Geek Monday EP48 : Ecommerce Disruption เมื่อ Facebook Shop กำลังจะเข้ามาท้าทาย Amazon

ก่อนหน้านี้ facebook ได้ทำลายธุรกิจ สื่อหนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสาร ที่ต่างปิดตัวกันถ้วนหน้าหากไม่มีการปรับตัวเข้าสู่ยุค digital รวมถึงการเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่มาก ๆ คือตลาด live TV และ VDO

ซึ่งการเข้าสู่ Ecommerce เต็มตัวในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวใหญ่ที่สำคัญก้าวหนึ่งเลยก็ว่าได้ และกำลังเข้าไปกินเค้กเม็ดเงินที่ใหญ่มาก ๆ ในตลาด Ecommerce รวมถึงในด้านการเงิน Libra Coin ที่ facebook ที่กำลังจะเปิดตัวนั้น แสดงให้เห็นว่า Facebook พร้อมที่จะรุกไปในทุกธุรกิจ ผ่านข้อมูลที่เขามีอยู่อย่างมากมาย

การขับเคลื่อนธุรกิจของ facebook ในด้านต่าง ๆ  ถือว่าสำคัญต่ออนาคตของ facebook เป็นอย่างมาก และเราอาจจะได้เห็น facebook ล้มยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ได้ในเร็ว ๆ วันนี้ก็อาจเป็นไปได้ครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : https://bit.ly/2LWMEDe

ฟังผ่าน Apple Podcast : https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast : https://bit.ly/2Zz0Zhc

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/3bWFhpF

ฟังผ่าน Youtube https://youtu.be/_qQOCe9jlHk

สหภาพแรงงาน! ตัวช่วยพนักงาน หรือ ภาระอังหนักอึ้งขององค์กร?

นายจ้างและลูกจ้างนั้น ดูเหมือนจะมีมุมมองเรื่ององค์กรที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในอดีตสหภาพแรงงานนั้น ถือเป็นองค์กรที่สำคัญมาก ๆ ในการเป็นตัวแทนของลูกจ้างเพื่อไปเจรจากับนายจ้างมานานหลายศตวรรษ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการเกิดสหภาพแรงงานนั้นก็คงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเลยทีเดียว

การผลิตในยุคเก่านั้น แรงงานเป็นสิ่งสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ นายจ้างค่อนข้างที่จะแคร์ลูกจ้างมาก ๆ มีการปรับสถานที่ทำงาน การให้สวัสดิการต่าง ๆ ที่ดีเลิศ ซึ่งยุคเริ่มต้นนั้น สหภาพแรงงานนั้นจะมีการก่อตั้งในโรงงานเหล็ก โรงงานสิ่งทอ และเหมืองแร่

แต่เมื่อเวลาได้ดำเนินผ่านไป สหภาพแรงงานได้แพร่กระจายไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะเกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจยุคเก่า ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา และเริ่มลามมาถึง อุตสาหกรรมด้านการขนส่ง สาธารณูปโภค รวมถึงรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคหลัง

แต่ด้วยอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุค Digital Disruption ที่หลายๆ องค์กรนั้นถูก Disruption อย่างหนักจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้การตั้งสหภาพแรงงานแบบดั้งเดิมนั้นทำได้ยากขึ้นมาก ๆ

เราจึงได้เห็นเฉพาะสหภาพแรงงาน ที่เก่าแก่ อย่างในไทย ก็มีหลายองค์กรที่แข็งแกร่งมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น สหภาพแรงงานของการบิน หรือ รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ของไทยนั้นก็มักจะมีสหภาพแรงงานเหล่านี้ ที่มีอำนาจต่อรองค่อนข้างสูง

ตัวอย่างที่เห็นภาพมาก ๆ คือบรรดาโรงงานการผลิตต่าง ๆ ในประเทศฐานการผลิตใหญ่ของโลกอย่างประเทศจีน ซึ่งมักจะคัดค้านการเกิดขึ้นของสหภาพเหล่านี้ ซึ่งใน Documentary ดังใน Netflix อย่าง American Factory นั้นก็ตีแผ่ภาพดังกล่าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ในเรื่องของความพ่ายแพ้ของคนอเมริกา ที่ไม่สามารถที่จะไปผลิตสู้โรงงานจากจีนได้เลย เพราะในสารคดีชุดนี้มันได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างหลาย ๆ อย่างระหว่างแรงงานชาวอเมริกาและจีน

มันเป็นความแตกต่างทุก ๆ อย่าง ทั้งประสิทธิภาพ ความคล่องตัว ระเบียบวินัย แทบจะทุก ๆเรื่องนั้น ความสามารถของแรงงานจีนนั้นกินขาดอย่างเห็นได้ชัด แถมยังไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องสหภาพแรงงาน ที่ทางฝั่งอเมริกานั้นพยายามเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า อิทธิพลของสหภาพแรงงานนั้นค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการต่อรองค่าจ้าง หรือการจัดการอุปทานด้านแรงงาน ซึ่งมีงานวิจัยที่น่าสนใจที่พบว่า การเจรจาต่อรองผ่านสหภาพแรงงานนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงที่สูงกว่าจุดตัดสมดุลปรกติ (จุดตัดของเส้นอุปทานแรงงานและความต้องการแรงงาน)

ต้องเรียกว่าในอดีตนั้น สหภาพแรงงานเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลอย่างมาก ไมว่าจะเป็นเรื่องการหาแรงงานเข้าสู่บริษัท การกดดันอัตราค่าจ้าง และมีกฏหมายรองรับที่คุ้มครองในระดับหนึ่งของกิจกรรมในสหภาพแรงงานเหล่านี้

ซึ่งอย่างที่กล่าวไปว่า ในเศรษฐกิจยุคเก่านั้น เป็นยุค ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ซึ่งทำให้สหภาพแรงงานเหล่านี้สามารถอยู่ต่อไปได้ และคงอิทธิพลต่อไปได้ นายจ้างก็ไม่ค่อยกล้าที่จะล้มสหภาพแรงงานเหล่านี้ และองค์กรส่วนใหญ่ก็เป็นแบบผูกขาด

แต่ในยุค Disruption อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน นั้นการเคลื่อนตัวที่ช้า การไม่สามารถตัดสินใจเชิงธุรกิจได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพลของสหภาพแรงงาน ในที่สุดก็ทำให้หลายองค์กรนั้นถึงจุดจบได้เช่นเดียวกัน เพราะมันได้กลายเป็นยุคของปลาเร็วกินปลาช้าไปเสียแล้ว การขับเคลื่อนองค์กรที่ช้า เราก็ได้เห็นถึงสภาพของหลาย ๆ องค์กรที่มีสหภาพแรงงานที่แข็งแกร่ง แต่พวกเขาก็ไม่สามารถแข่งขันได้ และสุดท้ายก็อาจต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลายไปในที่สุดนั่นเองครับ

References : https://www.investopedia.com/articles/economics/09/unions-workers.asp https://www.investopedia.com/financial-edge/0113/the-history-of-unions-in-the-united-states.aspx

Geek Monday EP19 : H&M กำลังเดิมพันกับ AI และ Big Data เพื่อพลิกฟื้นกำไร

ปีที่ผ่านมาของการทำงานที่สุดแสนจะน่าเบื่อและการลดลงของกำไรอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุดในรอบหลาย ๆ ปี ขอบ Brand Fast Fashion อย่าง H&M

แบรนด์แฟชั่นค้าปลีก H & M กำลังมองหาวิธีการที่จำกลับมาทำกำไร โดย บริษัท หันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งผลักดันประสิทธิภาพใน Supplychain และการดำเนินงาน และมอบสิ่งที่พวกเขาต้องการให้ผู้บริโภคด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจาก Big Data และ AI เกี่ยวกับแนวโน้มแฟชั่นและความพึงพอใจของลูกค้า 

ซึ่งเวลาเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าการลงทุนของพวกเขาเพียงพอที่จะทำให้พวกเขารอดพ้นจากการตกต่ำของยอดขายได้หรือไม่ และถ้าพวกเขาเดิมพันใน AI และ Big Data

ซึ่ง Geek Monday ใน EP เราจะพาไปพบกับวิธีการที่ H&M ใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์และความอยู่รอดทางธุรกิจของพวกเขากันครับ

*** กราบขออภัยที่อ่านชื่อแบรนด์ H&M ผิดเกือบตลอดทั้ง EP นี้ครับ ***

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ    

ฟังผ่าน Podbean : 
https://tharadhol.podbean.com/e/geek-monday-ep19-handm-ai-big-data-make-profit/

ฟังผ่าน Spotify : 
https://open.spotify.com/episode/5yAWklI6dPbe9VvVtTASEc

ฟังผ่าน Youtube :
https://youtu.be/ueDfTeSxhD4

Bank Disruption กับศัตรูที่แท้จริง

พอดีได้มีโอกาสอ่านบทความในเรื่องเกี่ยวกับการเปิด License ให้กับ LINE ที่เป็น Chat Platform สามารถเข้ามาทำธนาคารอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นทางการในไต้หวัน ด้วยฐานผู้ใช้งาน LINE กว่า 21 ล้านคนในไต้หวัน

ซึ่งแน่นอน ว่าในอนาคตประเทศเราก็ต้องมีการปรับตัวให้กับนวัตกรรมรวมถึงบริการทางการเงินใหม่ ๆ เหล่านี้เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่ทำให้เหล่าธนาคารไทย กำลัง paranoid แบบเต็มที่ในตอนนี้ ไม่ใช่การแข่งขันจากธนาคารด้วยกันเอง แต่เป็นการแข่งขันจาก Platform อื่น ๆ ที่กำลังรุกล้ำธุรกิจธนาคารเข้ามาเรื่อย ๆ

ไม่ว่าจะเป็น Chat Platform , Social Platform , หรือแม้กระทัง E-Commerce Platform

ซึ่งสุดท้ายใครที่จะชนะศึกนี้ได้ ต้องเป็น ผู้ที่กอบโกย Data ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด และมีความละเอียดที่สุด เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ เป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจ Bank ต่อไป

เพราะ พฤติกรรมของผู้ใช้งานใน Platform เหล่านีล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้าแต่ละราย เพื่อไปสร้าง Product ทางการเงินให้ตอบโจทย์ชีวิตของลูกค้าแต่ละคนได้นั่นเอง

สรุป Bank Next Gen สิ่งสำคัญที่สุด น่าจะอยู่ที่ Data ซึ่งแน่นอนว่าให้จับตามองเหล่าผู้บริหารยุคใหม่ ๆ ผลัดใบในยุคต่อไปต้องมาจากสายที่ดูแล Data เหล่านี้นั่นเอง และแน่นอน ว่าต้องเป็นคนสาย Computer Science , Data Scientist ฯลฯ จะมามีบทบาทสำคัญกับวงการการเงินและธนาคารอย่างแน่นอน