LinkedIn ยังถอดใจ กับท่าทีที่เปลี่ยนไปของรัฐบาลจีน

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับการประกาศถอนตัวจากตลาดประเทศจีนของบริการจากอเมริกาที่เหลือรอดอยู่เพียงหนึ่งเดียวอย่าง LinkedIn ที่ต้องเผชิญกับปัญหามากมายในข้อกำหนดด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบที่มากขึ้นในประเทศจีน

ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียน blog ที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ทำไม LinkedIn ถึงสามารถบุกตลาดจีนได้สำเร็จ แต่ตอนนี้ดูเหมือนความพยายามทุกอย่างของ LinkedIn กว่า 7 ปีที่ผ่านมา สุดท้ายก็มีจุดจบไม่ต่างจากสิ่งที่ Facebook , Google , Youtube หรือ แม้กระทั่ง Reddit เจอ

ยุทธศาสตร์ที่ Conflict

ในปี 2014 เมื่อ LinkedIn ได้ทำการเปิดตัวเว็บไซต์ในประเทศจีนเป็นครั้งแรก ทาง CEO อย่าง Jeff Weiner ได้กล่าวว่า “LinkedIn จะมีความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน

หลังจากนั้นก็เป็น Weiner เองที่ประกาศออกมาว่า “LinkedIn สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกอย่างยิ่ง และไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน”

แต่บริษัทก็ได้ออกมาระบุในภายหลังว่า จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของรัฐบาลจีนเพื่อดำเนินธุรกิจในประเทศพวกเขาได้

 Jeff Weiner ต้องยอมรับความจริงที่ว่าพวกเขาพ่ายแพ้ในตลาดจีน (CR:Vulcan Post)
Jeff Weiner ต้องยอมรับความจริงที่ว่าพวกเขาได้พ่ายแพ้ในตลาดจีน (CR:Vulcan Post)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ Conflict กันเอง มีการสนับสนุนเสรีภาพ ไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีน แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดขอบรัฐบาลจีน มันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน และทำให้ LinkedIn ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ยาก ซึ่งสุดท้ายก็โดนรัฐบาลจีน สั่งบล็อก โดยเฉพาะโปรไฟล์ของนักข่าวชาวอเมริกันหลายคน ซึ่งถือเป็นการเซ็นเซอร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าของรัฐบาลจีน จนเกิดคำถามขึ้นของเหล่าผู้ใช้งานมากมายในแพลตฟอร์ม

เมื่อรัฐจีนควบคุมบริษัทเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น

เราจะเห็นได้จากข่าวที่ทยอยปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แค่ไหนในธุรกิจเทคโนโลยีของจีน ก็ไม่รอดพ้นเงื้อมมือของรัฐบาล และถูกเล่นงานตามกันไปหมด

ซึ่งนั่นเป็นเคสของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศยังโดนหนักขนาดนั้น ไม่ต้องนึกถึงสภาพของ LinkedIn ที่เป็นบริการจากอเมริกาว่าจะโดนหนักขนาดไหน โดยเฉพาะเรื่องการเข้ามาเซ็นเซอร์ข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น

แม้ LinkedIn เองจะช่วยให้สมาชิกผู้ใช้งานชาวจีนหางานและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้มากมาย แต่เรื่องของสังคมและการแบ่งปันข้อมูลนั้น เรียกได้ว่า LinkedIn ล้มเหลวเป็นอย่างมาก

พวกเขาต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ท้าทายยิ่งขึ้นมาก และข้อกำหนดด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบที่มากยิ่งขึ้นในประเทศจีน หลังรัฐบาลจีนต้องการมาจัดการบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

บทสรุป

ก่อนหน้านี้ LinkedIn แทบจะเป็นปราการด่านสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ของบริการออนไลน์จากอเมริกา ที่มาบุกตลาดจีน แต่สุดท้ายแม้จะพยายามปรับตัวและลงทุนไปมากแค่ไหน จุดจบก็ไม่ต่างจากบริการอื่น ๆ จากเพื่อนร่วมชาติไม่ว่าจะเป็น Twitter , Facebook หรือ Google ที่ชิงหนีออกไปก่อนนานแล้ว

เพราะฉะนั้น บริการออนไลน์ต่างๆ จากต่างประเทศ ที่คิดจะบุกไปตลาดขนาดใหญ่อย่างประเทศจีน คงเป็นเพียงแค่ฝัน เพราะ LinkedIn ที่แม้พยายามปรับตัวทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมจีน การตั้งผู้บริหารที่เป็นคนจีนเองมาดูแล ก็ยังไม่สามารถฝ่าฟันให้เอาชนะอุปสรรคอันยิ่งใหญ่จากรัฐบาลจีนได้

ซึ่งตอนนี้ ธุรกิจเทคโนโลยีของจีน อยู่ในภาวะที่ไม่มีความแน่นอนเป็นอย่างยิ่ง แม้กระทั่งบริการในประเทศเอง ก็ยังไม่ทราบชะตากรรมอนาคตของตัวเองที่ชัดเจนนัก

ซึ่งแม้จะเหลือพื้นที่ให้ธุรกิจเทคโนโลยีที่ไม่ใช่บริการออนไลน์ อย่างในกรณีของ Apple ที่เน้นขาย Hardware ที่ดูเหมือนจะไปได้ดีในตลาดจีน

แต่ในอนาคตมันก็ไม่มีความแน่นอนอีกต่อไป การอยู่ในอำนาจเป็นเวลานานของประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง จนสามารถควบคุมทุกอย่างได้แบบเบ็ดเสร็จแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้สิ่งที่คิดว่ามีความแน่นอน ในอนาคตมันก็อาจจะไม่มีความแน่นอนอีกต่อไปนั่นเองครับผม

References :
https://www.forbes.com/sites/dereksaul/2021/10/14/linkedin-leaves-china-following-charges-of-censorship
https://www.axios.com/linkedin-unanswered-questions-china-censorship-56b75495-230c-4dc2-9a29-6a35e2f8cec0.html
https://www.wsj.com/articles/microsoft-abandons-linkedin-in-china-citing-challenging-operating-environment-11634220026
https://www.ft.com/content/d5cc7987-9d41-44c3-a6bf-7947c03b9cf9


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube