Geek Daily EP57 : Apple Car กับความท้าทายในตลาดรถยนต์หรูมูลค่าสองแสนล้านเหรียญ

นับตั้งแต่โครงการเริ่มต้นในปี 2014 Apple ได้เริ่มต้นอย่างผิดพลาดมากมายในผลิตรถยนต์ของตนเอง โดยมีการปลดพนักงานหลายร้อยคนทั้งในปี 2016 และ 2019 เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและการโฟกัสเปลี่ยนจากรถยนต์ไฟฟ้าไปสู่เทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ

หาก Tim Cook ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Apple ต้องการที่จะลุยในตลาดนี้ต่อเขาต้องเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบากในการเข้าสู่ตลาดรถยนต์หรู และความสามารถในการทำกำไรได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/3qIHdKg

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/vBgHsG6py9o

Afterpay กับการพลิกวิกฤติสู่โอกาสในห้วงเวลาการแพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19

Nick Molnar ได้กลายมาเป็นไอคอนของคนรุ่นใหม่ชาวออสเตรเลีย หนุ่มน้อยวัย 30 ได้รับเครดิตจากการคิดค้นพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนรุ่นมิลเลนเนี่ยมนับล้าน ที่ทำให้เขาได้กลายเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดของออสเตรเลีย

Molnar ซึ่งเป็นนักศึกษาด้านการพาณิชย์ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ได้เริ่มสังเกตเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนหนุ่มสาวที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่เริ่มสงสัยในผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบเดิม ๆ เช่น บัตรเครดิต ซึ่งอาจจะนำไปสู่การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ เขาได้พบว่า พ่อแม่หรือเพื่อนของพ่อแม่ของเขาต่างตกงานกันถ้วนหน้า และกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยมมีความคิดที่จะใช้เงินของตัวเองมากกว่าการสร้างหนี้ คนรุ่นนี้ต้องการจ่ายผ่านบัตรเดบิตมากกว่า เมื่อเทียบกับบัตรเครดิต เหมือนคนในรุ่นก่อน ๆ หน้า

แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ จะเน้นไปที่การใช้บัตรเดบิตมากกว่าบัตรเครดิต
แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ จะเน้นไปที่การใช้บัตรเดบิตมากกว่าบัตรเครดิต (CR:CNBC)

ดังนั้น Molnar และเพื่อนของเขา Anthony Eisen จึงตัดสินใจหาทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับกลุ่มคนยุคมิลเลนเนี่ยมสำหรับการชำระเงินแบบรอการตัดบัญชี โดยจะเรียกเก็บเงินค่าคอมมิชชั่นจากผู้ค้าปลีกเพื่อการขาย แทนที่จะเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคในการชำระเงิน ในรูปแบบของ “ซื้อตอนนี้จ่ายทีหลัง”

ซึ่งผู้ซื้อสามารถที่จะซื้อสินค้าได้สูงถึง 1,500 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (1,115 ดอลลาร์สหรัฐ) ในการผ่อนแบ่งจ่าย 4 งวดเท่า ๆ กัน ในขณะที่ผู้ค้าปลีกที่เข้าร่วมจะต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นอีกเล็กน้อย ประมาณ 4%-6% จากการขาายแต่ละครั้ง ซึ่งหากผู้ซื้อไม่มีการชำระเงินคืน จะถูกบล็อกจากบริการจนกว่าจะชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน

หลังจากที่ได้ทำการเปิดตัวในช่วงปลายปี 2014 ธุรกิจของเขาก็ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียม ที่มีเงินสดจำนวนมากชอบรูปแบบการผ่อนชำระ ในขณะที่ผู้ค้าปลีกเริ่มกระตือรือร้นที่จะเพิ่มยอดขายโดยการมาร่วมกับบริการของ Afterpay เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ภายในสองปี Afterpay สามารถระดมทุนได้สูงถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (25 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย) ในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย ซึ่งในการเสนอทำ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้มีผู้แห่แหนกันเข้ามาจองเพื่อซื้อหุ้นของ Afterpay เป็นจำนวนมหาศาล

จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ เมื่อพวกเขาได้เริ่มขยายกิจการไปสู่อเมริกาในปี 2018 หลังจากการทวีตของ Celeb ชื่อดังอย่าง Kim Kardashian ที่แบรนด์เครื่องสำอางค์ของน้องสาวเธอได้กลายมาเป็นพันธมิตรกับ Afterpay รวมถึง แบรนด์เสื้อกีฬายอดนิยมอย่าง Adidas ที่ต้องการเจาะพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนี่ยม

ทวีตของ Kim Kardashian สร้างกระแสให้กับ Afterpay ในตลาดอเมริกา
ทวีตของ Kim Kardashian สร้างกระแสให้กับ Afterpay ในตลาดอเมริกา

และการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้บริการของ Afterpay ยิ่งเติบโต จากการ lockdown ที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ เมือง ทำให้การทำธุรกรรมบัตรเครดิตลดลงกว่า 30% ซึ่งแม้ว่าธุรกรรมบัตรเดบิตจะลดลงเช่นเดียวกัน แต่ก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มกลับมาจับจ่ายสินค้าปลีกและสินค้าปรับปรุงบ้านอีกครั้งในช่วงที่ถูกกักตัวอยู่ที่บ้าน

“ถ้าคุณได้ลองดูสิ่งที่เกิดขึ้นในการระบาดครั้งใหญ่นี้ จะคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในวิกฤติการเงินปี 2008 พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนจากการใช้บัตรเครดิตเป็นเดบิต” Molnar กล่าว

หลังจากหุ้นของ After ลดลงเหลือ 8 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อหุ้นในเดือนมีนาคม ปี 2020 ราคาหุ้นได้เพิ่มขึ้น 1,300% และได้ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 105 ดอลลาร์ออสเตเลียในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

Tencent ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ได้เข้ามาลงทุนมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์ สำหรับการถือหุ้น 5% ในบริษัทในช่วงเดือนพฤษภาคม นั่นทำให้ Afterpay ได้กลายเป็นหุ้นที่ร้อนแรงที่สุดในออสเตรเลีย และทำให้ทั้ง Molnar และเหล่าผู้ร่วมก่อตั้ง กลายเป็นมหาเศรษฐีทันที

แต่แม้ว่า Afterpay จะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีโจทย์ใหญ่สำหรับบริษัทของ Molnar ในเรื่องการสร้างกำไร ในปี 2020 รายได้ของบริษัทเติบโตขึ้นสองเท่าจากปีก่อนหน้า แต่ก็พบกับการขาดทุนสูงถึง 16.8 ล้านดอลลาร์

ซึ่งเหมือนกับ Startup ส่วนใหญ่ ตอนนี้ Afterpay นั้นมุ่งเน้นไปที่การเติบโตไปข้างหน้า ด้วยการขยายบริการไปทั่วโลก เป้าหมายสำคัญของพวกเขาได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ ยุโรป

Molnar วางแผนที่จะย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาแบบเต็มตัว เพื่อมุ่งมั่นกับการขยายตัวของธุรกิจเขาในอเมริกา ในขณะที่ Co-Founder อย่าง Eisen จะคงยังอยู่เพื่อดูแลบริษัทที่ฐานบัญชาการหลักของพวกเขาในออสเตรเลีย

ต้องบอกว่าถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจมาก ๆ ที่เติบโตสวนกระแส ความตกต่ำของเศรษฐกิจในยุคการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในออสเตรเลีย 1 ใน 3 ของประชากรในกลุ่มมิลเลนเนี่ยม ใช้บริการของ Afterpay ในทุก ๆ เดือน

ในสหรัฐอเมริกา Transaction ที่เกิดขึ้นสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ต้องบอกว่า ตอนนี้พวกเขาเพียงแค่อยู่ในจุดเริ่มต้นเท่านั้น โดยเฉพาะกับสร้างสรรค์บริการมาสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งเมื่อคนรุ่นนี้เติบโตเต็มที่ Afterpay ก็พร้อมที่จะพุ่งทะยานไปข้างหน้าแบบฉุดไม่อยู่อีกต่อไปนั่นเองครับผม

References : https://baystbull.com/how-afterpay-ceo-nick-molnar-is-transforming-the-digital-shopping-experience/
https://www.jetstar.com/au/en/inspiration/articles/nick-molnar-success-hacks
https://www.cnbc.com/2020/12/08/afterpays-nick-molnar-is-australias-youngest-self-made-billionaire.html