ราคาน้ำมันพุ่ง เมื่ออเมริกาโทษปูติน แต่เหตุผลหลักกลับอยู่ที่ตัวไบเดนเองจริงหรือไม่?

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนเมื่อเร็วๆ นี้เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกาสูงมาก แต่การตัดสินใจของไบเดนในช่วงสองปีที่ผ่านมาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้น

จากสถิติของศูนย์ข้อมูลพลังงานสหรัฐ (EIA) ราคาเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินในสหรัฐในช่วงกลางเดือนมีนาคมอยู่ที่ 4.25 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เทียบเท่ากับ 1.12 ดอลลาร์ต่อลิตร ตัวเลขนี้ต่ำกว่าช่วงสงครามเวียดนาม แต่เป็นสถิติสูงสุดตลอดกาลของสหรัฐฯ แซงหน้าจุดสูงสุดเดิมระหว่างปี 2008 ถึง 2011

อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 7.9% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมากตามราคาน้ำมันระหว่างประเทศ หลังจากที่รัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางทหารในยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม โฆษกทำเนียบขาว Jen Psaki กล่าวโทษประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน และยืนยันว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง:

“ราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เพราะนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่เพราะประธานาธิบดีรัสเซียบุกยูเครน สงครามครั้งนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนอย่างมากในตลาดโลก” Psaki กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาว

ไบเดน ยังได้ออกแถลงการณ์ที่คล้ายกัน: “ราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 1.05 ดอลลาร์/แกลลอน. เหตุผลหลักคือปูตินรวบรวมกำลังทหารของเขาตามแนวชายแดนของยูเครนแล้วบุกโจมตี ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจในทุกวันนี้ สาเหตุหลักมาจากความผิดของวลาดิมีร์ ปูติน” 

ประธานาธิบดีสหรัฐยังพยายามที่จะหันเหความสนใจของสาธารณชนไปที่บริษัทพลังงาน ในช่วงประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบดิ่งลงจาก 130 ดอลลาร์/บาร์เรล เหลือต่ำกว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรล และไบเดนกล่าวว่าธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องลดราคาน้ำมันด้วยเช่นกัน

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขียนบน Facebook ว่า “ราคาน้ำมันดิบกำลังตก ราคาน้ำมันเบนซินก็ควรเช่นกัน ก่อนหน้านี้เมื่อราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 96 ดอลลาร์/บาร์เรล น้ำมันเบนซินอยู่ที่ 3.62 ดอลลาร์/แกลลอน ตอนนี้ก็เช่นเดียวกันสำหรับน้ำมันดิบราคาลดลง แต่ราคาน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 4.31 ดอลลาร์/แกลลอน”

แถลงการณ์เหล่านี้จากทำเนียบขาวเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่าราคาน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ก่อนที่ความขัดแย้งในยูเครนจะส่งผลกระทบต่อตลาดเสียอีก

ความผิดพลาดของไบเดน

ตั้งแต่วันแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ไบเดนได้เปิดนโยบายหลายอย่างที่ทำให้ราคาเชื้อเพลิงมีราคาแพงขึ้น

หนึ่งในคำสั่งแรกของไบเดน หลังจากเข้าสู่ทำเนียบขาวในเดือนมกราคม 2020 คือการทำลายโครงการท่อส่งน้ำมัน Keystone XL ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้บุกเบิก ซึ่งท่อส่งนี้มีความยาวมากกว่า 3,300 กม. ซึ่งวิ่งจากแคนาดาไปยังรัฐเท็กซัส หากนำไปใช้งาน ท่อส่งน้ำมันมูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์ดังกล่าวนี้จะขนส่งน้ำมันได้ 800,000 บาร์เรลต่อวัน

โครงการท่อส่งน้ำมัน Keystone XL ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้บุกเบิก (CR:Toronto Star)
โครงการท่อส่งน้ำมัน Keystone XL ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้บุกเบิก (CR:Toronto Star)

ในเดือนมกราคม 2021 ไบเดนได้หยุดออกใบอนุญาตการสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซของสหรัฐอีกครั้งทั้งบนบกและในน้ำ การตัดสินใจของไบเดนตรงกันข้ามกับนโยบายของทรัมป์อย่างสิ้นเชิง และออกแบบมาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในช่วงปี 2016-2020 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และพรรครีพับลิกันคลายมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับการแสวงหาผลประโยชน์จากน้ำมันและก๊าซเพื่อเพิ่มความเป็นอิสระด้านพลังงาน

ไบเดนได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง และด้วยเหตุนี้ กำลังการผลิตน้ำมันและก๊าซของสหรัฐฯ จึงลดลง วอชิงตันจึงต้องเรียกร้องให้กลุ่ม OPEC + เพิ่มการผลิต สมาชิกหลักสองประเท่ศของ OPEC + ไม่ใช่ใครอื่น เพราะนั่นคือรัสเซียและซาอุดีอาระเบีย

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2021 ทำเนียบขาวได้โพสต์คำแถลงจากที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ เจค ซัลลิแวน ซึ่งกล่าวว่า: “แม้ว่ากลุ่ม OPEC + จะตกลงที่จะเพิ่มการผลิต แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยในช่วงการระบาดครั้งใหญ่ ในช่วงเวลาวิกฤติกับการฟื้นตัวของโลก การดำเนินการนี้ยังไม่เพียงพอ”

แทนที่จะพึ่งพาซัพพลายจากรัสเซียและกลุ่ม OPEC รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถพยายามเพิ่มการผลิตน้ำมันของสหรัฐ แต่ไบเดนไม่ได้ทำ ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกาในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 และเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ราคาพลังงานทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นเมื่อต้นปีนี้ แต่สหรัฐฯ ไม่อาจกล่าวโทษประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียได้ทั้งหมด เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมากจากปี 2021 มาก่อนแล้ว

ในเดือนธันวาคม 2021 คริสโตเฟอร์ วูด ผู้อำนวยการด้านกลยุทธ์การลงทุนระดับโลกของเจฟฟรีส์ คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันอาจพุ่งขึ้นถึง 150 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเนื่องจากการกลับมาของเศรษฐกิจโลกหลังการแพร่ระบาดเริ่มลดลงอีกครั้งและขีดจำกัดของอุปทานที่ลดลง

ข้อเท็จจริงที่ว่าอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลได้รับผลกระทบจาก “การโจมตีทางการเมือง” ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้การลงทุนครั้งใหม่มีแรงจูงใจน้อยลงที่จะนำเม็ดเงินจะอัดฉีดเข้าสู่ธุรกิจน้ำมันและก๊าซ วูดกล่าว

ทำเนียบขาวต้องการให้คนอื่นๆ เชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเพราะประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย แต่นโยบายของไบเดนได้ทำให้อุตสาหกรรมพลังงานอ่อนแอลงมานานแล้ว และทำให้สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น

สหรัฐฯ ไม่ค่อยซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ทำไมราคาน้ำมันยังขึ้นอีก?

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศว่าสหรัฐฯ จะหยุดนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย “วันนี้ ผมขอประกาศว่าสหรัฐฯ จะโจมตีเส้นเลือดใหญ่ (น้ำมันและก๊าซ) ของเศรษฐกิจรัสเซีย เราจะห้ามการนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียทั้งหมด” ไบเดนกล่าวที่ทำเนียบขาว

เหตุผลที่ไบเดนสามารถพูดจาฉะฉานเช่นนี้ได้ก็เพราะว่าน้ำมันดิบจากรัสเซียมีสัดส่วนเพียง 3% ของการนำเข้าของสหรัฐฯ ทั้งหมด ในขณะที่ยุโรปยังไม่กล้าเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากทวีปนี้พึ่งพาพลังงานของรัสเซียเป็นอย่างมาก

หากระดับการพึ่งพาอาศัยกันของสหรัฐฯ มีมากเท่ากับยุโรป ไบเดนคงไม่กล้าโจมตีเส้นเหลือดใหญ่ (น้ำมันและก๊าซ) ของเศรษฐกิจรัสเซียอย่างแน่นอน

แม้ว่าการค้าน้ำมันและก๊าซระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่หลังจากประกาศของไบเดน ราคาน้ำมันดิบยังคงพุ่งขึ้น 7% และราคาน้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์หน้า

เหตุผลก็คือธรรมชาติของตลาดพลังงานทั่วโลก ความตื่นตระหนกในภูมิภาคหนึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาในอีกครึ่งหนึ่งของโลก เมื่อไม่ซื้อน้ำมันรัสเซีย สหรัฐฯ จะต้องหาแหล่งอื่น เช่น กลุ่มประเทศ OPEC

ความต้องการใช้น้ำมันของกลุ่ม OPEC เพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรของพวกเขาต้องมีการปรับขึ้นราคา

ในปี 2021 รัสเซียผลิตน้ำมันได้ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นอันดับ 2 ของโลก ส่วนสหรัฐฯ อยู่ที่ 10.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในสหรัฐอเมริกาใช้กำลังการผลิตเกือบเต็มอัตราและยังมีปัญหาในการเพิ่มกำลังการผลิต

บริษัทพลังงานของสหรัฐหลายแห่งล้มละลายเมื่อราคาน้ำมันดิ่งลงสู่ระดับติดลบในเดือนเมษายน 2020 และนโยบายของไบเดนเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้รับแรงจูงใจในการลงทุนใหม่

ปัญหาที่แท้จริง: บริษัทน้ำมันกำลังพยายามดึงกำไรของพวกเขาคืน

เหตุผลที่แท้จริงที่การผลิตน้ำมันของสหรัฐที่ไม่ได้กลับสู่ระดับการผลิตสูงสุดนั้นไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายพลังงานของไบเดน มากไปกว่าความต้องการของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องการหารายได้

เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันกลับมาฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในช่วงกลางปี ​​2020 ผู้ผลิตจึงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากผู้ถือหุ้นให้ “ทำกำไรเหนือการเพิ่มการผลิต” และ “คืนเงินสดให้ผู้ถือหุ้นแทนที่จะดึงเงินกลับเพื่อไปลงทุนในการขุดเจาะ” ตามรายงานของ Financial Times and Wall สตรีทเจอร์นัล ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ขยายการผลิตได้ล่าช้า

“ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน 150 ดอลลาร์ น้ำมัน 200 ดอลลาร์ หรือน้ำมัน 100 ดอลลาร์ เราจะไม่เปลี่ยนแผนการเติบโตของเรา” ซีอีโอของไพโอเนียร์ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำเพอร์เมียน ซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตน้ำมันที่สำคัญของภาคตะวันตกเฉียงใต้ กล่าวในงาน Bloomberg เมื่อเดือนที่แล้ว 

Vicki Hollub ซีอีโอของ Occidental Petroleum กล่าวในทำนองเดียวกันว่า บริษัทของเธอมุ่งเน้นไปที่การจ่ายเงินคืนให้กับนักลงทุน: “ตอนนี้ฉันรู้สึกว่าเราจำเป็นต้องคืนเงินสดให้ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้”

Vicki Hollub ซีอีโอของ Occidental Petroleum (CR:GettyImage)
Vicki Hollub ซีอีโอของ Occidental Petroleum (CR:GettyImage)

แรงจูงใจในการทำกำไรได้ส่งผลต่อกำลังการผลิตน้ำมันนอกสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน ประเทศในกลุ่ม OPEC ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะถดถอยยังคงจำกัดกำลังการผลิตเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้วแม้ว่าจะมีแรงกดดันจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดียให้ผลิตมากขึ้นก็ตาม

เพื่อสร้างรายได้ของพวกเขา พวกเขาเพิ่งเริ่มผ่อนปรนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกาศว่าจะเพิ่มกำลังการผลิต ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อย  ซึ่งในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีกำลังการผลิตน้ำมันสำรองอยู่ในมือและไม่ต้องการให้ราคาสูงอย่างต่อเนื่องเพื่อไปกดดันอุปสงค์ทั่วโลก

บริษัทพลังงานในตะวันออกกลางที่ร่ำรวยด้วยน้ำมันไม่ใช่บริษัทเดียวที่ล่ำซำ รายงาน ของ LA Times ระบุว่าปั๊มน้ำมันในแคลิฟอร์เนียบางแห่งที่เรียกเก็บ 7 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งเป็นการตั้งราคาที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของรัฐและระดับประเทศมาก เนื่องจากพบว่า คนขับยินดีจ่าย แม้ว่าพวกเขาจะเจ็บปวดมากเพียงใดก็ตาม

References : https://thehill.com/opinion/white-house/595706-biden-not-putin-to-blame-for-higher-gas-prices
https://www.nytimes.com/2022/03/10/us/politics/biden-putin-inflation.html
https://www.nytimes.com/2022/03/09/us/politics/fact-check-republicans-biden-gas.html
https://slate.com/news-and-politics/2022/03/dont-blame-biden-for-gas-prices.html
https://www.express.co.uk/news/science/1542279/joe-biden-gas-prices-us-outmanoeuvres-vladimir-putin-eu-gas-crisis-nord-stream-2