“น้ำดื่มสิงห์” จับมือแบรนด์แฟชั่นรักษ์โลก PIPATCHARA เนรมิตกระเป๋าจากฝาขวดน้ำดื่มสู่คอลเล็กชั่น White Balance สร้างมูลค่า ปลุกพลังผู้บริโภค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

“น้ำดื่มสิงห์” ได้ร่วมมือพันธมิตรอย่าง PIPATCHARA (ภิพัชรา) แบรนด์แฟชั่นรักษ์โลกสัญชาติไทย นำฝาขวดน้ำดื่มสิงห์ไปสร้างสรรค์เป็นกระเป๋าคอลเล็กชั่นใหม่ “INFINITUDE WHITE BALANCE” สร้างเอ็นเกจเมนต์กับผู้บริโภคด้านรักษ์โลกดูแลสิ่งแวดล้อม

นายธิติพร ธรรมาภิมุขกุล Chief Marketing Officer บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า “การทำตลาดของน้ำดื่มสิงห์ นอกจากให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้าด้วยมาตรฐานการผลิต และเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Smart Micro Filter ระบบกรองอัจฉริยะเพื่อให้ได้น้ำดื่มสิงห์ที่ใสสะอาดและคงแร่ธาตุที่ดีต่อร่างกาย

นอกจากนี้น้ำดื่มสิงห์ยังคงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการดูแลสังคมและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ในปีนี้น้ำดื่มสิงห์ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานแฟชั่นกับแบรนด์ “PIPATCHARA” ในงานเปิดตัวคอลเล็กชั่นใหม่ INFINITUDE WHITE BALANCE โดยนำฝาขวดน้ำสิงห์ PET สีขาวและสีฟ้า จากฉลากดีไซน์ Toy Story ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้เข้าสู่กระบวนการนำไปใช้ใหม่หรือ Up-Cycling ดีไซน์เป็นกระเป๋าคอลเล็กชั่นพิเศษที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ PIPATCHARA เพื่อเชิญชวนให้ผู้คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

สำหรับแบรนด์ PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นสัญชาติไทย ได้นำไอเดีย Sustainability มาผสมผสานกับไฮเอนด์แฟชั่น โดยเลือกใช้วัสดุที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยแบรนด์เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมไปทั่วโลกในการถัก Macrame โดยฝีมือของชาวบ้านในเขตภาคเหนือและใช้วัตถุดิบหลักในการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลกอย่าง Infinitude Collection ที่ทำจากขยะพลาสติกกำพร้าและขยะพลาสติกในครัวเรือนเกิดเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์

การร่วมงานกันระหว่างน้ำดื่มสิงห์และแบรนด์ PIPATCHARA ด้วยการนำฝาขวดน้ำดื่มสิงห์สีขาวและสีฟ้ามารังสรรค์แฟชั่นกระเป๋าในครั้งนี้ ยังตอกย้ำภาพลักษณ์น้ำดื่มสิงห์ในการเป็นแบรนด์สร้างแรงบันดาลใจ และปลุกพลังผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมรักษ์โลกของเรามากยิ่งขึ้น สำหรับกระเป๋า Infinitude Bag คอลเล็กชั่น White Balance ที่ทั้งสองแบรนด์ทำร่วมกันนี้ สามารถหาซื้อ ได้ที่ PIPATCHARA SHOP หรือช่องทางออนไลน์ที่ https://pipatchara.com/ 

Geek Daily EP210 : LLM in a Flash เมื่อลูกพี่ใหญ่อย่าง Apple เตรียมลุย AI สำหรับ Consumer เต็มตัว

“LLM in a Flash”‘ งานวิจัยชิ้นใหม่ของ Apple ได้เสนอแนวทางแก้ไขข้อจํากัดทางการคํานวณในปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปสู่การใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) อย่างมีประสิทธิภาพบนอุปกรณ์ที่มีหน่วยความจําจํากัด ซึ่งโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนแอปพลิเคชันเช่น ChatGPT ตอบกลับสิ่งที่ผู้ใช้ถาม แชทบอทและ LLM ทั่วไปทํางานอยู่ในศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีพลังการประมวลผลมากกว่า iPhone

บทความดังกล่าวตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม แต่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางหลัง Hugging Face ซึ่งเป็นเว็บยอดนิยมสําหรับนักวิจัย AI ใช้เผยแพร่ผลงาน เน้นไปยังบทความดังกล่าวในวันพุธที่ผ่านมา บทความนี้เป็นงานวิจัยที่สองของแอปเปิลด้าน Genearative AI ถัดจากการเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ในการทําให้โมเดลสร้างภาพ เช่น Stable Diffusion ทํางานได้บนชิพที่ออกแบบเอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://tinyurl.com/2cxmkd4x

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
http://tinyurl.com/y49jb85z

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://tinyurl.com/555raupd

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
http://tinyurl.com/yc3km7au

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/pr6x_ddtqhg

Apple ที่เปลี่ยนไปกับเบื้องหลังการจากลาที่แสนเจ็บปวดของ Jony Ive’s

ในระหว่างปี 2001 ถึง 2010 Apple ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์พลิกโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น iPod, iPhone , iPad หรือ Macbook รุ่นต่าง ๆ ซึ่งในจำนวนนี้ต้องบอกว่า iPhone เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Apple จนขึ้นมาครองตำแหน่งเบอร์หนึ่งของโลก

มันเป็นการฉีกหนีคู่แข่งที่แทบจะไม่มีใครตามทัน ไม่ว่าจะเป็น iPod ที่พลิกอุตสาหกรรมเพลงแบบดิจิตอล iPhone ที่ปฏิวัติวงการมือถือ ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดในรอบศตวรรษเลยก็ว่าได้

มันทำให้ยักษ์ใหญ่ในอดีตในวงการมือถือล่มสลาย ไม่ว่าจะเป็น Nokia , Blackberry หรือแม้กระทั่ง Windows Phone ของ Microsoft ที่เป็นเจ้าตลาด smartphone ในยุคก่อนหน้า ก็แทบกระอักเลือด

แต่ Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง และถือเป็นจิตวิญญาณของ Apple ได้เสียชีวิตไปในปี 2011 โดยปล่อยให้บริษัทอยู่ในมือของ Jony Ive และ Tim Cook ที่เป็นทั้งมือขวาและมือซ้ายของ Steve Jobs ในยุครุ่งเรืองมาก่อนหน้านี้

ทั้งสองเรียกได้ว่ามีบทบาทที่สำคัญไม่แพ้กันในการสร้างอาณาจักร Apple ในยุค Steve Jobs ให้ยิ่งใหญ่มาจวบจนถึงวันนี้ ฝั่งหนึ่งเป็นศิลปินชั้นยอด งานออกแบบที่เหนือกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรมในยุคนั้น สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ Apple อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน

อีกฝั่งเรียกได้ว่าเป็นมือ Operation ชั้นยอด บริหารซัพพลายเชน ลดต้นทุนสินค้า สร้างกระบวนการผลิตที่่สามารถรองรับการขยายกิจการของ Apple ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ไว้วางใจอันดับหนึ่งของ Steve Jobs

และในวันหนึ่งหลังการจากไปของ Steve Jobs ทั้งคู่ต้องมาทำงานด้วยกัน โดยไม่มีคนกลางอย่าง Steve Jobs คอย balance ในเรื่องศาสตร์ และ ศิลป์ อีกต่อไป

ต้องบอกว่าความสมบูรณ์แบบไม่เพียงพอที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมได้ หลังการเสียชีวิตของ Jobs สถานการณ์ของ Apple ยังไม่มีความแน่นอนว่า Next Big Thing จะเป็นอย่างไร จะเป็นระบบอัตโนมัติในบ้าน อุปกรณ์ดูแลสุขภาพ รถยนต์ไร้คนขับ มีผลิตภัณฑ์มากมากได้ถูกสำรวจเพื่อเป็นฐานให้กับ Apple ในยุคต่อไป

Apple Watch กับจุดเริ่มต้นความแตกร้าว

Jony Ive ไม่ได้ต้องการให้ Apple Watch เป็นผลิตภัณฑ์เหมือนที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้ เขาต้องการให้ Apple Watch เป็นผลิตภัณฑ์ premium ความสมบูรณ์แบบ หนังสำหรับสายรัดข้อมือที่มาจากโรงงานฟอกหนังมาตรฐานสูงในยุโรป

การออกแบบรวมถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ต้องเป็นแบบ Premium ซึ่ง Ive เองร้องขอและอยากได้โลหะผสม 18 กะรัตใหม่ที่ทนทานเป็นสองเท่าของทองธรรมดา โดยเขาตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า Apple Watch จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่วิเศษสุด ๆ และราคาแพงเป็นพิเศษ

แต่เนื่องจาก Ive ถูกควบคุมในเรื่องต้นทุนต่าง ๆ มากว่าในยุคที่เขาร่วมพัฒนา iPhone กับ Steve Jobs นั่นทำให้ Apple Watch ได้กลายเป็นสินค้า Mass กลายเป็นสินค้าแฟชั่นเสียมากกว่าความตั้งใจของสิ่ง Ive อยากให้มันเป็น

Jony Ive ที่ต้องการให้ Apple Watch เป็นผลิตภัณฑ์แบบ Premium (CR: AppleInsider)
Jony Ive ที่ต้องการให้ Apple Watch เป็นผลิตภัณฑ์แบบ Premium (CR: AppleInsider)

แต่ก็ต้องบอกว่า ในขณะที่ Ive กำลังสนุกกับการสร้างสรรค์งานศิลปะชั้นยอดให้กับผลิตภัณฑ์ Apple แต่ Tim Cook ต้องเผชิญกับปัญหามากมาย เขาถูกเรียกไปสอบสวนในรัฐสภาในเรื่องภาษี เขาต้องขอโทษสำหรับความห่วยแตกของ Apple Map ในเวอร์ชั่นแรก ๆ

แต่สิ่งที่ทำให้พลิกสถานการณ์สำหรับตัว Cook น่าจะเป็นการที่เขาสามารถปิดดีลกับ China Mobile เพื่อขาย iPhone เข้าไปในตลาดที่ใหญ่มหาศาลอย่างประเทศจีนได้สำเร็จในปี 2014

และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการพุ่งทะยานของ Apple หลังยุค Steve Jobs ในปี 2018 Cook ได้กลายเป็นผู้นำคนแรกของบริษัทมหาชนที่มีมูลค่าถึงล้านล้านดอลลาร์ ก่อนจะพุ่งไปสูงถึง สองล้านล้าน และ สามล้านล้าน

การเปลี่ยนผ่านยุคสมัยสู่ Apple ยุค Tim Cook แบบเต็มตัว

Apple ในยุคทศวรรษที่ 2000 คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Ive นั้นมีอิทธิพลเหนือ Cook แต่ในยุคหลังปี 2010 มันได้กลับมาตกอยู่ในเงื้อมมือของ Cook แบบเต็มตัว สามารถจัดการทุกอย่างได้แบบเบ็ดเสร็จ แม้บริษัทจะลดทอนในเรื่องนวัตกรรม หรือคุณภาพผลิตภัณฑ์ลงไปบ้าง แต่โดยรวม บริษัทกำลังพุ่งทะยานไปข้างหน้าแบบฉุดไม่อยู่

บทบาทของ Ive ก็เริ่มลดลงทันที เริ่มมีการบีบรัดในเรื่องต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งมันขัดกับเรื่องงานศิลปะที่ Ive ต้องการ ทั้งเรื่องเวลาการปล่อยผลิตภัณฑ์ การบีบในเรื่องของต้นทุนของสินค้า เรียกว่าเป็นเส้นขนาดของความถนัดเรื่องศิลปะที่ Ive ต้องการให้ Apple เป็น

แต่ก็เป็นเรื่องน่าขำอย่างนึง ก็คือความจริงที่ว่าหลังจาก Steve Jobs เสียชีวิต Apple ไม่ได้ผลิตอุปกรณ์อื่นที่สำคัญเท่ากับ iPhone ออกมาอีกเลย

แต่ก็เป็นความจริงเช่นเดียวกันว่า Cook ไม่ได้สวมบทบาทเป็น CEO อย่างที่ Jobs ทำ ซึ่งก่อนที่จะขึ้นมารับตำแหน่ง CEO ของ Apple ก็มีแต่คนค่อนขอดว่าเขาไม่มีทางพา Apple ไปรอดได้ ซึ่ง Jobs เองก็เป็นคนตัดสินใจให้ Cook ขึ้นมารับตำแหน่งแทนเขา และคอยแนะนำ Cook เพียงแค่ว่า “แค่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง”

Jobs ที่คอยแนะนำ Cook เพียงแค่ว่า
Jobs ที่คอยแนะนำ Cook เพียงแค่ว่า “แค่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง” (CR:Executive Chronicles)

และด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่เปลี่ยนไป นั่นก็ทำให้ Ive เองรู้สึกเหนื่อย และอยากที่จะถอยออกจาก Apple แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะ Ive มีภาพลักษณ์ติดอยู่กับ Apple มานาน และอาจจะส่งผลต่อราคาหุ้นของ Apple ได้ หากเขาออกไป

Ive จึงเริ่มต้นด้วยการเฟสตัวเองออกไป ลดความรับผิดชอบในเรื่องงานรายวัน และจะทำงานกับผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นหลัก โดยจะทำงานแบบกึ่ง ๆ พาร์ตไทม์แทน

แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่ Ive จะทำเช่นนั้นเนื่องจากความผูกพันธ์ที่มีมานานแสนนาน สุดท้ายเขาก็ไม่สามารถที่จะตัดสินใจอะไรที่ดูเหมือนเขาเป็นคนไร้บทบาทได้อีกต่อไป

และในที่สุด วันสุดท้ายของ Ive กับ Apple ก็มาถึง ในปลายเดือนมิถุนายน 2019 เขาได้เรียกทีมงานเข้ามาประชุมในโรงละครแห่งหนึ่งในเมืองซานฟรานซิสโก และฉายภาพยนตร์เรื่อง “Yesterday” ให้ทุกคนได้รับชม

ภาพยนตร์เรื่องนี้จินตนาการถึงโลกที่นักร้องนักแต่งเพลง ฟื้นจากอุตบัติเหตุและค้นพบว่าเขาเป็นคนเดียวในโลกที่จำวง The Beatles ได้ มันคือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งชั่วนิรันดร์ระหว่างเรื่องของศิลปะกับการหวังผลกำไรในโลกของธุรกิจอย่างที่ Apple กำลังเป็น

เมื่อฉายภาพยนตร์จบ Ive ก็ก้าวเข้ามาพูดต่อหน้าทีมงานออกแบบของเขาที่เข้ามารับชมภาพยนตร์ และเขาได้กล่าวว่า

“ศิลปะต้องการพื้นที่ที่เหมาะสม และการสนับสนุนเพื่อเติบโต และเมื่อคุณกลายเป็นคนที่สำคัญจริง ๆ สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง”

Ive มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ทีมงานที่เหลืออยู่ของเขาพยายามรักษาอัตลักษณ์และจิตวิญญาณของ Apple ไว้ให้ได้มากที่สุด เขาจะทำงานต่อในฐานะที่ปรึกษาโดยได้ไปเปิดบริษัทออกแบบอิสระส่วนตัวที่ชื่อว่า LoveFrom

ในวันต่อมา สุดท้ายในวันที่ 27 มิถุนายน 2019 Ive ก็ได้แยกทางกับ Apple อย่างเป็นทางการ นั่นทำให้พนักงานของ Apple ต่างช็อคกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุดองค์กรก็ต้องเดินหน้าต่อไป

บทสรุป

ต้องบอกว่าบริษัทต่าง ๆ สร้างประวัติศาสตร์ในแบบฉบับของตัวเองแม้จะเปลี่ยนผู้นำไปกี่คน องค์กรต้องเดินไปข้างหน้า สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจาก Steve Jobs จากไป มาถึงตอนนี้มันก็พิสูจน์ได้ว่า Cook คืออนาคตของ Apple ส่วน Ive นั้นคืออดีต

เมื่อทิศทางของบริษัทเปลี่ยนไป Apple กำลังมุ่งหน้าสู่ธุรกิจบริการ เช่น iCloud , Apple Music , App Store ที่สร้างขึ้นจาก Last Big Thing ที่ Cook สามารถปรับตัวได้อย่างยอดเยี่ยม

Cook ทำตามคำแนะนำของ Jobs และทำในสิ่งที่ถูกต้องสำหรับ Apple แต่อาจจะมองข้ามบุคคลสำคัญในอดีตอย่าง Ive ไปบ้าง แต่มันก็เป็นเรื่องธรรมดาสามัญมาก ๆ ของโลกธุรกิจ มันไม่ใช่โลกที่สวยงามในอุดมคติ เพราะมันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้บริษัทก้าวไปข้างหน้ากลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้ และทำให้พนักงานที่มีความสามารถมากที่สุดอย่าง Ive ประสบความสำเร็จในเวลาเดียวกันได้นั่นเองครับผม

References : หนังสือ After Steve: How Apple Became a Trillion-Dollar Company and Lost Its Soul โดย Tripp Mickle

Geek Story EP178 : Crash of the Titans จากความพร้อมสู่การพังทลายของ Windows Mobile โดย Microsoft

ต้องบอกว่าความล้มเหลวที่น่าเสียดายที่สุดของ Microsoft ในตลาดมือถือสมาร์ทโฟน ไม่ใช่การซื้อ Nokia แล้วมาสร้าง Windows Phone แต่อย่างใด

แต่ความล้มเหลวที่น่าเสียดายมาก ๆ ของ Microsoft ในธุรกิจนี้นั้นต้องยกให้กับ Windows Mobile ในยุคหนึ่งที่เรียกได้ว่าครองตลาดมือถือสมาร์ทโฟนได้เกือบจะสำเร็จแล้วแท้ๆ แถมยังใกล้เคียงที่จะครอบครองโลกของเราถัดจากยุค PC ไปได้อย่างเฉียดฉิวมาก ๆ ด้วย

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/4s3twrm9

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2s4zet9

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/ys8yjxeh

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/2mwaefwa

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/YS7-fLfj1Z4

ปลดแอก App Store เมื่อ Epic ได้รับชัยชนะทางกฎหมายครั้งสำคัญเหนือบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี

ต้องบอกว่าหนึ่งในเครื่องจักรทำเงินของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถควบคุม ecosystem โดยเฉพาะในระบบปฏิบัติการของมือถือสมาร์ทโฟนซึ่งตอนนี้เหลือเพียงแค่ Play Store ของ Google และ App Store ของ Apple เพียงเท่านั้น นั่นก็คือค่าคอมมิชชั่นที่สูงถึง 30%

ตามที่ Sensor Tower บริษัทที่ได้ทำการวิจัยในเรื่องดังกล่าว ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกใช้จ่ายเงินประมาณ 160 พันล้านดอลลาร์สำหรับการซื้อแอปในปีนี้ ซึ่งค่าคอมมิชชั่นที่ Google และ Apple ได้รับนั้นมีมูลค่าสูงถึง 5% ของรายได้รวมจากทุกธุรกิจของทั้ง Google และ Apple เลยทีเดียว

ในวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมาศาลแขวงของซานฟรานซิสโก คณะลูกขุนทั้ง 9 คนได้ตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า Play Store ของ Google เป็นการผูกขาดและบริษัทได้มีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน

ซึ่งต้องบอกว่าการถูกตัดสินความผิดครั้งนี้เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ครั้งสำคัญของยักษ์ใหญ่ด้าน Search Engine ซึ่งตอนนี้เรียกได้ว่าเจอมรสุมรุมเร้าที่กำลังพัวพันในการต่อสู้ทางกฎหมายอื่น ๆ ในเวลาเดียวกัน และผลการตัดสินครั้งนี้อาจเป็นการกำหนดนิยามใหม่สำหรับคำว่า “App Store”

สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ทั่วโลกทำงานบนระบบปฏิบัติการเพียงแค่ 2 ระบบ ไม่ iOS ของ Apple ก็เป็น Android ของ Google เพียงเท่านั้น

Store ของ Google อาจจะมีความแตกต่างจาก Apple อยู่บ้างเพราะมีการอนุญาตให้ App Store อื่นๆ นอกเหนือจาก Google Play Store เข้ามาใช้งานใน ecosystem ของพวกเขาได้ แต่ของ Apple นั้นผูกขาดแต่เพียงรายเดียว

ในปี 2020 Epic Games ซึ่งเป็นสตูดิโอเกมชื่อดัง ได้ขอให้ผู้เล่นใช้ระบบการชำระเงินของพวกเขาเองในการซื้อสินค้าในเกม “Fortnite” เกมยอดนิยมของพวกเขา

แนวคิดหลักคือการหลีกเลี่ยงการถูกตัดค่าธรรมเนียม 30% ที่ Apple และ Google มีการเรียกเก็บจากการซื้อแอปส่วนใหญ่ใน App Store ของพวกเขา นั่นทำให้ Fornite ถูกแบนเป็นระยะเวลาสั้นๆ ใน Store ทั้งสองแห่ง

Epic ได้ฟ้องร้องว่า Google กำลังกระทำการผูกขาดและไม่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันโดยมีการบรรลุข้อตกลงกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟน เช่น Samsung และ LG เพื่อให้ Play Store เป็น Store หลักของมือถือเหล่านี้

ซึ่งคณะลูกขุนไม่เชื่อว่าการป้องกันของ Google ที่ระบุว่ามีการแข่งขันอย่างดุเดือดกับทางฝั่ง Apple รวมถึงการปล่อยให้มี App Store อื่นๆ บนอุปกรณ์ของ Android ของตนเองเป็นข้ออ้างที่ฟังขึ้น

โดยทาง Epic หวังว่าผลการตัดสินในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าสองทศวรรษที่ศาลสหรัฐฯ ลงโทษบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ ว่ามีพฤติกรรมผูกขาด จะส่งผลดีต่อเหล่านักพัฒนาทั่วทุกมุมโลก

แต่สิ่งที่แปลกประหลาดมาก ๆ ในเคสนี้ก็คือคำตัดสินดังกล่าวกลับย้อนแย้งกับคำตัดสินในคดีที่คล้าย ๆ กันของ Epic กับ Apple ซึ่งคดีดังกล่าวสิ้นสุดลงในปี 2021 โดยฝั่ง Apple เอาชนะไปได้ 9 ใน 10 ประเด็น (มีเรื่องเดียวที่ Apple แพ้คือระบบการชำระเงินทางเลือก)

ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองคดีก็คือชะตากรรมของ Google นั้นถูกตัดสินโดยคณะลูกขุน ไม่ใช่ผู้พิพากษา ความคิดเห็นในสื่อสาธารณะหรือโลกโซเชียลมีเดียอาจมีผลกระทบต่อการตัดสิน ซึ่งสองในสามของชาวอเมริกันเองก็มองว่าบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้มีอำนาจมากเกินไป

ในขณะที่คณะลูกขุนเองก็อาจมีปัญหาในการทำความเข้าใจความแตกต่างของกฎหมายต่อต้านการผูกขาด

ในขณะเดียวกันก็มีมุมมองอีกฝ่ายหนึ่งที่มองว่า Google นั้นพยายามทำให้ซอฟต์แวร์มือถือของตนเองเปิดกว้างจนเกินไป ทุกคนสามารถใช้ source code ของ Android เพื่อสร้างระบบปฏิบัติการของตนเองได้ฟรี

ในทางตรงกันข้าม ลูกค้าและเหล่านักพัฒนาของ Apple ต่างรู้ว่า Apple ควบคุมทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งทำให้สิ่งที่ Apple ทำเป็นเรื่องที่อาจยอมรับได้ เพราะเหล่าผู้บริโภคมองว่า Apple มีความปลอดภัยกับพวกเขามากกว่า

คำตัดสินในครั้งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Google เพราะยังมีคดีค้างอยู่อีกสองคดีโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ทั้งเรื่องเครื่องมือค้นหาและ Browser ที่กลายเป็นค่าเริ่มต้นของอุปกรณ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งใน iPhone เองก็ตามที

เทรนด์ของโลกไปในทิศทางเดียวกันที่ต้องการปลดแอกจากการผูกขาดเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้บังคับให้ Apple และ Google เปิดใช้งานรูปแบบการชำระเงินทางเลือกอื่น ๆ หรือกฎหมายดิจิทัลใหม่ของสหภาพยุโรปก็มีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกัน

นั่นทำให้ต่อจากนี้เป็นต้นไปรูปแบบธุรกิจ App Store จะมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับเกมซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีผลประโยชน์มหาศาล

Microsoft ซึ่งเพิ่งเข้าซื้อกิจการ Activision-Blizzard มูลค่า 6.9 พันล้านดอลลาร์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสตูดิโอพัฒนาเกมรายใหญ่ของโลก กำลังวางแผนที่จะสร้าง App Store ของตัวเอง หรือเคสของ Epic ก็สร้างของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วน Riot Games ก็มีแนวโน้มที่จะเปิด Store ของตนเองเช่นเดียวกัน

บทสรุป

มันเป็นเคสที่น่าสนใจที่จะส่งผลต่อเหล่านักพัฒนาแอปทั่วโลกให้มีทางเลือกอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการชำระเงินที่ถูกผูกขาดจากเจ้าของระบบปฏิบัติการทั้ง Android ของ Google และ iOS ของ Apple มานานแสนนาน

บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในตอนนี้กำลังประสบพบเจอกับปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ กฎหมายเริ่มรู้เท่าทันพวกเขา หลังจากที่โกยเงินจากการผูกขาดเหล่านี้มานานแสนนาน

มันเป็นตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่าการออกแบบธุรกิจโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีนั้น ที่มักจะพยายามหาช่องโหว่ของกฎหมาย หรือกฎหมายที่ตามไม่ทัน ซึ่งหลายๆ แพลตฟอร์มก็ทำแบบนี้ ทั้งเรื่อง อีคอมเมิร์ซ การจัดส่งอาหาร บริการเรียกรถต่าง ๆ

และสิ่งที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกในตอนนี้ ก็คือการเริ่มเข้ามาจัดการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในสหภาพยุโรปที่เรียกได้ว่ายกเครื่องกฎหมายทางด้านดิจิทัลใหม่ทั้งหมด

เพราะฉะนั้นในอนาคต การประเมินมูลค่าแบบเว่อร์ ๆ เกินจริงของเหล่าบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งคิดจะเติบโตแบบร้อยเท่าพันเท่าเหมือนในอดีตนั้น มันคงไม่เป็นเรื่องง่ายอีกต่อไปนั่นเองครับผม

References :
https://www.economist.com/business/2023/12/14/what-googles-antitrust-defeat-means-for-the-app-economy
https://www.ft.com/content/a2ad4277-13a9-411e-ad59-230d5bea626c