เหตุใด Generation Z จึงตกหลุมพรางข้อมูล fake news ทางแพลตฟอร์มออนไลน์มากที่สุด

ต้องบอกว่าเป็นงานวิจัยจากบทความของ MIT Technology Review ที่น่าจะขัดกับความเชื่อของหลาย ๆ คน ที่กล่าวว่าคนยุคใหม่โดยเฉพาะ Gen Z นั้นกลายเป็นเหยื่อมากที่สุดของการเผยแพร่ข้อมูล Fake News บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในโลกออนไลน์

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เมื่อเด็กสาววัยรุ่นมองกล้องอย่างจริงจัง เฟรมสั่นไหวขณะที่เธอเอียงโทรศัพท์ไปที่ใบหน้าของเธอ คำบรรยายภาพที่ซ้อนทับบนเสื้อฮู้ดของเธอมีคำเตือนที่สุดโต่งมาก ๆ : หากโจ ไบเดนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา “ทรัมป์” จะสังหารหมู่ LGBT และคนผิวสีจำนวนมาก 

คำอธิบายภาพอีกอย่างหนึ่งใต้วีดีโอกล่าวว่า “นี่คือ ww3 จริงๆ” วิดีโอนั้นถูกโพสต์บน TikTok เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 และมีคนกดถูกใจมากกว่า 20,000 ครั้ง ในช่วงเวลานั้น คนหนุ่มสาวอีกหลายสิบคนได้ share คำเตือนที่คล้ายคลึงกันบนโซเชียลมีเดีย และโพสต์ของพวกเขาก็มีคนเข้ามาดู ชอบ และแสดงความคิดเห็นหลายแสนคน

เห็นได้ชัดว่ามันเป็นเรื่องเท็จแทบจะทั้งสิ้น แล้วเหตุใดจึงทำให้คนในยุค Generation Z จำนวนมาก ที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 9 ถึง 24 ปีซึ่งน่าจะเข้าใจโลกดิจิทัลมากกว่าคนรุ่นก่อนจึงเสพข้อมูลผิด ๆ อย่างโจ่งแจ้ง?

นักวิจัยจาก Stanford Internet Observatory ได้ทำการวิเคราะห์การแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดทางออนไลน์ โดยได้มีการศึกษาแคมเปญต่างๆ จากต่างประเทศบนโซเชียลมีเดียและตรวจสอบว่าข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งปี 2020 และวัคซีนโควิด-19 แพร่ระบาดไปในโลกออนไลน์ได้อย่างไร 

ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจจากงานวิจัยพบว่าคนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเชื่อและส่งต่อข้อมูลที่ผิดๆ มากขึ้น หากพวกเขารู้สึกถึงตัวตนที่เหมือนกันกับบุคคลที่แบ่งปันข้อมูลนั้นตั้งแต่แรก

เมื่อวันรุ่นจะตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อถือได้ และสิ่งใดควรเพิกเฉยหรือตั้งข้อสงสัย วัยรุ่นมักจะใช้บริบทจากความเชื่อมโยงทางสังคมและชื่อเสียงส่วนบุคคลที่พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ที่แบ่งปันกันมานานหลายปี ซึ่งทำให้พวกเขารู้ว่าสมาชิกครอบครัว เพื่อน และ influencer คนใดที่พวกเขาจะเชื่อได้ 

ผู้มีอิทธิพลหรือเหล่า influencer จึงกลายเป็นผู้ส่งสารที่เชื่อถือได้ในหัวข้อที่พวกเขาแทบจะไม่มีความเชี่ยวชาญ จากการสำรวจของ Common Sense Media วัยรุ่น 60% ที่ใช้ YouTube เพื่อติดตามเหตุการณ์ปัจจุบันหันไปหา influencer มากกว่าองค์กรข่าวที่มีความน่าเชื่อถือกว่า 

เหล่าครีเอเตอร์ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับวัยรุ่น ข้อมูลต่าง ๆ ของพวกเขาจะถูกยกระดับกลายเป็นเรื่องจริงที่น่าเชื่อถือแทบจะทั้งหมด ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องจริง ๆ อย่างยากเย็นแสนเข็ญ

คนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเชื่อและส่งต่อข้อมูลที่ผิดๆ มากขึ้น หากพวกเขารู้สึกถึงตัวตนที่เหมือนกันกับบุคคลที่แบ่งปันข้อมูลนั้นตั้งแต่แรก

ส่วนใหญ่เป็นข่าวลือเรื่องแผนการใช้ความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง บุคคลที่ share คำเตือนเหล่านี้นั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับผู้ฟังอย่างลึกซึ้ง หลายคนเป็นคนผิวสีและเป็น LGBT อย่างเปิดเผย

และโพสต์ต่างๆ ของเหล่า influencers มักเป็นหัวข้อที่วัยรุ่นคุ้นเคย เช่น ความขัดแย้งในครอบครัวและการดิ้นรนต่อสู้ในชั้นเรียน ความรู้สึกของประสบการณ์ร่วมกันนี้ทำให้พวกเขาเชื่อได้ง่าย แม้ว่าจะไม่ได้มีการเสนอหลักฐานใดๆ สำหรับเรื่องราวเหล่านั้นก็ตามที

สิ่งที่ทำให้เรื่องแย่ลงไปอีกคือข้อมูลที่ล้นเกินไปในยุคปัจจุบันที่ผู้คนจำนวนมากต้องเจอบนโซเชียลมีเดีย นั่นเองเป็นเหตุผลให้เราไว้วางใจและแบ่งปันข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำกว่า ข่าวลือเรื่องการเลือกตั้งปรากฏขึ้นท่ามกลางโพสต์อื่นๆ อีกหลายสิบโพสต์ในฟีด TikTok ของวัยรุ่น

นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่มีเวลาคิด ไตร่ตรอง วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการข้อมูลในแต่ละครั้ง ความพยายามใด ๆ ที่จะท้าทายข่าวลือนั้นถูกโจมตีด้วยการแสดงความคิดเห็นแย้งแทบจะในทันที

ในขณะที่คนหนุ่มสาวมีส่วนร่วมในการอภิปรายทางการเมืองในแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น และดึงดูดผู้คนที่มีความคิดเหมือนๆ กัน เข้ามาสนทนาในหัวข้อเดียวกัน แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะมีศักยภาพที่จะให้อำนาจแก่กลุ่มคนชายขอบ แต่ก็ทำให้เกิดภัยคุกคามของข้อมูลผิดที่แพร่ระบาดไปในโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้สุดท้ายผู้คนที่รวมกันเป็นหนึ่งด้วยอัตลักษณ์เดียวกันจะพบว่าตนเองอ่อนแอต่อการได้รับข้อมูลผิด ๆ นั่นเอง

แล้วใครควรรับผิดชอบ? 

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสามารถใช้อัลกอริธึมการแนะนำที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายข้อมูลมากกว่าโพสต์ที่เป็นคลิกเบต นักข่าวต้องยอมรับว่าผู้อ่านจำนวนมากได้รับข่าวจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่มองผ่านเลนส์ของอัตลักษณ์ของพวกเขาเป็นหลัก

ผู้กำหนดนโยบายต้องควบคุมแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและผ่านกฎหมายเพื่อจัดการกับข้อมูลที่ผิดทางออนไลน์ และนักการศึกษาก็ต้องมีการสอนนักเรียนให้ประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลของพวกเขาได้

ต้องบอกว่าการสนทนา ถกเถียง ในโลกออนไลน์ที่มีข้อมูลพรั่งพรูมากจากแหล่งต่าง ๆ มากมายในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และอันตรายของข้อมูลที่ผิดสามารถเติมเชื้อเพลิงไฟความขัดแย้งให้แพร่กระจาย อย่างที่กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกในตอนนี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.nature.com/articles/s41562-017-0132
https://www.technologyreview.com/2021/06/30/1026338/gen-z-online-misinformation/
https://www.livingly.com/Things+Gen+Z+Does+That+Annoy+Millennials
https://www.commonsensemedia.org/about-us/news/press-releases/new-survey-reveals-teens-get-their-news-from-social-media-and-youtube