จงฆ่าธุรกิจตัวเองซะ กับแนวทาง Disrupt ธุรกิจตัวเองของ Amazon สู่การก่อกำเนิดของ Kindle

การสร้างสิ่งใหม่ หรือ นวัตกรรมใหม่ ๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะกับบริษัทด้านเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง amazon เพราะเทคโนโลยีนั้นก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

การแข่งขันที่สำคัญของบริษัททางด้านเทคโนโลยีคือ ต้องแข่งกับเวลา และ นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ต้องออกมาจากบริษัท เพราะมีคู่แข่งมากหน้าหลายตาโดยเฉพาะใน ซิลิกอน วัลเลย์ ที่กำลังสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ ๆ ที่พร้อมจะมา disrupt บริษัทยักษ์ใหญ่ได้อยู่ตลอดเวลา

ฆ่าธุรกิจตัวเองซะ

ไม่มีใครรู้ว่า kindle มันเริ่มมาจากความคิดตอนไหน ของ เจฟฟ์ เบซอส แต่มันมีหนังสือเล่มนึงที่ เจฟฟ์ และ ผู้บริหาร amazon โหมอ่าน และ ถกเถียงกันอย่างเมามันในเรื่องกลยุทธ์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ หนังสือเล่าที่ว่าคือ The Innovator’s Delimma ที่เขียนขึ้นโดย เคลย์ทัน คริสเทนเซ็น อาจารย์มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด

เนื้อหาในหนังสือเป็นเรื่องที่กล่าวถึง เหตุผลที่บริษัทใหญ่หลายแห่งล้มเหลว ไม่ใช่เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ แต่เพราะลังเลจะโอรับตลาดใหม่ ซึ่งดูมีอนาคตที่อาจะทำลายธุรกิจดั้งเดิมของตน

อีกทั้งตลาดใหม่นั้นยังไม่อาจตอบสนองความจำเป็นที่ต้องเติบโตให้ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ  ตัวอย่างเช่น ไอบีเอ็ม ไม่ยอมเปลี่ยนจากเมนเฟรมเป็นมินิคอมพิวเตอร์

ซึ่งผู้เขียนนั้นได้ความเห็นว่า บริษัทที่สามารถแก้สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของนักนวัตกรรม (innovator’s dilemma) ได้ จะประสบความสำเร็จเมื่อสามารถตั้งหน่วยงานอิสระขึึ้นในองค์กรเพื่อให้มารับผิดชอบเรื่องการสร้างธุรกิจใหม่ และมีอิสระโดยการใช้เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด

The Innovator’s Delimma ที่เขียนขึ้นโดย เคลย์ทัน คริสเทนเซ็น อาจารย์มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด (CR:insider.co.uk)
The Innovator’s Delimma ที่เขียนขึ้นโดย เคลย์ทัน คริสเทนเซ็น อาจารย์มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด (CR:insider.co.uk)

และ วันหนึ่งในปี 2004 เจฟฟ์ ได้เรียก สตีฟ เคสเซล ผู้ที่เรียกได้ว่า จงรกภักดีต่อ เจฟฟ์ มากที่สุดคนหนึ่งใน amazon มารับหน้าที่นี้ ซึ่งตอนนั้น เคสเซล นั้นเป็นผู้ดูแลธุรกิจหนังสือของ amazon อยู่

แต่หน้าที่ใหม่ของเขาที่เจฟฟ์ นั้นมอบหมายให้คือไปคุมงานด้านดิจิตอลของ amazon ที่ตอนนั้นยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก  และหน้าที่สำคัญของ เคสเซล คือ “ฆ่าธุรกิจตัวเองซะ” คือทำยังไงก็ได้ให้ทุกคนที่ขายหนังสือปรกติตกงาน 

เคสเซล นั้นได้ตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาใหม่ใน amazon ในชื่อสุดเก๋ว่า Lab126 ซึ่งรวมรวมเอาวิศวกรสุดเจ๋ง และฉลาดเป็นกรดในซิลิกอน วัลเลย์เข้ามาทำงานด้วยกัน และต้องต่อสู้กับจินตนาการอันกว้างไกลไร้ขีดจำกัดของ เจฟฟ์ ซึ่งต้องการให้เครื่องอ่านอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหม่ ใช้งานได้ง่ายจนแม้แต่คุณยายก็ใช้งานเองได้

E-Ink เทคโนโลยีที่กำลังสุกงอม

ช่วงเดือนแรกมีการกำหนดแนวทางที่สำคัญ คือ การสำรวจเทคโนโลยีหน้าจอขาวดำที่กินไฟน้อย ที่ชื่อ E-Ink โดยการวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับ E-Ink เริ่มต้นที่ Media Lab ของ MIT ซึ่งได้มีการยื่นสิทธิบัตรดัังกล่าวครั้งแรกตั้งแต่ปี 1996

E-Ink เป็นเทคโนโลยีที่ทำงานได้ดีแม้จะอยู่ในแสงแดดจ้า และถนอมสายตามาก ซึ่งต่างจากระบบแอลซีดี และถือว่าเป็นโชคดีไม่ใช่น้อยสำหรับ amazon ที่เทคโนโลยีดังกล่าวนั้น บังเอิญสมบูรณ์พร้อมใช้งานพอดี หลังจากผ่านการพัฒนามานับทศวรรษ

ข้อดีของ E-Ink

  • จอแสดงผล e-ink ไม่ได้รีเฟรชหน้าจอตลอดเวลาเหมือนกับหน้าจอ LED และ LCD ทั่วไป ดังนั้น เมื่อมันปรากฏบนหน้าจอ มันจะมีความคงที่ 
  • การที่มันแทบไม่ต้องรีเฟรชมีข้อได้เปรียบอย่างมาก — ความต้องการแบตเตอรี่ต่ำมาก ดังนั้นการชาร์จจึงสามารถใช้งานได้นานหลายสัปดาห์หากใช้อย่างเหมาะสม
  • จอแสดงผล E-ink เนื่องจากเป็นไปได้ด้วยอนุภาคทางกายภาพ จึงมีลักษณะและความรู้สึกเหมือนพื้นผิวทางกายภาพเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ได้ผิวสัมผัสที่มีพื้นผิวคล้ายกับกระดาษ
  • เนื่องจากมันไม่ปล่อยแสงออกมาเอง หน้าจอจึงไม่ทำให้ปวดตาเหมือนกับจอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์
  • ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างเพียงพอ สามารถใช้งานได้โดยไม่มีแสงไฟ
เทคโนโลยี E-Ink สมบูรณ์พร้อมใช้งานพอดี หลังจากผ่านการพัฒนามานับทศวรรษ (CR:The Register)
เทคโนโลยี E-Ink สมบูรณ์พร้อมใช้งานพอดี หลังจากผ่านการพัฒนามานับทศวรรษ (CR:The Register)

โดยโปรเจคดังกล่าวมีการตั้งชื่อว่า Kindle ซึ่งจงใจใช้ความหมายของการเริ่มจุดไฟ ทั้งยังเป็นคำที่ใช้ได้ทั้งรูปคำนามและคำกริยา มันจึงเป็นชื่อแบรนด์ที่ทรงพลังอย่างมากต่อ amazon

ซึ่งการออกแบบ kindle นั้นเริ่มต้นด้วยการศึกษากายภาพของการอ่านอย่างแท้จริง เช่น วิธีที่คนพลิกหน้าหนังสือ และ ถือหนังสือไว้ในมือ  และพยายามจำแนกแยกแยะกระบวนการที่ไม่มีใครใส่ใจอย่างจริงจังมานานหลายร้อยปี

เจฟฟ์นั้นต้องการได้การออกแบบที่เรียบง่าย มีเอกลักษณ์ และที่สำคัญเจฟฟ์ ต้องการให้มันมีแป้นพิมพ์ เพราะในขณะนั้นแบล็คเบอร์รี่กำลังเป็นดาวรุ่งที่สำคัญของตลาดมือถือทำให้ลูกค้าติดการใช้งานแบบแป้นพิมพ์

แต่ตลอดการพัฒนาพบปัญหามากมายทั้งเรื่องการออกแบบตัวเครื่อง ปัญหาเรื่องจอ E-Ink เกิดปัญหาเรื่อง contrast ต่ำและหน้าจอสลัวเมื่อใช้งานบ่อย

ส่วนตัวชิปที่จะใช้ของ Intel ตระกูล XScale ได้ขายกิจการการส่วนดังกล่าวไปให้บริษัท Marvell รวมถึงการฟ้องร้องเรื่องเทคโนโลยีไร้สายระหว่าง ควอลคอมม์และบรอดคอม ที่ผลิตส่วนประกอบเซลลูลาร์เพื่อใช้ใน kindle ทำให้โครงการต้องเลื่อนการออกจำหน่ายออกไป

และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ amazon ต้องการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก ผู้เล่นในตลาดก่อนหน้าอย่าง ร็อกเกตบุ๊ค รวมถึงโซนี่รีดเดอร์ นั้นมีรายการหนังสือให้เลือกแสนจำกัด แทบจะไม่มีหนังสือให้อ่านสำหรับลูกค้ารายแรก ๆ

เป้าหมายของเจฟฟ์ คือ ต้องมีหนังสือดิจิตอลหนึ่งแสนเล่มโดยร้อยละ 90 ต้องเป็นหนังสือขายดีระดับ Best Seller ของ นิวยอร์กไทมส์ พร้อมให้ดาวน์โหลดเมื่อมีการวางจำหน่าย Kindle

และในที่สุดหลังจากความพยายามอยู่นานถึง 3 ปี Kindle ได้ออกวางขายครั้งแรกในปี 2007 โดยเครื่องรุ่นแรกนั้นสามารถที่จะเก็บหนังสือได้ถึง 200 เล่ม และมี หนังสืออีบุ๊คพร้อมขายถึง 90,000 เล่ม 

แต่ด้วยความที่ Kindle รุ่นแรกนั้นมีรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียด แถมราคาก็สูงถึง 400 เหรียญ ส่วนตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นราคาก็ไม่ต่ำเลย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10 เหรียญ เป็นการลดราคาจากหนังสือเล่มปรกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 

แต่ Kindle นั้นได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญ หลังจากออกวางขาย คำถามในหมู่สำนักพิมพ์ก็เปลี่ยนจากผู้คนอยากอ่านอีบุ๊กจริงหรือไม่ไปเป็นผู้คนยังอยากอ่านหนังสือกระดาษอยู่อีกหรือ ซึ่งเจฟฟ์มุ่งมั่นที่จะพลิกโฉมวงการหนังสือด้วย Kindle นวัตกรรมตัวใหม่ที่เขาสร้างมากับมือ

และในปี 2010 สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่บางแห่งก็มีรายได้จากการขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด ถึงแม้จะขายในราคาเพียงครึ่งนึงของหนังสือปกแข็งปรกติก็ตาม 

นั่นหมายความว่าหลังจาก Kindle ออกวางขายในตลาดได้เพียง 3 ปี หนังสือ 20% ของสำนักพิมพ์ล้วนอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทบจะทั้งสิ้น

Kindle ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การเป็น e-reader จริง ๆ เพียงเท่านั้น แต่ยังมีแอปสำหรับระบบปฏิบัติการมือถือทั่วไปทั้งหมดอีกด้วย ดังนั้น amazon จึงทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอีบุ๊กได้

นักอ่านตัวยงอาจจะซื้อเครื่อง Kindle ส่วนผู้ที่ไม่ได้ซื้อเครื่อง Kindle ก็สามารถดาวน์โหลดหนังสือบนโทรศัพท์ผ่านแอปได้ตลอดเวลา ซึ่งทำให้ amazon มีส่วนร่วมในตลาดอีบุ๊กในทุก ๆ ด้าน

แอปสำหรับระบบปฏิบัติการมือถือ ทำให้ Kindle ควบคุมตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จ (CR:iDownloadBlog)
แอปสำหรับระบบปฏิบัติการมือถือ ทำให้ Kindle ควบคุมตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จ (CR:iDownloadBlog)

เราจะเห็นได้ว่าเจฟฟ์ นั้นมองว่าอีบุ๊กมีความสำคัญต่ออนาคตของ amazon ประมาณ 3 ใน 4 ของ อีบุ๊กที่ขายได้ทั่วโลกนั้นล้วนมาจาก amazon แทบจะทั้งสิ้น

ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีคู่แข่ง เพราะมีแบรนด์อย่าง Nook , Koob จาก Sony และ Book หรืออื่นๆ อีกมากมาย แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้จักผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากนัก เพราะ amazon kindle แทบจะผูกขาดในตลาดนี้ และมันได้เริ่มเห็นผลแล้วว่านวัตกรรมที่เจฟฟ์สร้างมานั้น สามารถเปลี่ยนแปลง amazon ได้อย่างไร

แต่แม้ว่า Kindle นั้นจะเป็นสินค้าสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของเจฟฟ์ เบซอส ที่เคยนำเสนอมาแต่มันก็ไม่ใช่สินค้าเพียงชิ้นเดียว เพราะตัว เจฟฟ์ยังมีความทะเยอทะยานต่อไป และพยายามมองหาแนวทางใหม่ ๆ ในการทำเงินจากสินค้าที่จับต้องไม่ได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมาจวบจนถึงทุกวันนนี้ความทะเยอทะยานของเขายังคงไร้ขีดจำกัดอยู่เช่นเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย

References :
หนังสือ One Click:Jeff Bezos and the rise of amazon.com
เขียนโดย : Richard L.Brandt
แปลโดย : พรเลิศ อิฐฐ์,วิโรจน์ ภัทรทีปกรหนังสือ The everything store (Jeff Bezos and The Age of Amazon)
เขียนโดย : Brad Stone
https://medium.com/throughdesign/the-kindle-success-story-2a8090ac4e65
https://www.aboutamazon.eu/news/devices/the-inside-story-of-how-the-kindle-was-born
https://www.businessinsider.com/jeff-bezos-amazon-history-facts-2017-4

Trailblaze Mission (เทรลเบลซ์ มิสชั่น) พร้อมสร้างและสื่อสารตัวตนใหม่ บนภารกิจต่อยอดการเรียนรู้ และพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัลผ่านงานประชาสัมพันธ์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่างานพีอาร์ หรือการทำประชาสัมพันธ์องค์กรนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นมากกว่าเดิมถ้าหากจะทำธุรกิจในโลกยุคดิจิทัล เพราะทุกสิ่งเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วและงานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ยิ่งต้องมีความตื่นตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรถือเป็นหัวใจสำคัญ ที่ต้องอาศัยกลยุทธ์ที่รอบคอบ ต่อเนื่อง และรวดเร็วอยู่เสมอในการส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถสื่อสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จ

บริษัท Trailblaze Mission (เทรลเบลซ์ มิสชั่น) หรือ Trailblaze PR (เทรลเบลซ์ พีอาร์) หน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารชั้นนำในท้องถิ่น ที่ให้บริการด้านการสื่อสารแบบครบวงจร เปิดเผยว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายลง ธุรกิจไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ ต่างก็ปรับตัวอย่างรวดเร็ว

โดยเปลี่ยนวิธีคิด กลยุทธ์ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ โซลูชัน ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โควิด-19 ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งให้องค์กรปรับกลยุทธ์และลงทุนในด้านดิจิทัลมากขึ้น ผู้บริโภคเน้นการใช้งานออนไลน์และเทคโนโลยีมากขึ้น โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ที่มาทำลาย (Disrupt) รูปแบบธุรกิจแบบเดิม

ไม่ว่าจะเป็นการมาของ metaverse, ChatGDT, AI  และอื่น ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกกลยุทธ์หรือทุกเครื่องมือที่จะเหมาะกับทุกองค์กร องค์กรจึงต้องเลือกใช้มือให้เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายจริงๆ

ดังนั้น จึงต้องมองให้ขาดว่าจะปรับธุรกิจอย่างไรให้ไปรอดและเติบโตต่อได้ อย่างเช่น ธุรกิจต้องมีจุดขายมากขึ้น เน้นสร้างประสบการณ์ สื่อสารกับผู้บริโภคให้มากขึ้นและให้ตรงจุดความต้องการได้ทันที หลักๆ ธุรกิจต้องเข้าใจลูกค้า ต้องมีการปรับปรุงรูปแบบให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ๆ หากสามารถรู้ใจลูกค้ารายบุคคลยิ่งเป็นเรื่องที่ดี การทำ Digital Transformation คือกลยุทธ์ที่จะสามารถสร้างประสิทธิภาพใหม่ๆจากความสามารถของธุรกิจ

ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าการใช้งานหรือการรับบริการแบบเดิมๆ สามารถสร้างรูปแบบโมเดลทางธุรกิจหรือโมเดลการหารายได้ใหม่ๆ ที่เกิดจากการที่องค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน ยกตัวอย่าง การนำเอาดาต้ามาใช้งานเพื่อพัฒนารูปแบบบริการสำหรับลูกค้า ตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคจริง ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างถาวร 

ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ปัจจุบันถือเป็นเรื่องปกติที่ผู้ประกอบการร้านอาหาร จะมีการขายผ่านออนไลน์ด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการซื้อ นอกจากนั้นยังมี AI ที่เริ่มเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ ทั้งการจัดงานสัมมนา ประชุม หรืออีเวนต์ที่ปัจจุบันมีทั้งรูปแบบออฟไลน์และเผยแพร่ทางออนไลน์ควบคู่กัน เพื่อขยายการเข้าถึง เช่น การจัดประชุมสัมมนาที่โรงแรม

แต่ในขณะเดียวกันสามารถมอบประสบการณ์แบบไฮบริด Virtual Experience ในรูปแบบการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์หรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์มากขึ้นได้แบบเรียลไทม์ รวมถึง Podcast Radio Online หรือ Video Streaming เหล่านี้นักประชาสัมพันธ์เป็นผู้บุกเบิกและควรแนะนำองค์กรให้เป็นผู้ริเริ่มก่อนจึงได้เปรียบเพื่อดีไซน์ Digital Experience 

การสื่อสารจากองค์กรสู่ลูกค้ายังเป็นเรื่องที่สำคัญเสมอมาและมากกว่าเดิม เพราะการทำ PR ในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ไม่ใช่เพียงการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Release) แล้วส่งไปตามสื่อสำนักต่างๆ อีกต่อไป แต่ PR จะต้องรู้จักวิเคราะห์และใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงเรียนรู้สื่อใหม่ๆ พร้อมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์และวางกลยุทธ์ในระยะยาว

นอกจากนี้ นักประชาสัมพันธ์ยังต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่าง Customer Journey และบิ๊กดาต้ามากขึ้น เพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ลูกค้าจากการเก็บข้อมูลและสังเกตพฤติกรรม ทำให้สามารถเข้าใจลูกค้าได้อย่างแท้จริง เพราะดาต้าในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ได้ลึกถึงระดับอารมณ์และความรู้สึก การย่อยข้อมูลและเลือกใช้ข้อมูลให้ถูกจุดจึงสำคัญต่อการพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจให้เกิดขึ้นได้จริงและสามารถวัดผลได้ ตอบโจทย์แต่ละบุคคล และสร้างยอดขายต่อไปได้

Trailblaze PR (เทรลเบลซ์ พีอาร์) เชี่ยวชาญในการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจริงและมองเห็นเสียงตอบรับจริงของผู้บริโภคที่ถูกต้องแม่นยำ มาวิเคราะห์เพื่อจัดทำกลยุทธ์ PR  โดยพัฒนาเป็นแผนงานที่สอดรับกับภาพลักษณ์ที่ควรสร้าง รวมถึงสิ่งที่ผู้บริโภคมองหาอย่างแท้จริง การเติบโตของการใช้งานบิ๊กดาต้าทำให้ผู้บริโภคเริ่มมองว่าบิ๊กดาต้าไม่ใช่เรื่องไกลตัว และพวกเขาต้องการเรียนรู้ เข้าถึงดาต้า หรือบิ๊กดาต้ามากขึ้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมองหาบิ๊กดาต้าที่มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และย่อยง่ายผ่านช่องทางต่างๆ นี่คือโอกาสของแบรนด์ที่ปรับเปลี่ยนการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ ผ่านบิ๊กดาต้าถึงผู้บริโภค จากการสร้างสตอรี่และข้อมูลอินไซท์ที่มีประโยชน์เผยแพร่สู่สังคมในวงกว้าง และแตกต่างจากคู่แข่งได้ 

ปัจจุบันหลายๆ แบรนด์เริ่มอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันแบบเรียลไทม์อยู่ตลอดเวลา ศึกษาและติดตามแนวโน้ม (Trend) ใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการลูกค้า และปรับกลยุทธ์สื่อสารได้อย่างเหมาะสม องค์กรใช้กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ออฟไลน์ผนวกดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย

นอกจากนั้น องค์กรยังต้องมีความพร้อมในการประสานงานกับสื่อ และสื่อสารเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้งานที่ต้องอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี รวมถึงรูปแบบการสื่อสาร เช่น การสร้างสรรค์ Content,  Key Message ผ่านการเล่าเรื่องราวที่กระชับ ชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรและแบรนด์สินค้าได้ การสร้างคอนเท้นส์ปัจจุบันมีความ personalize มากขึ้นเช่นกัน

เพื่อให้สื่อสารได้อย่างตรงโจทย์และตรงกลุ่มเป้าหมาย จึงเกิดเป็นการผสมผสานระหว่างการทำประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการใช้สื่อออนไลน์ อาทิ โซเชียลมีเดีย อินฟลูเอนเซอร์ ฯลฯ ตลอดจนสื่อของตนเอง (Own Media) เช่น เว็บไซต์บริษัท, เพจ Facebook ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้โดยตรง เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การสร้างสรรค์คอนเท้นส์ผสมผสานกับรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น การอินโฟกราฟิกและคลิปวิดีโอ

สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มากยิ่งขึ้นจากการมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์สังคมปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบของคอนเท้นส์ จะมีความแตกต่างกันไปตามแพลตฟอร์ม นำเสนอเนื้อหาเรื่องอื่นที่สร้างสรรค์ มุมมองในเชิงบวก และเป็นประโยชน์ต่อสังคมในสถานการณ์ปัจจุบันได้ จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องมีเรื่องราวที่ดี มีคุณภาพมากพอที่คนจะให้ความสนใจ ติดตาม ตัดสินใจ ติดตามซ้ำ และ สร้างยอดขายซ้ำๆ ได้ในที่สุดอย่างยั่งยืน

การสื่อสารกับสาธารณะผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะโซเชียลมีเดียสามารถเป็นเครื่องมือในการโต้ตอบกับผู้คนจำนวนมากทั้งในแง่บวก และแง่ลบได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสาร นโยบาย มาตรการรองรับและสนับสนุนต่างๆ รวมถึงบรรทัดฐานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

ถือเป็นเรื่องที่ทางองค์กรต้องสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกถึงคุณค่าองค์กรในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมได้ เปิดโอกาสให้สังคม ผู้บริโภคและแบรนด์มีความเชื่อมถึงกันมากขึ้น เพื่อเป็นการความเชื่อมั่นและความผูกพันระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ 

ภารกิจ “เปลี่ยนโลก” นั้นไม่ใช่เรื่องที่เพ้อฝันอีกต่อไป ตราบใดที่องค์กรกำลังแสดงถึงคุณค่าและเป้าหมายของพวกเขา การพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กรในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งก็จริง แต่ในขณะเดียวกันต้องผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับความยั่งยืนที่แท้จริงเข้าไปด้วย เพราะผู้บริโภคต่างหันไปหาแบรนด์ที่รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้น มี empathy มากขึ้น เมื่อองค์กรนั้นมีทั้งความเข้าใจและใส่ใจ ผลที่จะสะท้อนกลับมา ย่อมเป็นผลเชิงบวกที่จะนำไปสู่ผลบวกทางธุรกิจอย่างแน่นอน