Geek Monday EP117 : เบื้องหลังความสำเร็จของแคมเปญการตลาด K-wave จาก Tokopedia

K-wave ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนว่ามันได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกชื่นชมวัฒนธรรมเกาหลี ไม่ว่าจะผ่านการฟังเพลงเคป็อปหรือเพลิดเพลินกับอาหารเกาหลี อินโดนีเซียก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับปรากฏการณ์นี้ ประเทศนี้เป็นบ้านของประชากรวัยหนุ่มสาวที่เข้าใจอินเทอร์เน็ต และคนเหล่านี้ถูกคลื่น K-wave โจมตีพวกเขาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย YouTube และ Netflix

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Tokopedia ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของอินโดนีเซีย ได้ใช้ K-wave ในกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อค้นหาลูกค้าและเชื่อมต่อกับพวกเขาในรูปแบบที่มีความหมายมากขึ้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3tOTJwz

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3tW3KYW

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3IynJ3R

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3fNSJkj

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/q4e4KONufjA

ผู้สนับสนุน..

Fillgoods ผู้ช่วยมืออาชีพของธุรกิจออนไลน์ ที่จะทำให้ชีวิตง่ายและสะดวกสบายขึ้นกว่าเดิม ด้วยฟีเจอร์ทั้งหมดออกแบบมาเพื่อซัพพอร์ตการทำงานของธุรกิจออนไลน์อย่างแท้จริง

ให้ทุกธุรกิจสามารถทำกำไรและสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้ตามที่ต้องการอย่างไร้กังวล ร้านค้าที่ยังประสบปัญหาที่คอยฉุดยอดขายและโอกาสเติบโตให้ดิ่งเหว

สามารถติดต่อให้ Fillgoods เข้าไปเป็นผู้ช่วยธุรกิจคุณได้ที่สมัครใช้งานและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fillgoods.co/  สมัครตอนนี้มีโปรโมชันพิเศษมากมาย อัปเดตกิจกรรมและข่าวสารที่ https://www.facebook.com/fillgoods.co/ หรือโทร 021146800 กด 1

South Korea ตอนที่ 7 : The Glory of Korea

ประเทศเกาหลีใต้ ได้ถือกำเนิดมาในสภาพรัฐที่สิ้นหวัง ทั้งยากจน บอบช้ำจาก การถูกล่าอาณานิคม แถมยังถูกสงครามทำลายอย่างย่อยยับ ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีเพียงน้อยนิด ประเทศที่ถูกแบ่งเหลือเพียงครึ่งเดียว แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนเป็นแรงผลักดันให้ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้ สามารถที่จะประสบความสำเร็จ ได้อย่างเหลือเชื่อ ในเวลาเพียงแค่ชั่วอายุคนเพียงเท่านั้น ความสามัคคี และรักชาติ นำพาเกาหลีใต้พลิกฟื้นประเทศ จนกลายเป็นประเทศที่ล้ำหน้าที่สุดในโลกประเทศนึงในปัจจุบัน

มันไม่เหมือนประเทศอย่างจีน หรือ สิงคโปร์ ความสำเร็จของเกาหลีใต้นั้น มันไม่ใช่เพียงแค่เรื่องตัวเลขทางเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึง ทั้งเรื่องการเมือง และ สังคม รวมถึงความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งของเกาหลีด้วย

ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ก็ไม่น้อยหน้าประเทศไหนในโลก  สังคมของเกาหลีใต้ กำลังได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น และยังคอยพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบไม่หยุดยั้ง เรายังไม่ได้เห็นจุดสูงสุดของประเทศเกาหลีใต้ในเวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน เพราะพวกเขากำลังพัฒนาด้วยอัตราเร่ง แบบไม่ได้ชะลอความรวดเร็วลงไปเลย

ด้วยบุคลิก และ ลักษณะทางสังคมที่มีความยืดหยุ่นนั้น ทำให้คนในสังคมเกาหลีใต้อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความขัดแย้งและแตกต่าง มันก็เหมือนกับทุกประเทศที่ผู้คนต่างมีอุดมการณ์ไม่ว่างทางการเมือง ศาสนา หรือ จารีต ประเพณีต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน

แต่เกาหลีใช้จุดนี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่าจะถ่วงความเจริญก้าวหน้า นิสัยหลาย ๆ อย่างของชาวเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นความแน่วแน่ และทุ่มเทอย่างไม่ลดละเพื่อเป้าหมาย ก็สามารถช่วยให้คนเกาหลีสร้างความเจริญก้าวหน้าในหลาย ๆ ด้านได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่อิจฉาของทุก ๆ ชาติ

แต่มันก็ต้องแลกด้วยอะไรหลายอย่าง คนเกาหลีใต้ ต้องทำงานหนักกว่าใครเพื่อน เรียนหนักกว่าใครเพื่อน จิตวิญญาณที่รักการแข่งขัน ที่อยู่กับพวกเขาตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยเกษียณ มันแลกด้วย ความสุขที่ลดลงไปของชาวเกาหลี

แม้ตอนนี้พวกเขาจะประสบความสำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว กลายเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วเทียบเท่า อเมริกา ญี่ปุ่น หรือ ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้สำเร็จแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนพวกเขายังไม่หยุดที่จะก้าวต่อไป

คนเกาหลียังคงมีชั่วโมงการทำงานที่มากที่สุดเหมือนเคย การลงทุนกับเรื่องการศึกษาที่บ้าคลั่ง ดูเหมือนจะเกิดพอดีไปเสียด้วยซ้ำ การแย่งชิงตำแหน่งงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุด นิสัยชอบการแข่งขัน เหล่านี้นั้น กระตุ้นเร้าให้เกิดการพัฒนาแบบต่อเนื่องอย่างไม่ทีท่าว่าจะลดน้อยลงไปเลย

เกาหลีใต้กับความเจริญที่ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเลย
เกาหลีใต้กับความเจริญที่ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเลย

ซึ่งการแข่งขันกันอย่าบ้าคลั่ง มันส่งผลต่อเกาหลีใต้อย่างใหญ่หลวง ตั้งแต่แต่ทศวรรษ 1960-1980 แม้จะทำให้เกิดความเครียดที่สูงกับชาวเกาหลีบ้างก็ตาม แต่มันไม่ได้มีการต่อต้านจากสังคมแต่อย่างใด มันเหมือนทุกคนในประเทศพร้อมยอมรับในจุดนี้

การแข่งขัน มาตั้งแต่เด็ก ค่าเรียนต่าง ๆ ที่สูงขึ้นทุกปี เงินที่จ่ายไปกับเครื่องสำอางค์ แบรนด์หรู ๆ รวมถึงเรื่องการศัลยกรรมพลาสติก สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยยกระดับสถานะทางสัมคมของคนเกาหลีแทบจะทั้งสิ้น ทุกคนต่างทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อนำเสนอตัวตนที่เยี่ยมที่สุดสู่สังคมภายนอก 

แม้คนเกาหลีนั้นจะก้าวผ่านสงครามกลางเมือง และความอดอยาก ยากจน มาแล้ว ก่อนที่จะเปลี่ยนจากดินแดน ผู้ถูกล่า และเป็นเบี้ยล่างมาตลอด ให้กลายมาเป็น ประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตย ที่มีการเมืองที่เสถียรภาพแห่งหนึ่งของโลก และความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี ที่ไปไกลกว่าใครเพื่อน มันถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศแห่งนี้ ควรจะหยุดพักผ่อน แล้วหันมาจิบแชมเปญสักแก้ว แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายประเทศสุดแสนมหัศจรรย์อย่างเกาหลีใต้นั้น ก็ยังมีอีกสิ่งนึงที่ต้องพิชิตให้ได้ ซึ่งก็คือ การบาลานซ์ ความสมดุล ระหว่างความสุขและความพึงพอใจของประชาชนชาวเกาหลี กับการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วดังที่เราได้เห็นจาก Blog Series ชุดนี้ 

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวประเทศเกาหลีใต้ จาก Blog Series ชุดนี้

ห้าสิบปีที่แล้ว เกาหลีคือประเทศยากจนที่บอบช้ำจากสงคราม  แทบจะไม่คงเหลือประเทศในฐานะรัฐ ๆ หนึ่ง และเกาหลีใต้ได้ผ่านพ้นวิกฤติมาได้อย่างมั่นคงจนได้กลายเป็นแม่แบบให้กับประเทศกลังพัฒนาทั่วโลก รวมถึงไทยเองด้วยก็ตามที

แม้ตอนนี้พวกเขายังคงไม่พอใจกับการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว อย่างที่ได้ตั้งความหวังไว้ ยังมีแรงกดดันอยู่ต่อเนื่อง ในการก้าวขึ้นสู่ขั้นต่อไป เทียบกับมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลก พวกเขาได้สร้างมาตรฐาน ที่ดูเหมือนชาติอื่นจะอิจฉา ทั้ง ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ไม้เว้นแม้แต่เชื่อเสียง และ รูปร่างหน้าตา พวกเขาในตอนนี้ ก้าวขึ้นไปอยู่แถวหน้าของโลกได้สำเร็จ

วัฒนธรรมอย่าง K-Pop ที่ฉีกกฏเกณฑ์ ทุกอย่าง ทำให้โลกตะวันตก สามารถยอมรับนับถือวัฒนธรรมของโลกตะวันออกได้ แบบที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน มันเป็นกำแพงที่สูงชัน แต่เกาหลีสามารถที่จะก้าวผ่านกำแพงนั้นไปได้สำเร็จ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลย สำหรับคนเกาหลีใต้

ข้อคิดสำคัญสำหรับเรื่องของประเทศเกาหลีใต้ ก็คือ ไม่ว่าบ้านเมืองจะเละเทะ ถูกย่ำยีเพียงใด เหมือนประเทศไทย ที่อยู่กับทศวรรษ แห่งความหยุดนิ่ง ความแตกแยกที่รุนแรงภายในประเทศ แต่ประเทศเรายังเจออะไรเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ่งที่พวกเขาชาวเกาหลีใต้ได้เคยเจอมา

เพราะฉะนั้น ประเทศเราก็ยังมีโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ ไม่ต่างจากประเทศอย่างเกาหลี หากทุกคนในชาติ นั้นลืมเรื่องความขัดแย้ง และสร้างมันเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความสามัคคีของคนในชาติ มันก็สามารถให้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของชาติให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วแบบที่เกาหลีเคยทำมาแล้วได้อย่างแน่นอน 

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

South Korea ตอนที่ 6 : More than K-Pop

วัฒนธรรม K-pop จากเกาหลี ที่ปรกติจะบุกไปทั่วเอเชีย แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แค่เพียง เอเชีย อีกต่อไป เพราะวัฒนธรรมนี้ มันได้บุกไปถึง อเมริกา และ ยุโรป ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องธรรมดาจริง ๆ สำหรับการดังขึ้นมาเปรี้ยงปร้างอย่างรวดเร็วของวงการเพลงเกาหลี ที่กลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มูลค่ากว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐครอบคลุมไปทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การปรากฏตัวของวงดัง ๆ ของเกาหลี ที่เมือง ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพวกเขาเข้ามาถึงสนามบินนั้น บรรยากาศมันแทบไม่ต่างจากตอนที่วงระดับตำนานอย่าง The Beatles ได้มาที่นี่เลย และ เกาหลีใต้สร้างวงการเพลงที่ประสบความสำเร็จระดับโลกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ต้องย้อนไปตั้งแต่ ช่วงปี 1992 ที่วง Seo Taiji & Boys ได้ปรากฏตัวขึ้นมา อย่างที่เคยกล่าวไว้ในบทก่อน ๆ หน้า วัฒนธรรมเพลงอย่างนึงที่ถูกฝังมากับประชาชนชาวเกาหลีในยุค 80 คือ เพลงปลุกใจให้รักชาติอย่างเพลง Oh Korea ซึ่งมีการเปิดให้ประชาชนฟังอย่างต่อเนื่องทั้งในสื่อทางวิทยุ หรือ โทรทัศน์

มันเป็นเพลงปลุกใจที่ถูกผลิต และ สนับสนุนโดยรัฐบาล และแรกเริ่มเดิมทีนั้น วัฒนธรรมทางด้านเพลงของเกาหลี ก็ถูกกำหนดโดย ท่านนายพล ปาร์ค ในยุคนั้นรัฐบาลยังควบคุมระบบการออกอากาศแทบจะทั้งหมดของทุกสื่อในประเทศ

มันไม่มีทีท่า ว่าเกาหลีจะพัฒนาวัฒนธรรม K-Pop มาได้ไกลถึงเพียงนี้ ถ้ามองย้อนกลับไปในช่วงนั้น เป็นเรื่องยากที่จะเกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่การปรากฏตัวของ Seo Taiji &Boys ทางทีวี ในฤดูใบไม้ผลิปี 1992

มันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ความเจริญทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ มันคือสิ่งที่มีโอกาสเป็นไปได้ มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง กับกรอบความคิดเดิม ของวัฒนธรรมดนตรีของเกาหลี และที่สำคัญมันยังเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเกาหลีขึ้นมาใหม่ด้วย

Seo Taiji &Boys ร้องเพลงแร็ป ใส่กางเกงทรงหลวม และเต้นเหมือน B Boy มันเป็นสิ่งที่ผู้ชมชาวเกาหลี แทบจะไม่เคยได้ยินกลุ่มนักร้องเกาหลีทำมาก่อน มันได้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของประเทศ ถ้่าพวกเขาใส่อะไร มันจะกลายเป็นกระแสฮิตทันที พวกเขาได้นำเอาแฟชั่น Hip Hop แบบอเมริกันมาสู่เกาหลี

Seo Taiji & Boys ที่มาปฏิวัติวงการเพลงเกาหลี
Seo Taiji & Boys ที่มาปฏิวัติวงการเพลงเกาหลี

เพลงฮิตในปี 1995 ของพวกเขา คือ single “Come Back Home” ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับวัยรุ่นที่หนีออกจากบ้าน ซึ่งเนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่นั้น เน้นไปที่การเสียดสีสังคม ทำให้มีบางเพลงถูกแบน เพราะมีเนื้อเพลงที่ไม่ให้เกียรติคนรุ่นก่อนโดยตรง

Seo Taiji &Boys ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ขึ้นในเกาหลี มีการแสดงที่เป็นหนึ่งในการแสดงที่โด่งดังที่สุดในเกาหลีใต้ แต่เวลามันก็แสนสั้น เพราะพวกเขาอยากลาออกจากวงการตอนขึ้นสู่จุดสูงสุดเช่นนี้ ดังนั้น เมื่อถึงช่วงที่พวกเขาโด่งดังสุดขีด พวกเขาก็ได้ประกาศยุบวง

มันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศเกาหลีใต้ได้ก้าวผ่านความเป็นประเทศยากจน ได้สำเร็จ ตอนนั้น เกาหลีใต้ กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยติดอันดับที่ 11 ของโลก ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกส่วนนึงคือการก้าวเข้ามาของ อี ซูมาน อดีตศิลปินเกาหลีที่ผันตัวกลายมาเป็นนักธุรกิจ เขามองว่าดนตรีคือสินค้าส่งออกที่ยิ่งใหญ่ลำดับถัดไป เขาเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่จะทำการตลาดดนตรี ให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

อี ซูมาน ผู้เริ่มแนวคิด วัฒนธรรม K-Pop
อี ซูมาน ผู้เริ่มแนวคิด วัฒนธรรม K-Pop

และในที่สุดเขาก็ได้ผลิตสินค้ายอดฮิตชิ้นแรกออกมา นั่นก็คือ วง H.O.T ซึ่งเป็นวงที่คล้ายคลึงหลายอย่างกับ Seo Taiji &Boys ซึ่ง H.O.T ได้ผสมผสานเพลง Hip Hop กับ เพลงแดนซ์ได้อย่างลงตัว  

เอกลักษณ์อีกอย่างของ H.O.T คือท่าเต้นที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี มันทำให้เกิดกระแสโด่งดังไปทั่วประเทศ และนี่เองเป็นจุดที่ทำให้ อี ซูมาน ค้นพบอย่างชัดเจนถึงความต้องการบางอย่างของผู้คน

ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงเดียวกันกับวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังลุกลามไปทั่วเอเชีย และเกาหลีก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นเดียวกัน กับวิกฤติในครั้งนี้ ส่งผลให้รัฐบาลเกาหลีใต้ เริ่มมีความคิดเช่นเดียวกับ อี ซูมาน 

รัฐบาลเกาหลีได้เริ่มมองเห็นว่า วัฒนธรรม อาจเป็นสินค้าส่งออกที่ยิ่งใหญ่ลำดับถัดไปของประเทศได้ มีการปรับแก้ไขกฏหมายเพื่อสนับสนุนผลงานด้านดนตรีและศิลปะ โดยจะเป็นการสละเงินงบประมาณ อย่างน้อย 1% ให้กับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมนี้

และในตอนนั้น มี 3 บริษัทที่พร้อมที่จะกระโจนเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่นี้ทันที หนึ่งคือ SM Entertainment ของ อี ซูมาน นั่นเอง รวมถึงค่ายเพลงใหม่อีกสองค่าย คือ JYP Entertainment และ YG Entertainment

และผู้ก่อตั้ง YG Entertainment ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เพราะเขาคือ ยอนฮยุนซอก หนึ่งในสมาชิกของ Seo Taiji &Boys สามบริษัทนี้ได้สร้างสูตรสำเร็จ สำหรับการทำ K-Pop ขึ้นมา ที่ใช้มาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สามยักษ์ใหญ่แห่งวงการ K-Pop เกาหลี
สามยักษ์ใหญ่แห่งวงการ K-Pop เกาหลี

แม้ตอนนี้ทั่วโลกจะคุ้นเคยกับคำว่า K-Pop ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในเกาหลีพวกเขาถูกเรียกว่า “Idol Group” เพราะพวกเขาถูกสร้างขึ้นโดยขั้นตอนที่พิเศษมาก

ค่ายเพลงจะทดสอบหรือค้นหาไอดอล ฝึกให้พวกเขาร้องเพลง เต้น และแสดง และค่อย ๆ นำพวกเขามารวมกัน เป็นกลุ่มที่ผ่านการขัดเกลาอย่างดี และมีความสามารถรอบด้านเป็นอย่างมาก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้อาจจะใช้เวลายาวนานหลายปี 

ซึ่งแนวคิดการสร้างแบบดังกล่าวนี้ พวกเขาไม่ได้คิดขึ้นมาเองเป็นครั้งแรก ระบบแบบนี้ Motown เคยใช้มาแล้ว ค่ายอย่าง Motown สามารถที่จะสร้างศิลปินยอดนิยมอย่าง The Supremes , วง The Temptations หรือ แม้กระทั่ง The Jackson Five

จะเห็นได้ว่า วง K-Pop ส่วนใหญ่นั้นจะมีสมาชิกในวงอย่างน้อย 5 คน และบางทีก็มากกว่านั้น และทุกคนต่างมีบทบาทเฉพาะ  มีนักร้อง แร๊ปเปอร์ แด๊นเซอร์ ฯลฯ ทำให้เกิดส่วนผสมที่ลงตัว 

ซึ่งเหล่าศิลปิน K-Pop เหล่านี้ต้องมีภาพลักษณ์ที่ขาวสะอาด ต้องมีความอ่อนโยน และสุภาพ ที่สำคัญต้องไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือ ข่าวฉาวใด ๆ เลย รวมถึงเรื่องความรัก ที่เหล่า ศิลปิน K-Pop นั้นไม่ได้รับการอนุญาติให้พูดถึงอีกด้วย 

ซึ่งมันทำให้เหล่าแฟนคลับ เชื่อว่า ศิลปินเหล่านี้เกิดมาเพื่อแฟนคลับเท่านั้น เวลาที่วง K-Pop จะเจาะกลุ่มผู้ชมนั้น เขาไม่ได้แค่มองแต่ตลาดภายในประเทศมาตั้งแต่แรก พวกเขามักมองไปไกลกว่าพรมแดนเกาหลีแทบจะทุกครั้งเลยก็ว่าได้

ทุกอย่างที่ค่ายยักษ์ใหญ่ทำ มันเป็นกลยุทธ์ระดับโลกแทบจะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อวง ซึ่งมักจะใช้อักษรย่อ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในการแปลภาษาเมื่อเข้าสู่ตลาดโลก

ตัวอย่างแรกก็ ชื่อเกาหลีที่ไม่ซ้ำใครอย่างวงตำนาน Seo Taiji ตามมาด้วยชื่อวงที่ทำการตลาดได้ง่ายมาก ๆ อย่าง H.O.T.  และเมื่อมาลองดูวงหน้าใหม่อย่าง EXO เราจะได้เห็นกลยุทธ์ทางการตลาดอีกอย่างซึ่งก็คือ กลุ่มย่อย หรือ Sub-Groups

นักร้องหนุ่มวง EXO
นักร้องหนุ่มวง EXO

ในวง EXO นั้นมีสมาชิกในวงสองคน ร้องเพลง และแร็ปภาษาจีนโดยเฉพาะ วงนี้ไม่ได้แค่ปล่อยเพลง ๆ เดียว แต่ออกมาสองเวอร์ชั่นเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งก็มีการลงทุน ถึงขนาดที่ว่า มาถ่ายทำมิวสิกวีดีโอสองเวอร์ชั่นเลยด้วยซ้ำ

และทุกคนสามารถมอง K-Pop เป็นงานศิลปะ ที่พอ ๆ  กับงานด้านดนตรี กล่าวคือ ในมิวสิกวีดีโอ จะเห็นงานศิลปะที่เด่นชัน มีการเล่นสีสัน และ การเต้นให้ตรงกับจังหวะได้อย่าง perfect  

ตัวอย่าง มิวสิก วีดีโอเพลง “Blood Sweat & Tears” ของวง BTS มันได้กลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จที่แพร่หลายไปทั่วโลกของ K-Pop 

ตัวอย่างจาก MV Blood Sweet Tears
ตัวอย่างจาก MV Blood Sweet & Tears

ซึ่งในขณะที่เพลง K-Pop ส่วนใหญ่นั้น จะร้องเป็นภาษาเกาหลี  แต่มันคงไม่ง่ายนักที่จะหาเพลง K-Pop ที่ไม่มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษแทรกอยู่เลย ซึ่งข้อดีของการมีคำที่เป็นภาษาอังกฤษก็คือ มันทำให้ฟังแล้วติดหูทันทีสำหรับชาวต่างชาติ 

ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงเนื้อเพลงเพียงเท่านั้น ความจริงแล้ว มีเพลง K-Pop หลายเพลงที่แต่งโดยนักแต่งเพลงระดับอินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นสวีเดน หรือ สหรัฐอเมริกา ซึ่ง K-Pop นั้นยินดีที่จะรับความคิดดี ๆ จากทุก ๆ ที่ทั่วโลก 

ตัวอย่างเช่น ซิงเกิล “red flavor” จากวง RED VELVET นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในเพลง K-Pop ที่ดังที่สุดในปี 2017 ซึ่งเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นโดย ซีซาร์แอนด์หลุย สองโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน ที่เดิมทีนั้นจะแต่งเพลงนี้ให้กับนักร้องชาวตะวันตก

สุดท้ายเป็นค่าย SM Entertainment ได้เปลียนเนื้อเพลงให้กลายเป็นเพลงฮิตที่สนุกสนานในช่วงฤดูร้อนในปีนั้นได้สำเร็จ ซึ่ง สิ่งที่ซ๋อนอยู่ก่อนท่อนคอรัส ของเพลง red flavor นั้นมันคือ บทสรรเสริญราชาดนตรีเพลงป๊อปแห่งสวีเดน ABBA

และสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างนึงในการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วของ ศิลปิน K-Pop คือวิธีผสมผสานแนวเพลงของ K-Pop มันเต็มไปด้วยการทดลองไอเดียใหม่ ๆ ของแนวเพลง

เพลงอาจจะเริ่มด้วยสไตล์ป๊อปใส ๆ น่ารัก ๆ อยู่ประมาณ หนึ่งนาที แล้วจู่ ๆ ก็กระชากอารมณ์แบบฮาร์ดคอร์ ขึ้นมาทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟน K-Pop ส่วนใหญ่นั้นไม่แปลกใจกับมันเลย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ซิงเกิล เพลง “I GOT A BOY” ของวง Girls’ Generation ที่มีอย่างน้อย 9 ท่อนที่ผสมแนวดนตรีหลายแนวเข้าด้วยกัน ซึ่ง เป็นการผสมทั้ง HipHop , PopRock , EDM  ซึ่งมันได้รวมเอาทุกแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น มามัดรวมกันอยู่ในเพลงเดียวได้อย่างลงตัว ซึ่งมันถือได้ว่าเป็นความคลาสสิกอย่างหนึ่งของ K-Pop

และรูปแบบเค้าโคลงลักษณะนี้ ก็พบได้ในเพลง K-Pop อีกหลายเพลง  ซึ่งในแง่ของวิธีการที่ค่ายเพลงสร้างสรรค์ K-Pop ขึ้นมานั้น มันมีความเป็นสินค้ามากกว่างานศิลปะ แต่เหล่าแฟนเพลงไม่ได้บริโภคเหมือนมันเป็นเพียงแค่สินค้าอย่างหนึ่งเช่น รถยนต์ หรือ มือถือ แต่พวกเขาหาจะหาวิธีที่จะเพลิดเพลินกับมันในแบบของตัวเอง 

ในปี 2011 นั้น วงการ K-Pop ได้มาถึงจุดสำคัญอันยิ่งใหญ่ ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ทั้งสามค่าย ได้เริ่มจัดทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกนอกเอเชีย และทีวีเกาหลีก็ถ่ายทอดภาพเหล่านั้นกลับมายังประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าในที่สุดวัฒนธรรมเกาหลีได้เข้าถึงผู้ชมระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ K-Pop มันได้กลายเป็นกระแสลามไปทั่วโลกน่าจะมาจาก มิวสิกวีดีโอของ Psy ในซิงเกิล “Gangnam Style” ที่โด่งดังไปทั่วโลก เรียกได้ว่า มิวสิกวีดีโอนี้ ได้นำพาสไตล์ ของ K-Pop ไปถึงในระดับที่สุดโต่ง 

สามารถทำลายทุกสถิติได้แทบจะทั้งสิ้น เป็นวีดีโอ youtube คลิปแรกที่มีผู้เข้าชมสูงถึง 1,000 ล้านครั้ง มันทำให้กระแส K-Pop นั้น เกิดกระแสความตื่นเต้นและเร้าใจทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

PSY กับ Gangnamstyle ที่ทำลายทุกสถิติเลยก็ว่าได้
PSY กับ Gangnamstyle ที่ทำลายทุกสถิติเลยก็ว่าได้

ในปี 2005 ตลาดเพลงเกาหลีทั้งหมดอยู่ในอันดับที่ 29 ของโลก และหลังจากก้าวเข้าสู่ปี 2016 ตลาดเพลงเกาหลีได้ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 8  ความสำเร็จที่เหลือเชื่อเหล่านี้ ยังทำให้ทั่วโลกสนใจ กับคำวิจารณ์ที่มีต่อเนื่องยาวนานของอุตสาหกรรมนี้ 

ซึ่งว่ากันว่า กว่าศิลปินจะได้ออกอัลบั้ม หรือ ซิงเกิลออกมานั้น ค่ายเพลงต่างกดดันให้ศิลปินวัยรุ่นของพวกเขา เซ็นสัญญาระยะยาว และ ได้ทำการควบคุมทุกแง่มุมในอาชีพของพวกเขา แต่ก็ได้มีกฏหมายออกมาคลี่คลาย สัญญาแบบเดิมในปี 2009 ทำให้ศิลปินนั้นมีอิสระเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

สำหรับปรากฏการณ์ที่น่าสนใจของวง BTS ที่สามารถเจาะตลาดอเมริการ ที่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นยากที่จะเจาะเข้าไปได้หากไม่ใช่เพลงที่มีภาษาอังกฤษ ตอนที่พวกเขาบินมาถึงสนามบิน แอลเอ นั้น ผู้คนแห่แหนมารอรับกันเต็มสนามบิน แทบไม่ต่างจากตอนที่ The Beatles มาที่นี่เลยก็ว่าได้

ปรากฏการณ์คนแห่มารับถึงสนามบิน LA
ปรากฏการณ์คนแห่มารับถึงสนามบิน LA

BTS นั้นได้ทุบทุกสถิติในสหรัฐสำหรับวง K-Pop ซึ่ง BTS นั้นได้ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด นานกว่า 1 ปี มันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ สำหรับวงน้องใหม่อย่าง BTS  และทางบิลบอร์ดก็ได้นำบรรดาหนุ่ม ๆ BTS มาขึ้นปก บิลบอร์ดในที่สุด 

ติดชาร์ต Social Billboard กว่า 1 ปี สำหรับ BTS
ติดชาร์ต Social Billboard กว่า 1 ปี สำหรับ BTS

ความแตกต่างของ BTS จากศิลปิน K-Pop ส่วนใหญ่นั่นก็คือเนื้อเพลง ซึ่งเนื้อเพลงส่วนใหญ่นั้นจะพูดถึงชีวิตของเด็กวัยรุ่น เป็นการพูดไปยังกลุ่มคนรุ่นเดียวกัน ที่รู้สึกกดดันอย่างมหาศาล 

เกาหลีใต้ได้กลายเป็นมหาอำนาจของวัฒนธรรมป๊อป ด้วยการนำเอาสไตล์ของ Seo Taiji &Boys มาเปลี่ยนเป็นสูตรสำเร็จ ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ จนตอนนี้มันทำให้ K-Pop นั้นเข้าถึงได้เกือบทุกทวีปแล้ว 

K-Pop  นั้นช่วยให้โลกเข้าใจและเปิดรับประเทศหนึ่ง ที่โลกแทบไม่เคยรู้จัก และมันได้เริ่มที่จะออกนอกสูตรสำเร็จ ด้วยการนำเสนอความคิดของตัวเอง เกี่ยวกับประเทศ และวัฒนธรรมของพวกเขา และมันทำให้มีแฟนเพลงหลายล้านคน ที่พร้อมจะฟังพวกเขาอยู่ทุกเมื่ออยู่ทุกเมื่อ

และสุดท้าย K-Pop  มันก็ได้ก้าวเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีการเติบโตในเลขสองหลักทุก ๆ ปี ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตศิลปินทั้งหมดนั้น มีมูลค่ารวมอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เกาหลี หลายพันล้านเหรียญ และ มูลค่ากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมันเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ช่วยผลักดันเกาหลีให้กลายเป็นชาติแนวหน้าของโลก ไม่ใช่แค่เพียงด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่วัฒนธรรม K-Pop ตอนนี้ มันได้บุกไปทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

-> อ่านตอนที่ 7 (ตอนจบ)  : The Glory of Korea

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

South Korea ตอนที่ 1 : Foundation

ประเทศเกาหลีใต้ในขณะนี้นั้นได้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าของโลก เป็นประเทศที่ผลิต chip ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่เป็นหัวใจของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค ทั่วโลกได้มากกว่าใครในโลก มันนับเป็นก้าวย่างที่รวดเร็วมากที่สามารถทำให้ประเทศเกาหลีใต้ก้าวมาถึงจุดนี้ได้

หลาย ๆ คนทั่วโลกยังเข้าใจผิดในหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับประเทศเศรษฐกิจใหม่แห่งนี้ การร่วมมือ และร่วมใจของคนทั้งชาติ การทำงานอย่างหนัก ความคิดสร้างสรรค์ที่สุดโต่ง ล้วนเป็นสิ่งที่นำพาให้ประเทศเกาหลีใต้มาถึงจุดนี้ได้ 

ซึ่งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของประเทศใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งคมนาคม หรือ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่มีหัวใจคือ ระบบ internet Hi-Speed มันช่วยยกระดับประเทศเกาหลีให้เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วได้อย่างเหลือเชื่อ

ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีเพียงเท่านั้น เกาหลีใต้ ยังเป็นผู้นำทางด้านศิลปะ มีการสร้างงานศิลปะ ระดับ World-Class รวมถึงเรื่องดนตรี ที่ K-Pop นั้นได้กระจายกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ไปทั่วโลก ทุกคนหลงรัก K-Pop แม้กระทั่งชาติมหาอำนาจอย่าง อเมริกาเองก็ตามยังต้องยอมสยบให้กับวัฒนธรรมที่กำลังบุกรุกอย่างบ้าคลั่งของ K-Pop มันไม่ใช่แค่บุกเพียงทวีปเอเชียแล้วแต่ตอนนี้มันกำลังบุกไปทั่วโลก

กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว
กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว

ซึ่งเมื่อย้อนไปเมื่อร้อยปีที่แล้ว นั้น ประเทศแห่งนี้ ถูกบุกรุก จนแทบจะสูญสิ้นประเทศ จากสงครามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนบ้านกันเองอย่างญี่ปุ่น หรือ การถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศในการแบ่งแยก เกาหลีเหนือ – เกาหลีใต้ แต่พวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วอายุคนเท่านั้น ในการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศ จากประเทศที่แสนยากจนข้นแค้น GDP ต่อหัว เพียงแค่ 100 เหรียญสหรัฐเท่านั้น จนกลายมาเป็นมหาอำนาจที่มี GDP ต่อหัว สูงถึงกว่า 30,000 เหรียญในปัจจุบัน 

จากการที่ต้องถูกแบ่งประเทศเป็น เกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ ผลพวงจากยุคสงครามเย็นระหว่างมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปี 1950 แม้สงครามของทั้งสองจะจบลงแล้วตั้งแต่ ปี 1953 ก็ตาม แต่มันก็ยังไม่สามารถรวมทั้งสองประเทศให้กลายเป็นหนึ่งได้เหมือนในอดีต

และนี่ก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงที่ถ้าเทียบกับเหล่าประเทศผู้นำ G20 ทั่วโลก มันก็คือ ความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่ระหว่าง เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มันเป็นแรงผลักสำคัญให้ชาวเกาหลีใต้รีบสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นมาโดยเร็วที่สุด ความไม่มั่นคงกับปัญหานิวเคลียร์ ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ต้องเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างนึงเลยก็ว่าได้ มันเปรียบเหมือนชาวเกาหลีใต้กำลังอยู่ภายใต้ความมืดมนที่ปกคลุมอยู่ มันเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้มานานหลายทศวรรษแล้ว สำหรับความแตกแยกระหว่างประเทศทั้งสอง

การเร่ง สปีดการพัฒนาของเกาหลีใต้ นั้น แม้ตอนเริ่มต้นดูเหมือนเกาหลีเหนือจะได้เปรียบอยู่บ้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในยุครวมประเทศนั้นอยู่ในแถบดินแดนเกาหลีเหนือ แต่ตอนนี้ เกาหลีใต้ได้แซงหน้าไปไกลแล้ว GDP ต่อหัวของ เกาหลีใต้นั้นมากกว่า เกาหลีเหนือกว่า 130 เท่า 

แม้ช่วงทศวรรษ 1950 นั้น เกาหลีใต้จะอยู่ในสภาพที่ยากจนที่สุด  ผลจากสงครามเกาหลี ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไร้บ้าน GDP ที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินต่ำกว่าหัวละ 100 เหรียญสหรัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐ การเมืองก็เต็มไปด้วยการคอรัปชั่น มองไม่เห็นอนาคตของเกาหลีในปัจจุบันได้เลยด้วยซ้ำ

จุดเปลี่ยนที่น่าสนใจของประเทศเกาหลีใต้ นั้น มาจากการที่ นายพลปาร์ค ซุงฮี ซึ่งได้ฉวยโอกาสจากสถานการณ์ย่ำแย่ดังกล่าว ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 16 พฤษภาคม 1961 และได้คิดริเริ่มวางแผนการในการที่จะทำให้ประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นประเทศร่ำรวยให้จงได้

แนวทางการบริหารแบบเผด็จการ มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่ได้รับเครดิตสำคัญในการชุบชีวิตเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เลยก็ว่าได้ ในช่วงยุค 1950 อันเลวร้ายนั้น เหล่านักธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลก่อนหน้า ต่างร่ำรวยขึ้นจากการกว้านซื้อทรัพย์สินที่เจ้าอาณานิคมญีปุ่นในยุคก่อนหน้าทิ้งไว้

นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้
นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้

และหนึ่งในบริษัทที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ บริษัทซัมซุงนั่นเอง โดย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้ง ซัมซุง เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเกาหลีใต้ช่วงทศวรรษ 1950 นายพลปาร์คนั้น ลีบยองซอล ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรงว่าเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่มิชอบ ซึ่งท่านนายพลปาร์คมองว่าเป็นทรัพย์สินของชาติ

แต่ ด้วยไหวพริบและความสามารถในการเจรจาของเขา จึงได้ยื่นข้อเสนอต่อนายพล ปาร์ค โดยจะบริจาค ทรัพย์สินส่วนใหญ่คืนให้กับประเทศ และจะชวนเหล่าผู้ประกอบการให้คล้อยตามแผนเศรษฐกิจที่ท่านนายพลปาร์คได้ร่างไว้

และนี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้นาย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้งซัมซุง ได้รับการแต่งตั้งจากนายพลปาร์คเป็นหัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมเกาหลี (Federation of Korean Industries) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่จนมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้

โดยนายพล ปาร์ค นั้นมุ่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 1962-1967 และเริ่มมีจำนวนบริษัทเอกชนที่ตบเท้าเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ คิม วูซุง ผู้ก่อตั้งบริษัท Daewoo ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น Daewoo เป็นบริษัทผลิตสิ่งทอ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนไปผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และเรือเดินสมุทร เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)
คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)

และเนื่องด้วยรัฐบาลนั้นมีเงินมากมายจากการอัดฉีดของต่างชาติที่นำโดยอเมริกา จึงได้เป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยถูกผ่านธนาคารแห่งชาติเกาหลี เพื่ออัดฉีดให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ได้ไปก่อร่างสร้างตัว

นายพลปาร์ค ที่ต่อมาได้กลายเป็นประธานาธิบดีปาร์ค นั้นได้เริ่มนโยบายที่จะส่งเสริมการส่งออก เพื่อให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้เรียนรู้ที่จะแข่งขันในระดับสากลได้ แต่ยังคงกำแพงภาษีไว้สูงเพื่อกีดกันการแข่งขันจากต่างชาติ เมื่อต้องแข่งขันในประเทศ ในขณะเดียวกันการส่งเสริมการส่งออกนั้นก็ช่วยให้บริษัทอย่างซัมซุงหรือแอลจี สามารถดำเนินการได้อยา่งมีประสิทธิภาพมีมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

ซึ่งเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้ ภายใต้การอัดฉีดเงินจากรัฐบาลด้วยดอกเบี้ยต่ำทำให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ถูกเรียกในภายหลังว่า แชโบล โดยใช้แนวคิดคล้าย ๆ กับระบบของประเทศญี่ปุ่น แต่แชโบล นั้นจะเน้นรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางมากกว่า และรัฐบาลจะรับหน้าที่จัดการเรื่องการเงินให้ โดยมีพี่ใหญ่อย่าง ประธานาธิบปาร์ค นั้นเป็นคนคอยคุมกระเป๋าเงินให้

กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล
กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล

ส่วนเรื่องการบริหารงานแบบ แชโบลนั้น ก็เป็นแนวคิดแบบภายในครอบครัวเป็นหลัก กล่าวคือ ลูกชายของประธานบริษัทจะค่อย ๆ ไต้เต้าขึ้นมาจากตำแหน่งล่าง ๆ จนได้รับโอกาสดูแลธุรกิจในเครือในที่สุด โดยทายาทที่มีผลงานดีที่สุดนั้น จะได้รับการสืบทอดตำแหน่งประธานของกลุ่มบริษัททั้งหมดต่อจากพ่อ ซึ่งแชโบลนั้นใช้รูปแบบนี้มาจวบจนถึงปัจจุบัน โดย แชโบลใหญ่ ๆ จะบริหารโดยสืบสายเลือดหรืออาจจะเป็นลูกเขยของเหล่าผู้ก่อตั้งแทบจะทั้งสิ้น 

ซึ่งมันทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีถูกครอบครองโดยยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันแบบเสรี มันไม่มีเกิดขึ้นในเกาหลีใต้ เหล่าแชโบลยักษ์ใหญ่มักจะแข่งขันอย่างหนักในตลาดต่างประเทศมากกว่า

แต่มันไม่ใช่ชาวเกาหลี ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก สินค้าแทบจะทุกอย่างในประเทศผลิตจากแชโบลยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นสินค้า copy จากต่างชาติ หรือ สินค้าที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์มาจากต่างชาติ

และมันทำให้อิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้นั้นครอบคลุมไปทั้งประเทศ ไม่มีวัฒนธรรมการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เมื่อเรียนจบเหล่านักศึกษาก็จะมุ่งเข้าหาบริษัทยักษ์ใหญ่ของแชโบลแทบจะทั้งสิ้น 

มันมีเพียงธุรกิจสมัยใหม่เท่านั้น ที่พอจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ เช่นธุรกิจทางด้าน internet ตัวอย่างเช่น NHN เจ้าของ Naver.com หรือ NCSoft บริษัทผลิตเกมส์ชื่อดัง ซึ่ง internet นั้นได้สร้างความเท่าเทียมทางการแข่งขันให้กับเหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ได้พอจะลืมตาอ้าปากได้บ้าง แต่พวกเขาก็ยังคงหลีกเลี่ยงธุรกิจที่จะต้องแข่งขันกับเหล่า แชโบล ยักษ์ใหญ่โดยตรงอยู่ดี

มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้
มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศเกาหลีใต้การผสานความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล กับเหล่าธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง แชโบลนั้น แม้ถ้ามองในปัจจุบันระบบแบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับรูปแบบเศรษฐกิจในยุคใหม่ แต่ผลลัพธ์ของเกาหลีใต้นั้นมันทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

มันช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ ตัวเลขการส่งออกถีบตัวขึ้นสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญ ในปี 1977 เป็นการเติบโตสูงถึง 100 เท่าหากเริ่มนับจากจุดเปลี่ยนครั้งครั้งสำคัญในปี 1964 ซึ่งแนวคิดหลักในการบริหารดังกล่าวนั้น มักจะเปิดให้มีการเล่นพรรคพวก และ เปิดช่องให้โกงแบบไม่น่าเกลียดจนเกินไป แต่มันเป็นวิธีแก้ปัญหาระดับชาติที่ได้ผล มันยกระดับชาติจากประเทศยากจน ที่แทบจะแตกสลายให้มาลุกขึ้นยืนได้สำเร็จ และมันถึงเวลาแล้วที่เกาหลีใต้จะวิ่งแซงประเทศอื่น ๆ ได้เสียที แล้ว วิธีการใด ที่ทำให้ เกาหลีใต้สามารถเร่งสปีดแซงหน้าประเทศต่าง ๆ กลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจได้อย่างในปัจจุบัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Fighting DNA

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : Rise of South Korea

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศเกาหลี ดินแดนที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ เปลี่ยนจากประเทศที่แทบจะยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกให้กลายมาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เทียบกับ ญี่ปุ่น , ยุโรป หรือแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาได้อย่างไร?

เทคโนโลยีจากประเทศเกาหลีใต้ แรกซึมอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ ไล่ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง เครื่องบิน หรือ เรือขนส่งขนาดยักษ์ ประเทศที่มีประชากรเพียง 50 ล้านคนแห่งนี้ บัดดนี้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ มี GDP ต่อหัวสูงอันดับต้น ๆ ของโลก Blog Series ชุดนี้ จะพาไปทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับประเทศเกาหลี ที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนยังไม่รู้

ในขณะที่เทียบกับประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่าง สิงคโปร์ หรือ จีน ที่เป็นระบอบผสมผสานระหว่าง อำนาจนิยม (การควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จจากรัฐบาล) และ ทุนนิยม แต่ เกาหลีใต้นั้น ไม่ได้ใส่ใจแค่เรื่องความมั่งคั่งร่ำรวยเพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังยึดหลักประชาธิปไตย และสิทธิพลเมืองอีกด้วย ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่จะสามารถก้าวมาได้ไกลถึงขนาดนี้

หนังสือ Korea The Imppossible Country
หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

โดยข้อมูลที่มาจะมาจาก 2 แหล่งหลักคือ Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch และ หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor ที่แปลโดยคุณ ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ฝากติดตามกันด้วยน้า

–> อ่านตอนที่ 1 : Foundation

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

หนังสือ มหัศจรรย์เกาหลี : จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ผู้เขียน Daniel Tudor (แดเนียล ทิวดอร์)
ผู้แปล ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ

หนังสือ Samsung’s Way วิถีแห่งผู้ชนะ
ผู้เขียน John Hyungjin Moon (จอห์น ฮยองจิน มุน)
ผู้แปล ภัททิรา จิตต์เกษม

Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch

Netflix Documentary : Explained ( K- Pop )

en.wikipedia.org/wiki/South_Korea