Big Tech x EU กับศึกช่วงชิงข้อมูลส่วนบุคคลของชาติมหาอำนาจโลก

คำเตือนที่ชัดเจนของ Meta บริษัทแม่ของ Facebook เกี่ยวกับการที่จะนำบริการของพวกเขาออกจากยุโรปอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เนื่องจากหนึ่งในผู้กำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของภูมิภาคยุโรปเตรียมการตัดสินใจที่อาจทำให้ข้อมูลผู้ใช้จำนวนมหาศาลที่ไหลผ่านข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในทุก ๆ วันกลายเป็นอัมพาต และมีความเสี่ยงต่อรายได้หลายพันล้านสำหรับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลของ ไอร์แลนด์ซึ่งควบคุมดูแลบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในซิลิคอนแวลลีย์ที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศ กำลังพิจารณาถึงความถูกต้องตามกฎหมายของข้อสัญญามาตรฐาน (Standard Contractual Clauses หรือ SCC) ที่ Meta, Google ของ Alphabet และบริษัทอื่น ๆ ใช้ในการโอนข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากไปยังสหรัฐอเมริกาอย่างถูกกฎหมาย

ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวกล่าวว่าการตัดสินใจดังกล่าวสามารถกำจัดหนึ่งในตัวเลือกที่เหลืออยู่สำหรับ Meta และอาจมีบริษัทเทคโนโลยีอื่นอีกหลายพันแห่งที่ต้องพึ่งพาการจัดส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลทั่วมหาสมุทรแอตแลนติก

ผู้มีอำนาจของไอร์แลนด์ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของ SCC โดยกล่าวว่า มันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการปกป้องพลเมืองยุโรปจากการสอดรู้สอดเห็นของหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ

ซึ่งนั่นคือความตึงเครียดในการพิจารณาคดีที่ Meta เตือนในรายงานประจำปีล่าสุดว่า บริษัทจะปิดการให้บริการทั้ง Facebook และ Instagram ในสหภาพยุโรปหากไม่สามารถใช้ SCC ได้

Facebook สร้างรายได้ 8.2 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 25% ของรายรับทั่วโลกในยุโรปในช่วงไตรมาสเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งภูมิภาคนี้เป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญสำหรับ Meta ซึ่งเป็นรองเพียงแค่ตลาดในบ้านเกิดที่สหรัฐฯและแคนาดาเท่านั้น

ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนั่นจะทำให้การจัดเก็บข้อมูลในยุโรปไม่สามารถทำได้สำหรับบริการใด ๆ ไล่ตั้งแต่วิดีโอเกมไปจนถึงการสตรีมวิดีโอเนื่องจากกฎข้อมูลของยุโรปจะปฏิบัติตามข้อมูลของบุคคลไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

โมเดลธุรกิจของ Meta เช่นเดียวกับ Google ของ Alphabet อาศัยการรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอที่จะแยกแยะว่าผู้ใช้สนใจหรือต้องการซื้ออะไร และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริษัทกำลังถูกเล่นงานโดยกฎความเป็นส่วนตัวของยุโรป และการห้ามใช้ SCC อาจทำให้รูปแบบธุรกิจของบริษัทมีต้นทุนเพิ่มขึ้นและมีประสิทธิภาพน้อยลงโดยเฉพาะในการลงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

Johannes Caspar นักวิชาการจากหนึ่งในหน่วยงานกำกับดูแลด้านการปกป้องข้อมูลชั้นนำของเยอรมนี กล่าวว่า “สิ่งที่มีความเสี่ยงคือการถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดไปยังสหรัฐฯ และเหล่าบริการที่พึ่งพาพวกเขา”

อดีตรองนายกรัฐมนตรีอังกฤษ Nick Clegg ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานฝ่ายกิจการและการสื่อสารระดับโลกของ Meta ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว

อดีตรองนายกรัฐมนตรีอังกฤษ Nick Clegg ที่กลายมาเป็นผู้บริหารของ Facebook ที่ช่วยจัดการเรื่องนี้ (CR:The Verge)
อดีตรองนายกรัฐมนตรีอังกฤษ Nick Clegg ที่กลายมาเป็นผู้บริหารของ Facebook ที่ช่วยจัดการเรื่องนี้ (CR:The Verge)

Google กล่าวในบล็อกโพสต์เมื่อเดือนมกราคมโดย Kent Walker หัวหน้าฝ่ายกิจการระดับโลกซึ่งเรียกร้องให้ยุติปัญหาอย่างรวดเร็ว

“มันเป็นเดิมพันที่สูงเกินไป การค้าระหว่างประเทศระหว่างยุโรปและสหรัฐอเมริกามีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของผู้คนนับล้านมากเกินกว่าที่จะล้มเหลวในการค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ใกล้เข้ามาแบบทันทีทันใด” Walker กล่าว

การโต้เถียงเรื่องการถ่ายโอนข้อมูลเริ่มตั้งแต่ปี 2013 เมื่อ Edward Snowden เปิดเผยขอบเขตการสอดแนมโดยสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ

การพิจารณาคดีในปี 2020 โดยศาลสูงสุดของสหภาพยุโรปได้ประกาศให้ยกเลิก Privacy Shield ซึ่งเป็นข้อตกลงการโอนถ่ายข้อมูลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังของอเมริกา

Tom De Cordier นักกฎหมายด้านเทคโนโลยีและการปกป้องข้อมูลที่ CMS DeBacker ในกรุงบรัสเซลส์ กล่าวว่า “สำหรับหลายๆ บริษัท แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลสหภาพยุโรปในปี 2020 “ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องของการลดความเสี่ยงในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของข้อมูล แทนที่จะพยายามปฏิบัติตามข้อกำหนด 100 เปอร์เซ็นต์”

หากผู้มีอำนาจในไอร์แลนด์มีแนวคิดในเรื่องข้อมูลที่มีความซีเรียสมากกว่านี้ สถานการณ์วันโลกาวินาศสำหรับ Meta และบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้เริ่มขึ้นแล้ว

การตัดสินใจของผู้มีอำนาจของไอร์แลนด์ “ตอนนี้อาจเป็นแบบอย่างซึ่งจะทำให้สถานการณ์ทั้งหมดคลี่คลาย” Caspar อดีตผู้กำกับดูแลชาวเยอรมันกล่าว “มันขึ้นอยู่กับนักการเมืองในสหรัฐอเมริกาที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของพวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยงหรือไม่”

บทสรุป

มันเป็นเรื่องน่าสนใจนะครับ ทำไมยุโรปถึงเริ่มมาจัดการการโอนถ่ายข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งแน่นอนในทุก ๆ ภูมิภาคก็โดนในรูปแบบเดียวกันแม่งกระทั่งประเทศไทยที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เช่นเดียวกัน

บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่เหล่านี้ รู้ข้อมูลเชิงลึกของประชาชนแทบจะทั่วทั้งโลก แม้จะเป็นบริษัทเอกชนก็ตามที แต่ข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้เราก็ได้เห็นว่าพวกเขามีความแน่นแฟ้นกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกามากมายขนาดไหน

ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ แม้กระทั่งข้อมูลทางธุรกิจเหล่านี้ มันได้กลายเป็นอาวุธที่สำคัญให้สหรัฐอเมริกา มีความได้เปรียบกว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เราไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมจีนถึงแบนแอปเหล่านี้ไม่ให้เข้ามาในประเทศ ซึ่งสิ่งที่ยุโรปกำลังทำก็คงไม่ต่างจากที่จีนทำ เพราะพวกเขาเริ่มเห็นภาพที่ชัดเจนแล้ว ตอนนี้ข้อมูลต่าง ๆ ของประชาชนที่สูญเสียไปนั้น มันไม่ได้ใช้เพียงแค่เชิงธุรกิจอย่างที่หลายๆ คนคิด แต่มันนำมาซึ่งอำนาจทางอธิปไตยที่อเมริกากำลังรุกล้ำไปทั่วโลกนั่นเองครับผม

References :
https://www.cnbc.com/2021/03/25/big-tech-how-europe-became-the-worlds-top-regulator.html
https://www.scmp.com/tech/policy/article/3167568/meta-google-other-american-tech-giants-face-eu-data-blackout-ruling
https://www.ft.com/content/045346cf-c28a-4f6f-9dce-4f8426129bf9
https://daystech.org/eu-lawmakers-back-rules-to-curb-big-tech-tech-news-news-top-stories/

Geek Daily EP108 : Google x Privacy Sandbox กับความเป็นห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้เหมือน Apple (จริงหรือ?)

แม้ว่าการเปรียบเทียบกับการบล็อก iOS ของ Apple นั้นชัดเจน แต่กลยุทธ์ของ Google ก็แตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากรายได้หลักพวกเขามาจากการโฆษณา โดยจัดรูปแบบตามลำดับความสำคัญที่กำหนดทั้งโดยรูปแบบธุรกิจและด้วยความกลัวว่าจะมีการฟ้องร้องการต่อต้านการผูกขาด

มาตรการความเป็นส่วนตัวที่นำมาใช้ใน iOS 14.5 ชื่อ App Tracking Transparency บังคับให้แอปต้องขออนุญาตจากผู้ใช้อย่างชัดแจ้งเพื่อติดตามกิจกรรมในแอปและเว็บไซต์ของบริษัทอื่น โดยมีกล่องโต้ตอบที่แจ้งให้ผู้ใช้ “อนุญาต” หรือ “ขอให้แอปไม่ติดตาม” ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Apple ได้เปิดตัวระบบกำหนดเป้าหมายโฆษณาของตัวเองหลังจากการเปลี่ยนแปลงไม่นาน แต่ Privacy Sandbox ของ Google นั้นยังไม่มีความชัดเจนมากนัก

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3Brr9mI

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3oYdX3I

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/36nxKDp

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3LHcB7b

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/NVG0vaw0EE0

References Image : https://www.elespanol.com/omicrono/software/20200827/apple-buscador-google-privacidad/516199497_0.html

วิกฤตครั้งต่อไป จะเกิดอะไรขึ้นหากตลาดการเงินพังพินาศอีกครั้ง?

Charles Kindleberger เขียนในการศึกษาวิกฤตการณ์ทางการเงินของเขาว่า “สำหรับนักประวัติศาสตร์ วิกฤติทางการเงินแต่ละเหตุการณ์มีความพิเศษเฉพาะตัว แต่สุดท้ายมันก็เกี่ยวข้องกับการค้นหารูปแบบที่บ่งชี้ว่าวัฏจักรดังกล่าวกำลังจะหมุนเวียนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง”

ทุกวันนี้ ระบบการเงินของอเมริกาแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับยุคก่อนการล่มสลายในปี 2001 และ 2008 แต่สถานการณ์ช่วงหลังๆ มีสัญญาณที่คุ้นเคยที่ส่งสัญญาณถึงภาวะฟองสบู่และความกลัวที่เริ่มเกิดขึ้นในวอลล์สตรีท

ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายที่บ้าคลั่งโดยไม่มีข่าวจริง ราคาที่ผันผวนอย่างกะทันหัน และความรู้สึกไม่สบายใจในหลาย ๆ อย่าง โดยเมื่อตลาดขึ้นสู่จุดพีคในปี 2021 เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนมกราคม 2022 ราคาหุ้นในวอลล์สตรีทกลับกลายเป็นปีที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 โดยลดลง 5.3%  สินทรัพย์ที่นักลงทุนรายย่อยชื่นชอบ เช่น หุ้นเทคโนโลยี สกุลเงินดิจิทัล และหุ้นในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ต่างพากันตกดิ่งลงเหวอย่างหนัก 

ต้องบอกว่าการเทขายออกของเหล่านักลงทุนในเดือนมกราคมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างแท้จริง เป็นการกวาดล้างตลาดหุ้นจากการเก็งกำไรเกินควร แต่ระบบการเงินโฉมใหม่ของอเมริกายังเต็มไปด้วยความเสี่ยงด้วยราคาสินทรัพย์ที่สูงลิ่ว

การผสมผสานระหว่างการประเมินมูลค่าที่สูงลิ่วและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหากการสูญเสียครั้งใหญ่เกิดขึ้นจริง คำถามสำคัญสำหรับนักลงทุน นายธนาคารกลาง และสำหรับเศรษฐกิจโลกก็คือว่าระบบการเงินจะปกป้องพวกเขาให้ปลอดภัยได้อีกครั้งหรือไม่ คำตอบนั้นยังไม่ชัดเจน เนื่องจากระบบดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาโดยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ

กฎเกณฑ์ด้านเงินทุนฉบับใหม่ได้ผลักดันให้มีการนำความเสี่ยงออกไปจากธนาคารเป็นจำนวนมาก การแปลงทุกอย่างให้กลายเป็นดิจิทัลทำให้คอมพิวเตอร์มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น มีการสร้างแพลตฟอร์มใหม่สำหรับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ และลดต้นทุนในการซื้อขายจนเกือบจะเหลือเป็นศูนย์ 

ผลที่ได้คือผู้เล่นใหม่ ๆ รายย่อย การซื้อขายหุ้นไม่ได้ถูกครอบงำโดยกองทุนบำเหน็จบำนาญขนาดใหญ่อีกต่อไป แต่โดยกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนอัตโนมัติ (ETFs) และกลุ่มนักลงทุนรายย่อยที่ใช้แอปใหม่ที่ใช้งานสะดวกสบายสำหรับพวกเขาเป็นอย่างมาก ปริมาณการซื้อขายหุ้นในอเมริกาเพิ่มขึ้น 3.8 เท่าของเมื่อเทียบทศวรรษที่แล้ว

การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี มันทำให้นักลงทุนทุกประเภทสามารถซื้อขายสินทรัพย์ในวงกว้างได้ง่ายขึ้น ถูกกว่าและง่ายกว่า 

ความผิดพลาดในปี 2008-2009 แสดงให้เห็นว่าการที่ธนาคารรับเงินฝากจากสาธารณชนต้องเผชิญกับความสูญเสียจากเหตุการณ์วิกฤติการเงินนั้นอันตรายเพียงใด 

ปัจจุบันธนาคารลดบทบาทในการเป็นศูนย์กลางของระบบการเงินเมื่อเทียบกับในอดีตเป็นอย่างมาก มีเงินทุนที่ดีกว่าและมีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงน้อยลง การเสี่ยงที่มากขึ้นจัดการโดยกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหรือผู้ออมระยะยาวซึ่งมีความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงได้ดีกว่า

ทว่าการคิดค้นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ก็มีความเสี่ยงใหญ่ 2 ประการ  ประการแรก เลเวอเรจบางส่วนที่ซ่อนอยู่ในระบบธนาคารและกองทุนรวมเพื่อการลงทุน ตัวอย่างเช่น ยอดรวมการกู้ยืมและหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากของกองทุนป้องกันความเสี่ยง กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนในตลาดเงินมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 43% ของ GDP เมื่อเทียบกับ 32% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา 

บริษัทสามารถก่อหนี้ก้อนโตได้โดยไม่มีใครสังเกตเห็น ตัวอย่างเช่น Archegos สำนักงานการลงทุนของครอบครัวที่ดูคลุมเครือ ผิดนัดชำระหนี้ในปีที่แล้ว ซึ่งหากราคาสินทรัพย์ลดลงก็อาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอื่นๆ ตามมา

อันตรายที่สองคือ แม้ว่าระบบใหม่จะมีการกระจายอำนาจมากกว่า แต่ก็ยังต้องอาศัยธุรกรรมที่ถูกส่งผ่านโหนดสองสามโหนดที่อาจถูกครอบงำด้วยความผันผวน ETFs ซึ่งมีทรัพย์สินมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ พึ่งพาบริษัททำตลาดขนาดเล็ก เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น

สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหลายล้านล้านดอลลาร์ถูกส่งผ่านสำนักหักบัญชีอเมริกันห้าแห่ง ธุรกรรมจำนวนมากดำเนินการโดยกลุ่มคนกลางสายพันธุ์ใหม่ เช่น Citadel Securitie บริษัทหรือสถาบันเหล่านี้ทั้งหมดมีอุปสรรคด้านความปลอดภัย และส่วนใหญ่สามารถเรียกร้องหลักประกันเพิ่มเติมหรือส่วนต่าง เพื่อป้องกันตนเองจากความสูญเสียของผู้ใช้ 

ในเดือนมกราคม 2021 การซื้อขายอย่างบ้าคลั่งในหุ้นตัวเดียวของ GameStop ทำให้เกิดความโกลาหล ทำให้เกิดการเรียกหลักประกันจำนวนมากจากระบบการชำระเงิน ซึ่งบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึง Robinhood ประสบปัญหาในการจ่ายเงิน 

การซื้อขายอย่างบ้าคลั่งของ หุ้น GameStop ในต้นปี 2021 (CR:Forbes)
การซื้อขายอย่างบ้าคลั่งของ หุ้น GameStop ในต้นปี 2021 (CR:Forbes)

ประชาชนทั่วไปอาจไม่คิดว่ามันมีความสำคัญมากนักหากเหล่านักลงทุนรายย่อยรวมถึงผู้จัดการกองทุนจำนวนมากถูกกำจัดออกไป แต่มันก็อาจจะส่งผลให้สามารถทำลายเศรษฐกิจที่เหลือได้เช่นเดียวกัน เพราะตอนนี้ครัวเรือนอเมริกันทั้งหมด 53% มีการถือหุ้น (เพิ่มขึ้นจาก 37% ในปี 1992) และมีบัญชีนายหน้าออนไลน์ในปัจจุบันมากกว่า 100 ล้านบัญชี 

หากตลาดสินเชื่อเติบโตขึ้น ครัวเรือนและบริษัทต่างๆ จะต้องลำบากมากขึ้นในการเข้าถึงการกู้ยืมเงิน นั่นคือเหตุผลที่ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ FED ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดตลาด โดยให้คำมั่นว่าจะอัดเงินเข้าสู่ระบบสูงถึง 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนตลาดตราสารหนี้ และสนับสนุนกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่หนุนหลังรวมถึงกองทุนรวมบางกองทุนนั่นเอง

บทสรุป

ต้องบอกว่านับตั้งแต่ปี 2008-09 ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลมีเป้าหมายใหญ่สองประการ ไม่ว่าจะเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นปกติ และหยุดใช้เงินสาธารณะเพื่อรับประกันความเสี่ยงของธุรกิจในภาคเอกชน 

ดูเหมือนว่าสถานการณ์ในตอนนี้กำลังดำเนินมาถึงภาวะตึงเครียดอีกครั้ง FED ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย  ซึ่งแม้ระบบการเงินในตอนนี้จะอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นกว่าในปี 2008 ที่เหล่าผู้บริหารสถาบันการเงินมีความประมาท ที่ส่งผลต่อทั้ง Bear Stearns และ Lehman Brothers เคยทำให้ระบบการเงินโลกแทบจะกลายเป็นอัมพาต

วิกฤตครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่มีใครรู้ แต่หากเกิดขึ้นอีกครั้ง ผลที่เกิดขึ้นมันคงแตกต่างจากวิกฤตในอดีตเป็นอย่างมากนั่นเองครับผม

References : https://www.businessinsider.com/next-stock-market-crash-recommendations-for-high-volatility-regime-societe-generale-2019-2
https://www.economist.com/leaders/2022/02/12/what-would-happen-if-financial-markets-crashed
https://www.economist.com/finance-and-economics/2022/02/12/is-the-modern-bank-light-financial-system-better-than-the-old-one

Geek Daily EP107 : เมื่อ Facebook รู้ดีว่ากำลังพ่ายแพ้ในการต่อสู้กับ TikTok

Meta และ Mark Zuckerberg กำลังประสบปัญหาหกตัวอักษร นั่นคือ: TikTok แอปวิดีโอขนาดสั้นที่มีผู้ใช้มากกว่าพันล้านคนและกลายเป็น Hot Thing in Tech หมายถึงปัญหาสำหรับ Zuckerberg และเครือข่ายโซเชียลของเขา 

เขายอมรับหลายครั้งในการพูดคุยกับนักวิเคราะห์ของวอลล์สตรีทเมื่อต้นสัปดาห์นี้เกี่ยวกับรายรับรายไตรมาส การบรรยายสรุปที่เขาพยายามอธิบายการเติบโตของแอปของเขา และการลดลงอย่างแท้จริงในผู้ใช้รายวันของ Facebook ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของบริษัทในประวัติศาสตร์ 18 ปี

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3gJtXlQ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3sARk6A

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3sFS9Lr

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3HUi2gO

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/_EPAKMULDrA

References Image : https://www.dkoding.in/newsline/facebook-mark-zuckerberg-gain-bytedance-zhang-yiming-loses-tiktok-sale/

สงครามไซเบอร์ของรัสเซียในยูเครนส่งสัญญาณอันตรายไปทั่วโลกอย่างไร

รัสเซียได้ส่งทหารมากกว่า 100,000 นายไปยังชายแดนของประเทศกับยูเครน คุกคามการทำสงครามแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าจะยังไม่มีการปะทะกันอย่างจริงจัง แต่ปฏิบัติการทางไซเบอร์กำลังดำเนินการไปอย่างเข้มข้นแล้ว

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แฮ็กเกอร์ทำลายล้างเว็บไซต์ของรัฐบาลหลายสิบแห่งในยูเครน ซึ่งเป็นการกระทำที่ง่ายในทางเทคนิค แต่สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างมาก พวกเขาได้วางมัลแวร์ทำลายล้างไว้ในหน่วยงานรัฐบาลของยูเครน ซึ่งค้นพบครั้งแรกโดยนักวิจัยที่ Microsoft ยังไม่ชัดเจนว่าใครรับผิดชอบ แต่รัสเซียเป็นผู้ต้องสงสัยอันดับแรกอย่างแน่นอน

แต่ในขณะที่ยูเครนยังคงรู้สึกถึงความรุนแรงของการโจมตีของรัสเซีย รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กังวลว่าการแฮ็กข้อมูลเหล่านี้อาจแพร่กระจายไปทั่วโลก คุกคามยุโรป สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ 

เมื่อวันที่ 18 มกราคม สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐอเมริกา (CISA) ได้เตือนผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้ดำเนินการขั้นตอนเร่งด่วนในระยะสั้นกับภัยคุกคามทางไซเบอร์

โดยอ้างว่าการโจมตียูเครนครั้งล่าสุดเป็นเหตุให้ต้องตื่นตัวต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับสหรัฐฯ  ซึ่งมันชี้ให้เห็นถึงการโจมตีทางไซเบอร์สองครั้งในปี 2017 ได้แก่ NotPetya และ WannaCry ซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วอินเทอร์เน็ต

การโจมตีได้ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลกด้วยความเสียหายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ความคล้ายคลึงกันนั้นชัดเจน: NotPetya เป็นการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตของรัสเซียที่กำหนดเป้าหมายไปยังยูเครนในช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดสูง

“ปฏิบัติการทางไซเบอร์เชิงรุกเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ก่อนที่กระสุนและขีปนาวุธจะบินว่อนในสงครามเต็มรูปแบบจริง ๆ ” John Hultquist หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของ Mandiant บริษัท รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กล่าว “ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้กับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรได้ในขณะที่สถานการณ์เลวร้ายลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสหรัฐฯ และพันธมิตรมีท่าทีก้าวร้าวต่อรัสเซียมากขึ้น”

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กล่าวระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม ว่าสหรัฐฯ สามารถตอบสนองต่อการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซียต่อยูเครนในอนาคตด้วยความสามารถทางไซเบอร์ของตนเอง ซึ่งอาจจะทำให้ความขัดแย้งยิ่งทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้น

“ผมเดาว่าเขาจะบุกเข้ามา” ไบเดนกล่าวเมื่อถูกถามว่าเขาคิดว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียจะบุกยูเครนหรือไม่

ผลที่ไม่คาดคิด?

ผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของโลกอาจไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่พื้นที่เล็ก ๆ เหมือนในอดีต สงครามไซเบอร์ไม่เหมือนกับสงครามในสมัยก่อน สงครามไซเบอร์ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยพรมแดนเหมือนในอดีตอีกต่อไป

ยูเครนกำลังอยู่ในจุดสิ้นสุดของการปฏิบัติการทางไซเบอร์ของรัสเซียอย่างดุเดือดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และได้รับความเดือดร้อนจากการบุกรุกและการแทรกแซงทางทหารจากมอสโกตั้งแต่ปี 2014 ในปี 2015 และ 2016 แฮกเกอร์ชาวรัสเซียโจมตีโครงข่ายไฟฟ้าของยูเครนและปิดไฟในเมืองหลวงของ Kyiv ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก

การโจมตีไปที่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างเครือข่ายไฟฟ้า (CR:Bankinfosecurity)
การโจมตีไปที่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างเครือข่ายไฟฟ้า (CR:Bankinfosecurity)

การโจมตีทางอินเทอร์เน็ต NotPetya ในปี 2017 ซึ่งได้รับคำสั่งจากมอสโกอีกครั้ง โดยเริ่มแรกมุ่งเป้าไปที่บริษัทเอกชนของยูเครน ก่อนที่มันจะเริ่มแพร่กระจายและทำลายระบบต่างๆ ทั่วโลก 

NotPetya ปลอมตัวเป็นแรนซัมแวร์ แต่แท้จริงแล้วมันเป็นโค้ดที่สร้างความเสียหายอย่างสูง มัลแวร์ทำลายล้างที่พบในยูเครนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ WhisperGate ยังทำตัวเป็นเป็นแรนซัมแวร์ โดยมีเป้าหมายที่จะทำลายข้อมูลสำคัญที่ทำให้เครื่องมือต่าง ๆ ใช้งานไม่ได้ 

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า WhisperGate นั้น  ชวนให้นึกถึง NotPetya แต่ก็มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน ประการหนึ่ง WhisperGate นั้นซับซ้อนน้อยกว่าและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ซึ่งทางรัสเซียปฏิเสธการมีส่วนร่วม และไม่มีจุดเชื่อมโยงที่ชัดเจนไปยังมอสโก

NotPetya ทำให้ท่าเรือขนส่งสินค้าแทบเป็นอัมพาต และทำให้บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่หลายแห่งและหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถทำงานได้ เกือบทุกคนที่ทำธุรกิจกับยูเครนได้รับผลกระทบเพราะรัสเซียแอบวางไวรัสในซอฟต์แวร์ที่ใช้โดยทุกคนที่จ่ายภาษีหรือทำธุรกิจในประเทศ 

ทำเนียบขาวกล่าวว่าการโจมตีครั้งนี้สร้างความเสียหายทั่วโลกมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ และถือเป็น “การโจมตีทางไซเบอร์ที่ทำลายล้างและมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์”

ตั้งแต่ปี 2017 มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องว่าเหยื่อจากต่างประเทศเป็นเพียงความเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจหรือว่าการโจมตีมุ่งเป้าไปที่บริษัทที่ทำธุรกิจกับศัตรูของรัสเซียหรือไม่ ที่ชัดเจนก็คือมันสามารถเกิดขึ้นได้อีกอย่างแน่นอนในอนาคต 

Hultquist คาดว่าเราจะได้เห็นการปฏิบัติการทางไซเบอร์จากหน่วยข่าวกรองทางทหารของรัสเซีย GRU องค์กรที่อยู่เบื้องหลังการแฮ็กที่ก้าวร้าวที่สุดตลอดกาลทั้งในและนอกยูเครน กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของ GRU ซึ่งได้รับการขนานนามว่าแซนด์เวิร์ม

กลุ่มนี้มีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการแฮ็กระดับใหญ่ รวมถึงแฮ็กกริดไฟฟ้าของยูเครนปี 2015, แฮ็ก NotPetya ในปี 2017, การแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส และการแฮ็กในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

การถูกแทรกแซง และภาพการบุกสภาที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของผู้ประท้วงชาวอเมริกัน (CR:Wikipedia)
การถูกแทรกแซง และภาพการบุกสภาที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของผู้ประท้วงชาวอเมริกัน (CR:Wikipedia)

Hultquist กำลังมองไปที่อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้เชี่ยวชาญในชื่อ Berserk Bear ซึ่งมาจากหน่วยงานข่าวกรองรัสเซีย FSB ในปี 2020 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯเตือนถึงภัยคุกคามที่กลุ่มก่อขึ้นต่อเครือข่ายรัฐบาล รัฐบาลเยอรมันกล่าวว่ากลุ่มเดียวกันนี้ประสบความสำเร็จในการโจมตีบริษัทต่างๆ เนื่องจากพวกเขามุ่งเป้าไปที่ภาคพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

“กลุ่มคนเหล่านี้ติดตามโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมาเป็นเวลานาน เกือบทศวรรษแล้ว” Hultquist กล่าว “แม้ว่าเราจะจับพวกมันได้หลายครั้ง แต่ก็พวกเขายังคงเข้าถึงได้ในหลายๆ พื้นที่อยู่ดี”

เครื่องมือโจมตีที่มีความซับซ้อนสูง

มีการถกเถียงกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับกลุ่มแฮ็กเกอร์ในรัสเซียและการรุกรานที่มอสโกต้องการทำนอกยูเครน 

“ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่ชาวรัสเซียจะไม่กำหนดเป้าหมายที่ระบบของเรา โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเรา” Dmitri Alperovitch ผู้เชี่ยวชาญที่รู้จักกันมานานเกี่ยวกับกิจกรรมทางไซเบอร์ของรัสเซียและผู้ก่อตั้ง Silverado Policy Accelerator ในวอชิงตันกล่าว “สิ่งสุดท้ายที่พวกเขาจะทำคือเพิ่มความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ท่ามกลางความพยายามในการทำสงครามกับยูเครน”

ไม่มีใครเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าแผนการที่แท้จริงของมอสโกเป็นอย่างไรในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ ผู้นำอเมริกันคาดการณ์ว่ารัสเซียจะบุกยูเครน แต่รัสเซียได้แสดงให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า เมื่อพูดถึงโลกไซเบอร์ พวกเขามีเครื่องมือโจมตีที่มีความซับซ้อนและหลากหลายกว่ามาก

บางครั้งพวกเขาใช้มันเพื่อบางสิ่งที่ค่อนข้างเรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพเหมือนกับการทำแคมเปญเพื่อบิดเบือนข้อมูลในเครือข่ายโซเชียลมีเดีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลายเสถียรภาพทางการเมืองหรือแบ่งแยกฝ่ายตรงข้าม พวกเขายังมีความสามารถในการพัฒนาและปรับใช้การดำเนินการทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและก้าวร้าวที่สุดในโลก

ในปี 2014 ในขณะที่ยูเครนตกอยู่ในวิกฤตอีกครั้งและรัสเซียบุกไครเมีย แฮ็กเกอร์ชาวรัสเซียก็แอบบันทึกการเรียกร้องของนักการทูตสหรัฐฯ ที่ผิดหวังกับการเพิกเฉยของยุโรปซึ่งกล่าวว่า “Fuck the EU” กับเพื่อนร่วมงาน ข้อมูลที่รั่วไหลผ่านการโทรทางออนไลน์เพื่อพยายามสร้างความโกลาหลในพันธมิตรของตะวันตกได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการด้านข้อมูลที่รุนแรงโดยรัสเซีย 

การรั่วไหลของข้อมูลและการบิดเบือนข้อมูลยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับมอสโก การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปต้องเผชิญซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากการบิดเบือนข้อมูลทางไซเบอร์ตามทิศทางของรัสเซีย 

ในช่วงเวลาของพันธมิตรที่เปราะบางและสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ซับซ้อนมากขึ้นในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ปูตินสามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญได้ด้วยการกำหนดรูปแบบการสนทนาในที่สาธารณะและการรับรู้ว่าสงครามในยุโรปกำลังคืบคลานเข้ามา

“เหตุการณ์ในโลกไซเบอร์เหล่านี้แทบไม่ต้องใช้ความรุนแรง และผลที่ตามมาส่วนใหญ่อยู่ในการรับรู้ของสาธารณชนน” Hultquist กล่าว “พวกเขากัดกร่อนสถาบัน ทำให้เราดูไม่ปลอดภัย ทำให้รัฐบาลดูอ่อนแอ พวกเขามักจะไม่ยกระดับที่จะกระตุ้นการตอบสนองทางการทหารที่นำไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ”

บทสรุป

เรื่องของ Propaganda หรือการโฆษณาชวนเชื่อนั้น ต้องบอกว่า มีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคสงครามโลก หรือ สงครามเย็น เพราะเป็นอาวุธที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจเหล่านี้

แต่ตอนนี้ โลกได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญก็คือ การเกิดขึ้นของ Social Media ต่าง ๆ มากมาย ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และแน่นอนว่าสื่อใหม่เหล่านี้ ได้สร้างพลัง และอิทธิพลอย่างสูงต่อความเป็นไปของโลกเรา

ถึงขนาดที่ว่า ประเทศยักษ์ใหญ่ ที่มีอำนาจสูงสุดอย่าง สหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้นำโลก ยังโดนสงครามข้อมูลเหล่านี้ เปลี่ยนแปลงสังคม สร้างความเกลียดชัง และความแตกแยกของประชาชนชาวอเมริกันอย่างไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน

เราได้เห็นภาพในสิ่งที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศประชาธิปไตยแบบสุดขั้วอย่างสหรัฐอเมริกา การบุกรุกรัฐสภาสหรัฐของผู้สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้

และสิ่งเหล่านี้มันกำลังเกิดขึ้น ทั่วโลก ไล่มาตั้งแต่อาหรับสปริง การปฏิวัติในยูเครน จนมาถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุดอย่างการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของอเมริกา หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดความแตกแยกในประเทศไทยเราเองก็ตามที

หรือรูปแบบของการโจมตีไซเบอร์ที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน ทำลายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทุก ๆ ชาติต้องเตรียมการกับการโจมตีรูปแบบใหม่นี้ เพราะในหากสงครามเต็มรูปแบบมันเกิดขึ้นจริงมันคงเป็นสงครามที่ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไปนั่นเองครับผม

อ่าน Blog Series : Cyberwar – How Russian Hackers Steal the 2016 Election

References : https://www.express.co.uk/news/world/719511/Russia-US-brink-cyber-warfare-Putin-accused-rigging-election
https://www.technologyreview.com/2022/01/21/1043980/how-a-russian-cyberwar-in-ukraine-could-ripple-out-globally/?
https://www.politico.eu/article/russia-hacking-victoria-nuland-the-hairs-really-went-up-on-the-back-of-our-necks/
https://www.microsoft.com/security/blog/2022/01/15/destructive-malware-targeting-ukrainian-organizations/
https://www.bignewsnetwork.com/news/253442659/for-the-first-time-ever-putin-concedes-us-election-hacking-may-have-emanated-from-russia-blames-patriotic-hackers-ridicules-probe