Geek Daily EP56 : ทำไมเหล่าผู้ค้าปลีกทั่วโลกควรเริ่มจับตามองอิทธิพลของ Ecommerce จากประเทศจีน

เกือบ 1 ปีที่ผ่านมาผู้คนส่วนใหญ่ในโลกได้เข้าร่วมในการปฏิวัติการช้อปปิ้งครั้งใหญ่ที่สุดในตะวันตกนับตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 50 ปีก่อน การแพร่ระบาดทำให้การใช้จ่ายออนไลน์พุ่งสูงขึ้นโดยเร่งการเปลี่ยนจากการช็อปปิ้งในร้านค้าจริงมาสู่โลกออนไลน์อย่างที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน

อนาคตของ Ecommerce กำลังถูกจับตา บริษัท Ecommerce จากจีนที่มีขนาดใหญ่และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้นโดยผสมผสาน Ecommerce Social Media และเกม เพื่อให้กลายเป็นแหล่งช้อปปิ้งออนไลน์สำหรับผู้บริโภคดิจิทัลทั่วทั้งโลก

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/3sETfpZ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/A0nbRl855rs

Credit Image : https://www.tmogroup.asia/chinese-online-marketplace-fees/

GrubHub กับการเปลี่ยนค่ำคืนที่แสนหิวโหยสู่ธุรกิจส่งอาหารหมื่นล้าน

มันเป็นเพียงแค่ ค่ำคืนหนึ่งที่เขารู้สึกหิวโหย แต่ Matt Maloney เล็งเห็นถึงโอกาสที่เป็นไปได้ ในปี 2004 เขาและเพื่อร่วมงาน Mike Evans ก็ได้ร่วมมือกันเปิดบริการสั่งอาหารออนไลน์ที่มีชื่อว่า GrubHub ในเมืองชิคาโก

ต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของนวัตกรรมหรือธุรกิจใหม่ ๆ นั้น ไอเดียมักจะเกิดขึ้นเมื่อพบกับปัญหาที่ต้องแก้ไข แม้จะเป็นปัญหาง่าย ๆ อย่างการไม่มีตัวเลือกของอาหารเย็น หรือ ความเจ็บปวดในการต้องโทรหาร้านอาหารและสั่งโดยการที่ต้องเสียเวลาในการบอกเลขบัตรเครดิตให้กับร้าน

Matt Maloney และ Mike Evans สองหนุ่มผู้ซึ่งทำเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้กับ Apartments.com ด้วยการที่ทั้งคู่ต้องอยู่ทำงานดึก ๆ ดื่น ๆ เป็นประจำ ซึ่งทำให้พวกเขาเบื่อกับการที่ไม่มีตัวเลือกมากนักในการสั่งอาหารในช่วงตอนเย็น

และมันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ทั้งคู่กำลังดำเนินการค้นหาข้อมูลทางภูมิศาสตร์สำหรับอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า เพื่อมาเติมเต็มบริการของ Apartments.com ซึ่งมันทำให้พวกเขาเอะใจว่า ทำไมมันถึงไม่มีบริการแบบนี้สำหรับการส่งอาหาร

เห็นไอเดียจากแผนที่ทางภูมิศาสตร์ของ Apartments.com
เห็นไอเดียจากแผนที่ทางภูมิศาสตร์ของ Apartments.com (CR:apartments.com)

ทั้งคู่ก็ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลร้านอาหารรวมถึงถึงเมนู หลายร้อยเมนูทั่วเมืองชิคาโก และทำการเร่งเขียนโค้ดเพื่อสร้างบริการง่าย ๆ ของ GrubHub ขึ้นมา

ในตอนแรกพวกเขาได้คิด Business Model ง่าย ๆ คือการโฆษณา มีการเรียกเก็บเงิน 140 ดอลลาร์ สำหรับวางโฆษณาตำแหน่ง Premium เป็นเวลา 6 เดือนในเว๊บไซต์ของพวกเขา

แต่แนวคิดนี้ดูเหมือนจะไม่ได้รับการตอบรับจากเหล่าร้านค้า เพราะพวกเขามองว่าจะมาจ่ายเงินให้กับเว๊บไซต์ที่ไม่มีคนรู้จักไปทำไมกัน สุดท้ายพวกเขาจึงได้ปรับ Model ธุรกิจใหม่เป็นการเก็บค่าคอมมิชชั่น 10% จากสิ่งที่ร้านค้าขายแทน

แน่นอนว่าในช่วงนั้นถือว่ายังเป็นบริการใหม่ และพวกเขาสามารถ Scale บริษัทได้ง่าย ๆ ด้วยเงินทุนที่ไม่มากนัก พวกเขาทำกันแค่สองคนในช่วงแรก แม้ยังไม่มีนักลงทุนในชิคาโกคนใดสนใจกิจการของพวกเขา แต่พวกเขาก็ไม่ยอมแพ้

พวกเขาจึงลุยต่อด้วยการขยายกิจการไปที่เมืองซานฟรานซิสโก และเริ่มทำการตลาดแบบกองโจร ที่ซานฟรานซิสโก ร้านอาหารต่างๆ มีความเปิดกว้างมากกว่า ทำให้คำสั่งซื้อเริ่มเข้ามาอย่างคึกคัก ผู้คนในซานฟรานซิสโกต่างชื่นชอบบริการของ GrubHub และสุดท้ายมันก็ได้ดึงดูดนักลงทุนให้มาสนใจกิจการของพวกเขา

แต่อย่างไรก็ตามการขยายไปต่างเมือง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับพวกเขา เพราะพวกเขาก็ไม่ได้รู้จักพื้นที่ดังกล่าวมากเพียงพอ เมื่อเทียบกับชิคาโก เมืองที่เขาอาศัยอยู่ และรู้ลึกถึงทุกซอกทุกมุมของเมืองว่ามีร้านเด็ดอยู่ที่ไหน

พวกเขาไม่มีเงินทุนมากพอที่จะสร้างสำนักงานในทุก ๆ เมืองที่ขยายไปได้ เขาจึงต้องหาวิธีการทำตลาด และสร้างการรับรู้ และเพิ่มฐานข้อมูลร้านอาหารโดยใช้เงินลงทุนที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

GrubHub ถือเป็นหนึ่งในกิจการทางด้าน internet ที่แปลกประหลาด เพราะพวกเขาเน้นการโฆษณาแบบออฟไลน์ โดยเฉพาะการอัดเม็ดเงินเข้าไปที่ศูนย์กลางทางด้านการขนส่ง

ผู้คนส่วนใหญ่กลับบ้านจากที่ทำงานเวลา 6 โมงเย็น จะหิวและมีความอ่อนไหวกับข้อความโฆษณาของ GrubHub เป็นอย่างมากตามสถานีรถไฟต่าง ๆ ที่คนทำงานเดินทางอย่างพลุกพล่าน ในเมืองอย่างนิวยอร์ก ซิตี้ที่พวกเขาเพิ่งขยายไป GrubHub ได้ซื้อโฆษณาแบบไร้รอยต่อที่ฉาบอยู่บนรถไฟใต้ดิน และรถประจำทาง

ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็ได้มีการควบรวมกิจการกับ Seamless ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญ และเป็นแบรนด์ยอดนิยมในเมืองใหญ่อย่าง นิวยอร์ก โดยทั้ง Mike และ Matt ก็ได้ตัดสินใจที่จะยังคงรักษาแบรนด์ GrubHub และ Seamless ไว้ทั้งคู่

เข้าควบรวมกิจการกับ Seamless ที่โดดเด่นในเมืองนิวยอร์ก
เข้าควบรวมกิจการกับ Seamless ที่โดดเด่นในเมืองนิวยอร์ก (CR:fanside.com)

จุดเปลี่ยนอีกครั้งคือในปี 2010 เมื่อมือถือสมาร์ทโฟน กำลังเข้ามามีบทบาทมาก ๆ พวกเขาก็ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มบนมือถือ มีการสร้างแอปบนแท็บเล็ตสำหรับร้านอาหารเพื่อยืนยันและดำเนินการสั่งซื้อได้สะดวกยิ่งขึ้น

Key หลักสำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของ GrubHub คือการการันตีว่าจะทำการจัดส่งได้ใน 60 นาที หากคำสั่งซื้อของลูกค้าไม่ได้รับการยืนยันภายใน 5 นาที แสดงว่า GrubHub ไม่พร้อมจะส่งในช่วงเวลาดังกล่าว พวกเขามองเรื่องประสิทธิภาพเวลาในการส่งเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าทำไม่ได้ พวกเขาก็จะไม่รับ Order จากลูกค้าเด็ดขาด

การเติบโตของ GrubHub ต้องบอกว่ามาไกลเกินกว่าเพียงแค่ความหิวโหยในค่ำคืนหนึ่งของ Matt Maloney เป็นอย่างมาก เพราะตอนนี้พวกเขามีลูกค้ากว่า 19.9 ล้านคน และร้านอาหารที่อยู่ในแพล็ตฟอร์มกว่า 115,000 แห่ง ใน 3,200 เมือง และ 50 รัฐในประเทศอเมริกา และ เพิ่งถูกเข้าซื้อกิจการโดย Just Eat Takeaway ซึ่งเป็นบริการจัดส่งอาหารยักษ์ใหญ่ในยุโรป ที่ได้เข้าซื้อกิจการ GrubHub มูลค่ากว่า 7.3 พันล้านดอลลาร์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับผม

References : https://en.wikipedia.org/wiki/Grubhub
https://www.inc.com/magazine/201411/liz-welch/how-i-did-it-matt-maloney-of-grubhub-and-seamless.html
https://www.theverge.com/2020/5/15/21260609/grubhub-phone-call-fees-controversial-pandemic-covid-19-criticism
https://www.intersection.com/success-story/grubhub/
https://www.chicagotribune.com/business/blue-sky/ct-matt-maloney-grubhub-email-resign-bsi-20161110-story.html