Roman Abramovich จากเด็กชายขอบก้าวผ่านธุรกิจสีเทาสู่เส้นทางมหาเศรษฐีหมื่นล้าน

โรมัน อับราโมวิช นับตั้งแต่เขาได้เข้า take over สโมสร เชลซี ที่สถานะในตอนนั้นเกือบจะล้มละลาย ในปี 2003 มหาเศรษฐีชาวรัสเซียได้เข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ให้กับเชลซี ให้กลายเป็นหนึ่งในสโมสรที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อับราโมวิช เรียกได้ว่าใช้ชีวิตในช่วงวัยเด็กที่แสนรันทด ในภูมิภาคห่างไกลจากความมั่งคั่งเมื่อเทียบกับบ้านหลังงามในปัจจุบันย่านไนท์บริดจ์ของลอนดอน

เขาเป็นเด็กกำพร้าตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งพ่อและแม่ของเขา Arkady และ Irina นั้นได้เสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุได้ประมาณ 4 ขวบเพียงเท่านั้น โดยเขาได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ย่า ตายายของเขาใน Komi ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลโพ้นในไซบีเรีย

ชีวิตการเรียนก็ไม่ได้ฉายแววว่าจะกลายเป็นมหาเศรษฐีแต่อย่างใด เพราะเขาต้องออกจากมหาวิทยาลัยถึงสองแห่ง แต่ก็โชคดีที่ได้เข้าไปอยู่กับทหาร และเริ่มทำการค้าขายจากการนำน้ำมันเบนซินที่ขโมยมาให้กับเจ้าหน้าที่ในกองทัพ

ต้องบอกว่าการสร้างตัวขึ้นมาให้กลายเป็นเศรษฐีในประเทศอย่างรัสเซียนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ อับราโมวิช ก็เริ่มต้นอาชีพค้าขายครั้งแรกของเขาด้วยการขายเป็ดยางจากอพาร์ตเมนต์ของเขาในมอสโก แม้ว่ากิจการแรกของเขาจะประสบความสำเร็จก็ตาม แต่ อับราโมวิช มีความทะเยอทะยานมากกว่านั้น

หลังจากนั้นเขาก็ได้แต่งงานกับ Olga ภรรยาคนแรกของเขา อับราโมวิช จึงใช้เงินจำนวน 2,000 รูเบิล ที่พ่อแม่มอบให้เป็นของขวัญวันแต่งงานนำไปลงทุนในการเพิ่มสต็อกสินค้าของเขา ซึ่ง รวมถึงสิ่งต้องห้ามของทางการรัสเซีย เช่น น้ำหอม ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่แน่นอนว่ามันสร้างกำไรได้อย่างงามเลยทีเดียว

เริ่มสร้างตัวจากทุนที่ได้จากงานแต่งงาน
เริ่มสร้างตัวจากทุนที่ได้จากงานแต่งงาน (CR:gentleman’s journal)

ซึ่งหลังจากประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับสินค้าเถื่อน เขาก็สามารถมีทุนที่จะนำไปร่วมลงทุนในการผลิตของเล่นพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ และ ธุรกิจอื่นๆ ที่มีตั้งแต่ ฟาร์มเลี้ยงหมู ไปจนถึงการจัดหาบอดี้การ์ดส่วนตัวให้กับเหล่านักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล

อับราโมวิช นั้นต้องขอบคุณ มิคาอิล กอร์บาชอฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการของรัฐ เพื่อแปรรูปสหภาพโซเวียตเดิมเข้าสู่ยุคใหม่ และส่งผลโดยตรงต่อ อับราโมวิช ที่สามารถทำให้ธุรกิจของเขาถูกกฏหมายและสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล

แต่เขาก็ยังคงไม่ละทิ้งธุรกิจสีเทาไปเสียทีเดียว จิตวิญญาณเดิมของเขายังคงอยู่ และทำให้เขาต้องถูกจับในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่เขาได้ไปขโมยสินค้าบนรถไฟที่เต็มไปด้วยน้ำมันดีเซล แต่เพียงสามปีให้หลัง มันก็ได้ถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้เขาได้กลายมาเป็นมือขวาของ บอริส เบเรซอฟสกี

ในเวลานั้น เบเรซอฟสกี ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น Lada ผู้ผลิตรถยนต์ของรัฐเพียงเท่านั้น แต่เขายังเป็นสมาชิกวงในคนสำคัญของอดีตประธานาธิบดี บอริส เยลต์ซิน อีกด้วย

นั่นทำให้ อับราโมวิช สามารถเข้าถึงบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าหากใครต้องการสร้างความมั่งคั่งในรัสเซีย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ก็ต้องมุ่งหน้าเข้าสู่เครมลิน

เมื่อ อับราโมวิช สามารถเข้าสู่ใจกลางอำนาจได้สำเร็จ เขาก็พร้อมพุ่งทะยานต่อทันที ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการต้องแปรสภาพสินทรัพย์ของสหภาพโซเวียตเดิมอย่างธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งมีผลประโยชน์มหาศาล

กาว แปะ รองเท้า
ก้าวเข้าสู่ใจกลางอำนาจในเครมลิน

เขาได้เข้าซื้อกิจการน้ำมันขนาดใหญ่อย่าง Sibneft ด้วยเงินกู้ที่ได้รับการอนุเคราะห์โดย บอริส เยลต์ซิน ซึ่งทำให้ทั้ง เบเรซอฟสกี และ อับราโมวิช สามารถซื้อกิจการได้ในราคาเพียงแค่ 100 ล้านดอลลาร์เท่านั้น แม้ Sibneft จะมีมูลค่าในตลาดกว่า 600 ล้านดอลลาร์ก็ตามที

และ Sibneft นี่เองที่เป็นสิ่งที่สร้างความมั่งคั่งมากมายให้กับ อับราโมวิช ที่กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้เขาอย่างมหาศาล อย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้

และเมื่อได้มาซึ่งทรัพย์สินจำนวนมหาศาลแล้ว สิ่งที่เย้ายวนถัดไปสำหรับ อับราโมวิช ก็คือเส้นทางทางด้านการเมือง โดยเขาได้กลายมาเป็นผู้ว่าการภูมิภาค Chukotka ทางตะวันออกสุดของรัสเซียในปี 2000 หลังจากการชนะโหวตอย่างถล่มทลายถึง 92%

เขาเริ่มเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น ทุ่มเทเงินไป 180 ล้านปอนด์ ในการพัฒนาระบบการศึกษา โดยการสร้างโรงเรียน และพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับ Chukotka มีการสร้างโรงพยาบาล โรงแรม ปรับปรุงสนามบินใหม่ รวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานให้กับ Chukutka ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

และยังได้บริจาคเงินจำนวน 112 ล้านปอนด์ (132 ล้านยูโร) ให้กับองค์กรการกุศลในภูมิภาคที่ยากไร้ของรัสเซียอีกด้วย

แม้เรื่องราวของ อับราโมวิช นั้นจะผ่านเส้นทางเดินที่ไม่ได้ขาวสะอาดมามากนัก แต่เรื่องราวของเขาก็ได้ให้แง่คิดที่ไม่เหมือนใคร การเปลี่ยนจากคนชายขอบที่ต้องปากกัดตีนถีบมาตั้งแต่เล็ก และเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยและประสบความความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก มันก็ไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างแน่นอนครับผม

โดย อับราโมวิช ได้เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจตอนเข้ามา Take Over สโมสรอย่างเชลซีว่า “เป้าหมายของผมคือการชนะ ไม่ใช่เรื่องการหาเงิน ผมมีวิธีหาเงินที่เสี่ยงน้อยกว่านี้มาก (ซื้อสโมสรฟุตบอลเชลซี) และผมก็ไม่ต้องการทิ้งเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่ผมต้องการที่สุดคือ การที่จะประสบความสำเร็จและได้รับถ้วยรางวัลแห่งชัยชนะ”

และผลงานที่ออกมาก็ประจักษ์ให้ทุกคนได้เห็นกันแล้ว กับยุคแห่งความสำเร็จที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สโมสรเชลซีกว่า 100 ปี ซึ่งรวมถึงถ้วยใบยักษ์อย่าง ยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก และ แชมป์พรีเมียร์ลีกอีก 5 สมัย นั่นเองครับผม

References : https://www.thegentlemansjournal.com/article/roman-abramovich-made-first-fortune/
https://www.independent.co.uk/sport/football/premier-league/chelsea-roman-abramovich-ownership-news-frank-lampard-special-report-epl-b480949.html
http://brainprick.com/success-story-of-roman-abramovich/

Geek Daily EP60 : Facebook vs Apple กับมหาสงคราม Privacy War รอบใหม่แห่งวงการเทคโนโลยี

Apple กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ที่จะถามผู้ใช้ iPhone และ iPad อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่าพวกเขาต้องการแบ่งปันข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามโฆษณาหรือไม่ อุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์คาดว่าจะได้รับผลกระทบเนื่องจากผู้ใช้บางส่วนเลือกที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลนั้น

Zuckerberg ได้วิจาร์ณว่า Apple ก็ใช้ตำแหน่งหรือข้อมูลลูกค้าเพื่อช่วยบริการของตัวเองเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบริการ iMessage ซึ่งแข่งขันกับบริการ Messenger และ WhatsApp ของ Facebook โดยตรง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/2MxUUwM

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/5gXqD7DGQnQ

Credit Image : Youtube – Tech Vision

‘Country Club Rule’ บทเรียนสำคัญของธุรกิจขนาดเล็กจาก Jeff Bezos

Jeff Bezos ซีอีโอของ Amazon มีกฎมากมายให้ บริษัท ของเขาต้องปฏิบัติตาม แต่ไม่มีเรื่องใดที่อาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดเล็กเท่ากับกฎ “Country Club” ของเขา

ในหนังสือ The Everything Store ของเขาในปี 2013 ผู้เขียน Brad Stone เล่าถึงวิธีที่ Jeff Bezos มักจะบอกว่าเขาไม่ต้องการให้ Amazon กลายเป็น “Country Club” ที่ซึ่งผู้คนที่ต้องการ “เกษียณ” และมีที่ดินยามแก่เฒ่าหลังจากที่พวกเขาทำงานหนักในอาชีพของพวกเขา

เขาพูดถึง Microsoft เมื่อพูดถึงแนวคิด “Country Club” และเชื่อว่า Amazon ควรรักษาวัฒนธรรมที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วและสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา

ในการให้สัมภาษณ์กับ CNBC เมื่อต้นปี 2020 ผ่านมา John Rossman อดีตผู้บริหารของ Amazon อ้างถึงช่วงเวลาที่เขาได้ยินว่า Bezos กล่าวเกี่ยวกับกฏ Country Club และอธิบายดังนี้: “ประเด็นก็คือแม้ว่าคุณจะทำได้ดีอยู่แล้วในตลาดที่คุณอยู่ แต่คุณจะต้องทำงานหนักต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าคุณและพนักงานของคุณกำลังสร้างอนาคตที่สดใสให้กับบริษัท”

ความจริงก็คือไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าอนาคตจะสดใส แม้ว่าตอนนี้สิ่งต่างๆจะดำเนินไปด้วยดีก็ตาม มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอและเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง และยังมีผู้ประกอบการรายอื่นที่พร้อมจะเข้ามาขโมยส่วนแบ่งการตลาดอยู่เสมอ

Microsoft ได้เรียนรู้บทเรียนนั้นอย่างเจ็บแสบ

แม้ว่า Microsoft จะอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกในช่วงปี 1990 และต้นปี 2000 แต่ บริษัท ก็ยังปรับตัวเข้ากับตลาดมือถือได้ช้า และไม่นาน Apple และ Google ได้เข้ามาถีบ Microsoft ออกไปจากตลาดอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับในตลาดออนไลน์ที่ Google, Yahoo และอื่น ๆ เข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดโดยปล่อยให้ Microsoft ได้แค่เพียงชายตามอง

ในขณะเดียวกัน Amazon ก็ไม่เคยตกหลุมพรางของการทำตัวเหมือน “Country Club” ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กมันเป็นบทเรียนที่ต้องเรียนรู้  เมื่อคุณเห็นว่าทุกอย่างของธุรกิจมันดูสดใส คุณก็เริ่มทิ้งตัว – นั่งสวย ๆ รอบ ๆ สระว่ายน้ำหรือเดินเล่นแบบชิว ๆ คิดว่าคงไม่มีใครมาทำลายธุรกิจคุณได้ ซึ่งหากคุณคิดแบบนี้ ซักวันนึงคุณอาจจะสูญเสียทุกอย่างก็เป็นได้

References : https://www.newsbreak.com/news/1598753729921/more-businesses-should-follow-the-jeff-bezos-country-club-rule
https://247newsaroundtheworld.com/technology/why-more-businesses-should-follow-jeff-bezoss-country-club-rule/
https://www.chicagotribune.com/suburbs/lake-county-news-sun/ct-lns-talk-of-the-county-st-0222-story.html