Digital Music War ตอนที่ 3 : iPod was Born

MP3 เป็นผลงานการคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันกลุ่มหนึ่งในปี 1987 คล้าย  ๆ กับการตัดไฟล์วีดีโอเพื่อให้เล่นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการตัดเอา data ที่ไม่จำเป็นออกมาให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ มันเป็นการนำ data ออกไปโดยที่ผู้ฟังไม่ทันสังเกตเห็น 

มันทำให้ไฟล์ที่ได้รับการตัดแต่งแล้วนั้น เป็นไฟล์ที่บรรจุข้อมูลน้อยที่สุด แต่ให้ผลแสดงออกมาที่เยี่ยมสมบูรณ์แบบเมื่อมนุษย์ ได้ยิน และ ได้ฟัง เป็นไฟล์ที่มีขนาดลดลงเหลือเพียง หนึ่งในสิบสองของไฟล์ต้นฉบับ ทำให้ลดจำนวนการเก็บข้อมูลได้มากโขเลยทีเดียว และมันกำลังรอคอยให้ จ๊อบส์ มาเพิ่มพูนคุณประโยชน์ให้กับมัน

โดยหลังจากเริ่มโครงการอย่างเป็นทางการ จ๊อบส์ ก็เข้ามาคลุกคลีด้วยทุกวัน จ๊อบส์ให้ concept หลักของ iPod คือ “ทำให้ง่ายเข้าไว้!” ทุกฟังก์ชัน ต้องทำได้ภายใน 3 click ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะบางครั้งทีมงาน ต้องพยายามแก้ไขปัญหาในส่วนของ User Interface แบบไม่ได้หลับไม่ได้นอน

แต่จ๊อบส์ก็พยายามหาจุดอ่อน ไปเรื่อย ๆ และให้ทีมงานไปคิดหาวิธีแก้มา ซึ่งบางครั้งทีมงานก็คิดไม่ออกว่าจะไปถึงสิ่งที่จ๊อบส์ต้องการได้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่บ้ามาก ๆ ในหลายเรื่องที่ทีมงานต้องมานั่งแก้ไขเพื่อให้จ๊อบส์นั้นพอใจ จนตอนนั้น มันทำให้ปัญหาเล็ก ๆ ต่าง ๆ แทบมลายหายไปเลยทีเดียว เพราะจ๊อบส์ จะเห็นรายละเอียดในทุก ๆ จุด และสั่งให้แก้ไขมันทันที

กระบวนการออกแบบ iPod นั้นเป็นการผสานความร่วมมือที่น่าทึ่ง การสร้างวงล้อเลื่อน ที่ ฟิล ชิลเลอร์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด เป็นคนผลักดันความคิดนี้ มันเป็น idea ที่สำคัญที่สุดของ iPod ที่ทำให้แตกต่างจากเครื่องเล่น MP3 อื่น ๆ ในตลาด

ชิลเลอร์ นั้นเสนอ ล้อกลม ๆ สำหรับใช้เลือกเพลง ( trackwheel ) แค่ใช้นิ้วโป้งหมุนวงล้อ ผู้ใช้จะสามารถเลือกเพลงใน Playlist ได้ ยิ่งหมุนนาน ก็ยิ่งไล่เพลงได้เร็วขึ้น ถึงจะมีเพลงเป็นร้อยเป็นพันเพลง ก็สามารถไล่ดูได้ง่าย ซึ่งไอเดียนี้ จ๊อบส์ร้องอุทาน “นั่นแหละใช่เลย!!!” แล้วสั่งให้ฟาเดลล์ กับทีมวิศวกร ลงมือทำทันที

ฟิล ชิลเลอร์ ผู้คิดคิ้น TrackWheel การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานรูปแบบใหม่
ฟิล ชิลเลอร์ ผู้คิดคิ้น TrackWheel การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานรูปแบบใหม่

ส่วนหน้าที่การออกแบบหลัก ๆ  ของส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของโจนาธาน ไอฟฟ์ หัวหน้านักออกแบบ Concept สำคัญของ ไอฟฟ์ ในการออกแบบ iPod คือ การกำจัดทิ้ง ดังนั้น iPod จึงไม่ได้รองรับการใช้งานคลื่นเอฟเอ็ม bluetooth หรือ แม้กระทั่ง WIFI ทีมของ ไอฟฟ์ มุ่งเน้นให้ iPod รองรับประสบการณ์ที่ดีที่สุดของผู้ใช้งานเป็นหลัก

แม้การออกแบบจะดูดีมากแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ กระบวนการผลิตมัน ต้องสามารถรอบรับการผลิตในทางวิศวกรรมได้ มันเป็นงานที่ยากมาก ๆ ให้ Design มาบรรจบกับหลักการทางวิศวกรรม ที่รองรับการผลิตจำนวนมาก ๆ ได้

สิ่งหนึ่งที่ ไอฟฟ์ ยึดถืออย่างมั่นคง ก็คือ ต้องไม่มีช่องว่างที่โครงสร้างด้านนอกของตัวอุปกรณ์ ไม่มีแผงใส่แบตเตอรี่ที่ถอดเปลี่ยนได้ และไม่เหลือที่ว่างใด ๆ ไอฟฟ์ ต้องการอุปกรณ์ที่หารอยต่อแทบไม่เจอ

สิ่งเดียวที่ไอฟฟ์ ยอมให้มีคือ แผ่นพลาสติกที่ดึงเปิดขึ้นมาได้ ซึ่งครอบจุดเชื่อมต่อ FireWire ด้านบนไว้ เพื่อให้ผิวสัมผัสของโลหะบริเวณนั้น ดูสะอาดอยู่เสมอนั่นเอง เขาเรียกร้องว่า จะต้องผลิตหูฟังทั้งแบบสวมหัวและแบบใส่เข้าไปในหูที่เป็นสีขาว เพื่อให้เข้ากับด้านหน้าของ iPod

แม้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นก็ตาม ทำให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นกับหัวหน้าฝ่ายฮาร์ดแวร์อย่าง รูบินสไตน์หลายครั้ง ซึ่งมองเรื่องโครงสร้างทางวิศวกรรมและเรื่องต้นทุนเป็นหลัก  และเป็นผู้รับผิดชอบบสูงสุดในการนำแบบของไอฟฟ์ไปผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริง ๆ ให้ได้ แต่เนื่องจากจ๊อบส์กับไอฟฟ์ กลายเป็นคู่หูรู้ใจ เพราะฉะนั้น จ๊อบส์จึงสนับสนุนแนวคิดของ ไอฟฟ์แบบเต็มที่ แม้จะทำให้หัวทีมฮาร์ดแวร์อย่าง รูบินสไตน์ หงุดหงิดก็ตาม

จ๊อบส์ เผยโฉมเครื่อง iPod ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจนเป็นแบบฉบับของตัวเอง ในบัตรเชิญที่ส่งไปยังสื่อ นั้น มีข้อความยั่วยวนว่า “คำใบ้: คราวนี้ไม่ใช่ Mac” 

และเมื่อถึงเวลาเผยโฉมผลิตภัณฑ์ หลังจากบรรยายสมรรถนะทางเทคนิคแล้วจ๊อบส์ไม่ได้เดินไปเปิดผ้าคลุมกำมะหยี่บนโต๊ะ อย่างที่เคยทำในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ apple แต่เขาแค่พูดขึ้นว่า “ผมบังเอิญมีเจ้านี่อยู่ในกระเป๋า” เขาล้วงเอาอุปกรณ์สีขาววาววับออกจากกระเป๋ากางเกงยีนส์ “เจ้าเครื่องเล็ก ๆ น่าทึ่งนี่ จุเพลงได้ 1,000 เพลง และใส่กระเป๋าผมได้พอดี” เขาใส่มันกลับเข้าไปในกระเป๋า แล้วเดินลงจากเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือเกรียวกราวจากเหล่าสาวก

iPod ได้กลายมาเป็นแก่นสำคัญของทุกอย่างที่ apple ถูกชะตาได้กำหนดมาแล้ว ทั้งบทกวี ที่เชื่อมโยงกับวิศวกรรม ศิลปะ และ ความคิดสร้างสรรค์ มาบรรจบกับเทคโนโลยี การออกแบบที่กล้าแต่เรียบง่าย การใช้งานที่ง่ายมาก ๆ ซึ่งมันเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก และทำอย่างบูรณาการตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่ FireWire ถึงตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ และการจัดการคอนเทนต์ เมื่อลูกค้าหยิบเครื่อง iPod ออกจากกล่อง มันสวยจนดูคล้ายเรืองแสงได้ เทียบกันแล้ว ดูเหมือนเครื่องเล่นเพลงยี่ห้ออื่น ๆ ถูกออกแบบและผลิตในดินแดนที่ล้าหลังเลยทีเดียว

ต้องยอมรับว่า ตอนนั้น iPod โครตที่จะสมบูรณ์แบบเลย มันแทบจะสุดยอดนวัตกรรมใหม่ ที่คนทั่วโลกต่างตื่นเต้นกับเจ้า iPod เครื่องนี้ และเพียงไม่นาน ผู้บริโภคก็ทำให้มันกลายเป็นสินค้าขายดี 

เมื่องาน Design และวิศวกรรมมาบรรจบกันอย่างลงตัว ทำให้ iPod กลายเป็นสินค้าฮิตทันทีที่วางขาย
เมื่องาน Design และวิศวกรรมมาบรรจบกันอย่างลงตัว ทำให้ iPod กลายเป็นสินค้าฮิตทันทีที่วางขาย

และมันส่งผลชัดเจนในเรื่องตัวเลข  ยอดขายในไตรมาสแรก หลังจากวางตลาดนั้นสูงถึง 250,000 เครื่อง และอีกสิบแปดเดือนต่อมา ยอดขายก็ทะยานเพิ่มขึ้นมากกว่า 800,000 เครื่อง ส่งผลให้ iPod เป็นเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกทันที

มาถึงตอนนี้ ต้องบอกว่า iPod ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ ปลุก Apple ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง และพร้อมจะก้าวเข้าไปท้าทายอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของ Microsoft อย่างเต็มตัว หลังจากพ่ายแพ้มาอย่างหมดรูปในศึกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การกลับมาของจ๊อบส์ในคำรบที่สองนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลง Apple จากบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ เข้าสู่ตลาดที่ใหญ่กว่าอย่าง Conssumer Product ที่มี iPod เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก แล้ว iPod จะพา Apple พลิกสถานการณ์กลับมายิ่งใหญ่ได้อย่างไร แล้ว Microsoft จะเอะใจกับความสำเร็จครั้งนี้ของ Apple หรือไม่ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : Digital Home


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube