Geek Monday EP106 : บทเรียนธุรกิจที่น่าสนใจ จากสารคดีฟุตบอลชุด Sunderland ‘Til I Die

ต้องบอกว่าการบริหารทีมฟุตบอลหนึ่งทีม ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวทางธุรกิจที่มีความน่าสนใจมาก ทั้งเรื่องราวของผู้จัดการทีม นักเตะ ไปจนถึงประธานสโมสร เรียกว่าเป็นอีกหนึ่ง case study ทางธุรกิจที่น่าสนใจที่ให้ข้อคิดหลากหลายแง่มุม กับความยิ่งใหญ่ หรือ ความตกต่ำของทีมฟุตบอลหนึ่งทีม

ในรายการ Geek Monday EP นี้ผมจะพาไปดูบทเรียนจากความล้มเหลวของสโมสรฟุตบอลอย่าง Sunderland ที่ถูกถ่ายทอดผ่านสารคดี Sunderland ‘Til I Die จาก Netflix ซึ่งผมได้สรุปรายละเอียดบทเรียนที่น่าสนใจไว้ใน EP นี้

*** มี spoil เนื้อหาจากสารคดี ชุด Sunderland ‘Til I Die ของ Netflix ***

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3lN4IlJ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Syd5yXWEaI8

LinkedIn ยังถอดใจ กับท่าทีที่เปลี่ยนไปของรัฐบาลจีน

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับการประกาศถอนตัวจากตลาดประเทศจีนของบริการจากอเมริกาที่เหลือรอดอยู่เพียงหนึ่งเดียวอย่าง LinkedIn ที่ต้องเผชิญกับปัญหามากมายในข้อกำหนดด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบที่มากขึ้นในประเทศจีน

ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียน blog ที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ทำไม LinkedIn ถึงสามารถบุกตลาดจีนได้สำเร็จ แต่ตอนนี้ดูเหมือนความพยายามทุกอย่างของ LinkedIn กว่า 7 ปีที่ผ่านมา สุดท้ายก็มีจุดจบไม่ต่างจากสิ่งที่ Facebook , Google , Youtube หรือ แม้กระทั่ง Reddit เจอ

ยุทธศาสตร์ที่ Conflict

ในปี 2014 เมื่อ LinkedIn ได้ทำการเปิดตัวเว็บไซต์ในประเทศจีนเป็นครั้งแรก ทาง CEO อย่าง Jeff Weiner ได้กล่าวว่า “LinkedIn จะมีความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน

หลังจากนั้นก็เป็น Weiner เองที่ประกาศออกมาว่า “LinkedIn สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกอย่างยิ่ง และไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน”

แต่บริษัทก็ได้ออกมาระบุในภายหลังว่า จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของรัฐบาลจีนเพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศพวกเขาได้

 Jeff Weiner ต้องยอมรับความจริงที่ว่าพวกเขาพ่ายแพ้ในตลาดจีน (CR:Vulcan Post)
Jeff Weiner ต้องยอมรับความจริงที่ว่าพวกเขาได้พ่ายแพ้ในตลาดจีน (CR:Vulcan Post)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ Conflict กันเอง มีการสนับสนุนเสรีภาพ ไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีน แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดขอบรัฐบาลจีน มันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน และทำให้ LinkedIn ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ยาก ซึ่งสุดท้ายก็โดนรัฐบาลจีน สั่งบล็อก โดยเฉพาะโปรไฟล์ของนักข่าวชาวอเมริกันหลายคน ซึ่งถือเป็นการเซ็นเซอร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าของรัฐบาลจีน จนเกิดคำถามขึ้นของเหล่าผู้ใช้งานมากมายในแพลตฟอร์ม

เมื่อรัฐจีนควบคุมบริษัทเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น

เราจะเห็นได้จากข่าวที่ทยอยปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แค่ไหนในธุรกิจเทคโนโลยีของจีน ก็ไม่รอดพ้นเงื้อมมือของรัฐบาล และถูกเล่นงานตามกันไปหมด

ซึ่งนั่นเป็นเคสของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศยังโดนหนักขนาดนั้น ไม่ต้องนึกถึงสภาพของ LinkedIn ที่เป็นบริการจากอเมริกาว่าจะโดนหนักขนาดไหน โดยเฉพาะเรื่องการเข้ามาเซ็นเซอร์ข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น

แม้ LinkedIn เองจะช่วยให้สมาชิกผู้ใช้งานชาวจีนหางานและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้มากมาย แต่เรื่องของสังคมและการแบ่งปันข้อมูลนั้น เรียกได้ว่า LinkedIn ล้มเหลวเป็นอย่างมาก

พวกเขาต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ท้าทายยิ่งขึ้นมาก และข้อกำหนดด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบที่มากยิ่งขึ้นในประเทศจีน หลังรัฐบาลจีนต้องการมาจัดการบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

บทสรุป

ก่อนหน้านี้ LinkedIn แทบจะเป็นปราการด่านสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ของบริการออนไลน์จากอเมริกา ที่มาบุกตลาดจีน แต่สุดท้ายแม้จะพยายามปรับตัวและลงทุนไปมากแค่ไหน จุดจบก็ไม่ต่างจากบริการอื่น ๆ จากเพื่อนร่วมชาติไม่ว่าจะเป็น Twitter , Facebook หรือ Google ที่ชิงหนีออกไปก่อนนานแล้ว

เพราะฉะนั้น บริการออนไลน์ต่างๆ จากต่างประเทศ ที่คิดจะบุกไปตลาดขนาดใหญ่อย่างประเทศจีน คงเป็นเพียงแค่ฝัน เพราะ LinkedIn ที่แม้พยายามปรับตัวทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมจีน การตั้งผู้บริหารที่เป็นคนจีนเองมาดูแล ก็ยังไม่สามารถฝ่าฟันให้เอาชนะอุปสรรคอันยิ่งใหญ่จากรัฐบาลจีนได้

ซึ่งตอนนี้ ธุรกิจเทคโนโลยีของจีน อยู่ในภาวะที่ไม่มีความแน่นอนเป็นอย่างยิ่ง แม้กระทั่งบริการในประเทศเอง ก็ยังไม่ทราบชะตากรรมอนาคตของตัวเองที่ชัดเจนนัก

ซึ่งแม้จะเหลือพื้นที่ให้ธุรกิจเทคโนโลยีที่ไม่ใช่บริการออนไลน์ อย่างในกรณีของ Apple ที่เน้นขาย Hardware ที่ดูเหมือนจะไปได้ดีในตลาดจีน

แต่ในอนาคตมันก็ไม่มีความแน่นอนอีกต่อไป การอยู่ในอำนาจเป็นเวลานานของประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง จนสามารถควบคุมทุกอย่างได้แบบเบ็ดเสร็จแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้สิ่งที่คิดว่ามีความแน่นอน ในอนาคตมันก็อาจจะไม่มีความแน่นอนอีกต่อไปนั่นเองครับผม

References :
https://www.forbes.com/sites/dereksaul/2021/10/14/linkedin-leaves-china-following-charges-of-censorship
https://www.axios.com/linkedin-unanswered-questions-china-censorship-56b75495-230c-4dc2-9a29-6a35e2f8cec0.html
https://www.wsj.com/articles/microsoft-abandons-linkedin-in-china-citing-challenging-operating-environment-11634220026
https://www.ft.com/content/d5cc7987-9d41-44c3-a6bf-7947c03b9cf9

Geek Story EP124 : Anthony Tan ผู้ก่อตั้ง Grab กับกองเรือรบที่กำลังจะพิชิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม่มีใครคาดคิดว่า Grab จะยิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้ แม้แต่ผู้ก่อตั้งก็ยังต้องดิ้นรอนต่อสู้ในช่วงแรกของการก่อตั้งบริษัท แต่หลังจากจัดการเอาชนะคู่แข่งได้หลายครั้ง และหลังจากเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมใหม่ครั้งสำคัญ ตอนนี้กองเรือรบของ Anthony Tan กำลังจะพิชิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สำเร็จ

Grab ก็เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ด้วยเงินที่หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ บริษัทให้บริการเรียกรถในมาเลเซียแห่งนี้ได้ครอบคลุมวิถีชีวิตของผู้ใช้จำนวนมาก

และด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงประสบความสำเร็จในการครอง ecoysystem ทั้งหมดของการใช้ชีวิตของเหล่าผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ นำโดย Anthony Tan

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3aEyCSX

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/WJFY6aQlcuY

Squid Game vs 13 เกมสยอง กับความเหมือนที่แตกต่าง สู่ Soft Power อันทรงพลังของประเทศเกาหลีใต้

ต้องบอกว่าเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวที่คล้ายกัน และมีพล็อตที่ดูคล้ายคลึงกันมาก ๆ สำหรับซีรีส์ชื่อดังที่กำลังเป็นกระแสในตอนนี้อย่าง Squid Game กับภาพยนต์ระดับตำนานเรื่องนึงของไทยที่ไปคว้ารางวัลมามากมายอย่าง 13 เกมสยอง ที่นำแสดงโดยกฤษฎา สุโกศล แคลปป์ และกำกับโดยคุณมะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล

เราได้เห็น message หลักที่ทั้งสองเรื่องต้องการสื่อ ไม่ว่าจะเป็น เกม เงินรางวัล ผู้เข้าร่วมเกมที่เป็นคนที่ต้องการเงินอย่างสิ้นหวัง แม้รายละเอียดปลีกย่อยจะมีความแตกต่างกันมาก แต่ผมมองว่ามันเป็นพล็อตที่คล้ายกันอย่างเหลือเชื่อ

ซึ่งหลังจากดู ซีรีส์ Squid Game จบ ผมเลยต้องกลับไปหาดู 13 เกมสยองอีกครั้ง ที่เป็นภาพยนต์ที่ได้รับรางวัลมากมาย ในปี 2006 และเป็นอีกหนึ่งภาพยนต์ไทยที่ผมชอบลำดับต้น ๆ เลยทีเดียว

ด้วยความเหมือนที่แตกต่าง ต้องบอกว่า รายละเอียดปลีกย่อย รวมถึงคุณภาพด้านโปรดักชั่น ที่เกาหลีสามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม จึงไม่แปลกใจว่าทำไมมันถึงได้ฮิต จนขนาดที่ว่าไปแย่งทราฟฟิกจากบริการอื่น ๆ ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศเกาหลีใต้เลยทีเดียว

แถมตอนนี้มันกำลังกลายเป็นกระแสไปทั่วโลก ที่เรียกได้ว่าติดเทรนด์ซีรีส์ยอดฮิตในเกือบทุกประเทศเลยก็ว่าได้ กลายเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึงของวงการบันเทิงเกาหลีใต้ หลังจากก่อนหน้านี้ที่ภาพยนต์อย่าง Parasite ที่ได้รับรางวัลออสการ์ในปี 2020 มาแล้ว

ภาพยนตร์ Parasite ที่ประกาศศักดาคว้ารางวัลใหญ่ในเวทีออสการ์มาแล้ว (CR:bloomberg)
ภาพยนตร์ Parasite ที่ประกาศศักดาคว้ารางวัลใหญ่ในเวทีออสการ์มาแล้ว (CR:bloomberg)

Soft Power อันทรงพลังของประเทศเกาหลีใต้

ต้องบอกว่าก่อนหน้าที่วงการภาพยนต์ หรือ ซีรีส์จะโด่งดัง เกาหลีก็ได้ส่งวัฒนธรรม K-pop ที่ปรกติจะบุกไปทั่วเอเชีย แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แค่เพียง เอเชีย อีกต่อไป เพราะวัฒนธรรมนี้ มันได้บุกไปถึง อเมริกา และ ยุโรป ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องธรรมดาจริง ๆ สำหรับการดังขึ้นมาเปรี้ยงปร้างอย่างรวดเร็วของวงการบันเทิงเกาหลี ที่กลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มูลค่ามหาศาลครอบคลุมไปทั่วโลก

แรกเริ่มเดิมทีนั้น วัฒนธรรมทางด้านเพลงของเกาหลี ก็ถูกกำหนดโดยรัฐบาล ซึ่งในยุคนั้นรัฐบาลยังควบคุมระบบการออกอากาศแทบจะทั้งหมดของทุกสื่อในประเทศ

มันไม่มีทีท่า ว่าเกาหลีจะพัฒนาวัฒนธรรมด้านบันเทิงหรือ K-Pop มาได้ไกลถึงเพียงนี้ ถ้ามองย้อนกลับไปในช่วงนั้น เป็นเรื่องยากที่จะเกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่การปรากฏตัวของ Seo Taiji &Boys ทางทีวี ในฤดูใบไม้ผลิปี 1992

มันได้กลายเป็นช่วงเวลาสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ความเจริญทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ มันคือสิ่งที่มีโอกาสเป็นไปได้ มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง กับกรอบความคิดเดิม ของวัฒนธรรมดนตรีของเกาหลี และที่สำคัญมันยังเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเกาหลีขึ้นมาใหม่ด้วย

รัฐบาลเกาหลีได้เริ่มมองเห็นว่า วัฒนธรรม อาจเป็นสินค้าส่งออกที่ยิ่งใหญ่ลำดับถัดไปของประเทศได้ มีการปรับแก้ไขกฏหมายเพื่อสนับสนุนผลงานด้านดนตรีและศิลปะ โดยจะเป็นการสละเงินงบประมาณ อย่างน้อย 1% ให้กับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมนี้

รัฐบาลเกาหลีที่ให้ความสำคัญกับพลังของ Soft Power (CR:overseas.mofa.go.kr)
รัฐบาลเกาหลีที่ให้ความสำคัญกับพลังของ Soft Power (CR:overseas.mofa.go.kr)

และตอนนี้พลังของ Soft Power ของเกาหลีใต้นั้น มันกำลังแพร่กระจายไปยังคอนเท้นต์อื่น ๆ ทั้งภาพยนต์ หรือ ซีรีส์ เรียกได้ว่าครอบคลุมวงการบันเทิงแทบจะทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจ ก็คือ Netflix ได้กล่าวว่า ธุรกิจของพวกเขาได้เพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ถึง 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการจ้างงานจำนวนมหาศาลในอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้

ความบันเทิงเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดของเกาหลีควบคู่ไปกับเทคโนโลยี จำนวนคนงานในบริการสร้างสรรค์และศิลปะเพิ่มขึ้น 27% ระหว่างปี 2009 ถึง 2019

ขณะที่ในภาคการผลิต ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนดั้งเดิมสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น 20% ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์สถิติของเกาหลี ในรายงานเมื่อเดือนที่แล้ว Netflix กล่าวว่าได้ช่วยสร้างงานเต็มเวลา 16,000 ตำแหน่งในเกาหลีตั้งแต่ปี 2016

อุตสาหกรรมด้านคอนเทนต์ของเกาหลีมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับภาคการผลิตที่มีขนาดใหญ่มหึมา แต่ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การส่งออกคอนเทนต์มีมูลค่ารวม 10.8 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว หรือราว 1 ใน 10 ของธุรกิจชิป ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของเกาหลี แต่มีรายได้มากกว่าสินค้าส่งออกที่สำคัญอื่นๆ เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องสำอาง

มูลค่าการส่งออกความบันเทิงของเกาหลี ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์ เกม เพลง ภาพยนตร์ และรายการทีวี เพิ่มขึ้น 6.3% ในปีที่แล้ว แม้ในขณะที่การจัดส่งสินค้าโดยรวมลดลง 5.4% เนื่องจากการระบาดใหญ่

แม้แต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่เกี่ยวข้องกับกระแสเกาหลีที่เรียกว่า เช่น เครื่องสำอาง เสื้อผ้า และอาหาร ก็เพิ่มขึ้น 5.5% ในปีที่แล้ว ตามรายงานของมูลนิธิเพื่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศแห่งเกาหลี 

บทสรุป

ส่วนตัวผมก็มองว่าพลัง Soft Power ของประเทศไทยเราเอง ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตอีกมาก ผมเคยดูในช่อง youtube ที่นำเสนอดาราของประเทศเรา เมื่อไปออกงานต่าง ๆ ในภูมิภาคของเรา โดยเฉพาะในอาเซียน ก็พบว่า กระแสดความนิยมของดาราไทย หรือ คอนเทนต์จากไทย ก็แรงไม่แพ้กัน

หรือแม้กระทั่งในประเทศจีนเอง ก็มีความสนใจในคอนเทนต์จากประเทศไทยอยู่มาก แม้จะไม่เท่าเกาหลีใต้ก็ตามที แต่ก็เป็นโอกาสใหญ่มาก ๆ ของประเทศเราเหมือนกัน หากมีการผลักดันให้เกิดขึ้นแบบบูรณาการเหมือนที่เกาหลีใต้ทำสำเร็จ

หากภาครัฐมีความจริงจัง และสนับสนุนอย่างเป็นระบบเหมือนที่เกาหลีใต้ทำ และเจียดเม็ดเงินมาสนับสนุน ตามสัดส่วน GDP ที่เหมาะสม ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักเหมือนในทุกวันนี้ ซึ่งเมื่อเจอโรคระบาด ก็ได้เกิดเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจในประเทศ

ส่วนตัวผมเองก็มองว่าประเทศเราก็มีดีพอ ไม่แพ้ชาติใดนะครับ สำหรับเรื่องพลังของ Soft Power และยังมีโอกาสและตลาดใหญ่ ๆ อีกมากสำหรับคอนเทนต์จากประเทศไทยที่จะเติบโตได้ แล้วคุณล่ะคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ อย่าลืมมาแสดงความคิดเห็นกันนะครับผม

References : https://www.bloombergquint.com/pursuits/k-pop-to-squid-game-lift-korean-soft-power-and-the-economy

วิชาพิมพ์ดีด กับอีกหนึ่งวิชาสำคัญ ที่เป็นทักษะที่ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา

เป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ วิชาต่าง ๆ ที่เราร่ำเรียนมาตอนเด็ก ๆ หรือแม้กระทั่งในมหาวิทยาลัย หลาย ๆ วิชา แทบจะเลือนหายไปตามกาลเวลา เมื่อเราเติบโตขึ้น เพราะแทบจะไม่ได้ใช้มันอีกเลย แต่มันมีวิชานึงที่ผมว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยเรียนและมันสำคัญอย่างเหลือเชื่อในการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันนั่นก็คือ วิชาพิมพ์ดีด

ต้องบอกว่าต้นเหตุที่มาเขียนเรื่องนี้ เนื่องมาจากตัวผมเองได้ไปสั่งซื้อ bluetooth keyboard มาตัวหนึ่ง ซึ่งมันเป็น Retro Keyboard ย้อนยุค มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ เครื่องพิมพ์ดีดในยุคเก่าที่เคยร่ำเรียนมา

ยุคนี้คงไม่มีมีการเรียนโดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดยุคโบราณกันอีกต่อไปแล้ว คงเป็นการเรียนผ่าน keyboard computer แต่ก็เป็นอีกวิชาหนึ่งที่ใช้ได้จริง และสำคัญมาก ๆ มาจนถึงทุกวันนี้

ผมเองได้โพสต์รูปดังกล่าวลงไปใน facebook ทำให้เพื่อน ๆ ที่เคยเรียนวิชานี้มาด้วยกัน (ผมเรียนตอนมัธยมปลาย) ต่างเข้ามาให้ความคิดเห็นกันมากมาย เหมือนย้อนเวลากลับไปในอดีต มันเป็นวิชาที่จำได้ดี

วิชาที่เรียนไปแล้ว ไม่คืนอาจารย์ผู้สอน

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ หลาย ๆ คนเขียนตรงกัน แม้จะมีอาชีพการงานที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นหมอ นักธุรกิจ พนักงานเอกชน หรือ สายอาชีพไหน ๆ ก็ตาม ทุกคนต่างลงความเห็นที่เหมือน ๆ กันว่า เป็นอีกหนึ่งวิชาที่สำคัญมาก ๆ และสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต

ซึ่งก็ต้องบอกว่า มันมีหลากหลายวิชาที่เราเคยร่ำเรียน และคืนไปให้กับอาจารย์ผู้สอน แทบไม่ได้ใช้มันอีกต่อไปเลย แต่พิมพ์ดีดมันกลายเป็นวิชาสำคัญมาก ที่ใช้อยู่ตลอดเวลา ยิ่งยุคปฏิวัติข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญมาก ๆ

ตัวผมเองก็อยู่สาย it ก็ใช้ตลอดเวลาเป็นประจำอยู่แล้ว แน่นอนว่าหนึ่งใน skill ที่ทำให้เขียน blog ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องมานั่งคลำหาตัวอักษรเหมือนตอนก่อนได้เรียนวิชานี้อีกต่อไป

ซึ่งคงไม่เพียงแต่อาชีพสาย it เท่านั้น แต่พิมพ์ดีด ถือเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับในทุกสายงานในทุกวันนี้ การเรียนรู้วิชาดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่สามารถให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นในยุคปฏิวัติข้อมูลข่าวสารในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

แล้วคุณล่ะ คิดว่ามีวิชาใดอีกบ้าง ที่เคยได้ร่ำเรียนมา และ เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการใช้งานทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพเหมือนวิชาพิมพ์ดีด อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับผม

สำหรับใคร สนใจ keyboard รุ่น Retro นี้ให้ฟีลเครื่องพิมพ์ดีดยุคโบราณมาก ๆ มีขายใน lazada นะครับ กดตาม link ได้เลยครับผม -> https://bit.ly/3iRaMru