Geek Monday EP136 : วิเคราะห์อนาคตของ Facebook กับการปรับ Feed ใหม่เพื่อแข่งขันกับ TikTok

Mark Zuckerberg CEO ได้สั่งให้ทีมงานปรับแต่งส่วนหลักของแอป Facebook นั่นคือ Feed ให้ดูเหมือนหน้า “For You” ของ TikTok ไม่น่าแปลกใจเลยที่ TikTok ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อธุรกิจของ Facebook และเพื่อเป็นการตอบโต้ Meta ได้ทำในสิ่งที่พวกเขาทำเสมอเมื่อไม่สามารถซื้อคู่แข่งได้ นั่นก็คือการลอกเลียนแบบพวกเขา

การเปลี่ยนรูปแบบ Feed ใหม่ไปยังวิดีโอที่คล้ายกับ TikTok ของ Facebook อาจทำให้ผู้ใช้ใช้งานแอปได้นานขึ้น แต่ก็อาจทำให้แอปรู้สึกเป็นส่วนตัวน้อยลง ความจริงที่น่าเชื่อถือน้อยลง และมีปัญหาเรื่อง Toxic มากขึ้น ซึ่งเหมือนกับย้อนเวลากลับไปใน Facebook ยุคก่อนหน้านั่นเอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3zOeLP1

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3n1ggBK

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3bdNxXR

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3tMzhvE

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/FVK1dP1S_Ng

Geek Talk EP24 : The Bleeding Edge กับสารคดีเปิดโปงความโลภในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

อุตสาหกรรมการแพทย์ ดำเนินการภายใต้ข้ออ้างที่ว่านวัตกรรมเพื่อประโยชน์ของความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติเป็นวัตถุประสงค์หลัก และเดิมพันกับร่างกายของผู้ป่วยเพื่อเพิ่มผลกำไรให้สูงที่สุดกับพวกเขา 

นั่นคือความจริงที่เลวร้ายที่เคอร์บี้ ดิ๊ก สารคดีผู้กล้าหาญ ร่วมกับเอมี เซียริง พยายามที่จะประณามใน “The Bleeding Edge” ซึ่งเป็นการแฉสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) สถาบันที่พวกเขากล่าวว่าล้มเหลวในการจัดลำดับความสำคัญด้านสาธารณสุขเหนือผลประโยชน์ทางการเงิน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3O2WX7d

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3HxQmiD

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3N1r79p

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3xZYXaE

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/kso37WKon9I

จากโควิดสู่มะเร็ง กับความหวังครั้งใหม่ของมวลมนุษยชาติที่มีต่อเทคโนโลยี mRNA ของ BioNTech

Uğur Şahin (อูเกอร์ ชาฮิน) ยังคงปั่นจักรยานเข้ามาที่สำนักงานใหญ่ของ BioNTech เหมือนเคย แม้ตอนนี้เขาจะกลายเป็นมหาเศรษฐีคนใหม่ หลังจากช่วยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ขายดีที่สุดในตอนนี้

แม้ว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA นั้นจะมีการพัฒนาร่วมกับบริษัทยาสัญชาติอเมริกาอย่าง Pfizer แต่ก็เป็นความภาคภูมิใจครั้งสำคัญมาก ๆ ของซาฮิน ที่ได้ช่วยชีวิตคนหลายล้านคนและนำเศรษฐกิจทั่วโลกกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนยุคก่อนโควิด-19 อีกครั้ง

นั่นเองที่ทำให้ BioNTech ของ ซาฮิน และภรรยา อุซเล็ม ทูเรซี่ (Ozlem Tureci) ได้รับเงินจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งในขณะนี้บริษัทของเขามีทรัพย์สินประมาณ 19 พันล้านยูโร โดยคาดว่าจะมีรายรับเพิ่มขึ้นอีกเป็นพันล้านยูโร จากวัคซีนที่ยังมีการจำหน่ายแจกจ่ายไปทั่วทุกมุมโลก

ซาฮิน และ ทูเรซี่ เป็นมหาเศรษฐีที่ไม่เหมือนคนอื่น เงินก้อนใหม่ก้อนนี้เป็นทุนก้อนใหญ่ที่สำคัญมาก ๆ ต่อภารกิจของเขาในการเติมงบวิจัยให้กับแผนงานด้านมะเร็งวิทยา ความใฝ่ฝันของทั้้งคู่ ก็คือ การที่จะสามารถปรับแต่งยาให้เหมาะกับมะเร็งของผู้ป่วยแต่ละรายได้

ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้เองบริษัทกำลังดำเนินงานไปในทิศทางที่ถูกต้อง สร้างความหวังใหม่ให้กับผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลก โดยการทดลองในระยะเริ่มต้น 2 ครั้งแสดงข้อมูลที่มีแนวโน้มที่ดีมาก ๆ โดยการทดลองหนึ่งเกี่ยวกับมะเร็งตับอ่อน และอีกการทดลองที่มุ่งเป้าไปที่เนื้องอกที่เป็นก้อน ซึ่งรวมถึงมะเร็งรังไข่และอัณฑะ

ซึ่งหากความใฝ่ฝันของ ซาฮิน และ ทูเรซี่ เป็นจริงได้นั้น มันจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมยาทั้งหมดไปตลอดกาล

ซาฮิน และ ทูเรซี่ กับความฝันในการสร้างวัคซีนเพื่อต่อสู้โรคมะเร็ง (CR:NU Online)
ซาฮิน และ ทูเรซี่ กับความฝันในการสร้างวัคซีนเพื่อต่อสู้โรคมะเร็ง (CR:NU Online)

หลังจากได้รับเงินจำนวนมหาศาลจากวัคซีนที่ผลิตร่วมกับบริษัทอย่าง Pfizer ทำให้ในปีนี้งบในการวิจัยและพัฒนาของ BioNTech เพิ่มสูงขึ้นสองเท่ากลายเป็น 1.5 พันล้านยูโร

ซาฮิน และ ทูเรซี่ ยังคงเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัย ที่ทำงานกับเครื่องสังเคราะห์แม่แบบ DNA ที่ใช้สร้าง messengerRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ BioNTech เป็นผู้บุกเบิก

mRNA ทำหน้าที่เป็นชุดคำสั่งสำหรับเซลล์ โดยบอกให้สร้างโปรตีนบางชนิด ซึ่งการตอบสนองต่อโรคระบาดใหญ่ได้รับการพิสูจน์เป็นครั้งแรกว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงได้

mRNA ถูกนำมาใช้ในวัคซีนเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันรับรู้และต่อสู้กับผู้บุกรุก เช่น Coronavirus Sars CoV-2 ซึ่งในอนาคต BioNTech ต้องการทำในสิ่งเดียวกันนี้เพื่อกระตุ้นการป้องกันของร่างกายเพื่อจัดการกับมะเร็ง

BioNTech ต้องการใช้ mRNA เพื่อจัดการกับโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพเรื่องใหญ่ของมวลมนุษยชาติในขณะนี้ โดยทำงานร่วมกับการรักษาอื่น ๆ โดย ซาฮิน เชื่อว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการผสมผสานการรักษาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงการบำบัดด้วยเซลล์ แอนติบอดี และวิธีอื่น ๆ ในการปรับระบบภูมิคุ้มกัน

ต้องบอกว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทอย่าง BioNTech แทบจะไม่ได้เป็นที่รู้จัก ในการทำ IPO เสนอขายหุ้นต่อสาธารณะชนครั้งแรกในปี 2019 BioNTech ระดมทุนได้เพียงแค่ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่สองปีถัดมาได้กลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดในยุโรป

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา BioNTech ได้เปิดเผยผลการศึกษาที่รวมเอา mRNA กับการบำบัดด้วย CAR-T-Cell เพื่อตั้งโปรแกรมระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยใหม่

CAR-T คือการรักษาที่ซับซ้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับการรวมรวมและปรับเปลี่ยนเซลล์ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเพื่อต่อสู้กับมะเร็ง ซึ่งจนถึงตอนนี้มันได้ผลเฉพาะในมะเร็งเม็ดเลือดเท่านั้น

แต่นักวิทยาศาสตร์ของ BioNTech ได้สร้างตัวกระุต้น mRNA ซึ่งขยายจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันและปรับปรุงความสามารถในการฆ่าเซลล์มะเร็งอื่นๆ ที่ทำให้มีประโยชน์ต่อการรักษามะเร็งส่วนอื่น ๆ ได้กว้างมาก

กลยุทธ์ของ BioNTech คือการลงทุนในเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายในคราวเดียวกัน ซาฮิน ได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับสมาร์ทโฟน ซึ่งจะมีประโยชน์มากขึ้นเมื่อเราค้นพบกับฟังก์ชันมากมายที่มันสามารททำได้มากกว่าเป็นแค่โทรศัพท์

“คุณเข้าใจดีว่ามันไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน แต่มันเป็นเครื่องคิดเลข มันช่วยให้คุณทำอะไรก็ได้” เขากล่าว “ซึ่งจากแพลตฟอร์มอันทรงพลังที่เรากำลังพัฒนา เราเชื่อว่าเราจะสามารถให้บริการโซลูชั่นที่แตกต่างกันมากมายสำหรับโรคต่าง ๆ ได้”

BioNTech มองว่าบริษัทของพวกเขาเปรียบดั่งวิศวกรของระบบภูมิคุ้มกัน นอกเหนือจากโรคมะเร็งและโรคติดเชื้อ ซึ่งบริษัทยังร่วมมือกับ Pfizer ในด้านวัคซีนอย่างต่อเนื่อง

บริษัทยังร่วมมือกับ Pfizer ในด้านวัคซีนอย่างต่อเนื่อง หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ COVID-19 (CR:News-Medical)
บริษัทยังร่วมมือกับ Pfizer ในด้านวัคซีนอย่างต่อเนื่อง หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ COVID-19 (CR:News-Medical)

พวกเขายังวางแผนที่จะจัดการกับภาวะภูมิต้านทานตนเองและเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหายหรือเป็นโรค โดยรวมแล้ว บริษัทได้ดำเนินการทดสอบระยะเริ่มต้น 19 รายการและโปรแกรมพรีคลินิก 12 โปรแกรม

สำหรับโครงการด้านมะเร็งวิทยาทางคลินิกชั้นสูงสุดของ BioNTech สำหรับวัคซีนมะเร็ง โดยวัคซีนเหล่านี้ไม่ได้ป้องกันผู้รับจากการเป็นมะเร็ง ซึ่งต่างจากวัคซีนทั่วไป แต่ใช้เป็นการรักษาเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายเซลล์ที่กลายพันธุ์

แต่ก็ต้องบอกว่า BioNTech ไม่ได้เป็นบริษัทเดียวที่คิดการณ์ใหญ่ในเรื่องโรคมะเร็ง มีความพยายามในการสร้างวัคซีนหลายครั้งและประสบความล้มเหลวไปก่อนหน้านี้แล้ว

ปัญหาหนึ่งเกิดจากการที่การรักษาถูกนำมาใช้สายเกินไป การรักษาแบบใหม่จะถูกทดลองก่อนในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาตัวก่อน ๆ และมักจะเป็นมะเร็งระในยะท้าย ๆ ซึ่งมันมีโอกาสมากกว่าในการรักษาในมะเร็งระยะแรก ๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยแข็งแกร่งขึ้น

ซาฮิน มองว่าบริษัทของเขาสามารถเอาชนะอุปสรรคสำคัญบางอย่างแล้ว และข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมะเร็ง mRNA สามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งกว่าที่เคยรายงานไว้สำหรับวัคซีนมะเร็งทั่วไปหลายร้อยเท่า

แต่เช่นเดียวกับความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ BioNTech จะเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นก็คือนวัตกรรมใหม่ของพวกเขากำลังเข้าไปขวางทางธุรกิจยาที่มีมูลค่าและผลประโยชน์จำนวนมหาศาล โดยเฉพาะยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง

และที่สำคัญมันไม่เหมือนกับเคสของวัคซีนโควิด-19 ที่เป็นวาระเร่งด่วนฉุกเฉินของโลกทำให้ลดระยะเวลาในการพัฒนาไปมาก ซึ่งปรกตินั้นจะต้องฝ่าด่านหน่วยงานกำกับดูแลที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ซึ่งต้องมีการใช้เวลาทดลองหลายปี ถึงจะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติให้ขายหรือใช้งานจริง ซึ่งเมื่อนำมันออกสู่ตลาดจริง เทคโนโลยีนั้นก็จะล้าสมัยไปแล้วนั่นเองครับผม

References :
https://www.ft.com/content/12ef99d4-063a-4a45-ae4d-e8115a9c3bb1
https://www.forbes.com/sites/roberthart/2022/04/11/mrna-cancer-treatment-covid-vaccine-giant-biontech-touts-promising-early-data
https://www.fiercebiotech.com/clinical-data/biontech-touts-early-data-roche-partnered-cancer-combo-hinting-it-could-dent-prostate
https://www.theatlantic.com/ideas/archive/2021/10/mrna-vaccines-cure-cancer-biontech/620383/

“สิงห์ปาร์ค เชียงราย” เติมกำลังผลิตชา พัฒนาคุณภาพสินค้า ตอบโจทย์ทุกความต้องการลูกค้า

“สิงห์ปาร์ค เชียงราย” เดินหน้าขยายฐานการผลิต ยกระดับอุตสาหกรรมชาครบวงจร สู่จังหวัดน่าน แบ่งปันองค์ความรู้แก่เกษตรกร ควบคู่ลงทุนโรงงานผลิตชามาตรฐานสากล   เสริมทัพทีมวิจัยและพัฒนา นำอัตลักษณ์ “ชาอัสสัม” เสริมฐานเดิม “ชาอู่หลง” เพื่อเสิร์ฟชารูปแบบใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมตอบสนองทุกความต้องการลูกค้า

นายพงษ์รัตน์ เหลืองธำรงเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย เปิดเผยว่า สิงห์ปาร์ค เชียงราย ถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกและผลิตชามานานนับสิบปี ปัจจุบันยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตชาญี่ปุ่นแท้ โดย บริษัท มารุเซ็น ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด โดยโรงงานดังกล่าวเกิดจากการร่วมทุนของบริษัทฯ กับมารุเซ็น ที เจแปน ผู้ผลิตชาชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นโรงงานผลิตชานอกประเทศญี่ปุ่นแห่งแรกและแห่งเดียวในเซาท์อีสต์เอเชีย เพื่อมาช่วยพัฒนายกระดับการผลิตชาให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามแบบฉบับของประเทศญี่ปุ่นด้วย

“ความต้องการตลาดชามีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี จากกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มหมวดต่างๆ มีการขยายตัว เช่น ตลาดชานมไข่มุกโตมากในช่วง 3 ปี แนวโน้มความต้องการเพิ่ม ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการวัตถุดิบชาในประเทศขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากการนำเข้าได้รับผลกระทบด้านการขนส่ง อัตราภาษีนำเข้าสูง

ผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มหรือกลุ่มฟู้ดเซอร์วิสต่างๆ หันมาใช้ชาในประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ชาของสิงห์ปาร์ค เชียงราย เป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกค้าเกิดการทดลองและรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์คุณภาพ และด้วยความชำนาญที่สามารถผลิตสินค้าที่มีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการแบบเฉพาะเจาะจงที่เป็นอัตลักษณ์ให้กับลูกค้า ในราคาที่เหมาะสม ทำให้เกิดการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น

บริษัทฯ วางแผนการดำเนินธุรกิจชาในปี 2565-2568 ได้เพิ่มกำลังการผลิตและสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ จังหวัดน่าน มีการทำเกษตรพันธสัญญากับเกษตรในพื้นที่เพื่อเพาะปลูกชา นำอัตลักษณ์ชาท้องถิ่นคือชาอัสสัม มาวิจัยพัฒนาเป็นชารูปแบบต่างๆ ควบคุมการผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องชาที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี เพื่อยกระดับและสร้างคุณค่าให้ชาอัสสัม

ต่อยอดการผลิตชาอู่หลงที่เป็นจุดแข็งเดิมของ สิงห์ปาร์ค เชียงราย ที่มีการผลิตชาอู่หลง ที่ใช้กระบวนการผลิตให้เป็นชารูปแบบต่างๆ โดยมีทีมงานที่ชำนาญในการปรุงชาตามแบบที่ลูกค้าต้องการเฉพาะ(Tailor-made) ทั้งกลิ่น สี ความหอม รสชาติ เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มเอกลักษณ์ให้กับอาหารและเครื่องดื่ม ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มธุรกิจ(B2B)ทุกหมวด ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ฯ รวมถึงผู้บริโภคชาวไทย(B2C) ซึ่งมีการบริโภคมากขึ้น ทำให้ตลาดชาเติบโต

ซึ่งการขยายพื้นที่เพาะปลูกและสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดน่าน บริษัทมีการรับซื้อชาจากเกษตรกรที่เพาะปลูกชา พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการเพาะปลูกชาให้ได้คุณภาพเพื่อส่งเสริมให้คนในพื้นที่มีรายได้มั่นคงและยั่งยืน อีกทั้งการปลูกชาอัสสัมที่ถูกวิธียังช่วยรักษาผืนป่าไม้ให้ไม่ถูกทำลาย สร้างสมดุลธรรมชาติให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน

ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบุญรอดฯ นอกจากความตั้งใจในการส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดผ่านสินค้าและบริการที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่บุญรอดฯให้ความสำคัญและปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง คือ นโยบายการตอบแทนสังคมที่มั่นคง “องค์กร ชุมชน/สังคม และสิ่งแวดล้อมต้องมีความสุขร่วมกันอย่างยั่งยืน”

สำหรับการผลิตและแปรรูปชาอัสสัม ภายใต้โรงงานใหม่ที่จังหวัดน่าน จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชาหลากประเภท พร้อมพัฒนาชาสูตรต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าภาคธุรกิจได้แก่ ชาไทยพรีเมียม ชาไต้หวัน ที่จะนำชาอัสสัมมาผสมผสานพิเศษสำหรับเมนูชานม ชาผลไม้ ชาเขียว ชาอู่หลง และชาเขียวญี่ปุ่น

Geek Daily EP126 : เมื่อ Shopee จ่อปลดคนครั้งใหญ่ทั้งภูมิภาค แล้วเหยื่อรายต่อไปจะเป็นธุรกิจอะไร?

กลายเป็นข่าวใหญ่ของวงการอีคอมเมิร์ซเมื่อ ช้อปปี้ Shopee ในกลุ่มบริษัท Sea Group ได้ทำการปลดพนักงานในตลาดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ ShopeeFood ธุรกิจส่งอาหาร และ ShopeePay ธุรกิจด้านเพย์เมนต์ในไทยที่คาดว่าจะถูกหั่นพนักงานออกครึ่งหนึ่ง

มีรายงานว่า ยักษ์ใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee ได้ทำการปลดพนักงานในหลายประเทศลง โดยผลกระทบดังกล่าวนี้ส่งผลหนักต่อพนักงาน ShopeeFood และ ShopeePay ในหลายตลาด ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังมี ไต้หวัน บราซิล เม็กซิโก ชิลี และโคลอมเบีย

เรามาลองวิเคราะห์กันว่า ธุรกิจรายต่อไปที่จะมีการปลดพนักงานล็อตใหญ่ตาม Shopee จะเป็นธุรกิจอะไร?

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3xOwEf5

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3QjnAWX

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3xQ2kRl

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3n5E8EB

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/aJtirYPnJfc

Credit Image : www.straitstimes.com