Geek Story EP9 : How iPod Builds an Apple Empire (ตอนที่ 2)

การกลับมากุมบังเหียน Apple ในครั้งที่สองของสตีฟ จ๊อบส์ นั้น กำลังเปลี่ยน apple ไปอย่างสิ้นเชิง เขามาพร้อมกับไฟที่เต็มเปี่ยม ทั้งประสบการณ์จากความพลาดพลั้งที่ผ่านมา มันเป็นบทเรียนให้จ๊อบส์ จะไม่ทำพลาดอีกในคำรบที่สอง ครั้งนี้ จ๊อบ ได้รวบรวม ทีมงานที่มีคุณภาพในทุกด้าน

ทุกคนเป็นคนที่จ๊อบส์ คัดเลือกมากับมือ ที่พร้อมจะพา apple ทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่กลัวใครอีกต่อไปแล้ว จ๊อบส์ กำลังจะเปลี่ยนโลกอีกครั้ง และครั้งนี้ มันจะยิ่งใหญ่กว่าเดิมอย่างแน่นอน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/38krgS3

ฟังผ่าน Apple Podcast :   https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/357zlI8

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/343EaAC

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/cn9AKRv-WoE

Digital Music War ตอนที่ 3 : iPod was Born

MP3 เป็นผลงานการคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันกลุ่มหนึ่งในปี 1987 คล้าย  ๆ กับการตัดไฟล์วีดีโอเพื่อให้เล่นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการตัดเอา data ที่ไม่จำเป็นออกมาให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ มันเป็นการนำ data ออกไปโดยที่ผู้ฟังไม่ทันสังเกตเห็น 

มันทำให้ไฟล์ที่ได้รับการตัดแต่งแล้วนั้น เป็นไฟล์ที่บรรจุข้อมูลน้อยที่สุด แต่ให้ผลแสดงออกมาที่เยี่ยมสมบูรณ์แบบเมื่อมนุษย์ ได้ยิน และ ได้ฟัง เป็นไฟล์ที่มีขนาดลดลงเหลือเพียง หนึ่งในสิบสองของไฟล์ต้นฉบับ ทำให้ลดจำนวนการเก็บข้อมูลได้มากโขเลยทีเดียว และมันกำลังรอคอยให้ จ๊อบส์ มาเพิ่มพูนคุณประโยชน์ให้กับมัน

โดยหลังจากเริ่มโครงการอย่างเป็นทางการ จ๊อบส์ ก็เข้ามาคลุกคลีด้วยทุกวัน จ๊อบส์ให้ concept หลักของ iPod คือ “ทำให้ง่ายเข้าไว้!” ทุกฟังก์ชัน ต้องทำได้ภายใน 3 click ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะบางครั้งทีมงาน ต้องพยายามแก้ไขปัญหาในส่วนของ User Interface แบบไม่ได้หลับไม่ได้นอน

แต่จ๊อบส์ก็พยายามหาจุดอ่อน ไปเรื่อย ๆ และให้ทีมงานไปคิดหาวิธีแก้มา ซึ่งบางครั้งทีมงานก็คิดไม่ออกว่าจะไปถึงสิ่งที่จ๊อบส์ต้องการได้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่บ้ามาก ๆ ในหลายเรื่องที่ทีมงานต้องมานั่งแก้ไขเพื่อให้จ๊อบส์นั้นพอใจ จนตอนนั้น มันทำให้ปัญหาเล็ก ๆ ต่าง ๆ แทบมลายหายไปเลยทีเดียว เพราะจ๊อบส์ จะเห็นรายละเอียดในทุก ๆ จุด และสั่งให้แก้ไขมันทันที

กระบวนการออกแบบ iPod นั้นเป็นการผสานความร่วมมือที่น่าทึ่ง การสร้างวงล้อเลื่อน ที่ ฟิล ชิลเลอร์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด เป็นคนผลักดันความคิดนี้ มันเป็น idea ที่สำคัญที่สุดของ iPod ที่ทำให้แตกต่างจากเครื่องเล่น MP3 อื่น ๆ ในตลาด

ชิลเลอร์ นั้นเสนอ ล้อกลม ๆ สำหรับใช้เลือกเพลง ( trackwheel ) แค่ใช้นิ้วโป้งหมุนวงล้อ ผู้ใช้จะสามารถเลือกเพลงใน Playlist ได้ ยิ่งหมุนนาน ก็ยิ่งไล่เพลงได้เร็วขึ้น ถึงจะมีเพลงเป็นร้อยเป็นพันเพลง ก็สามารถไล่ดูได้ง่าย ซึ่งไอเดียนี้ จ๊อบส์ร้องอุทาน “นั่นแหละใช่เลย!!!” แล้วสั่งให้ฟาเดลล์ กับทีมวิศวกร ลงมือทำทันที

ฟิล ชิลเลอร์ ผู้คิดคิ้น TrackWheel การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานรูปแบบใหม่
ฟิล ชิลเลอร์ ผู้คิดคิ้น TrackWheel การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานรูปแบบใหม่

ส่วนหน้าที่การออกแบบหลัก ๆ  ของส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของโจนาธาน ไอฟฟ์ หัวหน้านักออกแบบ Concept สำคัญของ ไอฟฟ์ ในการออกแบบ iPod คือ การกำจัดทิ้ง ดังนั้น iPod จึงไม่ได้รองรับการใช้งานคลื่นเอฟเอ็ม bluetooth หรือ แม้กระทั่ง WIFI ทีมของ ไอฟฟ์ มุ่งเน้นให้ iPod รองรับประสบการณ์ที่ดีที่สุดของผู้ใช้งานเป็นหลัก

แม้การออกแบบจะดูดีมากแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ กระบวนการผลิตมัน ต้องสามารถรอบรับการผลิตในทางวิศวกรรมได้ มันเป็นงานที่ยากมาก ๆ ให้ Design มาบรรจบกับหลักการทางวิศวกรรม ที่รองรับการผลิตจำนวนมาก ๆ ได้

สิ่งหนึ่งที่ ไอฟฟ์ ยึดถืออย่างมั่นคง ก็คือ ต้องไม่มีช่องว่างที่โครงสร้างด้านนอกของตัวอุปกรณ์ ไม่มีแผงใส่แบตเตอรี่ที่ถอดเปลี่ยนได้ และไม่เหลือที่ว่างใด ๆ ไอฟฟ์ ต้องการอุปกรณ์ที่หารอยต่อแทบไม่เจอ

สิ่งเดียวที่ไอฟฟ์ ยอมให้มีคือ แผ่นพลาสติกที่ดึงเปิดขึ้นมาได้ ซึ่งครอบจุดเชื่อมต่อ FireWire ด้านบนไว้ เพื่อให้ผิวสัมผัสของโลหะบริเวณนั้น ดูสะอาดอยู่เสมอนั่นเอง เขาเรียกร้องว่า จะต้องผลิตหูฟังทั้งแบบสวมหัวและแบบใส่เข้าไปในหูที่เป็นสีขาว เพื่อให้เข้ากับด้านหน้าของ iPod

แม้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นก็ตาม ทำให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นกับหัวหน้าฝ่ายฮาร์ดแวร์อย่าง รูบินสไตน์หลายครั้ง ซึ่งมองเรื่องโครงสร้างทางวิศวกรรมและเรื่องต้นทุนเป็นหลัก  และเป็นผู้รับผิดชอบบสูงสุดในการนำแบบของไอฟฟ์ไปผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริง ๆ ให้ได้ แต่เนื่องจากจ๊อบส์กับไอฟฟ์ กลายเป็นคู่หูรู้ใจ เพราะฉะนั้น จ๊อบส์จึงสนับสนุนแนวคิดของ ไอฟฟ์แบบเต็มที่ แม้จะทำให้หัวทีมฮาร์ดแวร์อย่าง รูบินสไตน์ หงุดหงิดก็ตาม

จ๊อบส์ เผยโฉมเครื่อง iPod ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจนเป็นแบบฉบับของตัวเอง ในบัตรเชิญที่ส่งไปยังสื่อ นั้น มีข้อความยั่วยวนว่า “คำใบ้: คราวนี้ไม่ใช่ Mac” 

และเมื่อถึงเวลาเผยโฉมผลิตภัณฑ์ หลังจากบรรยายสมรรถนะทางเทคนิคแล้วจ๊อบส์ไม่ได้เดินไปเปิดผ้าคลุมกำมะหยี่บนโต๊ะ อย่างที่เคยทำในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ apple แต่เขาแค่พูดขึ้นว่า “ผมบังเอิญมีเจ้านี่อยู่ในกระเป๋า” เขาล้วงเอาอุปกรณ์สีขาววาววับออกจากกระเป๋ากางเกงยีนส์ “เจ้าเครื่องเล็ก ๆ น่าทึ่งนี่ จุเพลงได้ 1,000 เพลง และใส่กระเป๋าผมได้พอดี” เขาใส่มันกลับเข้าไปในกระเป๋า แล้วเดินลงจากเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือเกรียวกราวจากเหล่าสาวก

iPod ได้กลายมาเป็นแก่นสำคัญของทุกอย่างที่ apple ถูกชะตาได้กำหนดมาแล้ว ทั้งบทกวี ที่เชื่อมโยงกับวิศวกรรม ศิลปะ และ ความคิดสร้างสรรค์ มาบรรจบกับเทคโนโลยี การออกแบบที่กล้าแต่เรียบง่าย การใช้งานที่ง่ายมาก ๆ ซึ่งมันเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก และทำอย่างบูรณาการตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่ FireWire ถึงตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ และการจัดการคอนเทนต์ เมื่อลูกค้าหยิบเครื่อง iPod ออกจากกล่อง มันสวยจนดูคล้ายเรืองแสงได้ เทียบกันแล้ว ดูเหมือนเครื่องเล่นเพลงยี่ห้ออื่น ๆ ถูกออกแบบและผลิตในดินแดนที่ล้าหลังเลยทีเดียว

ต้องยอมรับว่า ตอนนั้น iPod โครตที่จะสมบูรณ์แบบเลย มันแทบจะสุดยอดนวัตกรรมใหม่ ที่คนทั่วโลกต่างตื่นเต้นกับเจ้า iPod เครื่องนี้ และเพียงไม่นาน ผู้บริโภคก็ทำให้มันกลายเป็นสินค้าขายดี 

เมื่องาน Design และวิศวกรรมมาบรรจบกันอย่างลงตัว ทำให้ iPod กลายเป็นสินค้าฮิตทันทีที่วางขาย
เมื่องาน Design และวิศวกรรมมาบรรจบกันอย่างลงตัว ทำให้ iPod กลายเป็นสินค้าฮิตทันทีที่วางขาย

และมันส่งผลชัดเจนในเรื่องตัวเลข  ยอดขายในไตรมาสแรก หลังจากวางตลาดนั้นสูงถึง 250,000 เครื่อง และอีกสิบแปดเดือนต่อมา ยอดขายก็ทะยานเพิ่มขึ้นมากกว่า 800,000 เครื่อง ส่งผลให้ iPod เป็นเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกทันที

มาถึงตอนนี้ ต้องบอกว่า iPod ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ ปลุก Apple ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง และพร้อมจะก้าวเข้าไปท้าทายอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของ Microsoft อย่างเต็มตัว หลังจากพ่ายแพ้มาอย่างหมดรูปในศึกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การกลับมาของจ๊อบส์ในคำรบที่สองนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลง Apple จากบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ เข้าสู่ตลาดที่ใหญ่กว่าอย่าง Conssumer Product ที่มี iPod เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก แล้ว iPod จะพา Apple พลิกสถานการณ์กลับมายิ่งใหญ่ได้อย่างไร แล้ว Microsoft จะเอะใจกับความสำเร็จครั้งนี้ของ Apple หรือไม่ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : Digital Home

Apple and the end of the genius

ในฐานะที่เป็นข่าวเกี่ยวกับ Jony Ive ที่กำลังจะจากลาจากแอปเปิ้ล เราจะเห็นผู้คนจำนวนมากเริ่มแสดงความกังวลในยุคต่อไปที่จะไม่มี Ive  และสิ่งต่อไปที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เพราะ Ive เป็นคนที่มีอิทธิพลอย่างน่าทึ่ง เขาเป็นผู้ผลักดันการออกแบบ ไม่เพียงแต่สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Apple เพียงเท่านั้นแต่สำหรับทั้งอุตสาหกรรมโดยรวม บุคคลเดียวที่สามารถอ้างถึงชื่อเสียงและอิทธิพลในระดับเดียวกันได้นี้คือสตีฟ จ็อบส์เพียงเท่านั้น

แม้มันจะน่ารำคาญที่จะใช้คำว่า “ยุค” แต่นั่นคือคำที่ฟังดูไม่เพียงแค่จำเป็นสำหรับการพูดคุยเกี่ยวกับการออกแบบคอมพิวเตอร์ แต่มันก็เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งนี้ ดังนั้นด้วยการออกจาก Apple ของ Ive นั้นคงจะไม่เป็นคำพูดเกินเลยที่ว่า : ยุคของ 2 อัจฉริยะแห่ง Apple ได้สิ้นสุดลงแล้ว

แม้ว่า Apple อาจมีเรื่องราวที่ดีเกี่ยวกับการก่อตั้งขึ้นในโรงรถ แต่ตำนานการก่อตั้งที่แท้จริงของ Apple ก็คือตำนานแห่งอัจฉริยะทั้งสองไม่วาจะเป็น Jony Ive และ Steve Jobs   เมื่อตอนที่สตีฟ จ็อบส์ดูแลแอปเปิลเขาได้ทำสิ่งมหัศจรรย์มานับต่อนับทั้ง คอมพิวเตอร์ Apple, Mac , iPod, iPhone หรือแม้กระทั่ง iPad เองก็ตาม

หลังจากยุคสตีฟ จ็อบส์ ผู้ที่ขับเคลื่อน Apple จริง ๆ แทนที่นั้นก็ได้ถูกส่งไปที่ Jony Ive แม้เขาจะเงียบ ๆ แต่มันบ่งบอกได้ถึงสิ่งสำคัญสำหรับแนวคิดเกี่ยวกับ Apple ที่ผู้มีอำนาจเต็มอย่าง Ive ได้ทำการตัดสินใจคนเดียวในหลายเรื่อง ๆ  โดยไม่ยอมแพ้ในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพ รวมถึงรสนิยมของ Apple ที่ยังมีกลิ่นอายของความเป็น จ๊อบส์ อยู่ 

และแล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่สองอย่าง อย่างแรกคือมีคนสองคนเข้ามาแทนที่ Ive ไม่ใช่เพียงแค่หนึ่งคนเท่านั้น และเรื่องที่สอง: Ive นั้นได้ถูกปรับให้รายงานไปยัง COO ไม่ใช่โดยตรงต่อ Tim Cook อีกต่อไป นี่คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่ Steve Jobs ตั้ง Jony Ive ขึ้นมาเป็นคู่หูคนสำคัญของ Apple ยุคใหม่ โดย Jobs อธิบายบทบาทของ Ive ไว้ว่า :

“เขาไม่ใช่แค่นักออกแบบ นั่นเป็นเหตุผลที่เขาทำงานโดยตรงสำหรับผม เขามีพลังในการปฏิบัติงานมากกว่าใคร ๆ ใน Apple ยกเว้นผม ไม่มีใครบอกเขาได้ว่าจะต้องทำอะไร นั่นคือวิธีที่ผมมอบหมายให้ Ive ทำ”

ดูเหมือนว่า Apple ได้สูญเสียความเป็นผู้นำด้านการออกแบบ มีหลาย ๆ อย่างที่หลุดไปอย่างง่าย ๆ มันไม่ใช่ DNA แบบเดิมของการออกแบบเมื่อตอนที่ Jobs กับ Ive ทำงานด้วยกัน ตัวอย่างเช่น Apple Pencil  , iPhone และ iPad Smart Keyboard  และยังรวมถึงรีโมท Apple TV ที่ไม่ได้รัประหยัดพลังงานอย่างน่าประหลาด ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ในยุค Jobs คงไม่มีทางปล่อยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกมาขายอย่างแน่นอน

หลากหลายผลิตภัณฑ์ที่หากอยู่ในยุค Steve Jobs คงไม่มีทางได้ออกมาขายอย่างแน่นอน
หลากหลายผลิตภัณฑ์ที่หากอยู่ในยุค Steve Jobs คงไม่มีทางได้ออกมาขายอย่างแน่นอน

ซึ่งสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ Apple ยังไม่รู้สาเหตุของมัน แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเกิดจากการขาดการมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์เป็นหลักเหมือนในอดีต – ไม่มีเหล่าอัจฉริยะ ที่จะส่งสิ่งเหล่านี้กลับไปที่กระดานวาดภาพเมื่อพวกเขามองว่ามันยังไม่ดีพอ ตอนนี้ Apple มุ่งเน้นที่รูปแบบการใช้งานมากกว่าการทำสิ่งที่บางและสวยงามเหมือนในยุคก่อน ๆ  

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ของ Apple ไม่ได้ถูกกำหนดโดยบุคคลเดียวอีกต่อไป  รวมถึงตัว Ive เอก็ไม่ได้มีส่วนร่วมเหมือนที่เขาเคยเป็นในยุคของ Jobs

แม้ว่า Ive จะจากไป แต่เขาก็ยังคงร่วมงานกับ Apple อยู่ ที่สำคัญกว่านั้นทีมที่เขาเป็นผู้นำไม่ได้ย้ายไปไหน และจะไม่เปลี่ยนปรัชญาการออกแบบทั้งหมดในชั่วข้ามคืนอย่างแน่นอน อย่างน้อยที่สุด Apple มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าหลายปี ดังนั้นการออกแบบของ Ive จะอยู่กับเราไปอีกนาน

อย่างไรก็ตามการจากไปของเขาจะมีผลกระทบอย่างแท้จริง อย่างแรกไม่ใช่ปัญหาของ Apple แต่เป็นของเหล่าลูกค้าที่จงรักภักดีกับ Apple : เราควรหยุดคิดว่า Apple เป็นบริษัทที่แสดงออกถึงความเป็นอัจฉริยะของคน ๆ หนึ่ง เหมือนในอดีตอีกต่อไป

เมื่อพิจารณาการออกแบบบางอย่างของ Apple ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คำเดียวที่นึกได้คือ “การไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค” การสร้างผลิตภัณฑ์ในยุคของ Jobs นั้นทำสิ่งที่เป็นไม่ได้ ให้เป็นไปได้มากมาย แม้อุปสรรคจะมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิค หรือ ด้านดีไซต์ก็ตาม ทั้งคู่ Ive และ Jobs จะไม่ยอมปล่อยผ่าน พวกเขาสามารถผลักดันทีมงานให้รีดเอาศักยภาพที่มากที่สุดของทีมงานมาสร้างสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้นั่นเอง 

ดูเหมือนตอนนี้ จะถึงยุคสิ้นสุดของสองอัจฉริยะแห่ง Apple ผู้ฝากผลงานที่น่าทรงจำไว้มากมาย และเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีขึ้นผ่านนวัตกรรมต่าง ๆ ของพวกเขาทั้งสอง เราก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับ Apple ในยุคต่อไปที่ไร้สองอัจฉริยะอย่าง Jobs และ Ive?

References : 
https://www.theverge.com/2019/6/28/18870887/apple-jony-ive-design-genius-committee

เข้าสู่ Apple ยุคผลัดใบ เมื่อ Jony Ive เตรียมจากลา

Jony Ive ผู้นำด้านการออกแบบของ Apple กำลังจะออกจาก บริษัท ในปลายปีนี้หลังจากใช้เวลานานกว่าสองทศวรรษใน บริษัทจนทำให้ apple ยิ่งใหญ่ได้ถึงทุกวันนี้

Ive จะเริ่มธุรกิจออกแบบของตัวเองในนาม LoveFrom และเขาวางแผนที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Apple ในฐานะลูกค้าแทน ตามการรายงานของ Financial Times ซึ่งเป็นสื่อแรกที่รายงานข่าวการจากไปของเขา โดยทางApple ยังไม่ออกมาให้ความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ข่าวดังกล่าวสร้างความประหลาดใจเนื่องจาก Ive เป็นเสาหลักที่ยาวนานของ Apple ที่ช่วยบุกเบิกการออกแบบที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งใน บริษัท ที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลก – จาก iPhone ถึง iMac ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Ive ได้ดูแลงานออกแบบที่ Apple และการเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ชื่อว่า “spaceship”ในเมือง Cupertino รัฐแคลิฟอร์เนีย

“ หลังจากผ่านไปเกือบ 30 ปีและโครงการที่นับไม่ถ้วนผมภูมิใจในงานที่เราได้ทำเพื่อสร้างทีมงานออกแบบกระบวนการและวัฒนธรรมของ Apple  วันนี้ Apple มีความแข็งแกร่งแข็งแกร่งและมีความสามารถมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Apple เลยก็ว่าได้” Ive กล่าวในการแถลงบนเว็บไซต์ของ Apple

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ สำหรับรูปแบบธุรกิจที่เน้นฮาร์ดแวร์ในอดีตของ Apple  โดยเมื่อปีที่แล้วเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปีที่แอปเปิ้ลปรับลดการคาดการณ์รายได้ลง ; บริษัท บางส่วนของยอดขายฮาร์ดแวร์ที่ลดลงมาจากสงครามการค้าสหรัฐจีน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Apple มีความพยายามที่จะขยายช่องทางการหารายได้ของตนด้วยการเปิดตัวบริการใหม่ ๆ นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์หลักเช่น  วิดีโอสตรีมมิ่ง

โดยจะยังไม่มีตัวแทนที่ทันทีสำหรับ Jony Ive แต่ VP of industrial design อย่าง Evans Hankey และ VP of human interface design อย่าง Alan Dye จะมีการรายงานตรงไปที่ Apple COO Jeff Williams แทน

“ Jony เป็นบุคคลสำคัญในโลกการออกแบบและบทบาทของเขาในการฟื้นฟู Apple ตั้งแต่ iMac ที่ก้าวล้ำในปี 1998 สู่ iPhone และความทะเยอทะยานที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของ Apple Park   

Ive รายงานว่าจะให้ Apple เป็นลูกค้ารายแรกสำหรับกิจการใหม่ของเขาซึ่งเขามีเป้าหมายที่จะเริ่มมันในปี 2020

References : 
https://www.vox.com/recode/2019/6/27/18761773/jony-ive-design-legend-helped-create-iphone-leaving-apple?fbclid=IwAR3V3-J4MO2PtZuF6FYOvQ__pmWo020-tEOkkXtJZ59ekXJnT9zsPody0Hk

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 5 : Digital Hub

สถานการณ์ของ apple เริ่มกลับมาดูดีขึ้นอีกครั้ง หลังจากทำยอดขายได้ถล่มทลายจากผลิตภัณฑ์ตัวชูโรงตัวใหม่ อย่าง iMac ซึ่งเป็นผลงานการรังสรรค์ ที่ผสมผสานความงดงามด้านศิลปะ จาก ไอฟฟ์ และ โครงสร้างพื้นฐานทางวิศวกรรมที่แข็งแกร่ง ไร้ที่ติ จาก จ๊อบส์

การได้ ทิม คุก เข้ามาจัดการเรื่องซัพพลายเชน ของ apple ทำให้สถานการณ์ทางการเงินดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่าเพียงไม่กี่ปีที่จ๊อบส์ เข้ามาทำงานอย่างหนักเพื่อปรับเปลี่ยนหลาย ๆ อย่างใน apple ในรอบสองนี้ มันกำลังเริ่มเห็นผลลัพธ์ ทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ดี ซึ่งมันแสดงให้เห็นชัดเจนอย่างยิ่งในเรื่องตัวเลข ของรายได้ และ กำไรของบริษัท apple ที่รายงานต่อสาธารณะชน

ได้ทิม คุก keyman คนสำคัญมาช่วยด้านซัพพลายเชน และการผลิต
ได้ทิม คุก keyman คนสำคัญมาช่วยด้านซัพพลายเชน และการผลิต

และในทุก ๆ ปี จ๊อบส์ จะพาพนักงานที่มีความสำคัญที่สุดไปเข้าค่ายประชุม และพักผ่อนนอกสถานที่ร่วมกัน ซึ่งเขาเรียกงานนี้ว่า “The Top 100”  ซึ่งเหล่า 100 คนที่ได้ถูกคัดเลือกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริหารหรือวิศวกรหัวกะทิระดับแนวหน้าของ apple แทบจะทั้งสิ้น

ซึ่งการเข้าค่ายในทุก  ๆ ปี ก็จะมีการรวมหัวกันคิดว่า apple ควรจะทำอะไรเป็นลำดับถัดไป โดยให้มีการ ลิสต์ 10 หัวข้อที่ apple ควรจะทำต่อจากนี้คืออะไร?  แล้วให้ผู้บริหารและพนักงานหัวกะทิ เหล่านี้ ถกเถียงกัน โดยจ๊อบส์ จะคอยเป็นกรรมการ และยังคอยช่วยคัดกรองหัวข้อที่เขาคิดว่า “ไม่ได้เรื่อง” ออกไปทีละหัวข้อ และสุดท้าย มันจะเหลือเพียง 3 หัวข้อที่ทั้งหมดสรุปกันว่าน่าจะทำได้เท่านั้น

ก้าวเข้าสู่ปี 2001 Apple ก็สามารถที่จะกอบกู้ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทให้กลับมาฟื้นคืนชีพได้อีกครั้ง และตอนนี้มันถึงเวลาที่จะต้องคิดต่าง รายการลำดับต้น ๆ จากการเข้าค่าย “The Top 100” นั้น มันกำลังจะกลายเป็นโครงการลำดับถัดไปของ apple เพราะสถานการณ์ต่าง ๆ ในบริษัท เริ่มกลับมาอยู่ในภาวะปรกติแล้ว

ถึงเวลาที่ apple ต้องคิดต่าง เพื่อเข้าสู่ยุคใหม่
ถึงเวลาที่ apple ต้องคิดต่าง เพื่อเข้าสู่ยุคใหม่

ในขณะนั้น วงการเทคโนโลยี อยู่ในสภาวะ มืดมนเต็มที เกิดฟองสบู่ ดอทคอม ขึ้นในปี 2000 บริษัท it ใน ซิลิกอน วัลเลย์ โดยเฉพาะ startup หน้าใหม่ อยู่ในสภาวะล้มละลาย นักลงทุนเริ่มหนีหาย ตลาดหุ้น NASDAQ หล่นฮวบไปกว่า 50% จากยุคที่เคยเฟื่องฟูแบบสุด ๆ และมันถึงจุดอิ่มตัวของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว

Digital Hub

และจ๊อบส์ ก็ได้เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ โดย จะแปลงโฉม apple โดยทำการปรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้กลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมดิจิตอล หรือ “ดิจิตอลฮับ” มันจะปรับหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ให้คอยประสานงานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็น ดิจิตอล ตั้งแต่เครื่องเล่นเพลง กล้องวิดีโอ ไปจนถึง กล้องถ่ายรูป โดยให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นศูนย์กลาง ให้อุปกรณ์ต่างๆ  เหล่านี้เข้ามาเชื่อมต่อ

จ๊อบส์ เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ หลังจากบริษัทเริ่มกลับมาอยู่ในสภาวะปรกติ
จ๊อบส์ เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ หลังจากบริษัทเริ่มกลับมาอยู่ในสภาวะปรกติ

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จะกลายเป็นอุปกรณ์ ที่คอยจัดการเพลง แสดงภาพ วีดีโอ หรือ ข้อมูลทางดิจิตอลต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่จ๊อบส์ เรียกมันว่า “ไลฟ์สไตล์แบบดิจิตอล” ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญของ apple ในยุคต่อไป

apple นั้นจะไม่เป็นเพียงแค่บริษัทคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป โดยจ๊อบส์ ได้ตัดคำว่า คอมพิวเตอร์ ออกจากชื่อบริษัทด้วย โดยเครื่อง Mac นั้นจะผันตัวเองมาเป็นศูนย์กลางสำหรับอุปกรณ์ใหม่ ๆ อีกหลากหลาย รูปแบบ 

ให้ Mac เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ ดิจิตอลทั้งหลาย
ให้ Mac เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ ดิจิตอลทั้งหลาย

มันมีหลายสาเหตุ ที่ทำให้จ๊อบส์ นั้นสามารถมองเห็น และอ้าแขนรับยุคใหม่แห่งการปฏิวัติ ดิจิตัล ได้ดีกว่าคนอื่น ๆ จ๊อบมีทั้งส่วนประกอบของศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เขารักเสียงเพลง รูปภาพ วีดีโอ และยังรักคอมพิวเตอร์อีกด้วย

ซึ่งหัวใจของวิสัยทัศน์ใหม่ของจ๊อบส์ ในเรื่อง ดิจิตอลฮับ คือ การเป็นตัวเชื่อมความนิยมชมชอบที่เขามี กับ ความคิดสร้างสรรค์ทั้งทางศิลปะและงานวิศวกรรม ที่มีการหลอมรวมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

ในตอนท้ายของการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ทุก ๆ ครั้ง จ๊อบส์ จะฉายสไลด์ เป็นรูปจุดที่มีการบรรจบระหว่างความเป็น “ศิลปศาสตร์” กับ “เทคโนโลยี” และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงคิดเรื่องดิจิตอลฮับได้ก่อนใครเพื่อน และเขาจะกำลังจะนำพา apple ก้าวไปยังจุดนั้นให้ได้

และด้วยความที่จ๊อบส์ นั้นเป็นคนที่รักในความสมบูรณ์แบบ เขาจึงรู้ว่า ต้องมีการบูรณาการทุกแง่มุมของผลิตภัณฑ์ เข้าด้วยกัน ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ คอนเทนต์ และ การตลาด ซึ่งจะทำให้ apple เป็นฝ่ายได้เปรียบ ในโลกยุค ดิจิตอลฮับ เพราะ เขาสามารถ control ทุกอย่างได้ใน ecosystem ของเขา ข้อมูล หรือ คอนเทนต์ ในอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ จะถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ของ apple ได้อย่างแนบเนียนแบบไม่สะดุด

ซึ่งตอนนี้ มันถึงเวลาแล้ว ที่เขาจะต้อง ทุ่มเทหมดหน้าตัก กับวิสัยทัศน์ใหม่ดังกล่าว ฟองสบู่ดอตคอมที่แตกไป ทำให้บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ต้องเริ่มระมัดระวังในเรื่องการลงทุนกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งนี่เป็นช่องว่างที่สำคัญ ที่จะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสของบริษัทอย่าง apple

เน้นทุ่มเทให้กับงานวิจัยและพัฒนา ในช่วงวิกฤต เพื่อฉีกหนีคู่แข่ง
เน้นทุ่มเทให้กับงานวิจัยและพัฒนา ในช่วงวิกฤต เพื่อฉีกหนีคู่แข่ง

จ๊อบส์ จึงตัดสินใจที่จะใช้วิธีลงทุนตลอดระยะเวลาที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำในขณะนั้น  ในช่วงเวลาที่คู่แข่งต่าง ๆ กำลังเก็บตัวเงียบ เขาได้ทุ่มเงินให้กับงบในการวิจัย และพัฒนา ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมา และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมา apple ก็จะนำหน้าคู่แข่งไปไกลทันที ซึ่งจะเป็นที่มาของทศวรรษอันยิ่งใหญ่แห่งนวัตกรรมที่ยั่งยืนที่สุดของบริษัท apple ในยุคใหม่

ต้องบอกว่า มันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมากจริง ๆ สำหรับ apple ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ กำลังชะลอการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มันเป็นช่องว่างที่สำคัญ ที่จะทำให้ apple กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง และ นั่นเป็นที่มาของการสร้างนวัตกรรม ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความยิ่งใหญ่ของ apple ที่จะเกิดขึ้นในยุคหลังจากนั้น เพราะจ๊อบส์กำลังที่จะสร้าง อุปกรณ์เล่นเพลงแบบพกพา ที่ตอนนั้นแทบทุกยี่ห้อล้วนมีปัญหาใช้งานยาก และมี user interface ที่ซับซ้อน  แล้วจ๊อบส์นั้น จะสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาได้อย่างไร วิสัยทัศน์ เรื่อง ดิจิตอลฮับนั้น จะเปลี่ยนแปลง apple ไปได้แค่ไหน โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 6 : The Magical Port

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ