โศกนาฏกรรมอาหาร เมื่อสงครามยูเครนรัสเซียกำลังพลิกโลกที่เปราะบางไปสู่ความหิวโหย

ในการรุกรานยูเครนของ วลาดิเมียร์ ปูติน มันไม่ได้เพียงแค่เกิดความสูญเสียในด้านการทหารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ตอนนี้ ผู้คนมากมายหลายล้านคนทั่วโลกที่อยู่ห่างไกลสนามรบ กำลังเจอกับโศกนาฎกรรม โดยเฉพาะด้านอาหาร

สงครามได้ส่งพลานุภาพทำลายล้างระบบซัพพลายเชนของการผลิตอาหารทั่วโลกที่อ่อนแอลงจากทั้งจาก COVID-19 การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภุมิอากาศ และเรื่องของพลังงาน

การส่งออกธัญพืชและเมล็ดพันธุ์พืชของยูเคนส่วนใหญ่หยุดชะงักลง หรือแม้กระทั่งในรัสเซียเองก็ตาม ทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่ผลิตแคลอรี่หลักให้กับโลกของเรา ในสัดส่วนถึง 12% ราคาข้าวสาลีที่เพิ่มขึ้น 53% ตั้งแต่ต้นปี และพุ่งขึ้นอีก 16% ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ทั้งโลกช็อก

António Guterres เลขาธิการสหประชาชติ เตือนเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า “จะเกิดปรากฏการณ์การขาดแคลนอาหารทั่วโลก” ที่อาจคงอยู่ไปอีกนานหลายปี 

António Guterres เลขาธิการสหประชาชติ ที่ได้ออกมาเตือนเป็นวาระแห่งมวลมนุษยชาติ (CR:Bangkok Post)
António Guterres เลขาธิการสหประชาชติ ที่ได้ออกมาเตือนเป็นวาระแห่งมวลมนุษยชาติ (CR:Bangkok Post)

อาหารหลักของมนุษย์เราที่มีการปรับราคาสูงขึ้นได้เพิ่มจำนวนคนที่อดอยากทั่วโลกอีกกว่า 440 ล้านคน กลายเป็น 1.6 พันล้านคน หากสงครามยืดเยื้อและเสบียงจากรัสเซียและยูเครนมีจำกัด ผู้คนอีกหลายร้อยล้านคนอาจตกอยู่ในความยากจน ความไม่สงบทางการเมืองจะแพร่กระจาย เด็ก ๆ จะมีลักษณะแคระแกรน และผู้คนจะอดอยากและหิวโหย

รัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งส่งออกข้าวสาลี 28% , ข้าวบาร์เลย์ 15% , ข้าวโพด 15% และ น้ำมันดอกทานตะวัน 75% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงเอามาก ๆ

รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตหลักในอาหารประจำวันอย่างซีเรียล โดยผลิตประมาณครึ่งหนึ่งให้กับประเทศอย่างเลบานอนและตูนิเซีย และเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของประเทศลิเบียและอียิปต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากร 400 ล้านคน

ประเทศจีนผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดก็เจอกับปัญหาฝนที่ตกล่าช้าในการเพาะปลูกเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งทำให้ผลผลิตอาจจะแย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ปัญหาเรื่องของน้ำฝนยังคุกคามต่อการผลิตข้าวสาลีของอเมริกาไปจนถึงภูมิภาค Beauce ของฝรั่งเศส ในแอฟริกาก็กำลังถูกทำลายโดยภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ

รัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตรอันดับต้น ๆ ของโลก (CR:CNBC)
รัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตรอันดับต้น ๆ ของโลก (CR:CNBC)

ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคนยากจน ซึ่งโดยเฉลี่ยนแต่ละครัวเรือนในประเทศเศรษฐกิจใหม่จะใช้จ่ายประมาณ 25% ไปกับค่าอาหาร ส่วนในประเทศแถบแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 40% เลยทีเดียวสำหรับค่าอาหาร

ในหลายประเทศที่เป็นผู้นำเข้าเนื่องจากไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ ไม่สามารถจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อเพิ่มความช่วยเหลือแก่คนยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตอนนี้พวกเขากำลังถูกซ้ำเติมจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังวุ่นวายเช่นเดียวกัน

วิกฤติจากสงครามได้เพิ่มความเลวร้าย การที่พื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เนื่องจากภาวะสงคราม ซึ่งเมื่อผ่านช่วงปลายเดือนมิถุนายน พืชเหล่านี้อาจเน่าเปื่อยได้ และที่สำคัญเกษตรกรยังขาดเชื้อเพลิงและแรงงานในการทำการเพาะปลูก รวมถึงรัสเซียเองที่อาจขาดเมล็ดพันธุ์และยาฆ่าแมลงบางส่วนที่มักซื้อจากสหภาพยุโรป

แม้ตะวันตกจะประณามปูตินสำหรับการรุกรานของเขา และรัสเซียก็ประณามการคว่ำบาตรจากตะวันตก ซึ่งมันเป็นปัญหาที่พัวพันยุ่งเหยิงส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก

ดูเหมือนว่าสถานการณ์มาถึงตอนนี้ รัสเซียที่กำลังดิ้นรนในสนามรบ กำลังพยายามบีบยูเครนในทุก ๆ ทาง แต่มันกำลังส่งผลกระทบต่อปากท้องของคนทั่วทั้งโลก และดูเหมือนว่ายูเครนจะไม่ยอมจำนนง่าย ๆ

เมื่อสถานการณ์เป็นแบบนี้ดูเหมือนจะต้องมีการคุ้มกันแบบติดอาวุธที่รับรองโดยกลุ่มพันธมิตรนานาชาติในวงกว้าง เพื่อภารกิจที่สำคัญในการส่งต่อพืชผลทางการเกษตรที่ทั้งสองประเทศทั้งยูเครนและรัสเซียซึ่งได้กลายเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของประชากรทั่วทั้งโลกอยู่ในตอนนี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.theguardian.com/world/2022/may/19/ukraine-war-has-stoked-global-food-crisis-that-could-last-years-says-un
https://www.wionews.com/world/russia-ukraine-war-could-cause-mass-hunger-and-famine-due-to-food-insecurity-un-warns-480297
https://www.wfpusa.org/articles/role-of-hunger-in-politics-and-war/
https://www.economist.com/leaders/2022/05/19/the-coming-food-catastrophe