วิกฤตครั้งต่อไป จะเกิดอะไรขึ้นหากตลาดการเงินพังพินาศอีกครั้ง?

Charles Kindleberger เขียนในการศึกษาวิกฤตการณ์ทางการเงินของเขาว่า “สำหรับนักประวัติศาสตร์ วิกฤติทางการเงินแต่ละเหตุการณ์มีความพิเศษเฉพาะตัว แต่สุดท้ายมันก็เกี่ยวข้องกับการค้นหารูปแบบที่บ่งชี้ว่าวัฏจักรดังกล่าวกำลังจะหมุนเวียนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง”

ทุกวันนี้ ระบบการเงินของอเมริกาแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับยุคก่อนการล่มสลายในปี 2001 และ 2008 แต่สถานการณ์ช่วงหลังๆ มีสัญญาณที่คุ้นเคยที่ส่งสัญญาณถึงภาวะฟองสบู่และความกลัวที่เริ่มเกิดขึ้นในวอลล์สตรีท

ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายที่บ้าคลั่งโดยไม่มีข่าวจริง ราคาที่ผันผวนอย่างกะทันหัน และความรู้สึกไม่สบายใจในหลาย ๆ อย่าง โดยเมื่อตลาดขึ้นสู่จุดพีคในปี 2021 เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนมกราคม 2022 ราคาหุ้นในวอลล์สตรีทกลับกลายเป็นปีที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 โดยลดลง 5.3%  สินทรัพย์ที่นักลงทุนรายย่อยชื่นชอบ เช่น หุ้นเทคโนโลยี สกุลเงินดิจิทัล และหุ้นในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ต่างพากันตกดิ่งลงเหวอย่างหนัก 

ต้องบอกว่าการเทขายออกของเหล่านักลงทุนในเดือนมกราคมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างแท้จริง เป็นการกวาดล้างตลาดหุ้นจากการเก็งกำไรเกินควร แต่ระบบการเงินโฉมใหม่ของอเมริกายังเต็มไปด้วยความเสี่ยงด้วยราคาสินทรัพย์ที่สูงลิ่ว

การผสมผสานระหว่างการประเมินมูลค่าที่สูงลิ่วและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหากการสูญเสียครั้งใหญ่เกิดขึ้นจริง คำถามสำคัญสำหรับนักลงทุน นายธนาคารกลาง และสำหรับเศรษฐกิจโลกก็คือว่าระบบการเงินจะปกป้องพวกเขาให้ปลอดภัยได้อีกครั้งหรือไม่ คำตอบนั้นยังไม่ชัดเจน เนื่องจากระบบดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาโดยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ

กฎเกณฑ์ด้านเงินทุนฉบับใหม่ได้ผลักดันให้มีการนำความเสี่ยงออกไปจากธนาคารเป็นจำนวนมาก การแปลงทุกอย่างให้กลายเป็นดิจิทัลทำให้คอมพิวเตอร์มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น มีการสร้างแพลตฟอร์มใหม่สำหรับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ และลดต้นทุนในการซื้อขายจนเกือบจะเหลือเป็นศูนย์ 

ผลที่ได้คือผู้เล่นใหม่ ๆ รายย่อย การซื้อขายหุ้นไม่ได้ถูกครอบงำโดยกองทุนบำเหน็จบำนาญขนาดใหญ่อีกต่อไป แต่โดยกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนอัตโนมัติ (ETFs) และกลุ่มนักลงทุนรายย่อยที่ใช้แอปใหม่ที่ใช้งานสะดวกสบายสำหรับพวกเขาเป็นอย่างมาก ปริมาณการซื้อขายหุ้นในอเมริกาเพิ่มขึ้น 3.8 เท่าของเมื่อเทียบทศวรรษที่แล้ว

การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี มันทำให้นักลงทุนทุกประเภทสามารถซื้อขายสินทรัพย์ในวงกว้างได้ง่ายขึ้น ถูกกว่าและง่ายกว่า 

ความผิดพลาดในปี 2008-2009 แสดงให้เห็นว่าการที่ธนาคารรับเงินฝากจากสาธารณชนต้องเผชิญกับความสูญเสียจากเหตุการณ์วิกฤติการเงินนั้นอันตรายเพียงใด 

ปัจจุบันธนาคารลดบทบาทในการเป็นศูนย์กลางของระบบการเงินเมื่อเทียบกับในอดีตเป็นอย่างมาก มีเงินทุนที่ดีกว่าและมีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงน้อยลง การเสี่ยงที่มากขึ้นจัดการโดยกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหรือผู้ออมระยะยาวซึ่งมีความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงได้ดีกว่า

ทว่าการคิดค้นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ก็มีความเสี่ยงใหญ่ 2 ประการ  ประการแรก เลเวอเรจบางส่วนที่ซ่อนอยู่ในระบบธนาคารและกองทุนรวมเพื่อการลงทุน ตัวอย่างเช่น ยอดรวมการกู้ยืมและหนี้สินที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากของกองทุนป้องกันความเสี่ยง กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนในตลาดเงินมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 43% ของ GDP เมื่อเทียบกับ 32% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา 

บริษัทสามารถก่อหนี้ก้อนโตได้โดยไม่มีใครสังเกตเห็น ตัวอย่างเช่น Archegos สำนักงานการลงทุนของครอบครัวที่ดูคลุมเครือ ผิดนัดชำระหนี้ในปีที่แล้ว ซึ่งหากราคาสินทรัพย์ลดลงก็อาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอื่นๆ ตามมา

อันตรายที่สองคือ แม้ว่าระบบใหม่จะมีการกระจายอำนาจมากกว่า แต่ก็ยังต้องอาศัยธุรกรรมที่ถูกส่งผ่านโหนดสองสามโหนดที่อาจถูกครอบงำด้วยความผันผวน ETFs ซึ่งมีทรัพย์สินมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ พึ่งพาบริษัททำตลาดขนาดเล็ก เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น

สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหลายล้านล้านดอลลาร์ถูกส่งผ่านสำนักหักบัญชีอเมริกันห้าแห่ง ธุรกรรมจำนวนมากดำเนินการโดยกลุ่มคนกลางสายพันธุ์ใหม่ เช่น Citadel Securitie บริษัทหรือสถาบันเหล่านี้ทั้งหมดมีอุปสรรคด้านความปลอดภัย และส่วนใหญ่สามารถเรียกร้องหลักประกันเพิ่มเติมหรือส่วนต่าง เพื่อป้องกันตนเองจากความสูญเสียของผู้ใช้ 

ในเดือนมกราคม 2021 การซื้อขายอย่างบ้าคลั่งในหุ้นตัวเดียวของ GameStop ทำให้เกิดความโกลาหล ทำให้เกิดการเรียกหลักประกันจำนวนมากจากระบบการชำระเงิน ซึ่งบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึง Robinhood ประสบปัญหาในการจ่ายเงิน 

การซื้อขายอย่างบ้าคลั่งของ หุ้น GameStop ในต้นปี 2021 (CR:Forbes)
การซื้อขายอย่างบ้าคลั่งของ หุ้น GameStop ในต้นปี 2021 (CR:Forbes)

ประชาชนทั่วไปอาจไม่คิดว่ามันมีความสำคัญมากนักหากเหล่านักลงทุนรายย่อยรวมถึงผู้จัดการกองทุนจำนวนมากถูกกำจัดออกไป แต่มันก็อาจจะส่งผลให้สามารถทำลายเศรษฐกิจที่เหลือได้เช่นเดียวกัน เพราะตอนนี้ครัวเรือนอเมริกันทั้งหมด 53% มีการถือหุ้น (เพิ่มขึ้นจาก 37% ในปี 1992) และมีบัญชีนายหน้าออนไลน์ในปัจจุบันมากกว่า 100 ล้านบัญชี 

หากตลาดสินเชื่อเติบโตขึ้น ครัวเรือนและบริษัทต่างๆ จะต้องลำบากมากขึ้นในการเข้าถึงการกู้ยืมเงิน นั่นคือเหตุผลที่ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ FED ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดตลาด โดยให้คำมั่นว่าจะอัดเงินเข้าสู่ระบบสูงถึง 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนตลาดตราสารหนี้ และสนับสนุนกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่หนุนหลังรวมถึงกองทุนรวมบางกองทุนนั่นเอง

บทสรุป

ต้องบอกว่านับตั้งแต่ปี 2008-09 ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลมีเป้าหมายใหญ่สองประการ ไม่ว่าจะเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นปกติ และหยุดใช้เงินสาธารณะเพื่อรับประกันความเสี่ยงของธุรกิจในภาคเอกชน 

ดูเหมือนว่าสถานการณ์ในตอนนี้กำลังดำเนินมาถึงภาวะตึงเครียดอีกครั้ง FED ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย  ซึ่งแม้ระบบการเงินในตอนนี้จะอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นกว่าในปี 2008 ที่เหล่าผู้บริหารสถาบันการเงินมีความประมาท ที่ส่งผลต่อทั้ง Bear Stearns และ Lehman Brothers เคยทำให้ระบบการเงินโลกแทบจะกลายเป็นอัมพาต

วิกฤตครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่มีใครรู้ แต่หากเกิดขึ้นอีกครั้ง ผลที่เกิดขึ้นมันคงแตกต่างจากวิกฤตในอดีตเป็นอย่างมากนั่นเองครับผม

References : https://www.businessinsider.com/next-stock-market-crash-recommendations-for-high-volatility-regime-societe-generale-2019-2
https://www.economist.com/leaders/2022/02/12/what-would-happen-if-financial-markets-crashed
https://www.economist.com/finance-and-economics/2022/02/12/is-the-modern-bank-light-financial-system-better-than-the-old-one


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube