนจาก MSN Messengerนั่นเองครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2FiNM3T

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/68qQCKAx9kg

Synapse กับการปฏิเสธเงินล้านครั้งแรก สู่การบริจาคหุ้น 99% ของ Mark Zuckerberg

ภาพจำของ Mark Zuckerberg ที่คนส่วนใหญ่ได้เห็นนั้นอาจจะมาจากภาพยนตร์เรื่อง “The Social Network” แต่หลายคนก็ไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของ Mark Zuckerberg มากมายนัก

ต้องถือว่าเป็น icons ที่สำคัญของ วงการ startup ทั่วโลกเลยก็ว่าได้สำหรับ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง facebook ที่มีผู้ใช้งานอยู่มากมายทั่วโลกในขณะนี้

สำหรับ ประวัติ mark zuckerberg นั้น ถ้าถามว่าจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของการก่อกำเนิดของ facebook นั้น ต้องย้อนกลับไปที่ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในปี 2003

mark zuckerberg ถือเป็น อัจฉริยะ คนหนึ่งในด้านคอมพิวเตอร์ ที่หลายคนรู้จักดีในฮาร์วาร์ด เขามีประวัติด้านคอมพิวเตอร์ที่ไม่ธรรมดามาตั้งแต่ตอนเรียน high school โดยเขากับเพื่อน ได้เคยร่วมกันสร้างสร้าง plugin ของ media player เพื่อหา playlist ตามรสนิยมของผู้ใช้ ในชื่อ Synapse 

Mark สร้าง Synapse ในช่วงต้นปี 2000 ซึ่งตรวจจับรสนิยมของเพลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลงานแรก ๆ ที่มันได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มุ่งสู่การเป็นเศรษฐี ของอีกหลายล้านคนในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์

บริษัท ใหญ่ ๆ อย่าง Microsoft และ AOL ต้องการซื้อแอปนี้ ซึ่งมีข่าวว่าทาง Microsoft นั้นเคยยื่นข้อเสนอถึง 1 ล้านดอลลาร์ แต่ Mark ได้ปฏิเสธทั้ง Microsoft หรือ AOLและอัปโหลดแอปตัวนี้แจกฟรี ๆ

Synapse โปรเจคที่ Mark ปฏิเสธการขอซื้อจากยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft
Synapse โปรเจคที่ Mark ปฏิเสธการขอซื้อจากยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft

ซึ่งแอปพลิเคชัน Synapse นั้นถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากและสื่อต่าง ๆ ให้ความสนใจมากมาย ทั้ง slashdot.org รวมไปถึงการได้รับการจัดอันดับ 3/5 โดยนิตยสารชื่อดังอย่าง PC Magazine ซึ่งด้านล่างนี้คือบางส่วนของความคิดเห็นจากผู้ใช้ใน cnet.com

“ ฉันใช้เครื่องเล่นสื่อไซแนปส์ที่บ้านและทำงานในช่วงเดือนที่ผ่านมาเพราะเห็นมันถูกพูดถึงใน slashdot.org มันค่อนข้างบั๊ก เช่น เสียงมักจะบกพร่องในตอนต้นของเพลง และฉันได้รับข้อผิดพลาดเหล่านี้ของโปรแกรม ซึ่งเมื่อฉันไปดู Log จากเว็บอินเตอร์เฟส อย่างไรก็คุณสมบัติของ Synapse นั้นน่าทึ่งทีเดียว ต้องใช้เวลาสักครู่ในการเรียนรู้และเห็นได้ชัดว่ามันอยู่ในสถานะของการเรียนรู้ / การเรียนรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากใช้ไปสักพักมันก็กลายเป็นแอปที่น่าประทับใจทีเดียว  แค่ฝึกมันให้เรียนรู้และคุณจะชอบมัน!”

ข้อความที่ตัดตอนมาจากบทวิจารณ์: “นี่เป็นโปรแกรมเล่น Media ที่ล้ำสมัยที่สุดเท่าที่ฉันเคยเห็นในปัจจุบันที่มีฟังก์ชั่นเดียวที่ฉันพบว่ามันขาดคือเครื่องมือแก้ไขแท็กขั้นสูงและความสามารถในการจัดกลุ่มตามอัลบั้ม”

ซึ่งจะเห็นได้ว่า Mark นั้นสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น ในขณะที่เข้าเรียนอยู่เพียงแค่ High School เพียงเท่านั้น และที่สำคัญ มันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า เรื่องเงินนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการแต่อย่างใด เขาต้องการสร้างสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกเราให้ดีขึ้น จนได้มาสร้าง Facebook ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จอย่างสูงในภายหลังนั่นเอง

และสุดท้าย เขาก็ได้ประกาศสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ หลังจากภรรยาคลอดลูกสาวคนแรก นั่นก็คือการประกาศบริจาคหุ้น 99% ที่เขามีใน Facebook ให้กับองค์กรการกุศล

เนื่องจากโครงสร้างสองชั้นที่ไม่เหมือนใครของการถือหุ้นใน Facebook ซึ่งเขาเป็นเจ้าของหุ้น Super Voting พิเศษ Zuckerberg จึงสามารถให้หุ้นสามัญได้ในขณะที่ยังคงสามารถควบคุมเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เขาก่อตั้งขึ้นในปี 2004 ได้อยู่อย่างเบ็ดเสร็จ แม้จะบริจาคหุ้นไปจำนวนมหาศาลเพื่อการกุศลแล้วก็ตามที

CEO ของ Facebook ประกาศการบริจาคของเขาในจดหมายถึง Max ลูกสาวคนแรกของเขา

“วันนี้ผมและภรรยาตั้งใจจะใช้ชีวิตด้วยการทำส่วนเล็ก ๆ ของเราเพื่อช่วยแก้ปัญหาความท้าทายเหล่านี้ ผมจะยังคงทำหน้าที่เป็น CEO ของ Facebook ต่อไปอีกหลายปี แต่ปัญหาเหล่านี้สำคัญเกินกว่าจะรอจนกว่าที่ผมจะแก่กว่าเพื่อเริ่มงานนี้ ซึ่งการเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ เราหวังว่าจะเห็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นตลอดชีวิตของผม”

“พวกเราก็ได้เริ่มมูลนิธิ Chan Zuckerberg เพื่อเข้าร่วมกับผู้คนทั่วโลกเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์และส่งเสริมความเท่าเทียมกันสำหรับเด็กทุกคนในรุ่นต่อไป จุดเริ่มต้นของการมุ่งเน้นของเราคือการเรียนรู้ส่วนบุคคล การรักษาโรค การเชื่อมโยงผู้คนและการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

“ผมจะมอบหุ้น Facebook ของเรา 99% ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 45 พันล้านเหรียญในช่วงชีวิตของเราเพื่อพัฒนาภารกิจนี้ เรารู้ว่านี่เป็นผลงานเล็กน้อยเมื่อเทียบกับทรัพยากรและความสามารถของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้อยู่แล้ว แต่เราต้องการทำสิ่งที่เราทำได้และทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้นในอนาคต”

ต้องบอกว่าเรื่องราวเหล่านี้ไม่น่าแปลกใจเนื่องจากเมื่อ 5 ปีก่อนหน้า Mark ได้ลงนามใน “Giving Pledge” – พร้อมกับเศรษฐีทางด้านเทคโนโลยีคนอื่น ๆ เช่น Bill Gates เพื่อมอบทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่ของเขาให้กับการกุศลมาก่อนหน้านี้แล้ว

Mark ได้กล่าวถึง Gates ว่าเป็นหนึ่งในวีรบุรุษในวัยเด็กของเขาเพราะความกระตือรือร้นในการสร้าง Microsoft ให้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี  Gates เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกโดยมีมูลค่าประมาณ 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลของ Bloomberg Billionaires ซึ่งคาดการณ์ว่ามูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของ Mark Zuckerberg อยู่ที่ สี่หมื่นหกพันล้านเหรียญสหรัฐ

Bill Gates ที่เปรียบเสมือนฮีโร่ของ Mark Zuckerberg
Bill Gates ที่เปรียบเสมือนฮีโร่ของ Mark Zuckerberg

Mark ได้ชื่นชมความพยายามเพื่อการกุศลของ Gates ด้วยเช่นกัน จนกลายเป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าร่วม Giving Pledge ซึ่งเป็นความริเริ่มที่เริ่มต้นโดย Gates และ Warren Buffett เพื่อนำเงินจากบุคคลที่ร่ำรวย มาบริจาคให้มากกว่าครึ่งหนึ่งของความมั่งคั่งของพวกเขาเพื่อการกุศล ในช่วงอายุของพวกเขาหรือหลัง โดย Gates ได้ให้คำมั่นว่าจะมอบทรัพย์สินอย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์เพื่อโครงการดังกล่าว

จากบทความชุดนี้เราจะเห็นได้ว่า เหล่าเศรษฐี ในประเทศอเมริกา นั้นกำลังสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเศรษฐีรุ่นหลัง ๆ ในการบริจาคเงินที่ได้จากการทำธุรกิจ โดยไม่ใช่ทำเพื่อเพียงการประชาสัมพันธ์ หรือ ทำ CSR ให้กับองค์กรเพียงอย่างเดียวเหมือนที่เราได้เห็นในประเทศไทย

แต่มันเป็นการบริจาคความมั่งคั่งส่วนตัว และเป็นส่วนใหญ่ที่มากกว่าครึ่งที่พวกเขาเหนื่อยตรากตรำ สร้างธุรกิจของพวกเขามา ต้องบอกว่า Mark Zuckerberg นั้นถือเป็นอีกหนึ่งนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่น่าทึ่ง ที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกเรา ไม่ว่าจะเป็นผ่านทางเรื่องธุรกิจอย่าง Facebook ที่มีนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เรามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในเรื่องการกุศล ที่เขาต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ผ่านกองทุนการกุศล Chan-Zuckerberg ของเขาและภรรยา นั่นเองครับ ซึ่งผมคิดว่าเศรษฐีในไทยเราน่าจะเอาอย่างบ้างนะคร้าาาบบบบ

–> อ่านเพิ่มเติมประวัติ Mark Zuckerberg

References : https://techcrunch.com/2010/10/31/zuckerberg-d-angelo/
https://www.geeknaut.com/synapse-media-player-mark-zuckerbergs-music-app-04191641.html
http://geekhmer.github.io/blog/2016/03/01/4-startups-mark-zuckerberg-created-before-facebook/
https://www.businessinsider.com/mark-zuckerberg-giving-away-99-of-his-facebook-shares-2015-12


NetScape Time ตอนที่ 14 : The Fall of Netscape

ในปี 1994 Bill Gates ได้กล่าว คำ ๆ นึงที่ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อ NetScape เป็นอย่างมากนั่นก็คือ เขาหวังว่าจะไม่มีผู้ผลิตรายใดสร้างรายได้จากโปรแกรม Browser อย่างที่ NetScape กำลังทำอยู่

ต้องบอกว่า สถานการณ์ในขณะนั้น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นมีเงินสดในมือกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ ผ่านเครื่องจักรทำเงินของพวกเขาอย่าง ระบบปฏิบัติการ Windows และชุดโปรแกรม Office

ซึ่งแนวคิดของ Bill Gates มันก็ชัดเจนอยู่แล้ว พวกเขาผู้ขาดธุรกิจของระบบปฏิบัติการ และมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงมาก ๆ ในโปรแกรมที่พวกเขาวางขายทุก ๆ ตัว การที่จะต้องแจกโปรแกรมบางอย่างฟรี ๆ มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับพวกเขามาก

โดยทาง Microsoft นั้นใช้แผนที่เหนือเมฆมาก ๆ คือนำ Internet Exproler ออกสู่ตลาดโดยแถมมากับระบบปฏิบัติการ Windows 95 เลยแทบจะทันที โดย Microsoft นั้นก็ได้พัฒนาตัว IE โดยใช้พื้นฐานมาจาก Mosaic ที่พวกเขาได้ลิขสิทธิ์ต่อมาจาก Spyglass นั่นเอง

Microsoft ปล่อย Internet Exproler มากับ Windows แบบฟรี ๆ
Microsoft ปล่อย Internet Exproler มากับ Windows แบบฟรี ๆ

แต่ NetScape ก็ไม่ได้กลัวแต่อย่างใด เพราะหลังจากปล่อย NetScape Version 2.0 ออกไปนั้น ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้ามาก ๆ จนทำให้มีผู้ใช้งานกว่า 38 ล้านคนทั่วโลก และนับเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดไปได้ถึง 80% เลยทีเดียวในช่วงปี 1996

NetScape นั้นใช้กลยุทธ์ในการนำโปรแกรมออกเผยแพร่ทาง internet ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาดูตัวโปรแกรมได้ และได้เริ่มก้าวไปสู่การพัฒนาโปรแกรมสำหรับเครือข่ายในองค์กร และโปรแกรมด้านการค้าใน internet เพื่อสร้างรายได้ให้มากที่สุด

แต่ Microsoft นั้นเป็นบริษัทที่ทุนหนาอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหาเรื่องการเงินแต่อย่างใด จึงได้เข้ามาต่อสู้อย่างเต็มตัวและดุเดือดมากยิ่งขึ้น ซึ่งในการแถม Browser ไปกับระบบปฏิบัติการ และเป็นยิ่งส่งเสริมให้คนหันมาใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows 95 มากยิ่งขึ้น

ซึ่งสุดท้ายก็มีการฟ้องร้องกัน โดยมีการกล่าวหาว่า Microsoft ผูกขาดการตลาดของระบบปฏิบัติการ ทางฝั่ง Microsoft นั้นก็ไม่แยแสในเรื่องที่เกิดขึ้นเดินหน้าแถม Browser ต่อไปจนครองส่วนแบ่งแทบจะทั้งหมดของ Browser ไปได้ในท้ายที่สุด

และ ทำให้ Netscape ต้องถูกขายให้กับ AOL ในภายหลังก่อนจะพัฒนากลายมาเป็น Mozilla Firefox อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนคดีความฟ้องร้องนั้น ถึงแม้สุดท้าย ศาลจะพิพากษาให้ Microsoft เป็นฝ่ายผิด แต่ Microsoft ก็ยินยอมจ่ายค่าปรับเพียงร้อยกว่าล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งเปรียบเหมือนในสงครามนี้ Microsoft ยอมแพ้ในศาลแต่ ในเชิงธุรกิจนั้น Netscape ได้ตายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับผม

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ NetScape จาก Blog Series ชุดนี้

ต้องบอกว่า Web Browser นั้นถือเป็นอีกหนึ่งในนวัตกรรม ที่เปลี่ยนโลกเราไปตลอดการ แม้การเกิดขึ้นของ World Wide Web จาก Tim Berner lee นั้นจะเกิดมาก่อนก็ตาม แต่การที่ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึง internet ได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นนั้น ก็เป็นผลมาจากโปรแกรม Web Browser ตัวแรกอย่าง Mosaic ที่ Marc Andreeessen เป็นผู้ให้กำเนิดขึ้นมา

แน่นอนว่าเรื่องราวของการก่อตั้งบริษัทใหม่อย่าง NetScape นั้น เป็นเรื่องราวที่ดั่งปาฏิหาริย์ เพราะใช้เวลาเพียงปีกว่า ๆ เท่านั้น พวกเขาก็สามารถพาบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ และ สร้างปาฏิหาริย์มากมายให้กับ WallStreet

แต่แน่นอนว่า เมื่อการเติบโตไปเข้าหูยักษ์ใหญ่ ที่ครอบครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จอย่าง Microsoft มันก็เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะชนะยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ได้ ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญครั้งหนึ่งให้กับเหล่า startup ยุคหลังว่า ไม่ควรที่จะเข้าไปต่อกรกับ ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft แต่เนิ่น ๆ

แน่นอนว่า เราจะได้เห็นบริษัทยุคหลัง ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้จากเรื่องราวของ NetScape ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คงจะเป็น Google ที่พวกเขาทำทุกอย่างให้เงียบที่สุด และเลี่ยงการต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ให้มากที่สุด

ซึ่ง Google นั้นประสบความสำเร็จ เพราะกว่า Microsoft จะรู้ตัวนั้น พวกเขาได้พัฒนาเทคโนโลยีจนนำห่างไปไกลแล้ว จน Microsoft ไม่สามารถที่จะไล่ตาม Google ได้ทันในที่สุด แม้จะพยายามบีบอย่างไร แต่มันก็ช้าเกินไปเสียแล้วนั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า Google นั้นรับบทเรียนจากการเข้าไปต่อสู้กับ Microsoft ของ NetScape อย่างชัดเจน

แน่นอนว่า โลกยุคใหม่นั้น บริษัทขนาดใหญ่อย่าง Microsoft นั้นไม่ได้เปรียบในทุกเรื่องเสมอไป ด้วยขนาดองค์กรที่ใหญ่ ทำให้เคลื่อนตัวผ่านนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้เกิดบริษัทหน้าใหม่ Startup หน้าใหม่ ขึ้นมาเปลี่ยนโลกมากมายอย่างที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน

ซึ่งบทเรียนของ NetScape นั้นก็ ถือเป็น Case Study ที่สำคัญให้ เหล่าบริษัท Startup หน้าใหม่ยุคหลัง สามารถที่จะลืมตาอ้าปาก ไม่ถูกกลืนกิน เหมือนในยุคก่อนหน้าได้ ต้องถือว่าเรื่องราวของพวกเขา สร้างคุณูปการให้กับนักธุรกิจยุคหลังเป็นอย่างมาก นั่นเองครับผม

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Billion Dollar Company *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

References : https://www.theguardian.com/global/2015/mar/22/web-browser-came-back-haunt-microsoft

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

Excite กับการปฏิเสธซื้อ Google ในมูลค่าเพียง 1 ล้านเหรียญ

ถือเป็น Business Case Study ครั้งยิ่งใหญ่ในวงการเทคโนโลยีโลกเลยก็ว่าได้สำหรับการปฏิเสธการเข้าซื้อ Google ของ Excite ในปี 1999 ก่อนที่ Google จะท้อใจในการขายกิจการและสองผู้ร่วมก่อตั้งที่ต้องทิ้งการเรียนมาสร้างธุรกิจจนกลายเป็นธุรกิจแสนล้านอย่างในปัจจุบัน

Excite เปิดตัวในปี 1995 มาแข่งกับ Yahoo เว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ที่เป็นพอร์ทัล ที่ผู้ใช้งานสามารถรับข่าวสารสภาพอากาศ เครื่องมือค้นหา การจัดการอีเมล รวมถึงการส่งข้อความ ราคาหุ้น และหน้าแรกของผู้ใช้ที่ปรับแต่งได้

ซึ่งแน่นอนว่าในขณะนั้นมันเป็นเหมือนตัวตายตัวแทนของหนังสือพิมพ์ เพื่อให้เห็นภาพว่า Excite มีขนาดใหญ่เพียงใด ต้องบอกว่ามันเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลกในปี 1996

และในปี 2000 Excite เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 4 ของโลก Excite ได้เจรจาข้อตกลงกับ AOL ที่ AOL ตกลงที่จะทำให้ Excite เป็นบริการค้นหาหลักและบริการไดเรกทอรีพิเศษของ AOL

Excite ที่เป็นเว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ของโลกในขณะนั้น
Excite ที่เป็นเว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ของโลกในขณะนั้น

ซึ่งหากยังจำกันได้ AOL ในขณะนั้นถือว่าเป็นเว๊บไซต์ที่ยิ่งใหญ่มาก ๆทำให้ดีลนี้เป็นดีลที่ยิ่งใหญ่และมีความพิเศษอย่างมากสำหรับ Excite โดยในปี 1999 Excite ถูกซื้อโดยเครือข่ายของบริษัท @Home

การควบรวมกิจการของ บริษัท เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสองรายนี้เป็นหนึ่งใน บริษัท ที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้นและมันควรจะเป็นจุดเปลี่ยนของวงการอินเตอร์เน็ตในขณะนั้น โดย หลังจากการควบรวมกิจการ ทำให้บริการของ Excite นั้นยิ่งใหญ่มากโดย Excite ได้เข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับบริการต่าง ๆ มากมายทั่วสหรัฐอเมริกา

แต่การควบรวมกิจการดังกล่าวได้กลายเป็นหายนะ ด้วยการโฆษณาออนไลน์ที่ลดลงในขณะที่รายได้ของเครือข่ายเคเบิลและอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ซึ่งในเวลาไม่ถึง 2 ปีหลังจากการควบรวมกิจการ Excite และ @ home ต้องยื่นฟ้องล้มละลายและต้องทำการขายเครือข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูงให้กับ AT&T ในที่สุด

แต่เรื่องราวด้านหนึ่งได้เกิดขึ้นและจะเปลี่ยนโลกของเทคโนโลยีอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนโดยในปี 1999 (ก่อนการควบรวมกิจการ Excite และ @Home) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสองคนชื่อ Sergey Brin และ Larry Page ตัดสินใจว่าโครงการด้านเล็ก ๆ ของพวกเขาที่รู้จักกันในนาม Google

ซึ่งในขณะนั้นพวกเขาไม่พร้อมที่จะออกมาทำธุรกิจ เนื่องจากเวลาเรียนที่มากเกินไปของทั้งสองผู้ก่อตั้ง โดยพวกเขาได้ไปที่ Excite และเสนอขาย Google ให้กับ Excite มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ Excite ปฏิเสธข้อเสนอ

Vinold Khosla ผู้ร่วมทุนทุน Excite จากนั้นเจรจากับ Brin และ Page เพื่อขอลดราคาขาย Google ให้ Excite ในราคา 750,000 ดอลลาร์เท่านั้น และ George Bell CEO ของ Excite ยังคงปฏิเสธข้อเสนอ ดังกล่าวอย่างไม่ใยดี

สองหนุ่มคู่หูจาก สแตนฟอร์ด ที่ยื่นข้อเสนอพิเศษแต่โดนปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
สองหนุ่มคู่หูจาก สแตนฟอร์ด ที่ยื่นข้อเสนอพิเศษแต่โดนปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย

ซึ่งเหตุผลที่ Excite ไม่ต้องการทำข้อตกลงดังกล่าว คือ รายละเอียดของสัญญาที่ Page และ Brin เสนอมาก็คือ Excite ต้องแทนที่เทคโนโลยีการค้นหาด้วย Google นั่นเอง ซึ่งพวกเขามองเป็นโปรเจคนักศึกษาเพียงเท่านั้น ไม่ได้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของ Google แต่อย่างใด

แต่ในวันนี้อย่างที่เราได้ทราบ ๆ กัน Google มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านเหรียญ ซึ่งเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งใน icon ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

ในทางตรงกันข้ามในตอนนี้ Excite ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเว็บไซต์อันดับที่ 3616 ในสหรัฐอเมริกา กลายเป็นเว๊บไซต์ขนาดเล็ก ๆ ธรรมดา ๆ ในที่สุดอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

ข้อผิดพลาดเกิดขึ้น:

แน่นอนว่าหากลองมองในทางธุรกิจ หากคุณมีความสามารถในการซื้อ บริษัท คู่แข่งขันที่มีศักยภาพไม่ว่าคุณจะทำเงินได้แค่นิดเดียวในขณะนั้น แต่มันเป็นการกำจัดการแข่งขันในอนาคตใช่หรือไม่?

มันเคยมีบทเรียนครั้งสำคัญของนักธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อย่าง John D. Rockefeller ซึ่งทำให้ บริษัท สแตนดาร์ดออยล์เป็น บริษัท ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในการไล่ซื้อกิจการคู่แข่งไม่ว่าจะเล็กจะใหญ่ขนาดไหน เพราะต้องการทำให้ สแตนดอร์ดออยส์ ผูกขาดตลาดนั่นเอง

ความจริงที่ว่า Google ได้เสนอให้ Excite อีกครั้งด้วยจำนวนเงินที่น้อยลงและยังคงถูกปฏิเสธมันถือว่าเป็นความผิดพลาดซ้ำสองที่ไม่น่าให้อภัยเป็นอย่างยิ่ง

แม้ตัวเพจและบรินวางข้อตกลงเกี่ยวกับข้อเสนอที่ทำให้ยากต่อการยอมรับ แต่การที่ George Bell ปฏิเสธข้อเสนอเพียงเพราะ Google ยืนยันว่า Excite ใช้เครื่องมือค้นหาของตนมันดูเหมือนเป็นวิธีการคิดที่ผิดมหันต์

ซึ่งแน่นอนว่า George Bell อาจจะคิดอย่างดีแล้วว่าเสิร์ชเอ็นจิ้นของพวกเขาอย่าง Excite ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของเว็บไซต์ในโลกในขณะนั้น ทำไมจึงควรเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เพื่อฟังนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบจากสแตนฟอร์ดด้วยซ้ำ

ซึ่งการคิดแบบนั้นทำให้ Excite ประมาทและไม่คิดเปลี่ยนแปลง ในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างอินเตอร์เน็ต ไม่มีทดลองใด ๆ ของ Excite ในการใช้ Google มาเป็นโปรแกรมค้นหาดูก่อนเลยด้วยซ้ำ

ซึ่งพวกเขาควรลองใช้ดูเพื่อดูว่ามันดีแค่ไหนและมันจะทำให้ Excite ดีขึ้นได้อย่างไร Excite ทำข้อผิดพลาดมากมายตลอดประวัติศาสตร์ของบริษัท แต่ไม่สำคัญมากไปกว่าการปฏิเสธการเข้าซื้อ Google ในราคาที่ต่ำและต่ำมาก ๆ เพียงแค่ 750,000 ดอลลาร์ เท่านั้น ซึ่งอาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าบริษัทของพวกเขาไปตลอดกาล ก็เป็นได้ครับ

References : https://mwmblog.com

Search War ตอนที่ 1 : The Beginning of Search

ไม่ว่ามันเป็นโชคชะตา หรือ เรื่องบังเอิญให้ ลาร์รี่ เพจ ได้มาพบกับ เซอร์เกย์ บริน ในฤดูใบไม้ผลิของปี 1995 ปีที่ อินเตอร์เน็ตกำลังเติบโตอย่างสุดขีด มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของคนทั่วโลกกับกระแสของ อินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้น

เซอร์เกย์ นั้นเป็นยอดอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ ที่หาตัวจับยากคนหนึ่งในสแตนฟอร์ดเลยก็ว่าได้ เขาสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วยวัยเพียงแค่ 19 ปีเพียงเท่านั้น เป็นคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะ ว่ายน้ำ และ ยิมนาสติก เขาเป็นคนชอบเข้าสัมคมมากกว่า ลาร์รี่ ที่ดูเหมือนจะรู้สึกอึดอัดกับการเป็นนักเรียนระดับปริญญาเอกของสแตนฟอร์ด

หลังจากการพบกัน ทั้งคู่ก็เริ่มตัวติดกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน และมักจะทำงานด้วยกันอยู่เสมอ ทั้งคู่มีความคิดว่าอินเตอร์เน็ตนั้นจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ในอนาคตอย่างแน่นอน อินเตอร์เน็ตมันมีพลังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกให้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

การแจ้งเกิดของ NetScape เว๊บ Browser ตัวแรก  ๆที่สามารถสร้างมูลค่าบริษัทได้กว่าพันล้านเหรียญ ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ทั้งที่ยังไม่สร้างกำไรเลยเสียด้วยซ้ำ ตอนนั้นนักลงทุนต่างพร้อมแล้วที่จะเสี่ยงกับเทคโนโลยีใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต ที่กำลังจะมาเปลี่ยนโลก

และเรื่องราวของ NetScape ที่เองที่ทำให้เกิดความคึกครื้นขึ้นกับกระแสของเงินทุน และมันได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของสแตนฟอร์ด ด้วยเช่นกัน ซึ่งได้เริ่มเป็นที่ฟูมฟักให้เหล่านักธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีหน้าใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนโลก

NetScape ทำให้กระแสดอทคอมเฟื่องฟู
NetScape ทำให้กระแสดอทคอมเฟื่องฟู

และทั้งเพจและบริน ก็ได้เริ่มทำการสร้าง Index หรือ ดัชนีให้กับเหล่าเว๊บไซต์ทั้งหลายทั่วโลก ซึ่งแม้วิธีเริ่มต้นในสิ่งที่ทั้งคู่ทำนั้นจะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้น มีหลายบริษัทก็ทำอยู่เช่นกัน แต่ปัญหาก็คือ ตอนนั้นไม่มีใครคาดคิดถึง Model ธุรกิจของ Search Engine ว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร เพราะกระแสในขณะนั้นกำลังแห่ไปทาง Web Directory อย่าง Yahoo ที่กำลังดังอยู่ในขณะนั้น

เนื่องจากเว๊บเพจได้เริ่มเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดจึงทำให้ Yahoo นั้นได้เริ่มสร้าง Directory ให้กับเหล่าเว๊บไซต์หน้าใหม่เหล่านี้ โดยใช้การคัดเลือกจากบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ และแน่นอนว่า พอจำนวนเว๊บไซต์ยิ่งมากขึ้น มันก็เริ่มที่จะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ในการคัดเลือกเหล่านี้

อีกฝากฝั่งหนึ่งนั้น Microsoft และเหล่าผู้บริหาร แทบจะไม่ยินดียินร้ายกับการเกิดขึ้นของเหล่าบริการค้นหาทางออนไลน์เลยเสียด้วยซ้ำ ต้องเข้าใจว่า Microsoft นั้นชัดเจนว่าเกิดมาจาก Software ด้านองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ ชุด Microsoft Office ซึ่งพวกเขาก็ขายกันไม่ทันอยู่แล้วแค่เพียง product สองตัวนี้

มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ว่า Microsoft แทบไม่แยแสกับกระแสออนไลน์ บ้าเห่อ ของเหล่าบริษัทหน้าใหม่ในขณะนั้น เพราะมันมีจำนวนผู้ใช้งานเพียงน้อยนิด และยังไม่มีใครคิดว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร

แต่ด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่ จึงได้ทำการกระจายความเสี่ยงไว้ โดยในปี 1997 นั้น Microsoft ได้สร้างเว๊บท่าขนาดใหญ่ แต่จะใช้บริการค้นหาจริง ๆ ของอีกหนึ่งบริษัทคือ Inktomi ซึ่งตอนนั้นเริ่มทำบริการที่เป็นลักษณะเว๊บ Crawler เพื่อไปดึงดูดข้อมูลต่าง ๆ ทั่ว WWW มาทำ Index หรือดัชนี

Microsoft เริ่มต้นโปรแกรมค้นหาด้วยการพึ่งพา Inktomi
Microsoft เริ่มต้นโปรแกรมค้นหาด้วยการพึ่งพา Inktomi

แต่ Microsoft ก็ไม่ได้เพิ่มเทคโนโลยีการค้นหาที่วิเศษอะไรเลยให้กับ  Inktomi และไม่ได้จริงจังกับมันมากนักในขณะนั้น ทำให้หลาย ๆ บริการค้นหาในออนไลน์ในขณะนั้น แทบจะมีความสามารถไม่ต่างกัน

ซึ่งในรายปลายทศวรรษ 1990 แม้จะมี Search Engine มากมาย เช่น Yahoo , Altavista , Lycos , Excite , AOL , Infoseek แต่ดูเหมือนว่าเหล่า Search Engine เหล่านี้นั้น ไม่มีตัวไหนเลย ที่ทำให้เหล่าผู้บริโภคถูกใจและแก้ปัญหาสำคัญของเหล่า User เมื่อมาค้นหาได้

ตอนนี้ยังไม่มีใครที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ๆ ในเรื่องการค้นหา ทำให้ผลการค้นหาไม่ได้ดั่งใจคนใช้งานเท่าที่ควร คือมีแค่ให้ใช้ แต่ไม่มีตัวไหนที่ประทับใจผู้ใช้งาน แม้กระทั่ง Microsoft เองก็ตามก็ยังไม่เข้าใจจริง ๆ ของความต้องการของ User

ซึ่งในช่วงเวลานั้นนั่นเอง ขณะที่เหล่าผู้ใช้งานกำลังเบื่อกับ โปรแกรมการค้นหาที่มีอยู่เต็มไปหมดในตลาด เพจและบริน ได้สร้างอัลกอริทึมสำหรับจัดลำดับเว๊บเพจที่เรียกว่า “PageRank” ภายใน Lab ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ซึ่งตอนนั้น พวกเขาทั้งสองเองก็ตามก็ยังไม่รู้เลยว่าสิ่งยิ่งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น การทดลองที่บังเอิญของพวกเขา สิ่งที่ทั้งสองต้องการนั่นคือ การนำไปสู่หัวข้อวิทยานิพันธ์ปริญญาเอก โดยใช้เพจแรงค์ กับ อินเตอร์เน็ต ซึ่งตอนแรกนั้น พวกเขาทั้งสองรวมถึง อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้คิดถึงการสร้างโปรแกรมค้นหาเลยด้วยซ้ำ แต่เมื่อทำไประยะหนึ่ง กับพบกับความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่พวกเขาร่วมกันสร้าง มันได้ยิ่งใหญ่เกินกว่างานวิชาการเสียแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปหลังจากนั้น อย่าพลาดติดตามชมตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Google Search