Netflix vs SK Telekom กับบทเรียนการปลดแอกของ Apple จากเครือข่ายมือถือ สู่ข้อพิพาทในธุรกิจบรอดแบนด์

ต้องบอกว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกสำหรับปัญหาเรื่องการใช้งานทราฟฟิก จากเหล่าแอปที่เกิดขึ้นมากมายในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะ บริการวีดีโอสตรีมมิ่ง ที่ค่อนข้างใช้ทราฟฟิกอย่างมหาศาล ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับเครือข่ายมือถือ ที่ต้องเรียกได้ว่าทำให้คนที่ควบคุมเครือข่ายมือถือกลายเป็นมาเฟียในโลกของข้อมูลที่ไหลผ่านระบบของพวกเขากันเลยทีเดียว ซึ่งทำให้พวกเขามีอำนาจที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ ก่อนการเกิดขึ้นของ iPhone จาก Apple

ถามว่าก่อนยุคที่ iPhone จะได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2007 นั้นสิ่งใดเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับวงการมือถือมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น เหล่า มาเฟีย แห่งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งหลายที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ที่เป็นตัวคั่นกลางระหว่างเหล่าผู้ผลิตบริษัทมือถือกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าโดยตรง

ซึ่งแม้ว่าในช่วงก่อนปี 2007 เทคโนโลยีต่าง ๆ มันจะได้รับการพัฒนาไปไกลมากแล้วก็ตาม แต่เราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมือถือยังเป็นอะไรที่ล้าหลังเป็นอย่างมากในหลาย ๆ เรื่องแม้กระทั่งการเล่นเว๊บไซต์ต่าง ๆ ก็เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานของผู้ใช้งานทั่วโลก ที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางอุปกรณ์ที่พกติดตัวเราอยู่ตลอดเวลาอย่างมือถือนั่นเอง

iPhone จาก Apple ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง (CR:The Blue and White)
iPhone จาก Apple ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง (CR:The Blue and White)

ในขณะนั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกต่างคุ้นเคยกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์ กันแล้ว แต่ค่าบริการข้อมูลแบบ 3G ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเหมือนได้ย้อนตัวเองกลับไปสู่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยุคโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์

แน่นอนว่าเหล่ามาเฟียเครือข่ายเหล่านี้ คอยจ้องแต่จะคิดค่าบริการต่าง ๆ แทบทุกอย่าง มีการคิดค่าบริการการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นนาทีที่ใช้งาน แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการบริการจากอินเทอร์เน็ตที่ห่วยแตกกว่าการใช้โทรศัพท์บ้านเสียอีก

เพราะเว๊บต่าง ๆ ที่โหลดมานั้นเป็นเว๊บที่ไร้คุณภาพเนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากทำให้เหล่าผู้ให้บริการไม่อยากเสีย ทราฟฟิกไปกับบริการเหล่านี้ และทำการชาร์จเงินกับผู้บริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เมื่อ iPhone ของ Apple ได้มาเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง

Apple ต้องการให้ iPhone นั้นใช้ปริมาณข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด และทำการเจรจากับ Cingular ที่เป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นหลายครั้ง

สุดท้ายได้มีการประกาศรูปแบบการจ่ายค่าบริการมือถือแบบให้ปริมาณข้อมูลไม่จำกัด ซึ่งสูงกว่าแบบโทรศัพท์โทรเข้าออกเพียงอย่างเดียวราว ๆ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน โดย Cingular (ตอนหลังกลายมาเป็น AT&T) จะได้รับเงินบางส่วนจากการดาวน์โหลดทาง iTunes ขณะที่ทาง Apple นั้นได้ส่วนแบ่งจากค่าบริการรายเดือนของ iPhone แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับ Cingular

และนี่เองได้เป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือทั้งหลายทั่วโลก โดย Apple ได้เปลี่ยนบทบาทของเหล่าเครือข่ายโทรศัพท์ ให้เป็นเพียงแค่ทางผ่านของโลกโทรศัพท์มือถือยุคใหม่หลังการเกิดขึ้นของ iPhone ให้พวกเขาเป็นเพียงแค่ท่อส่งข้อมูลระหว่างมือถือของลูกค้ากับโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

ทำให้เหล่าเครือข่ายมือถือไม่สามารถที่จะไปชาร์จค่าบริการใด ๆ กับลูกค้าได้อีก เรียกได้ว่า เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟียมือถือต้องมาง้อ บริษัทมือถืออย่าง Apple ซึ่งไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนเลยในธุรกิจมือถือ

ศึกครั้งใหม่ระหว่าง Netflix vs SK Telecom

SK Broadband ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ SK Telecom บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศ ได้ยื่นฟ้อง Netflix เพื่อขอให้ช่วยจ่ายเงิน สำหรับค่าต้นทุนบริการเครือข่าย และค่าบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น

เนื่องจาก Netflix เป็นต้นเหตุทำให้เกิดปริมาณรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย หรือ ทราฟฟิกอินเทอร์เน็ต ที่พุ่งสูงขึ้น จนทราฟฟิกบนเครือข่ายหนาแน่น และส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการรายอื่นหลังจากปล่อยซีรีส์ยอดนิยมอย่าง “Squid Game” และคอนเทนต์ยอดฮิตอื่น ๆ ให้รับชมบนแพลตฟอร์ม

Squid Game ซีรีส์สุดฮิตที่ทำให้เกิดทราฟฟิกมหาศาล (CR: WallpaperAccess)
Squid Game ซีรีส์สุดฮิตที่ทำให้เกิดทราฟฟิกมหาศาล (CR: WallpaperAccess)

โดยหลังจากปล่อยซีรีส์เรื่อง Squid Game และคอนเทนต์ยอดฮิตอื่น ๆ ออกไป ทำให้ทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตของ Netflix พุ่งเป็น 1.2 ล้านล้านบิตต่อวินาที หรือเพิ่มขึ้นถึง 24 เท่า เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2018 และทำให้ปัจจุบัน Netflix กลายเป็นผู้ที่สร้างทราฟฟิกอินเทอร์เน็ต มากเป็นอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นรองเพียง YouTube ของ Google

Business Model ที่ต้องคิดใหม่ของทั้งเครือข่ายบรอดแบนด์ และบริการสตรีมมิ่ง

ก็ต้องบอกว่า เป็นเรื่องที่มองได้สองมุมนะครับ สำหรับเรื่องนี้ เพราะ Netflix เอง ก็ถือว่าใช้ทราฟฟิกที่สูงขึ้นอย่างมหาศาล สอดกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงในยุค COVID-19

ทำให้บริการอย่างวีดีโอสตรีมมิ่ง เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งแน่นอนว่า การคิด Business Model แบบเดิม ๆ ของ เหล่าเครือข่ายบรอดแบนด์นั้น คงไม่สามารถตอบโจทย์เดิม ๆ ได้อีกต่อไป เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

ซึ่งก่อนหน้านี้ผมคิดว่า เหล่าเครือข่ายคงคิดแบบเหมา ๆ คล้าย ๆ กับรูปแบบของธุรกิจประกัน คือ มีคนใช้ทราฟฟิกมากน้อยสลับกันไป แต่ถือว่า ไม่เป็นภาระกับเครือข่ายบรอดแบนด์มากนัก เพราะ ทราฟฟิกใหญ่ ๆ จริงนั้นยังมีไม่มากนัก คนส่วนใหญ่ก็เล่น social หาข้อมูลทาง internet หรือ ฯลฯ ที่ถือว่าไม่ได้ใช้ทราฟฟิกมากนักโดยเฉลี่ย

หรือบริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix เอง ที่กลายมาเป็นประเด็นกับ SK Telekom ผมก็มองว่า ทางบริษัทก็คงไม่ได้คิดถึงต้นทุนในส่วนนี้ที่พวกเขาต้องจ่าย ซึ่งหากมันกลายเป็นมาตรฐานใหม่ว่า บริการของพวกเขาต้องจ่ายให้เครือข่ายบรอดแบนด์ในทุกประเทศ แน่นอนว่ามันก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของพวกเขาเป็นอย่างมากเช่นกัน

ซึ่งก็ต้องบอกว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคหลาย ๆ อย่างก็เปลี่ยนไป ผู้คนมีเวลาเสพคอนเท้นต์เยอะขึ้น ทั้ง youtube หรือ บริการอย่าง Netflix ที่เรียกได้ว่าใช้ปริมาณทราฟฟิกเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล ตัวอย่างที่เห็นของเกาหลี หากมี Series ชุดไหนที่บูมแบบสุดขีดอย่าง Squid Game ก็ทำให้ทราฟฟิกโตขึ้นถึง 24 เท่าได้เลยทีเดียว และมันคงจะเกิดเรื่องแนว ๆ นี้ขึ้นอีกอย่างแน่นอนในอนาคต

เพราะฉะนั้น มันก็เหลือแค่สองทางเลือก ก็คือ ชาร์จเงินเพิ่มกับผู้บริโภค หรือ ชาร์จค่าใช้บริการเครือข่ายสำหรับบริการที่ใช้ทราฟฟิกสูง เพื่อให้ธุรกิจบรอดแบนด์ หรือ เครือข่ายมือถือสามารถอยู่ได้ และไม่กระทบกับการใช้งานกับผู้บริโภคคนอื่น ๆ

ซึ่งก็มีหลายบริการที่ยอมจ่ายนะครับจากข่าวที่เกิดขึ้น โดยมีข้อมูลว่า Amazon , Apple และ Facebook นั้นยินยอมจ่ายให้กับทาง SK เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ถือว่า Win-Win ทั้งสองฝ่าย

แล้วคุณล่ะ คิดว่าธุรกิจบริการทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้ทราฟฟิกสูง ๆ อย่าง Netflix ควรที่จะจ่ายเงินให้กับเจ้าของเครือข่ายบรอดแบนด์ หรือ เครือข่ายมือถือหรือไม่? เพราะอะไร?

References :
https://www.facebook.com/MarketThinkTH/posts/4326537110771980
https://www.theverge.com/2021/10/1/22704313/sk-broadband-netflix-suing-for-payment-squid-game

Geek Monday EP104 : Salesforce Einstein ปัญญาประดิษฐ์ช่วยธุรกิจเข้าใจลูกค้าของพวกเขาได้อย่างไร

เป้าหมายของ Salesforce Einstein คือการให้ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดมีมุมมองที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบันมากขึ้นเกี่ยวกับลูกค้าและแนวโน้มการขายสินค้า

ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning และ Deep Learning ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่ได้จากการรวมระบบของ Einstein สามารถช่วยบริษัทในเชิงรุก หลีกเลี่ยงปัญหาในการบริการลูกค้า และยังสามารถช่วยปรับปรุงการบริการ ด้วยการช่วยคาดการณ์ว่าผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าอยู่ในวงจรการขายและช่องทางการสื่อสารใดที่พวกเขาจะต้องตอบสนอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3l11DOF

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/3iACZe98cV0

References : https://searchcustomerexperience.techtarget.com/definition/Salesforce-Einstein
https://einstein.ai/