Geek Talk EP9 : ทำความรู้จัก CRISPR-Cas9 กับงานวิจัยที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมี 2020

ศาสตราจารย์ เอ็มมานูเอล ชาร์เพนทิเยร์ ชาวฝรั่งเศส และศาสตราจารย์ เจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวอเมริกัน เป็นสองนักชีวเคมีและพันธุศาสตร์หญิง ที่สามารถพิชิตรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปีนี้ไปครอง ด้วยผลงานการคิดค้นและพัฒนาเทคนิคใหม่เพื่อตัดต่อข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม (Genome) ซึ่งวิธีนี้มีชื่อเรียกกันว่า “คริสเปอร์-แคสไนน์” (CRISPR-Cas9)

แม้เทคนิคนี้จะเพิ่งคิดค้นขึ้นมาในช่วงปี 2012 แต่ก็มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางและหลากหลายอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัลโนเบลสาขาเคมีของปีนี้กล่าวว่า “การที่เราตัดต่อแก้ไข DNA ตรงจุดไหนก็ได้ตามต้องการนั้น เท่ากับเราสามารถจะสร้างรหัสแห่งชีวิตเสียใหม่ และปฏิวัติวงการชีววิทยาศาสตร์”

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3dhAmC8

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3djJ2Ie

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/pb8CQIEQx7A

References : https://www.bbc.com/thai/international-54451257
https://www.businesstoday.in/current/world/emmanuelle-charpentier-jennifer-doudna-win-nobel-prize-2020-in-chemistry-for-developing-method-genome-editing/story/418152.html

Geek Daily EP19 : DNA Storage กับเทคโนโลยีที่เก็บหนังได้มากกว่า 100 ล้านเรื่อง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและศูนย์จีโนมนิวยอร์กได้คิดค้นระบบการเข้ารหัสใหม่ซึ่งเรียกว่าDNA Fountain ซึ่งมีความสามารถในการบรรจุข้อมูล 215 เพตาไบต์ลงบน DNA เพียงแค่หนึ่งกรัม

นั่นคือมากกว่า 100 เท่าของนักวิจัยก่อนหน้านี้ที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ใน DNA และสามารถทำได้โดยการกำหนดอัลกอริทึมสำหรับการสตรีมวิดีโอบนสมาร์ทโฟน 

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2EiDkJg

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/2ZZYbsY

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3hxJLX8

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/iurk7vH6Sqw

References : https://www.zdnet.com/article/dna-data-storage-landmark-now-its-215-petabytes-per-gram-or-over-100-million-movies/

Virtual Reality กับการช่วยรักษาโรคทางพันธุกรรม

ทีมนักวิจัยได้พัฒนาวิธีการใช้ Virtual Reality Headsets เพื่อดูแบบจำลองข้อมูลพันธุกรรมแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นการจำลองรวบรวมข้อมูลจากการหาลำดับจีโนม , DNA โดยนำข้อมูลมาจากกล้องจุลทรรศน์

“ โดยการรวมข้อมูลลำดับจีโนมกับข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ของยีน เราสามารถสร้างแบบจำลอง 3 มิติที่แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบด้านจัดระเบียบของยีนนั้นสัมพันธ์กันหรือไม่” ศ. จิม ฮิวจ์ รองศาสตราจารย์ด้าน Genome Biology จาก Oxford University ได้กล่าวในการแถลงข่าว  “ มันทำให้ง่ายต่อการเข้าใจกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต”

แต่ละเซลล์ของทั้งหมดที่มีจำนวน 37 ล้านล้านเซลล์ในร่างกายมนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ จะมี DNA ขนาดสองเมตรแฝงอยู่ภายในนิวเคลียส เรามีความสามารถในการลำดับดีเอ็นเอมานานมากแล้ว

แต่หากเราใช้เทคโนโลยี VR มาช่วยให้สามารถเห็นภาพการจัดเรียงแบบเฉพาะ ก็อาจทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมของมนุษย์เพราะมนุษย์นั่นเอง

นักวิจัยกำลังใช้เทคนิคการสร้างภาพโดยใช้เทคโนโลยี VR เพื่อศึกษาโรคเบาหวานโรคมะเร็งและเส้นเลือดตีบ โดยเป้าหมายระยะยาวของโครงการนี้จะช่วยให้ความพยายามในการสร้างวิธีการแก้ไขยีนที่ผิดปกติและทำการแก้ไขมัน เพื่อให้มนุษย์ปราศจากโรคภัยร้ายแรงดังกล่าวในอนาคตได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง

References : 
https://futurism.com

BIOWEAPONS กับแนวคิดอาวุธฆ่าคนด้วย DNA

ในอนาคตเราอาจต้องจัดการกับอาวุธชีวภาพที่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นซึ่ง ตามรายงานใหม่จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยนักวิจัยเคมบริดจ์ยืนยันว่ารัฐบาลโลกล้มเหลวในการเตรียมอาวุธในอนาคตจากเทคโนโลยีขั้นสูงเช่นปัญญาประดิษฐ์ หรือ การจัดการทางพันธุกรรม หรือแม้กระทั่งเชื้อโรคที่ออกแบบมาเพื่อฆ่าคนของเผ่าพันธุ์นั้น ๆ โดยเฉพาะ

รายงานดังกล่าวนั้น ก็เพื่อสำหรับการสร้างกลุ่มอิสระในการประเมินความเสี่ยงของเทคโนโลยีในอนาคตต่าง ๆ ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะเป็นอาวุธในสงครามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และแน่นอนว่าเพื่อป้องกันความสูญเสียร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับมนุษยชาติ

“ตอนนี้เทคโนโลยีมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในราคาที่ถูกลง ทำให้ความสามารถในการทำลายล้างได้รวดเร็วและเป็นอันตรายมากขึ้น” ผู้เขียนรายงานกล่าว “ ในกรณีที่เลวสุด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาวุธชีวภาพ สามารถสร้างขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมายกลุ่มชาติพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงตามรายละเอียดจีโนมของเผ่าพันธุ์นั้น ๆ ได้”

ซึ่งในที่สุดนักวิจัยสรุปว่าเราไม่สามารถรอให้อาวุธเหล่านั้นกลายเป็นความจริงขึ้นมา ก่อนที่จะไม่สามารถทำอะไรเพื่อหยุดยั้งไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติโดยการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในอนาคต

References : 
https://www.telegraph.co.uk

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 5 : The Meaning of Life

ความหมายของชีวิตคืออะไร? สำหรับ มัสก์  มันแทบจะเป็นคำถามของเขามาตั้งแต่เด็กเลยก็ว่าได้ มันเกิดจากช่วงชีวิตวัยเด็กของเขาที่แทบจะเป็นวิกฤติสำหรับชายอย่าง อีลอน มัสก์ ซึ่งกว่าที่เขาจะผ่านพ้นช่วงนั้นมาเริ่มชีวิตใหม่ในประเทศแคนาดา มันก็เป็นช่วงเวลายาวนานสำหรับเขา

มัสก์นั้นอ่านหนังสือมามากมาย ซึ่ง หนังสือเกี่ยวกับปรัชญานั้น เขาก็เป็นคนหนึ่งที่อ่านมาหลายเล่มมาก มันไม่ควรเป็นหนังสือที่เด็กน้อยอย่างมัสก์อ่านเลยตอนยังเยาววัย

หนึ่งในหนังสือเชิงปรัชญาที่เขาชอบมากที่สุดคือ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy โดย Douglas Adams ซึ่งเป็นหนังสือที่เสนอมุมมองเชิงปรัชญาในหลาย ๆ ด้าน เนื้อหานั้นเป็นเหมือนการรวมเอาหนังสืออย่าง Monty Python และ Star Wars มารวมกัน

หนังสือ The Hitchhiker's Guide to the Galaxy
หนังสือ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy

สิ่งสำคัญที่ มัสก์ ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้คือ แนวคิดในการตั้งคำถามกับสิ่งต่าง ๆ มนุษย์ทุกคนนั้นมักจะมีคำถามอยู่เสมอ หากไม่เข้าใจในสิ่งใด ซึ่งเหมือนมัสก์ ที่กำลังตั้งคำถามกับชีวิตตัวเอง ว่าความหมายในการคงอยู่ของชีวิตเขานั้นมีไว้เพื่ออะไร?

ตอนที่เขาเรียนอยู่ University of Pennsylvania นั้น เขาได้เริ่มตั้งคำถามว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ผลกระทบมากที่สุดต่ออนาคตของมนุษย์เราในวันข้างหน้า?

ทำไมเขาจึงต้องคำถามเหล่านี้ ส่วนนึงก็มาจากหนังสือนวนิยายที่เขาชอบอ่านของ Isaac Asimov ซึ่งเป็นหนึ่งในนักเขียนในดวงใจของมัสก์เลยก็ว่าได้  ซึ่งนวนิยายวิทยาศาสตร์ของ Isaac Asimov นี่เองเป็นแรงบัลดาลใจให้มัสก์คิดเรื่องใหญ่ ๆ ที่ผลกระทบต่อโลกเราที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

หลาย ๆ ไอเดียของมัสก์ ก็มาจากนวนิยายของ Asimov เนี่ยแหละ แต่เขาไม่ได้คิดแบบเพ้อฝันแบบนวนิยาย เขาคิดโดยพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เขาได้ร่ำเรียนมา ทั้งเรื่องของกระสวยอวกาศ หรือ เรื่องพลังงานที่จะใช้ขับเคลื่อนมัน มัสก์ เปรียบเทียบกับความเป็นจริงอยู่เสมอโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคิด

หลายแนวคิดของ มัสก์ ได้มาจากนวนิยายของ Isaac Asimov
หลายแนวคิดของ มัสก์ ได้มาจากนวนิยายของ Isaac Asimov

มี 3 สิ่งที่มัสก์ นั้นคิดเสมอว่าจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตของมนุษย์เรามากที่สุด  สิ่งแรกนั้นคือ อินเตอร์เน็ต ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปยังผู้ใช้งานทั่วโลกในขณะนั้น สิ่งที่สองก็คือ พลังงานที่ยั่งยืน และสิ่งสุดท้ายก็คือการสำรวจอวกาศ

มันเป็น 3 สิ่งหลักที่อยู่ในใจมัสก์เสมอ สิ่งที่ impact ต่อโลกเราในอนาคตอย่างแน่นอน แต่มัสก์ ก็ไม่ได้มีเพียงแค่ 3 ไอเดียดังกล่าวเท่านั้น เขายังคิดถึงเรื่อง Artificial intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ และ ความรู้ด้านชีววิทยา เช่น การถอดรหัส DNA ของมนุษย์ที่เขามองว่าตอนนี้เทคโนโลยีที่มีอยู่นั้นยังไม่สมบูรณ์นัก มันยังมีความผิดพลาดอยู่อีกมาก เขาเปรียบเทียบการพยายามทำการอ่านรหัส DNA ของมนุษย์นั้นก็เปรียบเสมือนการอ่าน code ดี ๆ นี่เองซึ่งมักจะมี error อยู่เสมอ

สำหรับโลกของ อินเตอร์เน็ตนั้น มัสก์ ได้เริ่มใช้งานแบบจริง ๆ จัง ๆ เมื่อตอนเรียนในสาขาฟิสิกส์ ซึ่งเขาต้องใช้ อินเตอร์เน็ตในการค้นคว้าหางานวิจัย ตอนนั้นคือปี 1994 เขามองเห็นศักยภาพของอินเตอร์เน็ตทันที และคิดว่าอินเตอร์เน็ตมันต้องเปลี่ยนโลกได้อย่างแน่นอน

ช่วงที่มัสก์เริ่มใช้งานอินเตอร์เน็ตมันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เดิมนั้นโลกของการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ต้องพึ่งพาห้องสมุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ อินเตอร์เน็ตมันได้เปลี่ยนโลกของข้อมูลข่าวสารทั่วโลกทั้งหมดให้มาสู่ที่ปลายนิ้วเพียงเท่านั้น

ในวัยเด็กนั้น การที่จะหาข้อมูลต่าง ๆ แบบที่หาได้ใน wikipedia.org ในปัจจุบันนั้น ต้องอ่านผ่าน encyclopedias เล่มหนาเต๊อะ ต่างจาก wikipedia ในโลก อินเตอร์เน็ตที่มีการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทันสถานการณ์อยู่ตลอด ต่างจากการอ่าน encyclopedias ที่มีการอัพเดทข้อมูลอย่างเร็วที่สุดปีละครั้งเพียงเท่านั้น

ส่วนเรื่องพลังงานที่ยั่งยืนนั้น มัสก์ เติบโตขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งพบปัญหากับวิกฤติทางด้านพลังงานอยู่บ่อยครั้ง บางครั้งปัญหาน้ำมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญที่สุดของแอฟริกาใต้ หนักหนาถึงขั้นที่ว่าในประเทศแอฟริกาใต้มีพลังานเหลือให้ประชากรใช้ได้เพียงอาทิตย์เดียวเท่านั้น

และไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องในแอฟริกาใต้เท่านั้น แนวคิดเรื่องพลังงานที่ยั่งยืนนั้น มาจากหนังสือนวนิยายของ Isaac Asimov นักเขียนคนโปรดของเขาอีกด้วย มัสก์ นั้นมองปัญหาใหญ่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ เรื่องพลังงานนั้นเป็นปัญหาใหญ่ของโลก

ซึ่งมัสก์นั้นคิดว่าโลกเรามีความเป็นไปได้ที่ แหล่งพลังงานและแหล่งอาหาร นั้นจะอยู่ได้อีกไม่กี่สิบปี หากไม่ทำอะไรซักอย่าง มันจะเป็นปัญหาระดับโลกในอนาคต มันอาจจะส่งผลให้ เกิดความตื่นตระหนกวุ่นวายกันทั่วโลกเมื่อถึงเวลานั้นจริง ๆ การใช้ความรุนแรง การปล้น นั้นจะกลายเป็นทางเดียวที่มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้

ซึ่งในนวนิยายของ Asimov ก็มีการกล่าวถึงในเรื่องทำนองนี้เหมือนกัน มันอาจจะเกิดสงครามระหว่างประเทศ เพื่อแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะด้านพลังงานและอาหาร และเมื่อนั้นอาจจะมีสงครามนิวเคลียร์เกิดขึ้นจริงก็ได้

มัสก์ ได้กล่าวถึงการบริโภคพลังงานของมนุษย์เราในยุคปัจจุบัน นั้นสูงขึ้นกว่า 9 เท่า เมื่อเทียบกับในยุคปี 1850 หากไม่แก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจรัง มันก็จะเกิดปัญหาระดับโลกได้ กระบวนการผลิตน้ำมันมันนั้นก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ 

Peak Oil คือ จุดที่การผลิตน้ำมันดิบอยู่ในอัตราสูงสุด ซึ่งเจ้าขอทฤษฏี Peak Oil คือ ดร.เอ็ม คิง ฮับเบิร์ต นักธรณีวิทยาชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 1956 เขาได้พยากรณ์ไว้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐอเมริกาจะถึงจุดสูงสุดในช่วงต้นทศวรรษ 1970 เลยจากจุดนั้นปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้จะลดลงเรื่อย ๆ 

กราฟแสดง ทฤษฏี Peak Oil
กราฟแสดง ทฤษฏี Peak Oil

ซึ่งพยากรณ์ดังกล่าวของ ดร.ฮับเบิร์ต นั้นเป็นจริง ถึงแม้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐ ขึ้นถึงจุดสูงสุดในทศวรรษ 1970 หลังจากนั้นก็ลดต่ำลงมาโดยตลอด จึงมีผู้นำทฤษฏี Peak Oil ไปใช้ทำนายแนวโน้มการผิลตน้ำมันดิบของโลกจะลดลง เพราะไม่มีแหล่งน้ำมันดิบใหม่ที่คุ้มค่าในการผลิต ขณะเดียวกัน ความต้องการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น

ซึ่งมัสก์ นั้นก็เป็นคนสนใจในทฤษฏีดังกล่าวนี้เป็นอย่างมาก เขาคาดการณ์ว่า Peak Oil จะเกิดขึ้นในปี 2020 และน้ำมันจะเริ่มหมดไปในช่วงปี 2050 โลกเรานั้นใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนโดยเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 87 ล้านบาร์เรล ในปี 2010 ซึ่งมันทำให้เราจะมีน้ำมันใช้จนถึงแค่เพียง 40 ปีเท่านั้น

แนวคิดสำคัญของมัสก์ ก็คือ ก่อนที่น้ำมันจะหมดโลก เราควรที่จะเก็บมันไว้ใช้ในอนาคต ในวันที่เราต้องการใช้มันจริง ๆ มากกว่า ในเมื่อในตอนนี้ เราสามารถใช้พลังงานทางเลือกอื่น ๆ ได้อยู่ มันไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่เราต้องนำน้ำมันที่กำลังจะหมดไปมาใช้ให้หมดในยุคของเราแบบทันที

เรื่องของน้ำมันที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นเป็นเรื่องนึงที่มัสก์ ใส่ใจ แต่อีกประเด็นเขาก็ยังสนใจประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหานี้ คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เขามองว่าโลกที่ไม่ใช่พลังงานจากน้ำมันเหล่านี้นั้น จะเป็นโลกที่สะอาดขึ้น ปัญหาใหญ่คือเรื่องก๊าซ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาโลกร้อนที่จะเกิดกับโลกเราในอนาคต

ส่วนอีกเรื่องที่มัสก์ สนใจนั้นคือ การอพยพ ย้ายไปอยู่ในดาวดวงอื่นนั้น หลายคนอาจจะมองเป็นสิ่งที่เพ้อฟัน เป็นเรื่องในนวนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ มัสก์ นั้นก็มองว่า ทุกเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสื่อสาร การแพทย์ หรือ อาวุธสงครามต่าง ๆ นั้น ล้วนเกิดจากจินตนาการที่เคยเป็นเรื่องที่เพ้อฟันแทบจะทั้งสิ้น

ความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ทั้งเรื่องปัญหาโลกร้อน หรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลกใบนี้จะอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่ มัสก์มองว่ามันเป็นการเตรียมตัวรับอนาคตที่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น

เขาได้กล่าวถึง หากมนุษย์เราสามารถที่จะมีชีวิตในดาวดวงอื่นได้ เราก็ต้องเรียนรู้ให้ลึกซึ้งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศ และ รู้จักที่จะทำให้มันเกิดความสมดุล ไม่งั้นมันสุดท้ายมันก็จะกลายสภาพให้เป็นโลกเราที่เห็นในปัจจุบันอยู่ดี

แนวคิดเรื่องการย้ายไปดาวดวงอื่น ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน
แนวคิดเรื่องการย้ายไปดาวดวงอื่น ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน

ซึ่งสุดท้ายคิดเสมอว่า โครงการด้านอวกาศใหม่ ๆ นั้นถือเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญให้กับมนุษย์โลก ซึ่งการที่เขาได้สร้างบริษัทอย่าง spaceX ขึ้นมาในภายหลังนั้น มันถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ ต่อยุคใหม่ของเทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ซึ่งอาจจะทำให้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์เราไปตลอดกาลก็เป็นได้

–> อ่านตอนที่ 6 : The Outsider

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ