เบื้องหลังความเรียบง่าย กับวัฒนธรรมการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเป็นหลักของ Google

บางครั้งสิ่งที่เราเห็นว่ามันเป็นอะไรที่มีความเรียบง่ายแบบสุด ๆ ตัวอย่างเช่นหน้าแรกของ Google ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบสี ฟอนต์ หรือแม้กระทั่ง UX/UI ทั้งหมด แต่มันได้ถูกคิดค้นและตัดสินใจผ่านข้อมูลเป็นหลัก

เรื่องราวของการออกแบบโลโก้ Google ต้องย้อนกลับไปช่วงปี 2000 ที่ในตอนนั้น มาริสา เมเยอร์ เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์การค้นหา

เมเยอร์ เข้าร่วมงานกับ Google หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในปี 1999 ในตอนนั้น Google ยังเพิ่งตั้งไข่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครคิดว่าจะกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เหมือนอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้

เมเยอร์เริ่มต้นจากการเขียนโค้ดและดูแลทีมวิศวกรกลุ่มเล็ก ๆ โดยโฟกัสไปที่การพัฒนาและการออกแบบการค้นหาของ Google

แม้หัวใจเธอจะเป็นวิศวกรตัวยง แต่เมเยอร์มีบางสิ่งที่เพื่อนร่วมงานหลายคนไม่มีในช่วงแรก ๆ ในการทำงานที่ Google นั่นก็คือ ความเข้าใจในเรื่องสไตล์และการออกแบบ

หน้าจอ Google ที่เรียบง่ายที่เป็นบล็อกสีสันสดใสตัดกับพื้นหลังสีขาว เหมือนกับภาพพิมพ์ Marimekko ที่เคยแขวนไว้ในบ้านสมัยเด็กของเธอในเมืองวอซอ รัฐวิสคอนซิน หรือแม้กระทั่งเพนต์เฮาส์ในซานฟรานซิสโกของเธอเองก็มีความคล้ายกันแต่มีราคาแพงกว่าเท่านั้น

“เคยมีคนมาหาฉันที่อพาร์ทเมนต์แล้วพูดว่า ‘อพาร์ทเมนต์ของคุณดูเหมือน Google หรือ Google ดูเหมือนอพาร์ทเมนต์ของคุณหรือเปล่า”

ในฐานะรองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์การค้นหาและประสบการณ์ผู้ใช้งาน เมเยอร์ได้ผสมผสานรสนิยมส่วนตัวเข้ากับความสามารถในนการจัดการเจ้านายของเธออย่าง เซอร์เกย์ บริน และ ลาร์รี่ เพจ

นับตั้งแต่ร่วมงานกับ Google เธอได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ต่าง ๆ มากกว่า 100 รายการ ซึ่งหลายอย่างประสบความสำเร็จ เช่น Google News , Gmail และ Image Search เป็นต้น

ในเช้าวันหนึ่ง ผู้จัดการด้านซอฟต์แวร์และผู้บริหารจำนวนหนึ่งรวมตัวกันรอบโต๊ะยาวในอาคาร 43 ที่วิทยาเขตของ Google ใน Mountain View เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์ที่กำลังพัฒนา

เมเยอร์มาสายทีมแรกที่เตรียมนำเสนอพร้อมแล้ว หน้าเว็บสรุปรายงานความคืบหน้าพวกเขาฉายอยู่บนผนังสีขาวขนาดใหญ่

เมื่อเมเยอร์เข้ามาในห้องเพียงไม่กี่นาที ก็ได้เข้ามาขัดจังหวะการประชุมอย่างรวดเร็ว “ข้อความสีเทาบนพื้นเทานั้นอ่านยาก” เธอกล่าว “เราจะทำยังไงกับเรื่องนี้?”

“เราเปลี่ยนแปลงได้” ผู้จัดการทีมยอมรับ

ในระหว่างการนำเสนอครั้งถัดไป เมเยอร์รู้สึกไม่ประทับใจกับรูปแบบภาษาที่แสดงในหน้า Google Health ที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้แชร์ข้อมูลทางการแพทย์

“ฉันไม่ชอบคำว่า ‘เชิญ’ และ ‘ดู'” เธอกล่าว “สองคำนี้มันให้ความรู้สึกไม่เป็นทางการ”

“เราใช้คำว่า ‘เชิญ’ เพราะเป็นคำแสดงการกระทำ ดังนั้นผู้ใช้จึงรู้ว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” ผู้จัดการทีมระดับ Junior ตอบ

เมเยอร์ถึงกลับกลอกตา “มันไม่ใช่งานปาร์ตี้” เธอกล่าว

เมเยอร์ในการประชุมกับเหล่าทีมงาน Googler (CR:The New York Times)
เมเยอร์ในการประชุมกับเหล่าทีมงาน Googler (CR:The New York Times)

ซึ่งในท้ายที่สุดเมเยอร์ก็ให้แนวทางที่เป็นทิศทางเดียวกันกับเหล่าผู้จัดการเกี่ยวกับฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Google ในการนำเสนออื่น ๆ ในวันนั้น เธอกล่าวว่า แนวทางดังกล่าวที่เธอคอมเมนต์ไปนั้นได้รับการคิดค้นขึ้นจากการทดลองภายในมากมายเพื่อวัดความพึงพอใจของผู้ใช้

การเลือกเฉดสีน้ำเงิน

เหตุการณ์ที่สำคัญที่เมเยอร์ได้เข้ามาตัดสินใจครั้งสำคัญก็คือ เฉดสีในการออกแบบระหว่าง 2 สี ที่ทีมออกแบบได้ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับแถบเครื่องมือบนหน้าเว็บของ Google

เมเยอร์ได้ตัดสินใจโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยให้ทีมสร้างสีน้ำเงินขึ้นมา 40 เฉดสี โดยการทดสอบแบบ A/B Testing อย่างถี่ถ้วน ซึ่งมีการแบ่งผู้ใช้ google เป็น 40 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะทดสอบร้อยละ 2.5 ของสีน้ำเงินทั้ง 40 เฉดนั้น

โดยเมื่อกลุ่มทดลองเข้ามาใช้เว็บคนละวัน หรือคนละเวลา จะเจอสีที่แตกต่างกัน จากนั้นก็เฝ้าดูพฤติกรรมการคลิก และปฏิสัมพันธ์กับหน้าจอของโปรแกรม ซึ่งจะได้ผลข้อมูลทางสถิติที่แม่นยำและละเอียดถี่ถ้วน

ซึ่งถ้าหากเธอทำงานอยู่ที่ Apple ทีมออกแบบคงทำงานได้อย่างสบายใจ เพราะจะอยู่บนพื้นฐานของความสวยงาม ตามความต้องการของผู้นำอย่าง สตีฟ จ็อบส์เป็นหลัก แต่ google นั้นพึ่งพาข้อมูลเบื้องหลังเหล่านี้ เพื่อให้เข้าถึงคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Apple ที่ สตีฟ จ็อบส์ และ โจนาธาน ไอฟฟ์ หัวหน้าฝ่ายออกแบบเป็นคนตัดสินใจหลัก (CR:Apple Insider)
Apple ที่ สตีฟ จ็อบส์ และ โจนาธาน ไอฟฟ์ หัวหน้าฝ่ายออกแบบเป็นคนตัดสินใจหลัก (CR:Apple Insider)

ซึ่งการตัดสินใจต่าง ๆ ใน google นั้นจะต้องอิงอยู่บนพื้นฐานที่ว่า อะไรใช้ดีที่สุดกับคนจำนวนมากที่สุด เพียงแค่เรื่องเฉดสี ก็มีผลต่อจำนวนผู้ใช้งาน ลองจินตนาการว่า หากเป็นผู้ใช้หลักพันล้านคนเหมือนในปัจจุบัน รายละเอียดเล็กน้อยที่ทำให้คนใช้งานมากขึ้นเพียง 1% ก็มีสัดส่วนถึง 10 ล้านคน และจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกมากมายนั่นเอง

ในขณะที่เมื่อเทียบกับยักษ์ใหญ่อีกรายอย่าง Microsoft ซึ่งซอฟต์แวร์ของพวกเขาเองก็มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจำนวนมหาศาลเช่นกัน ผ่านผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ Windows และ Microsoft Office ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของ Desktop ทำให้ปรับแต่งเพิ่มเติมได้ไม่มีที่สิ้นสุด Microsoft จึงเลือกใช้วิธีการเอามันหมดทุกอย่างมาแก้ปัญหา โดยแทบจะไม่ตัดฟีเจอร์ใด ๆ ออกไปเลย โดยเฉพาะหากเป็นความต้องการของผู้ใช้งานจากบริษัทใหญ่ ๆ 

Microsoft นั้นไม่มีทางที่จะทิ้งฟีเจอร์เหล่านั้นไปเป็นเด็ดอันขาด ซึ่งแน่นอนว่า software ของ Microsoft นั้นทำให้คนจำนวนมากพอใจ เพราะรับรองว่ามีฟีเจอร์ทุกอย่างที่คุณต้องการ

แต่มันก็แถมมาด้วยอีกนับ 100 ฟีเจอร์ที่คุณไม่ต้องการด้วย ไม่เชื่อลองถามตัวคุณเองตอนนี้ว่า คุณใช้ฟีเจอร์ของชุด office ของ Microsoft เพียงกี่อย่าง แต่สิ่งที่ชุด office ของ Microsoft ทำได้นั้นมีมหาศาล

ซึ่งการเก็บองค์ประกอบทุกอย่างไว้แบบที่ Microsoft ทำนั้น มันขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับการออกแบบที่แท้จริง และขัดแย้งกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้มันไม่เหมาะกับวิถีของ google อย่างแน่นอน และใช้ไม่ได้กับวิถีของ Apple ที่ทำตามแนวทางของ สตีฟ จ็อบส์ และ โจนาธาน ไอฟฟ์ หัวหน้าฝ่ายออกแบบมาหลายปีแล้ว ซึ่งสรุปก็คือ การออกแบบนั้นเป็นเรื่องของสิ่งที่ตัดทิ้ง ไม่ใช่สิ่งที่เก็บไว้นั่นเอง

ซึ่งวัฒนธรรมการคิดแบบ Engineer ของ google นี่เอง ที่ google ได้แย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดของการค้นหาอย่างรวดเร็ว

ซึ่งในปี 2000 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของบริษัท มีคนเข้ามาค้นหาถึง 8 ล้านครั้งต่อวัน และเพิ่มเป็น 9 ล้านครั้งต่อวัน ในเพียงไม่กี่สัปดาห์ต่อมา มันเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด จนทำให้พวกเขากลายมาเป็นเว็บไซต์ Search Engine อันดับหนึ่งตลอดมาอย่างที่เราได้เห็นกันในปัจจุบันนั่นเองครับ

References :
https://www.fastcompany.com/1403230/googles-marissa-mayer-assaults-designers-data
https://www.nytimes.com/2009/03/01/business/01marissa.html
https://www.firstpost.com/tech/news-analysis/from-google-to-yahoo-who-is-marissa-mayer-2-3603701.html

ไฮเออร์ เปิดตัวเครื่องทำน้ำอุ่น F1 series ผสมผสานความสง่างามและความทนทาน

ไฮเออร์ (ประเทศไทย) ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับโลกและ    แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับ 1 ของโลกติดต่อกัน 14 ปีซ้อน ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เครื่องทำน้ำอุ่น F1 series ด้วยการออกแบบที่โฉบเฉี่ยวและซับซ้อน ประสิทธิภาพที่โดดเด่น และคุณสมบัติด้านความปลอดภัยขั้นสูง F1 series ได้รับการออกแบบมาเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมเครื่องทำน้ำอุ่น

คุณสมบัติโดดเด่นของ F1 series คือขดลวดทองแดงของท่อทำความร้อนแบบคู่ นวัตกรรมเทคโนโลยีทำความร้อนที่ผลิตจากวัสดุทองแดงบริสุทธิ์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทำน้ำอุ่น ทนทานต่อตะกรันและการกัดกร่อน ช่วยเร่งกระบวนการการทำความร้อนและรับประกันอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

ในด้านของความปลอดภัย F1 series มาพร้อมกับเทคโนโลยี Shock Proof ระบบฉนวนล้ำสมัยที่ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ถึงประสบการณ์การอาบน้ำที่ปลอดภัย เทคโนโลยีจะปรับแรงดันไฟฟ้าจากสูงไปต่ำได้อย่างราบรื่น โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

เครื่องทำน้ำอุ่น F1 series ยังมีหม้อต้มทองแดงแบบหนา ที่ผ่านการทดสอบแรงดันอย่างพิถีพิถันถึง 100,000 ครั้ง รับประกันความแข็งแกร่งและความทนทานต่อการกัดกร่อนเป็นพิเศษ สร้างความอุ่นใจให้กับผู้บริโภค

เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ ไฮเออร์ได้รวมระบบ 4D AI Thermostat ไว้ใน F1 series ระบบอัจฉริยะนี้ประกอบด้วยเซ็นเซอร์วัดการไหลของน้ำ ส่งไปยัง Smart AI CPU คำนวณความร้อนที่ต้องที่อุณหภูมิที่ตั้งไว้ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้ควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้อย่างคงที่

ความมุ่งมั่นของไฮเออร์ในด้านสุขอนามัยจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ใน F1 series ผ่านทางเทคโนโลยีต่อต้านแบคทีเรีย Ag+ (ABT) โดยนวัตกรรมที่ก้าวล้ำนี้จะปล่อยอนุภาค Ag+ เพื่อยับยั้งแบคทีเรียในน้ำอย่างมีประสิทธิภาพถึง 99.9% F1 series ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเพลิดเพลินกับน้ำที่สะอาดและปลอดภัยทุกครั้งที่อาบน้ำ

หัวฝักบัวอเนกประสงค์พร้อมก้านฝักบัวปรับระดับได้ตั้งแต่ 0-330 มม. ตอบสนองความต้องการในการอาบน้ำที่หลากหลาย การออกแบบท่อแบบเกลียวช่วยป้องกันไม่ให้สายฝักบัวพันกัน ช่วยให้ทำความสะอาดได้ ทำให้มั่นใจได้ถึงประสบการณ์ที่สบายและผ่อนคลาย นอกจากนี้ วาล์วควบคุมการไหลแบบกรองที่ทำจากวัสดุพลาสติก ABS ที่ทนทาน

ไฮเออร์ยืนหยัดอยู่เบื้องหลังคุณภาพและความน่าเชื่อถือของเครื่องทำน้ำอุ่น F1 series โดยนำเสนอ การรับประกันที่ครอบคลุม โดยตัวเครื่องรับประกัน 2 ปี และอุปกรณ์ทำความร้อนรับประกัน 5 ปี  การรับประกันนี้ช่วยให้ผู้บริโภคเพลิดเพลินกับเครื่องทำน้ำอุ่น F1 series ได้อย่างไร้กังวล

เครื่องทำน้ำอุ่น F1 series ประกอบด้วยทั้งหมด 6 รุ่น :

1. EI35M-F1W (กำลังไฟฟ้า 3500 วัตต์) สีขาว

2. EI45M-F1W (กำลังไฟฟ้า 4500 วัตต์) สีขาว

3. EI35M-F1CW (กำลังไฟฟ้า 3500 วัตต์) สีขาว-เทา

4. EI45M-F1CW (กำลังไฟฟ้า 4500 วัตต์) สีขาว-เทา

5. EI35M-F1CWB (กำลังไฟ 3500 วัตต์) สีขาว-ดำ

6. EI45M-F1CWB (กำลังไฟฟ้า 4500 วัตต์) สีขาว-ดำ

โดยเครื่องทำน้ำอุ่น F1 series วางจำหน่ายแล้วในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สามารถซื้อได้ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ทั่วประเทศไทย สอบถามรายละเอียดจุดจำหน่ายเพิ่มเติมได้ที่ Line OA : @haierthailand 

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร โปรโมชัน และกิจกรรมต่าง ๆ จากไฮเออร์ได้ที่ Facebook : Haier Thailand, Instagram : @haierthailand_official, X (Twitter) : @ThailandHaier และ TikTok : @haier_thailand, Line OA : @haierthailand หรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.haier.com/th