Swarm Hive Mind กับเทคโนโลยีทางการทหารใหม่ที่ควบคุมฝูงบินโดรน 130 ลำด้วยทหาร 1 นาย

ผมเป็นหนึ่งในคนที่สนใจเทคโนโลยีทางการทหาร หากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้นมาจริง ๆ เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าความล้ำสมัยของเทคโนโลยีทางด้านการทหารในตอนนี้มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้างหากเกิดสงครามเต็มรูปแบบขึ้นมาจริง ๆ

ตัวอย่างที่น่าสยดสยองของความสามารถในการทำสงครามที่ทวีความรุนแรงขึ้น  ซึ่งเพนตากอนได้ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีที่อนุญาตให้ทหารเพียงคนเดียวควบคุมโดรน 130 ลำสำหรับการปฏิบัติการทางทหาร

เบื้องหลังโครงการคือบริษัทผู้รับเหมาด้านการป้องกันประเทศ Raytheon ซึ่งทำงานร่วมกับ Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) ทีมงานประสบความสำเร็จในการทดสอบเทคโนโลยีใหม่ในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกเมือง ตามข่าวประชาสัมพันธ์ของบริษัท 

โครงการดังกล่าวได้รับการขนานนามว่า “OFFensive Swarm-Enabled Tactics” (OFFSET) ผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียวสามารถควบคุมฝูงบินโดรน ฝูงนี้ประกอบด้วยโดรน 130 ลำและโดรนจำลอง 30 ลำ ซึ่งทาง Raytheon อ้างว่าซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในฝูงบินโดรนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสั่งงานฝูงบินได้อย่างง่ายดายทั้งในร่มและกลางแจ้งในเขตเมือง 

“การควบคุมฝูงโดรนเปลี่ยนวิธีที่ผู้ปฏิบัติงานคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีโดรน” Shane Clark ผู้นำของโครงการ OFFSET ที่ Raytheon กล่าว

องค์ประกอบสำคัญของโปรแกรมนี้คือการใช้ฮาร์ดแวร์ราคาไม่แพง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการคำนวณและการตรวจจับที่มีประสิทธิภาพสูงในฮาร์ดแวร์ขนาดใหญ่ที่มีราคาแพง

โดย Raytheon ได้ทำการสร้างคลังข้อมูลกว้างๆ ของการสร้างกลยุทธ์อย่างง่ายที่ใช้ในการสร้างแผนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของภารกิจ 

Raytheon ได้ออกแบบและกำหนดค่าวิธีการปรับแต่ง แยกส่วน และทำการกระจายการควบคุมในส่วนของการจัดการแพลตฟอร์มเพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจในปัจจุบันและในอนาคตที่มีความหลากหลายได้

โดยเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ โดรนทั้งฝูงจะร่วมมือกันเพื่อตัดสินใจว่าจะทำภารกิจใดภารกิจหนึ่งให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร

ซึ่งผู้ควบคุมฝูงบินโดรนจะไม่ทำอย่างนั้นที่โต๊ะและจอยสติ๊กเหมือนเก่าอีกต่อไป แต่พวกเขาจะใช้อินเทอร์เฟซเสมือนจริงอย่างเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถมองผ่านโดรนแต่ละตัวได้ สิ่งนี้สร้าง “มุมมองเสมือนจริงที่สามารถโต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ของสภาพแวดล้อมในขณะที่มีการรบ” Clark กล่าว

“คุณสามารถมองไปด้านหลังอาคารเพื่อเข้าถึงมุมมองของสถานที่ที่โดรนเข้าถึง และใช้สภาพแวดล้อมเสมือนจริงเพื่อทดสอบและดูว่าภารกิจของคุณเป็นไปได้หรือไม่” Clark อธิบาย 

ทีมงานยังได้สร้างอินเทอร์เฟซเสียงพูดที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสั่งงานด้วยเสียงกับฝูงบินได้ Clark เสริมว่าสิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ยังคงตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภารกิจนั้น ๆ

ต้องบอกว่าฝูงโดรนที่บินเข้าสู่สงครามเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีด้านสงครามที่น่าสนใจมาก ๆ นะครับ ลองนึกภาพที่คนๆ เดียวกำลังควบคุมฝูงโดรนขนาดใหญ่โดยใช้ VR และคำสั่งเสียงนั้นเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อจริงๆ และมันกำลังเกิดขึ้นแล้ว 

References : https://www.raytheonintelligenceandspace.com/news/advisories/raytheon-intelligence-space-drone-swarm-control-solution-shines-darpa-field
https://futurism.com/the-byte/terrifying-robot-swarm-smarter
https://www.techeblog.com/darpa-offset-drones/

MQ-9 Reaper โดรนที่น่ากลัวที่สุดในโลก ผู้ปลิดชีพ ยอดแม่ทัพ Soleimani แห่งอิหร่าน

ในปฏิบัติการสังหาร Soleimani นายพลของอิหร่าน เชื่อว่าได้รับการจัดการโดย CIA ผ่าน Drone อากาศยาน MQ-9 Reapers ที่เคลื่อนจากฐานทัพอากาศ Creech ในเนวาดา และได้รับการสนับสนุนจาก CIA ใน Langley รัฐเวอร์จิเนีย

จากข้อมูลของกองทัพอากาศสหรัฐฯ Reaper นั้นเป็น “เครื่องบินอเนกประสงค์ที่ใช้ในหลายภารกิจ ซึ่งสามารถทำระดับความสูงได้หลายระดับ และระยะการเดินทางที่รอบรับการบนในระยะไกล ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ระยะไกลที่ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ทางการทหารของอเมริกา

ประธานาธิบดีทรัมป์ เป็นคนสั่งการให้สังหาร Soleimani ขณะที่กำลังเดินทางใกล้สนามบินนานาชาติแบกแดด โดยการโจมตีดังกล่าวยังได้สังหาร Abu Mahdi al Muhandis รองผู้บัญชาการของกองกำลังเคลื่อนที่ของอิรักที่ได้รับการสนับสนุนจากอิรัก และเป็นผู้ก่อตั้ง Kataib Hezbollah กลุ่มก่อการร้ายที่สังหารผู้รับชาวเหมาสหรัฐเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

เมื่อถูกถามว่ากองทัพอากาศเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้หรือไม่ ทางโฆษกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พ.ต.ท. โทมัส แคมป์เบล บอกกับ WashingtonExaminer : “เราไม่มีอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากแถลงการณ์เมื่อวานนี้” คำสั่งของกระทรวงกลาโหมไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการโจมตี CIA บอกกับ WashingtonExaminer 

Soleimani  ยอดนายพลแห่งอิรัก ที่ถูกสังหาร
Soleimani ยอดนายพลแห่งอิหร่าน ที่ถูกสังหาร

เสียงพึมพำเงียบ ๆ ของ Reaper นั้นเหมาะสำหรับการใช้โจมตี ตามที่อดีตนักบินกองทัพอากาศที่เกษียณไปแล้วอย่าง John Venable กล่าว

“MQ-9 Reaper มีความแม่นยำ และด้วยความสามารถในการโจมตี ทำให้มันเป็นอาวุธที่เหมาะกับภารกิจ ISR [เฝ้าระวัง ข่าวกรอง ลาดตระเวน] เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีการคุกคามต่ำ” Venable บอกกับ WashingtonExaminer  “ ทางการสหรัฐใช้โดรนในการติดตาม Soleimani รวมถึงติดตามการเคลื่อนไหวของ Muhandis ทั้งในและรอบ ๆ กรุงแบกแดด ซึ่งความสามารถของ Reaper ทำให้สหรัฐฯไม่ใช่แค่ใช้มันเพื่อสังเกตการเพียงเท่านั้น แต่เพื่อกำจัดเป้าหมายเหล่านั้นด้วย ”

พล.ท. เดวิด เดอทูลา นายพลเกษียณจากกองทัพอากาศบอกกับ WashingtonExaminer :  “MQ-9 Reaper เป็นระบบอาวุธที่สมบูรณ์แบบสำหรับงานนี้ “การตอบโต้ครั้งนี้เป็นการการตอบสนองที่เหมาะสมหลังจาก 18 เดือนของการเข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีโดยทรัมป์ที่ดำเนินการเนื่องจากการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศของอิหร่านอย่างก้าวร้าวโดยทรัมป์ได้ขีดเส้นเตือนอิหร่านไว้ก่อนหน้านี้ และเมื่อพวกเขาล้ำเส้น ทรัมป์ก็พร้อมที่จะปกป้องบุคลากรและผลประโยชน์ของอเมริกา “

Reaper ผลิตโดย General Atomics ซึ่งเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2007 ด้วยราคาประมาณ 16 ล้านเหรียญจึงเป็นตัวเลือกที่ประหยัด สามารถปฏิบัติการทางอากาศด้วยระเบิดและขีปนาวุธที่หลากหลาย Reaper นั้นมีขนาดเล็กกว่าเครื่องบินจู่โจมทั่วไปโดยมีปีกกว้าง 66 ฟุตและมีน้ำหนักเพียง 4,900 ปอนด์ โดยทั่วไปจะทำงานที่ระดับความสูงประมาณ 25,000 ฟุตและใช้เครื่องยนต์ใบพัดทำให้ยากต่อการมองเห็นและได้ยินในสนามรบ ด้วยระยะทาง 1,200 ไมล์มันสามารถเดินทางไกลได้ในขณะที่นักบินอยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์

Reaper มีอุปกรณ์ทางทหารที่ทันสมัยที่สุดในโลก ระบบถ่ายภาพประกอบด้วยเซ็นเซอร์อินฟราเรดกล้องถ่ายภาพสีและขาวดำและเครื่องค้นหาระยะเลเซอร์และอุปกรณ์การกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่มีความแม่นยำสูง

มีการใช้ Reapers ในอัฟกานิสถาน อิรัก เยเมน ลิเบีย และอีกหลายประเทศ มีรายงานการสังหารครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2007 เมื่อมีการยิงขีปนาวุธเฮลล์ไฟกับผู้ก่อความไม่สงบในอัฟกานิสถาน 

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

ต้องบอกว่าข่าวการสังหารนายพลของอิหร่าน ในมุมมองของเทคโนโลยีนั้นน่าสนใจมาก ๆ อย่างที่ผมได้เคยเขียนไปในหลาย ๆ Blog เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังมีบทบาทสำคัญในวงการทหาร

แน่นอนว่าผลพวงจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในวงการทหารหลาย ๆ เทคโนโลยีล้วนมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจด้วย เราจะเห็นได้จากหลาย ๆ เทคโนโลยีที่เกิดจากแวงวงทหารเช่น อินเทอร์เน็ตเป็นต้น ซึ่งหลายชาติมหาอำนาจในโลกที่เป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจก็ล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีทางด้านการทหารที่แข็งแกร่งมาก่อน ตัวอย่างเช่น อเมริกา ญี่ปุ่น หรือ เยอรมัน ที่กลายเป็นยักษ์ใหญ่วงการยานยนต์โลกก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานสำคัญมาจากการผลิต ยุทธโธปกรณ์ในสงครามโลกครั้งที่สองแทบจะทั้งสิ้น

และในข่าวใหญ่ครั้งก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านการทหารของอเมริกานั้น ไปไกลมาก ๆ พวกเขายังมีอาวุธลับอีกมากมาย ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเกิดสงครามขึ้นมาจริง ๆ ผมก็ยังมองว่า ไม่มีชาติใดในโลกนี้ที่จะสู้พวกเขาได้

และถามว่าทำไมพวกเขาจึงลงทุนไปมากมายกับเทคโนโลยีด้านการทหาร ก็เพราะความมั่นคงที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่อเมริกามอง พวกเขาแม้จะแพ้ทางด้านเศรษฐกิจ แต่ด้านความมั่นคง พวกเขาไม่เคยแพ้ใคร และ สุดท้ายเมื่อเกิดสงครามขึ้นมาจริง ๆ ตัวชี้วัดว่าชาติใดจะเป็นมหาอำนาจของโลกตัวจริง มันอยู่ที่เทคโนโลยีทางด้านการทหารนั่นเองครับ

–> ฟัง podcast World War III เมื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการชี้ขาดชัยชนะของสงครามยุคใหม่ : http://bit.ly/2MUHdph

References : https://www.washingtonexaminer.com/policy/defense-national-security/worlds-most-feared-drone-cias-mq-9-reaper-killed-soleimani https://www.researchgate.net/figure/MQ-9-Reaper-UAV-drone-and-its-zoom-camera_fig113_335455327