Digital Music War ตอนที่ 4 : Digital Home

ต้องบอกว่า Microsoft นั้นเติบโตมากับผลิตภัณฑ์ที่เป็น Software ล้วน ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Microsoft Office ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักคอยผลิตเงินให้กับ Microsoft ในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ดี Microsoft นั้นก็ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ 

ในขณะที่ iPod ได้ทำการออกวางตลาดกลายเป็นสินค้ายอดฮิตไปแล้วนั้น แต่ทางฝั่ง Microsoft ก็ดูเหมือนจะยังไม่ได้สนใจมากนัก เหล่าผู้บริหารต่างมองว่า การดาวน์โหลดเพลงแบบดิจิตอล ที่ Apple กำลังจะทำนั้น เป็นเรื่องเล็กน้อยในธุรกิจของบริษัทดนตรีที่มียอดขาย CD ต่อปี ราว ๆ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในขณะนั้น

ซึ่งรูปแบบแนวคิดนั้น จะคล้ายคลึงกับ Apple แต่ Focus ไปที่ความบันเทิงในบ้านใน Concept ข อง ดิจิตอลโฮม โดยจะเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันผ่าน Software ของ Microsoft และตอนนั้น Microsoft ได้เปิดตลาดเครื่องเกมส์อย่าง Xbox ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยในปี 1998 วิศวกร 3 คนจากทีม DirectX ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ Kevin Bachus, Seamus Blackley, Ted Hase และผู้นำทีม DirectX ในเวลานั้นอย่าง Otto Berkes ร่วมทีมกันเพื่อทำการแกะแล็ปท็อปยี่ห้อ Dell เพื่อสร้างตัวต้นแบบของเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานซอฟต์แวร์เป็นซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์

โดยทีมนี้หวังว่าจะสามารถสร้างเกมคอนโซลที่สามารถมีอาร์ดแวร์มาตรฐานเทียบเท่ากับเกมคอนโซลตัวถัดไปจาก Sony อย่าง Playstation 2 ซึ่งพวกเขาได้ดึงนักพัฒนาบางส่วนไปจากการพัฒนาเกมบน Windows

Microsoft ต้องการสร้างเครื่องเกมส์ให้ได้มาตรฐานเดียวกับ Playstation 2 ของ Sony
Microsoft ต้องการสร้างเครื่องเกมส์ให้ได้มาตรฐานเดียวกับ Playstation 2 ของ Sony

โดยหลังจากทำการประกอบเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ทีมนี้ได้เข้าไปพบกับ Ed Fries ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายธุรกิจเกมของ Microsoft ณ เวลานั้น เพื่อนำเสนอ “DirectX Box” ตัวต้นแบบ ซึ่งเป็นเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยี DirectX ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มของ Berkes โดยหลังจากได้เห็นผลิตภัณฑ์แล้ว Fries จึงได้ตัดสินใจสนับสนุนไอเดียของทีมที่จะสร้างเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานมาจาก Microsoft DirectX

ระหว่างการพัฒนา ชื่อเดิมของเกมคอนโซลเครื่องนี้อย่าง DirectX Box ถูกย่อให้เหลือเพียง “Xbox” ทั้งนี้ฝ่ายการตลาดของ Microsoft ไม่ได้ชอบชื่อนี้และพยายามเสนอชื่ออื่นขึ้นมาทดแทน ระหว่างการทดสอบในวงจำกัด ชื่อ “Xbox” นั้นเป็นหนึ่งในรายการชื่อที่เป็นไปได้ที่จะแสดงให้เห็นว่าชื่อนี้จะไม่เป็นที่นิยมต่อผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามภายหลังการทดสอบกลับพบว่าชื่อ “Xbox ” นั้นเป็นที่ต้องการมากกว่าชื่ออื่น ๆ ทำให้ชื่อ “Xbox”กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของผลิตภัณฑ์นี้

ในยุคที่เรียกได้ว่าเครื่องเล่นเกมส์ PlayStation ครองตลาดได้อย่างเหนียวแน่น Microsoft ก็ปล่อย Xbox ออกมาท้าชนกับทาง Sony ที่เป็นเจ้าตลาดในขณะนั้น  โดยได้เปิดตัวเครื่อง Xbox  อย่างเป็นทางการในปี 2002 ซึ่งถ้าเราเทียบด้านประสิทธิภาพนั้นถือว่ามีความใกล้เคียงกับ PS2 แต่เรื่องยอดขายนั้นกลับสู้เจ้าตลาดอย่าง Sony ไม่ได้เลย

บิลล์ เกตส์ เปิดตัว Microsoft Xbox รุ่นแรก ลุยสู่ธุรกิจบันเทิงแบบดิจิตอลเต็มตัว
บิลล์ เกตส์ เปิดตัว Microsoft Xbox รุ่นแรก ลุยสู่ธุรกิจบันเทิงแบบดิจิตอลเต็มตัว

Microsoft นั้นยอมขายเครื่องแบบขาดทุนด้วยซ้ำ แล้วมาเอากำไรจากค่าธรรมเนียมของผู้จำหน่ายเกมส์แทน ซึ่งคล้าย ๆ กับ Sony ที่การขายฮาร์ดแวร์ในธุรกิจเครื่องเล่นวีดีโอเกมนั้นจะขาดทุนอย่างแน่นอน เพราะกำไรมันอยู่ที่ Sofware ต่างหาก 

มันเป็นการวางกลยุทธ์ของทั้ง เกตส์ และ บอลเมอร์ ที่มีการวางให้ Microsoft มีการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีของ PC ซึ่ง เป็นการมองที่ขาดมาก เพราะ โลกนี้มีผู้บริโภคมากกว่าธุรกิจที่ Microsoft กำลัง Focus อยู่ และตลาดของผู้บริโภคเป็นตลาดที่ใหญ่โตมหาศาลกว่าตลาดธุรกิจมาก และทำการนำร่องโดยยอมขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ด้วย XBox

ทั้งเกตส์และ บอลเมอร์นั้น มองไปที่ตลาดที่เป็นการผสานการทำงานกัน ระหว่าง Hardware และ Software ที่อยู่รอบ ๆ บ้าน ซึ่ง Microsoft มองไปที่ใจกลางห้องนั่งเล่นของทุกบ้าน ต้องมี Service และ บริการของ Microsoft เป็นศูนย์กลาง คล้าย ๆ กับ แนวคิด ดิจิตอลฮับ ของ Apple นั่นเอง แต่ Microsoft นั้นจะโฟกัสไปที่ความบันเทิงภายในห้องนั่งเล่นมากกว่า ผ่านการนำร่องด้วย XBox

เมื่อเข้าสู่ยุคปี 2000 เราจะเห็นได้ว่า แนวคิดของ Microsoft และ Apple นั้นเริ่มเข้ามาคล้ายคลึงกันในเรื่องการปฏิวัติความบันเทิงแบบดิจิตอล โดย Apple นั้นเลือกดนตรี สร้าง iPod ขึ้นมาเพื่อเป็นสินค้า Consumer Product ส่วน Microsoft นั้นจะเน้นความบันเทิงภายในบ้านใน Concept ของ Digital Home และได้เลือกสร้างเครื่องเล่นวีดีโอเกมส์อย่าง Xbox ขึ้นมา แน่นอนว่ามันต้องมีการ Conflict เกิดขึ้นระหว่างสองยักษ์ใหญ่อย่างแน่นอน เพราะความคล้ายคลึงกันของวิสัยทัศน์ใหม่ในยุคหลังปี 2000 แล้วการปะทะกันจริง ๆ มันจะเกิดขึ้นตอนไหน เพราะต่างฝ่าย ต่างมองไปที่สินค้า Consumer Product เหมือน ๆ กัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Music Revolution


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube