Search War ตอนที่ 4 : An Engineering Culture

บรินและเพจ เริ่มพยายามสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ เพื่อดึงดูดคนหนุ่มสาวเข้ามาเปลี่ยนโลกกับเขา ด้วยทุนทรัพย์ที่จำกัดทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างแพง ๆ ได้ แต่พวกเขาได้ สร้างวัฒนธรรมอย่าง การให้หุ้น อาหารและเครื่องดื่มที่ฟรี และ เป้าหมายที่ใหญ่มากของพวกเขาที่จะให้คนทั่วโลกนับล้านได้ใช้งาน google มันก็เป็นแรงดึงดูดสำคัญให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจจะมาทำงานกับ google มากยิ่งขึ้น

ซึ่งเพจและบริน นั้นคิดอยู่เพียงอย่างเดียวที่จะพัฒนาบริการของเขาให้ดีที่สุด เรื่องการหาเงินนั้นพวกเขายังไม่สนใจใด  ๆด้วยซ้ำในช่วงแรกของการก่อตั้ง Google พวกเขาต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ซึ่งทำให้มีผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามามาก และเพื่อให้มั่นใจในความแม่นยำ ความเร็วในการตอบสนอง ทั้งสองก็ได้ลงทุนสร้างฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เพิ่มด้วยเงินที่่หามาได้แทบจะทั้งหมด

แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Google นั้นมันทำให้เงินจากนักลงทุนหมดลงไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน แม้พวกเขาใช้ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาถูกและได้สร้างซอฟท์แวร์เลียนแบบการทำงานของซุเปอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาเองเสียด้วยซ้ำ แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วจนการค้นหาเพิ่มขึ้นถึง 500,000 รายต่อวันนั้น มันทำให้แค่เพียงสิ้นปี 1998 เงินลงทุนกว่า 1 ล้านเหรียญแรกที่ได้รับจากนักลงทุน รวมถึงเงินส่วนตัวของทั้งสองก็หมดลงไปในที่สุด

พอถึงต้นปี 2000 google นั้นก็ได้กลายเป็นเว๊บไซต์ยอดนิยม ของเหล่านักค้นหา แต่ข่าวร้ายก็มาถึงเช่นเดียวกัน เพราะ เกิดวิกฤติดอทคอมขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมปี 2000 ซึ่งทำให้พวกเหล่าเศรษฐีอินเตอร์เน็ตพากันล้มหายตายจากไปพอสมควร รวมถึงเหล่านักวิจารณ์ก็พากันวิจารณ์ google ว่ามันเป็นเพียงแค่ของเล่น เพราะไม่มี โมเดลธุรกิจที่ชัดเจน ซึ่งคงมีจุดจบไม่ต่างจากบริษัทดอทคอมรายอื่น ๆ ที่ล้มหายตายจากกันเป็นว่าเล่นในขณะนั้น

วิกฤติดอทคอม ที่นักวิจารณ์ว่า google ไม่น่าจะรอดได้
วิกฤติดอทคอม ที่นักวิจารณ์ว่า google ไม่น่าจะรอดได้

ด้วยความที่ google นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงทำให้องค์กรเต็มไปด้วยความสับสนอลหม่าน มีการสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบอยู่ตลอดเวลา ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงหน้าที่ตัวเองไปตามความต้องการของธุรกิจ 

แต่สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ google คงจะเป็นเรื่องของการตัดสินใจต่าง ๆ โดยทุกครั้งนั้น google จะเอาข้อมูลเป็นตัวตั้งเสมอ ทั้งเรื่องการตลาด ผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งเรื่องเทคนิคอลต่าง ๆ ภายใน google เพราะหากไม่มีข้อมูลที่มาสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีพอ คนที่เสนออาจจะถูกตอกกลับหน้าหงายโดยสองผู้ก่อนตั้งไปเลยก็ได้

แม้วัฒนธรรมแบบวิศวกรที่เป็น DNA หลักของสองผู้ก่อตั้ง ได้ฉายภาพ google ออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งมันเป็นความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่าง วิธีของ google  , apple และ Microsoft 

โดย apple จะเน้นใช้วิธีเชิงวิสัยทัศน์ผ่านผู้นำอย่างจ๊อปส์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สว่น Microsoft นั้นจะเน้นที่การตลาด ที่แตกต่าง มันจึงกลายเป็นวิธีการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนของ 3 บริษัทเทคโนโลยีชื่อดังในขณะนั้น

ตัวอย่างวัฒนธรรมดังกล่าวของ google คือเรื่องราวของการออกแบบโลโก้ ที่ มาริสา เมเยอร์ ที่ตอนนั้นเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์การค้นหา ตัดสินใจเรื่องเฉดสีในการออกแบบระหว่าง 2 สีที่ทีมออกแบบได้ทำการสร้างขึ้นมา

เมเยอร์ได้ตัดสินใจอย่างวิทยาศาสตร์ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยให้ทีมสร้างสีน้ำเงินขึ้นมาสี่สิบเฉดสี โดยการทดสอบแบบ A/B Testing อย่างถี่ถ้วน ซึ่งมีการแบ่งผู้ใช้ google mail เป็น 40 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะทดสอบร้อยละ 2.5 ของสีน้ำเงินทั้ง 40 เฉดนั้น

โดยเมื่อกลุ่มทดลองเข้ามาใช้เว๊บคนละวัน หรือคนละเวลา จะเจอสีที่แตกต่างกัน จากนั้นก็เฝ้าดูพฤติกรรมการคลิก และปฏิสัมพันธ์กับหน้าจอของโปรแกรม ซึ่งจะได้ผลข้อมูลทางสถิติที่แม่นยำและละเอียดถี่ถ้วน

ซึ่งถ้าอยู่ที่ apple ทีมออกแบบคงทำงานได้อย่างสบายใจ เพราะจะอยู่บนพื้นฐานของความสวยงาม ตามความต้องการของผู้นำอย่าง สตีฟ จ๊อบส์เป็นหลัก แต่ google นั้นพึ่งพาข้อมูลเหล่านี้ เพื่อให้เข้าถึงคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ซึ่งการตัดสินใจต่าง ๆ ใน google นั้นจะต้องอิงอยู่บนพื้นฐานที่ว่า อะไรใช้ดีที่สุดกับคนจำนวนมากที่สุด เพียงแค่เรื่องเฉดสี ก็มีผลต่อจำนวนผู้ใช้งาน ลองจินตนาการว่า หากเป็นผู้ใช้หลักพันล้านคนเหมือนในปัจจุบัน รายละเอียดเล็กน้อยที่ทำให้คนใช้งานมากขึ้นเพียง 1% ก็มีสัดส่วนถึง 10 ล้านคน และจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกมากมายนั่นเอง

ในขณะที่ Microsoft ก็มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจำนวนมหาศาล ผ่านผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ Windows และ Microsoft Office ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของ Desktop ทำให้ปรับแต่งเพิ่มเติมได้ไม่มีที่สิ้นสุด Microsoft จึงเลือกใช้วิธีการทุกอย่างมาแก้ปัญหา โดยแทบจะไม่ตัดฟีเจอร์ใด ๆ ออกไปเลย โดยเฉพาะหากเป็นความต้องการของผู้ใช้งานจากบริษัทใหญ่ ๆ 

Microsoft นั้นไม่มีทางที่จะทิ้งฟีเจอร์เหล่านั้นไปเป็นเด็ดอันขาด ซึ่งแน่นอนว่า software ของ Microsoft นั้นทำให้คนจำนวนมากพอใจ เพราะรับรองว่ามีฟีเจอร์ทุกอย่างที่คุณต้องการ แต่มันก็แถมมาด้วยอีกนับ 100 ฟีเจอร์ที่คุณไม่ต้องการด้วย ไม่เชื่อลองถามตัวคุณเองตอนนี้ว่า คุณใช้ฟีเจอร์ของชุด office ของ Microsoft เพียงกี่อย่าง แต่สิ่งที่ชุด office ของ Microsoft ทำได้นั้นมีมหาศาล

ชุด office ของ Microsoft ที่มีฟีเจอร์มหาศาลแต่คนแทบไม่ได้ใช้
ชุด office ของ Microsoft ที่มีฟีเจอร์มหาศาลแต่คนแทบไม่ได้ใช้

ซึ่งการเก็บองค์ประกอบทุกอย่างไว้แบบที่ Microsoft ทำนั้น มันขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับการออกแบบที่แท้จริง และขัดแย้งกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้มันไม่เหมาะกับวิถีของ google อย่างแน่นอน และใช้ไม่ได้กับวิถีของ apple ที่ทำตามแนวทางของ สตีฟ จ๊อบส์ และ โจนาธาน ไอฟฟ์ หัวหน้าฝ่ายออกแบบมาหลายปีแล้ว ซึ่งสรุปก็คือ การออกแบบนั้นเป้นเรื่องของสิ่งที่ตัดทิ้ง ไม่ใช่สิ่งที่เก็บไว้นั่นเอง

ซึ่งวัฒนธรรมการคิดแบบ Engineer ของ google นี่เอง ที่ google ได้ส่วนแบ่งการค้นหาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปี 2000 นั้นมีคนเข้ามาค้นหาถึง 8 ล้านครั้งต่อวัน และเพิ่มเป็น 9 ล้านครั้งต่อวัน ในเพียงไม่กี่สัปดาห์ต่อมา มันเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด

และในเดือนเดียวกันนั้น google ได้ทำสัญญาเป็น Search Engine ของ Yahoo ซึ่งเป็นข้อตกลงเดียวกันกับ NetScape และการเริ่มธุรกิจกับ Yahoo นี่เอง ที่จะทำให้ google มีผูัใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

แต่ตอนนั้น ต้องบอกว่าสถานะทางการเงินของ google เริ่มสั่นคลอนเสียแล้ว ทุนที่มีก็แทบจะหมดไปแล้ว และยังหาโมเดลการทำงานจากจำนวนผู้ใช้งานมหาศาลเช่นนี้ยังไม่ได้ แต่ถ้าพูดถึงตัวเลขการเติบโต ถือเป็นประวัติศาสตร์ของธุรกิจด้านเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ที่มีการเติบโตรวดเร็วเช่นนี้ แล้ว google จะทำอย่างไรต่อไป กับเงินทุนที่เหลือเพียงน้อยนิด ที่เริ่มไม่พอที่จะมาซื้อ hardware เพื่อรองรับ Deal กับ Yahoo เสียแล้ว ส่วน Microsoft นั้นก็ยังคงก้าวช้าเหมือนเต่า ด้วยความที่เป็นองค์กรใหญ่ทำให้เคลื่อนตัวได้ช้า พวกเขาจะไล่ตาม google ที่เป็นบริษัทคนรุ่นใหม่ และมีไฟเต็มเปี่ยมได้อย่างไร อย่าพลาดติดตามต่อตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Money Making Machine

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Image References : https://timedotcom.files.wordpress.com/2017/10/google-searches-for-its-voice.jpg

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตของ Bill Gates

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งของ Microsoft ได้กล่าวถึงช่วงเวลาของเขากับบริษัท Microsoft เมื่อมีการตัดสินใจครั้งสำคัญในเรื่องระบบปฏิบัติการมือถือ ในระหว่างการสัมภาษณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ Village Global ซึ่งเป็น บริษัทร่วมทุน โดย Gates เปิดเผยว่า “ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต” ของเขาคือ Microsoft การปล่อยให้ Android นั้นถือกำเนิดขึ้นมา :

“ ในโลกของซอฟต์แวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแพลตฟอร์มที่ใหญ่อย่างมือถือนั้น เป็นตลาดที่สามารถพลิกเกมธุรกิจได้ ดังนั้นความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการจัดการผิดพลาดที่ผมมีส่วนร่วมซึ่ง Microsoft นั้นมองตลาดพลาดไป และปล่อยให้ Android เติบโตขึ้นมาจากลายเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานของโลกที่นอกเหนือจาก Apple 

ซึ่งส่วนนั้นมันควรเป็นของ Microsoft  ซึ่งมันมีที่ว่างสำหรับระบบปฏิบัติการที่ไม่ใช่ของ Apple และผลตอบแทนที่ Android ได้รับกว่า 400 พันล้านเหรียญที่ผ่านมา ที่จะถูกโอนจาก บริษัท google ไปยัง บริษัท Microsoft แทนนั่นเอง”

อดีต CEO ของ google อย่าง Eric Schmidt ยอมรับว่าจุดเริ่มต้นของ Google คือการพยายามเอาชนะ Windows Mobile ในช่วงต้นของการสร้างระบบปฏิบัติการของ “ ในขณะที่เรากังวลอย่างมากว่ากลยุทธ์มือถือของ Microsoft จะประสบความสำเร็จ” Schmidt กล่าวระหว่างการต่อสู้ทางกฎหมายกับ Oracle เกี่ยวกับ Java ในปี 2012 ในที่สุด Android ก็สามารถเอาชนะได้ทั้ง Windows Mobile และ Windows Phone และกลายเป็น Windows ในโลกมือถือจนถึงปัจจุบัน

Android จากจุดเริ่มต้นเล็กจนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก
Android จากจุดเริ่มต้นเล็กจนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก

แม้ว่าคำกล่าวของ Gates นั้นค่อนข้างน่าแปลกใจ ซึ่งหลายคนคิดว่าความผิดพลาดในตลาดมือถือของ Microsoft นั้นเป็นความผิดพลาดในยุคของ Steve Ballmer เราคงยังจำกันได้ในขณะที่ iPhone ได้เปิดตัวต่อสาธารณะชนในปี 2007 Ballmer หัวเราะและกล่าวถึง iPhone ว่า “ เป็นโทรศัพท์ที่แพงที่สุดในโลกและไม่ดึงดูดลูกค้าธุรกิจเพราะมันไม่มีคีย์บอร์ด” 

นี่เป็นส่วนสำคัญของความผิดพลาดในช่วงแรก ๆ ในมือถือของ Microsoft และ Microsoft ใช้เวลาหลายเดือนในการพิจารณาว่า บริษัทควรจะเลิกความพยายามในการพัฒนา Windows Mobile ซึ่งในเวลานั้นไม่ได้เป็นระบบสัมผัสและเกิดจากยุคเก่าของอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยสไตลัส Microsoft ตัดสินใจในการประชุมฉุกเฉินเดือนธันวาคม 2008 เพื่อยกเลิก Windows Mobile และรีบูตระบบปฏิบัติการมือถือใหม่ให้กลายเป็น Windows Phone อย่างสมบูรณ์

Ballmer ที่ประเมินการเปิดตัวของ iPhone ต่ำเกินไป
Ballmer ที่ประเมินการเปิดตัวของ iPhone ต่ำเกินไป

ในขณะที่อดีตหัวหน้า Windows อย่าง Terry Myerson และ Joe Belfiore ของ Microsoft มีส่วนร่วมในการประชุมฉุกเฉินครั้งนั้นและเป็นไปได้ว่า บริษัทอาจจะมีการขอคำแนะนำจาก Bill Gates ในบางเรื่อง โดยที่ Gates ก้าวลงจากตำแหน่ง CEO ในปี 2000 โดยรับตำแหน่งหัวหน้าสถาปนิกทางด้านซอฟต์แวร์

ในช่วงเวลาที่สำคัญซึ่งนำ Microsoft ไปสู่ ​​Windows Phone และ Windows Vista  แต่ท้ายในที่สุด Gates ก็ก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ในเดือนกรกฎาคม 2008 และดำรงตำแหน่งประธาน บริษัท จนกระทั่ง Satya Nadella เข้ารับตำแหน่ง CEO ในปี 2014

Gates อาจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจในเรื่องกลยุทธ์ทางด้านมือถือของ Microsoft แต่การลงจากตำแหน่งของเขาเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ Microsoft ตัดสินใจไม่ใช้ Android ซึ่งเมื่อเทียบกับอดีตซีอีโอไมโครซอฟท์อย่าง Steve Ballmer ที่กล่าวว่า Windows Vista เป็นความเสียใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาที่ไมโครซอฟท์ก่อนที่เขาจะอำลาไปด้วยคราบน้ำตาก่อนส่งไม้ต่อให้ Satya Nadella

ไมโครซอฟท์ดูเหมือนว่าจะมีความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัยทั้งที่ผ่านศึกในธุรกิจมือถือมาอย่างยาวนาน แต่ตอนนี้ธุรกิจ Cloud กำลังพาบริษัทกลับมารุ่งเรือง “ มันน่าอัศจรรย์สำหรับผมที่ทำผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง แต่หลายสิ่งหลายอย่างของบริษัท ทั้งสินทรัพย์อื่น ๆ ของเราเช่น Windows และ Office ยังคงแข็งแกร่งมากดังนั้นเราจึงยังคงเป็นบริษัทชั้นนำ” Gates กล่าว . “ถ้าเรามีโอกาศที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่งเราจะกลายเป็นบริษัทชั้นนำ อันดับ 1 ของโลกได้อีกครั้ง.”

References : 
https://www.theverge.com/2019/6/24/18715202/microsoft-bill-gates-android-biggest-mistake-interview

เป็ดก็ไม่เว้น! มารู้จัก Aigamo หุ่นยนต์กำจัดวัชพืชเลียนแบบเป็ด

สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเอเชียสัตว์บางชนิดอย่างเป็ดนั้นใช้เป็นทางเลือกทางธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืช ในขณะที่เหล่าเป็ดว่ายวนไปไปรอบ ๆ ในทุ่งนาที่มีน้ำท่วม เหล่าเป็ดก็จะทำการฉีกวัชพืชและจัดการแมลง

และปล่อยใหัเหล่าเศษซากต่าง ๆ กลายเป็นปุ๋ยเพิ่มเติม แต่ในวันนี้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่อาจเปลี่ยนแปลงวิถีแบบเดิม ๆ ของชาวเกษตรกรก็เป็นได้

วิศวกรที่ทำงานให้กับผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นอย่างบริษัทนิสสันได้สร้างหุ่นยนต์ทดแทนเป็ดในนา รายงานโดย Nippon.com และNerdist ,โดยเขากำลังทดสอบต้นแบบของเขาในจังหวัดยามากาตะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ดูเหมือนว่าจะเป็นเพียงโครงการ DIY ในขณะนี้โดยไม่มีแผนในเชิงพาณิชย์หรือแม้แต่ข้อมูลใด ๆ ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีที่น่าทึ่งเหมือนกัน

หุ่นยนต์ที่ถูก Design มาแบบน่ารักสไตล์ญี่ปุ่น
หุ่นยนต์ที่ถูก Design มาแบบน่ารักสไตล์ญี่ปุ่น

หุ่นยนต์ Aigamo นั้นได้รับการตั้งชื่อตามสายพันธุ์ของเป็ดที่ใช้ในการฝึกแบบโบราณนี้  โดยหุ่นยนต์ตัวนี้จะมีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมและมีขนาดของประมาณหุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่ แปรงยางหมุนสองอันที่อยู่ด้านล่างจะแทนเท้าของเป็ด ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชหยั่งราก

สามารถดูวิดีโอการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากคลิปด้านล่าง  ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันเป็นหุ่นยนต์ที่น่ารักที่สามารถผสมผสานเทคนิคการเกษตรแบบเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน ในญี่ปุ่นที่การทำนากำลังเกิดปัญหาจากการบริโภคที่ลดลงและจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และเจ้าหุ่นยนต์ Aigamo มันสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมที่สำคัญทางวัฒนธรรมอยู่รอดได้ในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

แต่ที่แน่ ๆ เจ้าเป็ดน้อยทั้งหลายอาจจะถูกแย่งงานโดยหุ่นยนต์ในอนาคตก็เป็นได้ครับ

References : 
https://www.theverge.com/tldr/2019/6/22/18700480/robot-duck-nissan-rice-fields-farming-weeds

Search War ตอนที่ 3 : Search & Microsoft

ในช่วงขณะที่ google กำลังเริ่มทะยานในธุรกิจด้านการค้นหา แต่ในขณะเดียวกันนั้น Microsoft กำลังเจอคดีที่เกี่ยวกับการต่อต้านการผูกขาดจากศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งได้ทำลายชื่อเสียงของ Microsoft ในวงการธุรกิจอย่างย่อยยับ

และการที่ google เป็นบริษัทน้องใหม่เต็มไปด้วยเด็กหนุ่มที่มาพร้อมกับความทะเยอทะยาน มันได้กลายเป็นเรื่องดีสำหรับ ผู้ที่ใช้งาน Search Engine ในยุคแรกที่ต้องการลองของใหม่ทางออนไลน์ในขณะที่กำลังเบื่อกับความยิ่งใหญ่ของ Microsoft ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่า Microsoft นั้นอยู่ไกลเกินไปจนไม่ใส่ใจ หรือ สังเกตเห็น google เลยด้วยซ้ำ

บรินและเพจ เริ่มพยายามสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ เพื่อดึงดูดคนหนุ่มสาวเข้ามาเปลี่ยนโลกกับเขา ด้วยทุนทรัพย์ที่จำกัดทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างแพง ๆ ได้ แต่พวกเขาได้ สร้างวัฒนธรรมอย่าง การให้หุ้น อาหารและเครื่องดื่มที่ฟรี และ เป้าหมายที่ใหญ่มากของพวกเขาที่จะให้คนทั่วโลกนับล้านได้ใช้งาน google มันก็เป็นแรงดึงดูดสำคัญให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจจะมาทำงานกับ google มากยิ่งขึ้น

ซึ่งเพจและบริน นั้นคิดอยู่เพียงอย่างเดียวที่จะพัฒนาบริการของเขาให้ดีที่สุด เรื่องการหาเงินนั้นพวกเขายังไม่สนใจใด  ๆด้วยซ้ำในช่วงแรกของการก่อตั้ง Google พวกเขาต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ซึ่งทำให้มีผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามามาก และเพื่อให้มั่นใจในความแม่นยำ ความเร็วในการตอบสนอง ทั้งสองก็ได้ลงทุนสร้างฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เพิ่มด้วยเงินที่่หามาได้แทบจะทั้งหมด

ฟากฝั่ง Microsoft นั้นไม่เคยคิดว่าการค้นหาเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ของธุรกิจของตัวเอง Microsoft นั้นผลักให้ส่วนของการค้นหาเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกลุ่ม MSN (Microsoft Network) และอยู่นอกผลิตภัณฑ์หลักของ Microsoft

Microsoft โฟกัสใน content online อย่าง MSN มากกว่า
Microsoft โฟกัสใน content online อย่าง MSN มากกว่า

และอีกเหตุผลที่สำคัญนั้น ก็ต้องบอกว่า ในตอนนั้นยังไม่มีใครมองเห็นว่า การค้นหานั้นจะทำเงินได้อย่างไร หากเราลองจินตนาการย้อนกลับไปในยุคนั้น ก็ต้องบอกว่า ก็ไม่มีใครคาดคิดเหมือนกันว่าธุรกิจค้นหานั้น จะทำเงินได้มหาศาลเหมือนในยุคปัจจุบันเช่นนี้

Microsoft นั้นมองหน่วยงานการสร้างโปรแกรมการค้นหา เป็นเพียงหน่วยงานที่มีแต่รายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และไม่รู้วิธีการที่จะทำเงินจากโปรแกรมเหล่านี้ได้อย่างไร Microsoft มุ่งเน้นไปทาง content online เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานผ่าน MSN มากกว่า

ซึ่งทุกคนต่างรู้ดีในขณะนั้นว่า Search Engine นั้นไม่มีวี่แววว่าจะทำเงิน เพราะโดยตัวมันเองนั้น เมื่อคนคลิกค้นหาคำค้นหาใด ๆ คนก็จะออกจากเว๊บไซต์การค้นหาเพื่อไปยังเว๊บไซต์ปลายทางอยู่ดี และมันไม่สามารถที่จะควบคุมเว๊บไซต์ปลายทางได้ในขณะนั้น มันจึงเป็นเพียงแค่จุดเชื่อมต่อเพื่อไปยังเว๊บไซต์ปลายทางและสุดท้ายก็ไปสร้างรายได้ให้กับเว๊บไซต์ปลายทางเพียงเท่านั้น

ในขณะนั้น มีเว๊บไซต์มากมายในอินเตอร์เน็ตที่ไม่ใช่ Yahoo.com หรือ MSN.com หรือ Askjeeves.com ซึ่งหากมองถึงพื้นฐานจริง ๆ แล้วนั้นหาก Search Engine ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะเสียโอกาสในการได้โฆษณามากขึ้นเท่านั้น และเหล่านักลงทุนก็มองมันเป็นธุรกิจที่ไม่ก่อรายได้ในยุคนั้น มันเป็นเพียงแค่ของเล่นเท่านั้น

 และแน่นอนว่า Search Engine นั้นไม่ใช่วิถีทางธุรกิจในยุคนั้น แม้กระทั่ง เจอร์รี่ หยาง CEO ของ Yahoo ก็ได้ปฏิเสธ google อย่างไม่ใยดี เพราะคิดว่าเหล่านักท่องอินเตอร์เน็ตคงไม่หาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ผ่านออนไลน์เหมือนในยุคนี้ 

ซึ่งแนวคิดของ Yahoo จะต่าง เพราะพวกเขาอยากให้ผู้ใช้อยู่กับ เว๊บไซต์ Yahoo นาน ๆ แต่การมีส่วนของการค้นหาแบบที่ Google ทำนั้น เป็นการส่งผู้ใช้งานไปยังเว๊บไซต์อื่นๆ  โดยรวดเร็ว ซึ่งดูจะไม่เหมาะกับโมเดลธุรกิจของ Yahoo ในตอนนั้น

เจอร์รี่ หยาง มองว่า google ไม่ตอบโจทย์ธุรกิจของ Yahoo
เจอร์รี่ หยาง มองว่า google ไม่ตอบโจทย์ธุรกิจของ Yahoo

ซึ่งไม่มีใครในขณะนั้นคิดว่า เราสามารถที่จะสร้างความภักดีของลูกค้าได้ โดยมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แบบที่ google ทำ ซึ่งแน่นอนว่า หากลูกค้าใช้ google แล้วได้สิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ไปใช้ Search Engine ตัวอื่นนั้นทำไม่ได้ ซึ่งนั่นคือจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่คนแห่มาใช้ google กันอย่างถล่มทลาย โดยที่เหล่าคู่แข่งแทบจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

ในขณะที่ Microsoft ดิ้นรนต่อสู้ในการพิจารณาคดีของกระทรวงยุติธรรม google ซึ่งอาศัยจังหวะที่ยักษ์ใหญ่กำลังหัวปั่นกับคดีต่าง ๆ และมองข้ามขุมทองคำใหม่บนโลกออนไลน์ ซุ่มพัฒนาและบริการอยู่เงียบ ๆ จนพุ่งทะยานจนใครที่คิดจะตามมาทีหลังนั้น ยากที่จะตาม google ได้ทันอีกต่อไป แล้ว Microsoft จะรู้ตัวเมื่อไหร่ว่ากำลังพลาดตกขบวนรถไฟแห่ง Search Engine ที่กำลังกลายเป็นขุมทรัพย์มหาศาลแห่งใหม่ โปรดอย่างพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : An Engineering Culture

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Image References : https://cdn.vox-cdn.com/thumbor/4auA8IwQPpiBi25jCDejhoI_z8g=/0x0:3200×1800/1200×675/filters:focal(1174×423:1686×935)/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_image/image/59774405/microsoft_antitrust_getty_ringer.0.jpg

Search War ตอนที่ 2 : Google Search

ในปี 1997 เพจและบริน ได้ทำการพยายามที่จะขายแนวความคิดของ PageRank ให้กับบริษัทหลายแห่ง เพราะพวกเขาทั้งสองไม่ได้ต้องการเข้าสู่วงการธุรกิจเลยเสียด้วยซ้ำ โดยทั้งคู่ได้พยายามขายให้กับยักษ์ใหญ่ทางด้านการค้นหาในขณะนั้นอย่าง Excite และ Yahoo

ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ดูเหมือน คู่หู ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ในตอนนั้นยังไม่ได้สนใจจะเข้าสู่โลกของธุรกิจนัก พวกเขาต้องการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ก็จริง แต่อยากทำในด้านวิชาการมากกว่า ทั้งสองก็ยังถกเถียงกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คอมพิวเตอร์ ปรัชญา หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เพิ่งคิดได้ พวกเขาจะเถียงกันเอาเป็นเอาตาย แต่ใช้เหตุผลมาสู้กัน เพราะพวกเขานั้นถือเป็นยอดอัจฉริยะทั้งคู่ที่ดูเหมือนจะไม่มีใครยอมใครได้เลย

ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยี PageRank ที่ทั้งสองคิดนั้นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ แต่ด้วยกระแสตอนนั้น ที่ยังไม่มีใครรู้จัก Search Engine มากนัก ซึ่งทั้ง Excite และ Yahoo นั้นก็มองว่ายังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อโปรแกรม Search Engine ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะทั้งสองต่างมีเครื่องมือของตัวเองอยู่แล้ว

Yahoo ของ เจอร์รี่ หยาง นั้น ดูเหมือนจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่น่าจะสนใจ Google เพราะตอนนั้น Yahoo เป็นเพียงเว๊บ ไดเรคทอรี่ ที่จัดโดยบรรณาธิการ ซึ่งเว๊บไซต์กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และในท้ายที่สุด มนุษย์จะไม่สามารถคัดกรองเหล่าเว๊บไซต์หน้าใหม่ที่มีเข้ามาทุกวันได้อีกต่อไป

แต่ดูเหมือนแนวคิดของ Yahoo จะต่าง เพราะพวกเขาอยากให้ผู้ใช้อยู่กับ เว๊บไซต์ Yahoo นาน ๆ แต่การมีส่วนของการค้นหาแบบที่ Google ทำนั้น เป็นการส่งผู้ใช้งานไปยังเว๊บไซต์อื่นๆ  โดยรวดเร็ว ซึ่งดูจะไม่เหมาะกับโมเดลธุรกิจของ Yahoo ในตอนนั้น

Jerry Yang ไม่ได้สนใจ Google เลยด้วยซ้ำ โดยมองว่าไม่ตรงกับ Business Model ของ Yahoo
Jerry Yang ไม่ได้สนใจ Google เลยด้วยซ้ำ โดยมองว่าไม่ตรงกับ Business Model ของ Yahoo

หลังจากถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าอยู่เป็นเวลาหลายเดือน บริน และ เพจ ก็เริ่มท้อแท้ผิดหวัง แต่พวกเขาก็ยังมีความมุ่งมั่น โดยเริ่มมาปรับปรุงหน้าเว๊บ Google ให้ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานก่อน และยังไม่ตัดสินใจเรื่องอนาคตว่าจะทำอย่างไรต่อกับ Google ดี

ซึ่งในฤดูร้อนปี 1998 เพจและบรินนั้นแทบจะหมดตัว ทั้งคู่รูดบัตรเครดิตจนแทบจะหมดตัวเพื่อหมุนมาใช้งานเพื่อพยุงโปรแกรมค้นหาของพวกเขาให้เดินต่อไปข้างได้ให้ได้ ถึงขนาดที่ว่าโต๊ะทำงานชิ้นแรกนั้น ได้ใช้ประตูที่พาดบนขาตั้งของโต๊ะเลื่อยไม้เพื่อให้ทำงานได้เท่านั้น

ซึ่งพวกเขาได้เก็บเรื่องราว ๆ ต่างของโปรเจคลับนี้ ไม่ให้แพร่งพรายให้ใครรู้ด้วยซ้ำ 
โดยชื่อแรกของโปรแกรมค้นหาตัวนี้คือ “แบ็ครับ” และเพจ คิดว่ามันต้องมีชื่อใหม่ที่เรียกง่าย ๆ พวกเขาและทีมวิจัย ได้คิดชื่อต่าง ๆ มากมายจนไอเดียสุดท้ายคือ กูเกิลเพล็กส์ ซึ่งคือจำนวนมาก ๆ สุดท้ายได้ตัดมาเหลือแค่ Google

ซึ่งเพจ เห็นว่ามันยอมรับได้และได้รีบไปจดทะเบียนชื่อโดเมน google.com ทันที แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาจดทะเบียนนั้น เป็นสิ่งที่สะกดผิด ที่จริงมันควรจะเป็น G-o-o-g-o-l แต่ทุกอย่างมันเสร็จสิ้นไปแล้ว และต้องเลยตามเลยในชื่อนี้ไปในที่สุด

ทั้งคู่นั้นจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ กับปัจจัยสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ใช้งานในหน้าเว๊บของ google ซึ่งต้องมีความเร็ว โหลดหน้าแรกได้อย่างรวดเร็ว และผลการค้นหาต้องออกมาอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

เพราะตอนนั้นด้วยอินเตอร์เน็ตที่ช้าเหมือนเต่าถ้าเทียบกับปัจจุบัน ทำให้ความเร็วสำคัญแทบจะเท่ากับความถูกต้องของผลการค้นหาเสียด้วยซ้ำ และความแตกต่างที่สำคัญคือหน้าเว๊บที่เรียบง่าย ไม่รบกวนผู้ใช้งาน

ส่วนหน้าตาของเว๊บ Search Engine อื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาดในขณะนั้น ล้วนมีหน้าตาที่แทบจะเหมือนกัน นั่นคือ มีป้ายโฆษณาอยู่ด้านบนสุด มีแท็บ และการแบ่งข้อความในแนวตั้ง คล้าย ๆ ข้อมูลในสมุดโทรศัพท์ หน้าค้นหาของ google จึงได้นำเอาความแปลกใหม่เข้ามาสู่วงการเว๊บอย่างชัดเจน

และด้วยรูปแบบที่ง่ายที่สุด มีแค่ตัวโลโก้กับช่องให้กรอกข้อความค้นหาเพียงเท่านั้น ผู้ใช้จะรู้ทันทีเลยว่านี่คือ Google เพียงแค่เริ่มพิมพ์ในกล่องค้นหา และคลิก และผลการค้นหาจะแสดงให้ผู้ใช้เห็นอย่างรวดเร็ว

และจากความต้องการให้หน้าเว๊บสะอาดและเป็นระเบียบนั้น ทั้งคู่จึงปฏิเสธข้อเสนอกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ของ Altavista ที่ต้องการซื้อพื้นที่โฆษณาบนโฮมเพจของ google ในปี 2000

หลังจากได้ทำการเปิดตัวไปได้ไม่นาน ผู้คนบอกปากต่อปากกับอย่างรวดเร็ว google นั้นได้รับการชื่มชมยกย่องเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งาน ในเดือน ธันวาคมปี 1998 สก็อตต์ โรเซนเบิร์ก เขียนชมเชยไว้ใน salon.com ว่า “ผมเพิ่งเจอ google เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ผมประทับใจมากกับประโยชน์และความเที่ยงตรง จนกระทั่งเลือกใช้ google เป็นเจ้าแรกทุกครั้งที่ต้องการค้นหา”

แม้โปรแกรมทดสอบรุ่นแรกที่เป็นเบต้า version ของ google นั้นจะมีการทำการ index ข้อมูลจากไซต์ทั่ว www เพียงแค่ 60 ล้านหน้าเว๊บ google ในยุคแรกก็ได้เสนอบริการแบบพิเศษขึ้นมาเช่น Standford Search หรือ Linux Search ที่เจาะกลุ่มลูกค้าในยุคแรก ๆ ของ google เป็นพิเศษ

Standford Search และ Linux Search ที่ Google สร้างมาเพื่อลูกค้ากลุ่มแรก
Standford Search และ Linux Search ที่ Google สร้างมาเพื่อลูกค้ากลุ่มแรก

และ Google ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเดือน กรกฏาคมปี 1999 google ได้บรรลุข้อตกลงในการเป็นโปรแกรมการค้นหาให้กับ NetScape ซึ่งในขณะนั้นกำลังต่อสู้กับ Microsoft ในชั้นศาล 

และเพียงไม่กี่นาทีหลังจากประกาศข้อตกลงดังกล่าวทำให้ มีคนเข้าไปใช้งาน google เพิ่มขึ้นสูงถึง 7 เท่า จนถึงกับว่าต้องปิดการให้บริการกับผู้ใช้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ NetScape ถึง 2 ชม. ซึ่งทำให้ google ได้รับบทเรียนที่สำคัญว่าจะต้องเตรียมความพร้อมให้มากกว่านี้ และนั่นเป็นการล่มครั้งใหญ่ครั้งแรกของ google เลยก็ว่าได้

ในเดือนกันยายายน ปี 1999 google ได้ประกาศว่ามีการค้นหามากถึง 3.5 ล้านครั้งต่อเดือนซึ่งถือเป็นตัวเลขทีสูงมากในขณะนั้น  แม้เชิงสถิตินั้น Yahoo จะเป็นผู้นำในตลาดนี้ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 38 ล้านครั้งต่อเดือน แต่หารู้ไม่ว่าตอนนี้เกมส์ของตลาดการค้นหามันได้ถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากกระแสแบบปากต่อปาก และการร่วม Deal ที่ทาง google นั้นวิเคราะห์มาอย่างดีว่าจะทำให้ยอดผู้ใช้งานพุ่งขึ้นแบบฉุดไม่อยู่กับ NetScape แล้ว Microsoft ยักษ์ใหญ่ที่แทบจะครองโลกอยู่ในขณะนั้นกำลังทำอะไรอยู่ ได้ระแคะระคายกับการเกิดขึ้นของ google ครั้งนี้หรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 3 : Search & Microsoft

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***