South Korea ตอนที่ 6 : More than K-Pop

วัฒนธรรม K-pop จากเกาหลี ที่ปรกติจะบุกไปทั่วเอเชีย แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แค่เพียง เอเชีย อีกต่อไป เพราะวัฒนธรรมนี้ มันได้บุกไปถึง อเมริกา และ ยุโรป ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องธรรมดาจริง ๆ สำหรับการดังขึ้นมาเปรี้ยงปร้างอย่างรวดเร็วของวงการเพลงเกาหลี ที่กลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มูลค่ากว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐครอบคลุมไปทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การปรากฏตัวของวงดัง ๆ ของเกาหลี ที่เมือง ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพวกเขาเข้ามาถึงสนามบินนั้น บรรยากาศมันแทบไม่ต่างจากตอนที่วงระดับตำนานอย่าง The Beatles ได้มาที่นี่เลย และ เกาหลีใต้สร้างวงการเพลงที่ประสบความสำเร็จระดับโลกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ต้องย้อนไปตั้งแต่ ช่วงปี 1992 ที่วง Seo Taiji & Boys ได้ปรากฏตัวขึ้นมา อย่างที่เคยกล่าวไว้ในบทก่อน ๆ หน้า วัฒนธรรมเพลงอย่างนึงที่ถูกฝังมากับประชาชนชาวเกาหลีในยุค 80 คือ เพลงปลุกใจให้รักชาติอย่างเพลง Oh Korea ซึ่งมีการเปิดให้ประชาชนฟังอย่างต่อเนื่องทั้งในสื่อทางวิทยุ หรือ โทรทัศน์

มันเป็นเพลงปลุกใจที่ถูกผลิต และ สนับสนุนโดยรัฐบาล และแรกเริ่มเดิมทีนั้น วัฒนธรรมทางด้านเพลงของเกาหลี ก็ถูกกำหนดโดย ท่านนายพล ปาร์ค ในยุคนั้นรัฐบาลยังควบคุมระบบการออกอากาศแทบจะทั้งหมดของทุกสื่อในประเทศ

มันไม่มีทีท่า ว่าเกาหลีจะพัฒนาวัฒนธรรม K-Pop มาได้ไกลถึงเพียงนี้ ถ้ามองย้อนกลับไปในช่วงนั้น เป็นเรื่องยากที่จะเกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่การปรากฏตัวของ Seo Taiji &Boys ทางทีวี ในฤดูใบไม้ผลิปี 1992

มันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ความเจริญทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ มันคือสิ่งที่มีโอกาสเป็นไปได้ มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง กับกรอบความคิดเดิม ของวัฒนธรรมดนตรีของเกาหลี และที่สำคัญมันยังเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเกาหลีขึ้นมาใหม่ด้วย

Seo Taiji &Boys ร้องเพลงแร็ป ใส่กางเกงทรงหลวม และเต้นเหมือน B Boy มันเป็นสิ่งที่ผู้ชมชาวเกาหลี แทบจะไม่เคยได้ยินกลุ่มนักร้องเกาหลีทำมาก่อน มันได้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของประเทศ ถ้่าพวกเขาใส่อะไร มันจะกลายเป็นกระแสฮิตทันที พวกเขาได้นำเอาแฟชั่น Hip Hop แบบอเมริกันมาสู่เกาหลี

Seo Taiji & Boys ที่มาปฏิวัติวงการเพลงเกาหลี
Seo Taiji & Boys ที่มาปฏิวัติวงการเพลงเกาหลี

เพลงฮิตในปี 1995 ของพวกเขา คือ single “Come Back Home” ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับวัยรุ่นที่หนีออกจากบ้าน ซึ่งเนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่นั้น เน้นไปที่การเสียดสีสังคม ทำให้มีบางเพลงถูกแบน เพราะมีเนื้อเพลงที่ไม่ให้เกียรติคนรุ่นก่อนโดยตรง

Seo Taiji &Boys ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ขึ้นในเกาหลี มีการแสดงที่เป็นหนึ่งในการแสดงที่โด่งดังที่สุดในเกาหลีใต้ แต่เวลามันก็แสนสั้น เพราะพวกเขาอยากลาออกจากวงการตอนขึ้นสู่จุดสูงสุดเช่นนี้ ดังนั้น เมื่อถึงช่วงที่พวกเขาโด่งดังสุดขีด พวกเขาก็ได้ประกาศยุบวง

มันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศเกาหลีใต้ได้ก้าวผ่านความเป็นประเทศยากจน ได้สำเร็จ ตอนนั้น เกาหลีใต้ กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยติดอันดับที่ 11 ของโลก ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกส่วนนึงคือการก้าวเข้ามาของ อี ซูมาน อดีตศิลปินเกาหลีที่ผันตัวกลายมาเป็นนักธุรกิจ เขามองว่าดนตรีคือสินค้าส่งออกที่ยิ่งใหญ่ลำดับถัดไป เขาเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่จะทำการตลาดดนตรี ให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

อี ซูมาน ผู้เริ่มแนวคิด วัฒนธรรม K-Pop
อี ซูมาน ผู้เริ่มแนวคิด วัฒนธรรม K-Pop

และในที่สุดเขาก็ได้ผลิตสินค้ายอดฮิตชิ้นแรกออกมา นั่นก็คือ วง H.O.T ซึ่งเป็นวงที่คล้ายคลึงหลายอย่างกับ Seo Taiji &Boys ซึ่ง H.O.T ได้ผสมผสานเพลง Hip Hop กับ เพลงแดนซ์ได้อย่างลงตัว  

เอกลักษณ์อีกอย่างของ H.O.T คือท่าเต้นที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี มันทำให้เกิดกระแสโด่งดังไปทั่วประเทศ และนี่เองเป็นจุดที่ทำให้ อี ซูมาน ค้นพบอย่างชัดเจนถึงความต้องการบางอย่างของผู้คน

ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงเดียวกันกับวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังลุกลามไปทั่วเอเชีย และเกาหลีก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นเดียวกัน กับวิกฤติในครั้งนี้ ส่งผลให้รัฐบาลเกาหลีใต้ เริ่มมีความคิดเช่นเดียวกับ อี ซูมาน 

รัฐบาลเกาหลีได้เริ่มมองเห็นว่า วัฒนธรรม อาจเป็นสินค้าส่งออกที่ยิ่งใหญ่ลำดับถัดไปของประเทศได้ มีการปรับแก้ไขกฏหมายเพื่อสนับสนุนผลงานด้านดนตรีและศิลปะ โดยจะเป็นการสละเงินงบประมาณ อย่างน้อย 1% ให้กับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมนี้

และในตอนนั้น มี 3 บริษัทที่พร้อมที่จะกระโจนเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่นี้ทันที หนึ่งคือ SM Entertainment ของ อี ซูมาน นั่นเอง รวมถึงค่ายเพลงใหม่อีกสองค่าย คือ JYP Entertainment และ YG Entertainment

และผู้ก่อตั้ง YG Entertainment ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เพราะเขาคือ ยอนฮยุนซอก หนึ่งในสมาชิกของ Seo Taiji &Boys สามบริษัทนี้ได้สร้างสูตรสำเร็จ สำหรับการทำ K-Pop ขึ้นมา ที่ใช้มาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สามยักษ์ใหญ่แห่งวงการ K-Pop เกาหลี
สามยักษ์ใหญ่แห่งวงการ K-Pop เกาหลี

แม้ตอนนี้ทั่วโลกจะคุ้นเคยกับคำว่า K-Pop ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในเกาหลีพวกเขาถูกเรียกว่า “Idol Group” เพราะพวกเขาถูกสร้างขึ้นโดยขั้นตอนที่พิเศษมาก

ค่ายเพลงจะทดสอบหรือค้นหาไอดอล ฝึกให้พวกเขาร้องเพลง เต้น และแสดง และค่อย ๆ นำพวกเขามารวมกัน เป็นกลุ่มที่ผ่านการขัดเกลาอย่างดี และมีความสามารถรอบด้านเป็นอย่างมาก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้อาจจะใช้เวลายาวนานหลายปี 

ซึ่งแนวคิดการสร้างแบบดังกล่าวนี้ พวกเขาไม่ได้คิดขึ้นมาเองเป็นครั้งแรก ระบบแบบนี้ Motown เคยใช้มาแล้ว ค่ายอย่าง Motown สามารถที่จะสร้างศิลปินยอดนิยมอย่าง The Supremes , วง The Temptations หรือ แม้กระทั่ง The Jackson Five

จะเห็นได้ว่า วง K-Pop ส่วนใหญ่นั้นจะมีสมาชิกในวงอย่างน้อย 5 คน และบางทีก็มากกว่านั้น และทุกคนต่างมีบทบาทเฉพาะ  มีนักร้อง แร๊ปเปอร์ แด๊นเซอร์ ฯลฯ ทำให้เกิดส่วนผสมที่ลงตัว 

ซึ่งเหล่าศิลปิน K-Pop เหล่านี้ต้องมีภาพลักษณ์ที่ขาวสะอาด ต้องมีความอ่อนโยน และสุภาพ ที่สำคัญต้องไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือ ข่าวฉาวใด ๆ เลย รวมถึงเรื่องความรัก ที่เหล่า ศิลปิน K-Pop นั้นไม่ได้รับการอนุญาติให้พูดถึงอีกด้วย 

ซึ่งมันทำให้เหล่าแฟนคลับ เชื่อว่า ศิลปินเหล่านี้เกิดมาเพื่อแฟนคลับเท่านั้น เวลาที่วง K-Pop จะเจาะกลุ่มผู้ชมนั้น เขาไม่ได้แค่มองแต่ตลาดภายในประเทศมาตั้งแต่แรก พวกเขามักมองไปไกลกว่าพรมแดนเกาหลีแทบจะทุกครั้งเลยก็ว่าได้

ทุกอย่างที่ค่ายยักษ์ใหญ่ทำ มันเป็นกลยุทธ์ระดับโลกแทบจะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อวง ซึ่งมักจะใช้อักษรย่อ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในการแปลภาษาเมื่อเข้าสู่ตลาดโลก

ตัวอย่างแรกก็ ชื่อเกาหลีที่ไม่ซ้ำใครอย่างวงตำนาน Seo Taiji ตามมาด้วยชื่อวงที่ทำการตลาดได้ง่ายมาก ๆ อย่าง H.O.T.  และเมื่อมาลองดูวงหน้าใหม่อย่าง EXO เราจะได้เห็นกลยุทธ์ทางการตลาดอีกอย่างซึ่งก็คือ กลุ่มย่อย หรือ Sub-Groups

นักร้องหนุ่มวง EXO
นักร้องหนุ่มวง EXO

ในวง EXO นั้นมีสมาชิกในวงสองคน ร้องเพลง และแร็ปภาษาจีนโดยเฉพาะ วงนี้ไม่ได้แค่ปล่อยเพลง ๆ เดียว แต่ออกมาสองเวอร์ชั่นเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งก็มีการลงทุน ถึงขนาดที่ว่า มาถ่ายทำมิวสิกวีดีโอสองเวอร์ชั่นเลยด้วยซ้ำ

และทุกคนสามารถมอง K-Pop เป็นงานศิลปะ ที่พอ ๆ  กับงานด้านดนตรี กล่าวคือ ในมิวสิกวีดีโอ จะเห็นงานศิลปะที่เด่นชัน มีการเล่นสีสัน และ การเต้นให้ตรงกับจังหวะได้อย่าง perfect  

ตัวอย่าง มิวสิก วีดีโอเพลง “Blood Sweat & Tears” ของวง BTS มันได้กลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จที่แพร่หลายไปทั่วโลกของ K-Pop 

ตัวอย่างจาก MV Blood Sweet Tears
ตัวอย่างจาก MV Blood Sweet & Tears

ซึ่งในขณะที่เพลง K-Pop ส่วนใหญ่นั้น จะร้องเป็นภาษาเกาหลี  แต่มันคงไม่ง่ายนักที่จะหาเพลง K-Pop ที่ไม่มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษแทรกอยู่เลย ซึ่งข้อดีของการมีคำที่เป็นภาษาอังกฤษก็คือ มันทำให้ฟังแล้วติดหูทันทีสำหรับชาวต่างชาติ 

ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงเนื้อเพลงเพียงเท่านั้น ความจริงแล้ว มีเพลง K-Pop หลายเพลงที่แต่งโดยนักแต่งเพลงระดับอินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นสวีเดน หรือ สหรัฐอเมริกา ซึ่ง K-Pop นั้นยินดีที่จะรับความคิดดี ๆ จากทุก ๆ ที่ทั่วโลก 

ตัวอย่างเช่น ซิงเกิล “red flavor” จากวง RED VELVET นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในเพลง K-Pop ที่ดังที่สุดในปี 2017 ซึ่งเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นโดย ซีซาร์แอนด์หลุย สองโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน ที่เดิมทีนั้นจะแต่งเพลงนี้ให้กับนักร้องชาวตะวันตก

สุดท้ายเป็นค่าย SM Entertainment ได้เปลียนเนื้อเพลงให้กลายเป็นเพลงฮิตที่สนุกสนานในช่วงฤดูร้อนในปีนั้นได้สำเร็จ ซึ่ง สิ่งที่ซ๋อนอยู่ก่อนท่อนคอรัส ของเพลง red flavor นั้นมันคือ บทสรรเสริญราชาดนตรีเพลงป๊อปแห่งสวีเดน ABBA

และสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างนึงในการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วของ ศิลปิน K-Pop คือวิธีผสมผสานแนวเพลงของ K-Pop มันเต็มไปด้วยการทดลองไอเดียใหม่ ๆ ของแนวเพลง

เพลงอาจจะเริ่มด้วยสไตล์ป๊อปใส ๆ น่ารัก ๆ อยู่ประมาณ หนึ่งนาที แล้วจู่ ๆ ก็กระชากอารมณ์แบบฮาร์ดคอร์ ขึ้นมาทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟน K-Pop ส่วนใหญ่นั้นไม่แปลกใจกับมันเลย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ซิงเกิล เพลง “I GOT A BOY” ของวง Girls’ Generation ที่มีอย่างน้อย 9 ท่อนที่ผสมแนวดนตรีหลายแนวเข้าด้วยกัน ซึ่ง เป็นการผสมทั้ง HipHop , PopRock , EDM  ซึ่งมันได้รวมเอาทุกแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น มามัดรวมกันอยู่ในเพลงเดียวได้อย่างลงตัว ซึ่งมันถือได้ว่าเป็นความคลาสสิกอย่างหนึ่งของ K-Pop

และรูปแบบเค้าโคลงลักษณะนี้ ก็พบได้ในเพลง K-Pop อีกหลายเพลง  ซึ่งในแง่ของวิธีการที่ค่ายเพลงสร้างสรรค์ K-Pop ขึ้นมานั้น มันมีความเป็นสินค้ามากกว่างานศิลปะ แต่เหล่าแฟนเพลงไม่ได้บริโภคเหมือนมันเป็นเพียงแค่สินค้าอย่างหนึ่งเช่น รถยนต์ หรือ มือถือ แต่พวกเขาหาจะหาวิธีที่จะเพลิดเพลินกับมันในแบบของตัวเอง 

ในปี 2011 นั้น วงการ K-Pop ได้มาถึงจุดสำคัญอันยิ่งใหญ่ ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ทั้งสามค่าย ได้เริ่มจัดทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกนอกเอเชีย และทีวีเกาหลีก็ถ่ายทอดภาพเหล่านั้นกลับมายังประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าในที่สุดวัฒนธรรมเกาหลีได้เข้าถึงผู้ชมระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ K-Pop มันได้กลายเป็นกระแสลามไปทั่วโลกน่าจะมาจาก มิวสิกวีดีโอของ Psy ในซิงเกิล “Gangnam Style” ที่โด่งดังไปทั่วโลก เรียกได้ว่า มิวสิกวีดีโอนี้ ได้นำพาสไตล์ ของ K-Pop ไปถึงในระดับที่สุดโต่ง 

สามารถทำลายทุกสถิติได้แทบจะทั้งสิ้น เป็นวีดีโอ youtube คลิปแรกที่มีผู้เข้าชมสูงถึง 1,000 ล้านครั้ง มันทำให้กระแส K-Pop นั้น เกิดกระแสความตื่นเต้นและเร้าใจทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

PSY กับ Gangnamstyle ที่ทำลายทุกสถิติเลยก็ว่าได้
PSY กับ Gangnamstyle ที่ทำลายทุกสถิติเลยก็ว่าได้

ในปี 2005 ตลาดเพลงเกาหลีทั้งหมดอยู่ในอันดับที่ 29 ของโลก และหลังจากก้าวเข้าสู่ปี 2016 ตลาดเพลงเกาหลีได้ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 8  ความสำเร็จที่เหลือเชื่อเหล่านี้ ยังทำให้ทั่วโลกสนใจ กับคำวิจารณ์ที่มีต่อเนื่องยาวนานของอุตสาหกรรมนี้ 

ซึ่งว่ากันว่า กว่าศิลปินจะได้ออกอัลบั้ม หรือ ซิงเกิลออกมานั้น ค่ายเพลงต่างกดดันให้ศิลปินวัยรุ่นของพวกเขา เซ็นสัญญาระยะยาว และ ได้ทำการควบคุมทุกแง่มุมในอาชีพของพวกเขา แต่ก็ได้มีกฏหมายออกมาคลี่คลาย สัญญาแบบเดิมในปี 2009 ทำให้ศิลปินนั้นมีอิสระเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

สำหรับปรากฏการณ์ที่น่าสนใจของวง BTS ที่สามารถเจาะตลาดอเมริการ ที่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นยากที่จะเจาะเข้าไปได้หากไม่ใช่เพลงที่มีภาษาอังกฤษ ตอนที่พวกเขาบินมาถึงสนามบิน แอลเอ นั้น ผู้คนแห่แหนมารอรับกันเต็มสนามบิน แทบไม่ต่างจากตอนที่ The Beatles มาที่นี่เลยก็ว่าได้

ปรากฏการณ์คนแห่มารับถึงสนามบิน LA
ปรากฏการณ์คนแห่มารับถึงสนามบิน LA

BTS นั้นได้ทุบทุกสถิติในสหรัฐสำหรับวง K-Pop ซึ่ง BTS นั้นได้ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด นานกว่า 1 ปี มันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ สำหรับวงน้องใหม่อย่าง BTS  และทางบิลบอร์ดก็ได้นำบรรดาหนุ่ม ๆ BTS มาขึ้นปก บิลบอร์ดในที่สุด 

ติดชาร์ต Social Billboard กว่า 1 ปี สำหรับ BTS
ติดชาร์ต Social Billboard กว่า 1 ปี สำหรับ BTS

ความแตกต่างของ BTS จากศิลปิน K-Pop ส่วนใหญ่นั่นก็คือเนื้อเพลง ซึ่งเนื้อเพลงส่วนใหญ่นั้นจะพูดถึงชีวิตของเด็กวัยรุ่น เป็นการพูดไปยังกลุ่มคนรุ่นเดียวกัน ที่รู้สึกกดดันอย่างมหาศาล 

เกาหลีใต้ได้กลายเป็นมหาอำนาจของวัฒนธรรมป๊อป ด้วยการนำเอาสไตล์ของ Seo Taiji &Boys มาเปลี่ยนเป็นสูตรสำเร็จ ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ จนตอนนี้มันทำให้ K-Pop นั้นเข้าถึงได้เกือบทุกทวีปแล้ว 

K-Pop  นั้นช่วยให้โลกเข้าใจและเปิดรับประเทศหนึ่ง ที่โลกแทบไม่เคยรู้จัก และมันได้เริ่มที่จะออกนอกสูตรสำเร็จ ด้วยการนำเสนอความคิดของตัวเอง เกี่ยวกับประเทศ และวัฒนธรรมของพวกเขา และมันทำให้มีแฟนเพลงหลายล้านคน ที่พร้อมจะฟังพวกเขาอยู่ทุกเมื่ออยู่ทุกเมื่อ

และสุดท้าย K-Pop  มันก็ได้ก้าวเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีการเติบโตในเลขสองหลักทุก ๆ ปี ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตศิลปินทั้งหมดนั้น มีมูลค่ารวมอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เกาหลี หลายพันล้านเหรียญ และ มูลค่ากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมันเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ช่วยผลักดันเกาหลีให้กลายเป็นชาติแนวหน้าของโลก ไม่ใช่แค่เพียงด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่วัฒนธรรม K-Pop ตอนนี้ มันได้บุกไปทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

-> อ่านตอนที่ 7 (ตอนจบ)  : The Glory of Korea

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube