บทสรุป About.com เมื่อยักษ์ใหญ่สื่อเก่าอย่าง New York Times หาญกล้าท้าชน Google

ในช่วงปี 2005 สื่อยักษ์ใหญ่อย่าง New York Times ได้ทำการเข้าซื้อ About.com ซึ่งเป็นเว๊บไซต์ให้ข้อมูลเฉพาะทางแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ การตัดแต่งกิ่งไม้ ไปจนถึงวิธีการรักษาต่อมลูกหมาก

About.com มีโมเดลที่เรียกว่า “content farm” ซึ่งถือเป็นสูตรสำเร็จของแหล่งรวมเนื้อหาออนไลน์ และมีเป้าหมายคือใช้ประโยชน์จากเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นซึ่งได้รับการปรับให้เหมาะสมบน Google และให้ปรากฏในหน้าแรกของผลการค้นหาของ Google เพื่อสร้าง Traffic และ ขายโฆษณา

ซึ่ง The Times ได้จ่ายเงินไปกว่า 400 ล้านดอลลาร์ในการเข้าซื้อกิจการของ About.com และเนื่องจากเว๊บไซต์ มี Traffic กว่าหลายพันล้านครั้งจากการค้นหาของ Google มันทำให้มูลค่ากิจการของ About.com นั้นพุ่งสูงขึ้นไปถึงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงพีค ๆ

ซึ่งในช่วงเวลานั้น The Times ก็ค่อนข้างมั่นใจกับ About.com ที่เป็นอีกหนึ่งโมเดลสร้างรายได้ใหม่ให้กับบริษัท แม้มันจะเป็นเพียงแค่รายได้ 12% ที่มาจากโลกออนไลน์ แต่ดูเหมือนเป็นการปรับตัวครั้งสำคัญของ The Times ที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง

About.com กับการบุกโลกดิจิตอลออนไลน์ของ Times
About.com กับการบุกโลกดิจิตอลออนไลน์ของ Times

แต่แล้ววันหนึ่ง ผู้บริหารระดับสูงของ The Times กลับคิดเรื่องประหลาดออกมา มีการผลักดันให้ปิดการเข้าถึงเนื้อหาของ Times จาก Google โดยพวกเขามองว่า เครื่องมือค้นหาของ Google นั้นได้ทำลายคุณค่าของผู้ถือหุ้น หากปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาว อาจจะถูก Google ยึดครองได้ในอนาคต

ซึ่งต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของ Google นั้นพวกเขาทำเพียงแค่รวมรวมดัชนี index ต่างๆ ของเว๊บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก ทางฝ่าย Times มองว่า Google เหมือนเข้ามาในห้องใต้ดินของบริษัทของพวกเขา และคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดออกไปจากเซิร์ฟเวอร์ แบบสบาย ๆ โดยแทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยกับ Content ต่าง ๆ

แน่นอนว่า Google ไม่เพียงแค่รวบรวมเนื้อหาต่าง ๆ มาแบบฟรี ๆ แต่ยังมีการนำเนื้อหาดังกล่าวไปแบ่งปันให้กับผู้ใช้งานด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้คนกำลังมองหาโรงแรมในปารีส Google จะลิงค์ไปยังบทความท่องเที่ยวของ New York Times ที่เกี่ยวกับปารีส

แต่ที่ด้านบนจะวางโฆษณาของ Google สำหรับ Four Seasons Hotel ที่มาลงโฆษณาให้กับพวกเขา มันเหมือนกับไปแย่งลูกค้าโดยตรงหาก Times ต้องการวางสปอนเซอร์ที่เป็นโรงแรมที่พักบนหน้าเนื้อหาของตัวเอง

แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ในขณะที่ Google กำลังจัดการการค้นหาเหล่านั้น Google ก็ได้เรียนรู้เช่นกัน ว่า Content ไหนคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริง ๆ หรือมีแนวโนมที่จะมีความต้องการในอนาคต

ซึ่งนั่นหมายความว่า Google สามารถที่จะกำหนดเป้าหมายผู้อ่านมายัง Times ด้วยความแม่นยำมากขึ้น และทำเงินได้มากขึ้นจากโฆษณาแต่ละรายการ และมันอาจมากขึ้นเป็น 10 เท่า แต่ฝ่ายของ Times เองนั้นได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิด

ซึ่งต้องบอกว่า Model ธุรกิจของฝั่ง Times นั้นกำลังจะตาย แต่สิ่งหนึ่งที่มีค่าก็คือเนื้อหา และเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เป็นคนสร้างมันขึ้นมา แต่กลับถูกฉกฉวยไปหาประโยชน์ไปโดยแพลตฟอร์มดิจิตอลอย่าง Google

แต่สุดท้ายดูเหมือน Times จะต้องยอม Google และไม่ทำการปิดทางให้ Google เข้ามาทำดัชนีแต่อย่างใด เมื่อพิจารณอย่างรอบด้านแล้ว ดูเหมือน Times จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ Google อยู่มาก

พวกเขามองว่าหากตัดสินใจดังกล่าว มันเสี่ยงต่อการทำให้ Google โกรธเคือง และเนื่องจาก About.com นั้นพึ่งพา Traffic หลักจาก Google เพียงอย่างเดียว จะทำให้ Times เสียหายอย่างหนัก

เรียกได้ว่ามันเป็นสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำหรับสื่อยุคเก่าอย่าง Times ที่ยังไงก็ต้องพึ่งพา Google ซึ่ง Google เองก็ใช้เนื้อหาคุณภาพจาก Times และ About.com เพื่อดึงดูดคลิกหลายพันล้านครั้งสำหรับโฆษณา และใช้อัลกอริธึมการค้นหาเพื่อเพิ่มการเข้าชมไปยัง About.com แต่ดูเหมือนว่า Google จะมีอำนาจต่อรองเหนือกว่ามาก เพราะ พวกเขาเป็นประตูใหญ่สู่โลกอินเทอร์เน็ต นั่นเองที่ทำให้ชะตากรรมของ Times นั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่เริ่มต้น

และในที่สุดสิ่งที่ Times กังวลก็เกิดขึ้น ในปี 2011 เมื่อ Google รู้สึกว่า content farm จาก About.com ดูไร้คุณภาพ ยักษ์ใหญ่ทางด้านการค้นหาก็เริ่มดำเนินการ อัปเดตอัลกอริธึม panda ซึ่งทำการเปลี่ยนปริมาณการใช้งาน content farm จาก About.com จำนวนมาก ไปยังเว๊บไซต์อื่น ๆ

panda update กับการเปลี่ยนแปลงอัลกอริธึมครั้งสำคัญของ Google
panda update กับการเปลี่ยนแปลงอัลกอริธึมครั้งสำคัญของ Google

ด้วยการปรับแต่งอัลกอริธึมเพียงแค่ครั้งเดียวของ Google ก็สามารถเอาชนะ Times ได้ โดยได้เปลี่ยนรายได้ออนไลน์หลายล้านดอลลาร์ไปยังเว๊บไซต์อื่น ๆ และลดมูลค่าของ About.com ลงอย่างมาก ดูเหมือนว่า Google กำลังตัดสินใจทางธุรกิจโดยพิจารณาจากมูลค่าระยะยาวของบริษัท

ซึ่ง Google ไม่ได้สนใจความเป็นไปของ Times แต่อย่างใด มูลค่า About.com กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ก่อนการอัปเดท ลดลงครึ่งหนึ่งในวันถัดไปหลังการอัพเดทอัลกอริธึมครั้งใหญ่นี้

และหนึ่งปีหลังจากนั้น Times ได้ทำการขายกิจการ About.com ออกไปในราคา 300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าที่ซื้อมาถึง 25% เป็นบทเรียนที่เรียกได้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ในสื่อเก่าอย่าง Times นั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญอะไรเลย ในการตัดสินใจของ Google ในการทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้น Google ในระยะยาวนั่นเองครับ

References : https://www.economist.com/international/2012/11/10/taxing-times
หนังสือ The Four The Hidden DNA of Amazon, Apple, Facebook, and Google

บทบาทของ AI ต่อ Fintech

Fintech หรือ เทคโนโลยีทางด้านการเงินนั้น กำลังจะเข้ามาท้าทายรูปแบบการบริการเดิม ๆ ของอุตสาหกรรมทางด้านการเงิน  ซึ่งการเข้าสู่ยุคของ mobile นั้นทำให้ทุกอย่างสามารถทำได้ผ่านทาง มือถือ ไม่ว่าจะเป็น การจ่ายเงิน การโอนเงิน หรือการชำระค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็สามารถที่จะได้ทำได้ผ่านมือถือทั้งหมดในปัจจุบัน ซึ่งส่วนนึงที่ Fintech มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วปัจจัยนึงนั้นมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี AI

การลงทุนใน Fintech นั้นจากรายงานของ KPMG พบว่า

  • ในอเมริกานั้นมีการลงทุนใน Fintech กว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐใน Quater 1 ของปี 2017 ทั้งในส่วนของ VC , PE และ M&A นั้น หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของตลาด Fintech ทั่วโลกคือ Hub ของการลุงทุนด้าน Fintech ที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งใน แคนาดา , อินเดีย , จีน , สวีเดน หรือ ในสหราชอาณาจักร  และแม้แต่ใน US เอง Fintech  ก็ได้มีการเติบโตออกไปนอก silicon valley เช่นใน Delaware และ Ohio
  • เนื่องจากข้อจำกัดบางประการของกฏหมาย ทำให้มี Fintech เพียงไม่กี่รายที่จะสามารถเติบโตได้ เพราะจะไปซ้อนทับกับรูปแบบการดำเนินการของธนาคารเดิม ซึ่งเหล่านักลงทุนก็ต้องมองหา Startup ที่เป็น Fintech ที่กำลังเริ่มต้นและคิดว่าสามารถ scale ไปเติบโตในระดับโลกได้ก่อน
  • ใน Q1 ปี 2017 นั้น บรรดา Fintech ขนาดใหญ่ หรือ นักลงทุนด้าน Fintech จะเน้นไปที่การขายการเติบโต ทั้ง พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ทำการลงทุน หรือ ผ่านการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ เช่น ใน Startup ระดับ Unicorn ชื่อ SoFi นั้นเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องดังกล่าว  ในระหว่าง Q1 ของปี 2017 นั้น SoFi สามารถเข้า take over Zenbanx ซึ่งทำให้มีความสามารถในการบริการรูปแบบเดียวกับธนาคาร คือ สามารถ ฝาก ถอน ซึ่งบริษัทอื่น ๆ ที่มีแนวทางเดียวกันในต่างประเทศเช่น Ant Financial ของ Alibaba หรือ Kakao Pay จากประเทศเกาหลีใต้
  • แม้ว่าผลจาก Q4 ในปี 2016 นั้นจะมีธนาคารเพียงไม่กี่แห่งที่ได้ออกจาก R3 consortium ใน Q1 ปี 2017  ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึง Golman Sachs และ Santander จาก สเปน ซึ่ง R3 consortium นั้นเป็นการรวมกลุ่มกันของเหล่าสถาบันการเงินเพื่อพัฒนา blockchain ร่วมกัน  ซึ่งใน Q1 ปี 2017 พบว่ามีจำนวนสมาชิกจากสถานบันการเงินที่เข้าร่วม R3 consortium น้อยลง เช่น State Bank of India’s  ที่เพิ่งเข้ามาจอยกับกลุ่มดังกล่าว

ศัพท์ใหม่ของวงการ Fintech

Insurtech – หมายถึง นวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมทางด้านการประกันภัย  เป็นการประกอบกันของคำว่า “ประกันภัย” และ “เทคโนโลยี” เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำการ disrupt รูปแบบของการทำประกันแบบเดิม ๆ เช่น การซื้อประภันภัยรถยนต์ ที่ insurtech ได้เริ่มรุกเข้ามาในอุตสาหกรรมด้านนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วในปัจจุบัน เราจะเห็นได้จากระบบประกันภัย online จำนวนมากที่ทำการแข่งกันอย่างดุเดือด โดยอาศัยนวัตกรรมต่าง ๆ มา disrupt รูปแบบการขายแบบเดิม ๆ

Regtech – เป็นการผสมผสานของคำว่า “การกำกับดูแล” และ “เทคโนโลยี”  ซึ่งส่วนนี้ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายในการด้านกฏระเบียบทางด้านการเงิน เป็นการปฏิวัติรูปแบบของกฏระเบียบทางด้านการเงินด้วย technology ซึ่งจะช่วยให้เหล่าบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้นั้นสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายน้อยลงนั่นเอง

การนำ AI มาประยุกต์ใช้กับ Fintech

AI นั้นถือเป็นเทคโนโลยีหลักที่มี impact โดยตรงกับ Fintech ซึ่งเราสามารถนำ AI ไป applied กับ Fintech ได้ดังนี้

1. การทำ Credit Scoring/Direct Lending

บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมทางด้านการเงินและการธนาคารนั้น สามารถที่จะนำเอา AI มาช่วยวิเคราะห์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถลดเวลาในการทำงานได้ดีขึ้น ในการทำ credit score หรือ lending

2. ผู้ช่วยเหลือทาด้านการเงิน Assistant/Personal Finance

บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้นั้นสามารถนำ chatbots มาประยุกต์ใช้งาน ในรูปแบบของ mobile apps ในการช่วยดูแลลูกค้าได้

3.การจัดการและบริหารสินทรัพย์

บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้นั้น สามารถที่จะนำเอา AI มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการลงทุนให้กับลูกค้าได้ผ่าน AI Algorithm

4.การประกันภัย

บริษัททางด้านประกันภัยสามารถที่จะนำเอา AI มาช่วยเหลือในเรื่องการวิเคราะห์ ค่าเบี้ยประกัน หรือ รูปแบบการประกันให้เหมาะสมกับลูกค้าได้ และสามารถที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

5.การวิเคราะห์ตลาด

สามารถที่จะนำเอา AI ไปใช้ในการวิเคราะห์ตลาด รวมถึงประยุกต์ใช้ในงาน CSR ได้ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมา Train ให้ AI ช่วยวิเคราะห์ได้ และสามารถตอบสนองความต้องการ หรือความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อ Brand ได้

6.การทวงหนี้

สามารถที่จะนำเอา AI นั้นไปใช้ในการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อปรับปรุงการเก็บหนี้ที่ค้างชำระผ่านระบบอัติโนมัติได้

7.การปรับปรุงรายงานทางด้านการเงิน

เป็นเรื่องง่ายที่จะนำ AI มาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการด้านบัญชีหรือการเงินของบริษัท

8.การใช้งานทั่วไป

บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้สามารถนำ AI มาช่วยเหลือในงานทั่วไปได้ รวมถึงสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วในบริษัทมาประมวลผล และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทได้

9.การกำกับดูแล , การปฏิบัติตามข้อกำหนด , รวมถึงการตรวจการฉ้อโกงที่จะเกิดขึ้นในบริษัท

AI สามารถนำใช้ในการตรวจสอบพฤติกรรมทางด้านการเงินที่เสียงที่จะผิดกฏหมาย หรือ มีพฤติกรรมที่ผิดปรกติที่จะนำไปสู่การฉ้อโกง  เพื่อปรับปรุงให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบ และ workflow ที่ถูกต้อง

 

ซึ่งหลาย ๆ สื่อรวมถึงภาคเอกชนได้กล่าวถึงบทบาทของ AI ต่อ Fintech ไว้ดังนี้

  • Juergen Schmidhuber จาก The New York Times ได้กล่าวไว้ว่า มี algorithm สองรูปแบบที่่ใช้ในวงการ trading ในปัจจุบัน  หนึ่งคือ รูปแบบของโปรแกรมง่าย ๆ ที่ช่วยในการ trade โดยกำหนดรูปแบบของการ trade แบบง่าย ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถรับได้ ซึ่งระบบพวกนี้ยังไม่ฉลาดเท่าที่ควร  แต่ อีกแบบหนึ่งนั้น ใช้รูปแบบของ AI จริง ๆ คือใช้ Neural Network ในการทำนายพฤติกรรมราคา รวมถึง indicators ต่าง ๆ ซึ่งระบบแบบนี้นั้นจะทำงานได้ดีกว่าคู่แข่งและสามารถตรวจจับ signal ของการ trade ได้โดยที่คนอื่นมองไม่เห็นมัน
  • Rich Wordsworth จาก Wired UK ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีที่ใช้ Fintech นั้นกำลังขยายไปทั่วโลก ซึ่งการลงทุนที่สำคัญทั้งใน จีน ญี่ปุ่น หรือ ยุโรปนั้น ใช้ Smart Computers รวมถึง AI system ที่อัจฉริยะ ในการตัดสินใจ วิเคราะห์ ซึ่งสามารทำได้รวดเร็วกว่าวิธีการแบบเดิมที่ใช้มาในอดีต ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับอุตสาหกรรมทางด้านการเงินและการลงทุนทั่วโลก
  • Nikolai Kuznetsov จาก The Next Web ได้กล่าวไว้ว่า การนำ AI มาใช้ใน Fintech นั้นช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งเป็นความผิดพลาดแบบเดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งในอนาคตนั้น AI นั้นจะมีบทบาทที่สำคัญต่อวงการด้านการเงินอย่างแน่นอน เนื่องมาจากข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้รับการ Train เพื่อเรียนรู้ข้อผิดพลาด และ สามารถที่จะคาดการณ์อนาคตได้
  • Nick Hungerford จาก บริษัทด้านการลงทุน Numeg นั้นได้กล่าวไว้ว่า ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งของทิศทางของ Fintech ที่กำลังมุ่งหน้าไปในทางของการผสมผสานกันระหว่าง Big Data และ Artificial Intelligence ซึ่งทั้งสองอย่างนั้น ทำให้บริษัทเหล่านี้ได้รับรู้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่าย วิธีการดำเนินชีวิต ข้อมูลสุขภาพ หรือ ข้อมูลอื่นๆ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นั้นสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกค้าได้ เช่น ทำให้รู้ว่าเมื่อไหร่ลูกค้าจะแต่งงาน เมื่อไหร่จะมีลูก ซึ่งจะนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายได้
  • Ramesh Mahalingam CEO ของ Vizru ได้กล่าวว่า AI นั้นได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการของธนาคารในรูปแบบเดิม ๆ ที่มีมากว่า 100 ปีให้ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย รวมถึงการปรับตัวให้ทันต่อนวัตกรรมทางด้านการเงินใหม่ ๆ เช่น ฺBlockchain หรือ การชำระเงินแบบ peer-to-peer ซึ่งรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลูกค้าแต่ละรายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำ AI มาใช้ปรับปรุง workflow การทำงานของธนาคารนั้น จะสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น

การปรับตัวที่ยากขึ้นของธนาคารรูปแบบเก่า

ปัญหาหลักขององค์กรที่มีมานานคือการปรับตัวเข้ากับยุคสมัยใหม่ ซึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก ยิ่งเข้าสู่ยุค digital revolution ในปัจจุบันนั้นจะเห็นได้ว่า บางทีการช้าไปเพียงนิดเดียวนั้น อาจจะส่งเสียหายต่อการแข่งขันทางธุรกิจได้ ซึ่งธนาคารขนาดใหญ่นั้นมีวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นรูปแบบเดิมมานานกว่า 100 ปี ซึ่งตัวอย่างในไทยก็สามารถเห็นได้ชัดว่า มีไม่กี่ธนาคารที่เราเห็นบ่อย ๆ เช่น ไทยพานิช หรือ ธนาคารกสิกรไทย ที่มีการปรับตัวต่อเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งธนาคารเก่า ๆ นั้นการจะปรับตัวแบบนี้นั้นค่อนข้างยาก และเชื่องช้า ต้องอาศัยนโยบายจากผู้บริหารที่มีหัวก้าวหน้าทันต่อโลกยุคใหม่ ในการปรับรูปแบบการบริการ หรือ ปรับผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินใหม่ เพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนในยุคใหม่ได้

ซึ่งการนำ AI เข้ามาปรับใช้ในธุรกิจด้านการเงินหรือการลงทุนนั้น ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ รวมถึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสูง และบุคคลากรด้านนี้นั้นปัจจุบันยังมีไม่พอต่อความต้องการ และต้องลงทุนในจำนวนเงินที่สูงมากเช่นกัน ซึ่งบางครั้งนั้นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญโดยใช้ AI นั้นก็เสี่ยงต่อความล้มเหลวได้ จึงทำให้หลาย ๆ ธนาคารยังไม่เริ่มที่จะปรับตัว รอให้คู่แข่งพัฒนาไปก่อน แล้วคอยดูกระแสตอบรับว่า work หรือไม่ ซึ่งคนที่ทำก่อน ก็สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันก่อน แต่หากล้มเหลวนั้น ก็ต้องเสียเวลาและเงินจำนวนไม่ใช่น้อยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี Fintech นั้นไม่เพียงมาสร้างแค่นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีทางด้านการเงินเท่านั้น แต่เป็นการบีบให้การบริการทางการเงินแบบเก่า ๆ นั้นต้องเร่งปรับเพื่อให้อยู่รอด ไม่งั้นก็อาจจะโดนเหล่า Fintech ที่ใช้นวัตกรรม รวมถึงเทคโนโลยีเป็นตัวนำมา Disrupt ธุรกิจได้ และยิ่งการเริ่มนำ AI เข้ามาใช้นั้นก็ทำให้เหล่าธุรกิจเก่าๆ  ต้องรีบเร่งปรับตัวเร็วขึ้นไปอีก เพราะอาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจเก่า ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อมีการนำ AI ประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมทางด้านการเงินใหม่ ๆ ซึ่งหากไม่มีการปรับตัวก็อาจจะทำให้ธุรกิจอยู่ในภาวะเสี่ยงได้

AI นั้นได้ใช้ข้อมูลในอุตสาหกรรมทางการเงินต่างๆ  มาวิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงรูปแบบการบริการ รวมถึง การมอบประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้ารุ่นใหม่ ๆ รวมถึงช่วยลด cost ที่เกิดขึ้นในบางงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์อีก หรือคอยช่วยเหลือในการคาดการณ์ตลาดในอนาคตจากข้อมูลต่างๆ  ที่ AI ได้ทำการ train ซึ่งจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับลูกค้าได้

ซึ่งบริการทางด้านการเงินนั้นมีข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงสถาบันการเงินรายใหญ่ ๆ เท่านั้น บางส่วนยังมีการเปิดเผย เช่น ใน EU นั้นได้ปรับรูปแบบการชำระเงินเป็น PSD2 (Revised payment service Directive) ซึ่งเป็นเป็นข้อมูลขนาดใหญ่มาก ที่บริษัทเล็ก ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ และสามารถ developed AI เพื่อมาประยุกต์ใช้ได้ เพราะใน sector นี้นั้น barriers to entry นั้นต่ำกว่าในอุตสาหกรรมอื่น ๆ บริษัทใหญ่ ๆ ไม่มีความได้เปรียบเสมอไป สามารถเห็นยักษ์ล้มได้หากไม่ปรับตัว อาจจะโดน startup ด้าน Fintech เล็ก ๆ มา disrupt ธุรกิจของตัวเองก็เป็นได้

ซึ่งตามความจริงแล้วนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการทางด้านการเงินเป็นระบบอัติโนมัตินั้นในยุคนี้ ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากการเติบโตของเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้ง high speed internet รวมถึงการเติบโตของผู้ใช้ด้าน mobile นั้น เราน่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้บริการกันได้ไม่ยากนัก จากเดิมที่ต้องไปนั่งรอคิวที่ธนาคารนั้นเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมากสำหรับลูกค้า ในสมัยนี้นั้นทุกอย่างสามารถทำได้บนมือถือหมดแล้ว ซึ่งจะถูกจริตกับผู้คนยุค millennials มากกว่า

แต่อย่างไรก็ตามการนำ AI มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมนี้นั้น ก็มีความท้าทายบางอย่าง ที่ต้องทำให้การเปลี่ยนผ่านนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และรวดเร็วที่สุด ซึ่งการที่จะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของธนาคารนั้น ก็ต้องอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารบรรดาธนาคารต่าง ๆ ด้วยว่า มีวิสัยทัศน์ กับเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้อย่างไร ซึ่องค์กรใหญ่ ๆ ที่มีวัฒนธรรมฝังรากลึกมานาน และประกอบไปด้วยคนรุ่นเก่าเป็นส่วนใหญ่นั้น ก็เป็นเรื่องยากที่จะปรับตัวอยู่เหมือนกัน ก็ต้องมีการ balance ระหว่างเทคโนโลยีใหม่ กับ รูปแบบเก่า ๆ และค่อยๆ  ปรับกันไป แต่หากปรับตัวช้าก็อาจจะมีโอกาสที่จะถูกคู่แข่งฉีกหนีออกไป รวมถึงเหล่า Fintech รุ่นใหม่ที่ประกอบไปด้วยคนรุ่นใหม่นั้นอาจจะที่จะมาล้มธุรกิจเก่า ๆ เหล่านี้ในเวลาไม่นานก็อาจเป็นได้

สำหรับประเภทของ AI Fintech ที่จะเข้ามามีบทบาทให้อนาคตอันใกล้นี้สามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้

  • Financial Wellness เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล ซึงจะทำให้ลูกค้าสามารถได้รับการบริการที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เป็นการวางแผนทางการเงินให้กับลูกค้าโดยอัติโนมัติ เช่น การใช้ Robo Advisor , Chatbots หรือ Virtual Assistant ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตามรูปแบบการใช้ชีวิต ลักษณะนิสัย ที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์กับลูกค้าได้อย่างเหมาะสมที่สุด สำหรับ บริการลักษณะนี้ ตัวอย่าง เช่น Kasisto; Trim; Penny; Cleo; Acorns; Fingenius; Wealthfront; SigFig; Betterment; LearnVest; Jemstep; [credit scoring] Aire; TypeScore; CreditVidya; ZestFinance; Applied Data Finance; Wecash;
  • Blockchain สำหรับ blockchaing นั้นเป็นนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งก็มีหลายผลิตภัณฑ์ ที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ blockchain ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง payment , e-wallet หรือ trading tools ซึ่งตัวอย่างบริการที่เกี่ยวข้องกับ blockchain เช่น Euklid; Paxos; Ripple; Digital Asset;
  • Financial Security สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของการ identification เช่น บริการการชำระเงินในรูปแบบที่ปลอดภัย หรือ รูปแบบการยืนยันตัวตนผ่าน Biometrics ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยกับการใช้บริการทางการเงิน และ อีกลุ่มคือ กลุ่มของการ Detection ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือในการตรวจสอบพฤติกรรมทางด้านการเงินที่น่าสงสัย หรือ การใช้ในการตรวจสอบการฉ้อโกงทางการเงิน ซึ่งบริการในกลุ่มนี้ตัวอย่าง เช่น respectively: EyeVerify; Bionym; FaceFirst; Onfido; and Feedzai; Kount, APEX Analytics;
  • Money Transfer กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับบริการทางด้านการโอนเงินแบบ online หรือ รูปแบบการ payment online หรือรปแบบของ peer-to-peer lending ซึ่งตัวอย่างของการบริการในลักษณะนี้เช่น  TrueAccord; LendUp; Kabbage; LendingClub;
  • Capital Market ในกลุ่มนี้เป็นเป็นกลุ่มใหญ่ซึ่งสามารถแบ่งแยกเป็น 5 ประเภทย่อยได้ดังนี
  1. Trading เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับ algorimatic trade ตัวอย่างบริการลักษณะนี้เช่น Euclidean; Quantestein; Renaissance Technologies, Walnut Algorithms; EmmaAI; Aidyia; Binatix; KimerickTechnologies; Pit.ai ;Sentient Technologies; Tickermachine; Walnut Algorithm ; Clone Algo; Algoriz; Alpaca; Portfolio123; Sigopt;
  2. Do-it-Youself Funds บริการที่เกี่ยวข้องกับ crowdsource funds หรือ บริการ home-trading ซึ่งตัวอย่างบริการในลักษณะนี้ เช่น Sentifi; Numerai; Quantopian; Quantiacs; QuantConnect; Inovance;
  3. Markets Intelligence เป็นรูปแบบบริการในลักษณะ insights data ที่ใช้รูปแบบของ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บริการกับลูกค้า ตัวอย่างบริการลักษณะนี้เช่น Indico Data Solutions; Acuity Trading; Lucena Research; Dataminr; Alphasense; Kensho Technologies; Aylien; I Know First; Alpha Modus; ArtQuant;
  4. Alternative Data ลักษณะของบริการที่เป็น Alternative Data Application นั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในตลาดทุน มากกว่าตลาดทางด้านการเงิน ซึ่ง ตัวอย่างของบริการลักษณะนี้คือ Cape Analytics; Metabiota; Eagle Alpha;
  5. Risk Management ตัวอย่างของบริการลักษณะนี้เช่น Ablemarkets; Financial Network Analysis

สำหรับบทบาทของ AI ต่ออุตสาหกรรมทางด้านการเงินนั้น ต้องบอกว่าจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้ปรับเปลี่ยนการบริการแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่ง รูปแบบการบริการแบบเดิม  ๆ นั้นเราอยู่กับมันมาเป็น 100 ปี แล้ว เป้าหมายที่คิดว่าสำคัญที่สุดคือ การปฏิวัติรูปแบบของการบริการทางด้านการเงินแบบเต็มรูปแบบ ในอนาคตนั้น เราอาจจะไม่ต้องมี สาขาของธนาคารอีกต่อไป หรือ เราอาจจะไม่ต้องใช้ credit card อีกต่อไปเลยก็ได้ ธนาคารจะกลายเป็นรูปแบบของ platform ที่ทันสมัยแบบเต็มรูปแบบ บริการทุกอย่างนั้นจะตอบโจทย์เรา มี AI มาช่วยวิเคราะห์ในหลาย ๆ บริการเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์เรามากที่สุด และทำให้ชีวิตเรานั้นสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่มันได้เริ่มคืบคลานเข้าสู่วิถีชีวิตของพวกเราอย่างรวดเร็ว และหากองค์กรไหน ที่ไม่ยอมปรับตัว ก็อาจจะถูกเหล่า startup ด้าน fintech ที่เกิดใหม่จำนวนมากมายมา disrupt ธุรกิจของตัวเองจนไม่มีที่ยืนในตลาด เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับหลาย ๆ ธุรกิจที่ประมาทกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีมาแล้วนั่นเอง

References : aitrends.com