เมื่อสถิติบอกว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจาก Covid-19 ลดลงหลังจากการปิดเมือง

พอดีผมได้ไปเห็นข้อมูลที่น่าสนใจกับวิธีการจัดการขั้นเด็ดขาดกับ ไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นใน สามแห่งที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกันและมีความใกล้เคียงกับจำนวนประชากรของคนไทย

ซึ่งแน่นอนว่า การแพร่กระจายของไวรัส Covid-19 นั้น อาจจะมาจากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องวัฒนธรรมการใช้ชีวิต เรื่องของสภาพอากาศ รวมถึงนโยบายที่จะใช้จัดการในแต่ละแห่งซึ่งต้องบอกว่า ล้วนแล้วเริ่มจากเบาไปหาหนัก เหมือนกันในทุกประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็กำลังทำตามรูปแบบดังกล่าวอยู่ในปัจจุบัน

แน่นอนว่าเมืองที่หนักที่สุดเมืองแรกคงจะเป็น หูเป่ย ที่ประเทศจีน ซึ่งสถานการณ์ในตอนนี้เรียกได้ว่าควบคุมได้แล้ว เพราะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด ซึ่งก็คือ การ Lockdown หรือการปิดเมืองนั่นเอง

และเมืองที่น่าสนใจอีกแห่งที่เป็นการแพร่ระบาดอย่างหนักซึ่งก็คือที่ประเทศอิตาลี โดยเฉพาะในแถบตอนเหนือ ซึ่งระบาดหนักมาก ๆ อยู่ในขณะนี้ จนรัฐบาลต้องใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดเช่นเดียวกัน

กราฟแสดงอัตราผู้เสียชีวิต
กราฟแสดงอัตราผู้เสียชีวิต

ซึ่งจากกราฟข้อมูลด้านบนแสดงจำนวนผู้เสียชีวิต ซึ่งน่าจะเพราะเหตุการณ์ที่หนักมากแล้ว ในทั้ง หูเป่ย และ อิตาลี จึงแสดงเป็นข้อมูลผู้เสียชีวิต แทนจำนวนผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะเห็นข้อมูลที่น่าสนใจว่า หลังจากการ lockdown หรือปิดเมืองนั้น กราฟของผู้เสียชีวิตเริ่มเปลี่ยนอย่างชัดเจน

ทั้งในหูเป่ย เอง และ อิตาลี การใช้นโยบาย lockdown หรือปิดเมืองนั้น ถือว่า ประสบความสำเร็จ ในแง่ของการลดจำนวนผู้เสียชีวิต ไม่ให้โตขึ้นแบบ Exponential เหมือนตอนก่อนปิดเมืองอย่างเห็นได้ชัด

แน่นอนว่าในประเทศไทยนั้น สถานการณ์ก็ถือว่าอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่า เป็นทางสองแพร่งระหว่างการคุมอยู่ และ การแพร่ระบาดอย่างหนัก เหมือนในหลายๆ ประเทศในยุโรป หรือ ในหูเป่ยเอง ซึ่งวิธีการปิดเมืองนั้น น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่งที่หลาย ๆ ประเทศเลือกใช้ เพื่อจัดการปัญหาเหล่านี้ให้เด็ดขาดได้นั่นเองครับผม

Credit : twitter @AguzziTemp , https://phuketnews.easybranches.com/asia/5296774

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

เมื่อ AI พบการแพร่ระบาด ไวรัสโคโรน่า ได้เร็วกว่ามนุษย์

เมื่อวันที่ 9 มกราคม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แจ้งให้สาธารณชนทราบถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีน : โดยมีรายงานผู้ป่วยโรคปอดบวมจำนวนหนึ่งในเมือง หวู่ฮั่น ของประเทศจีน 

ส่วนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกเตือนมาไม่กี่วันก่อนหน้านี้ในวันที่ 6 มกราคม แต่สิ่งที่เหลือเชื่อก็คือ แพลตฟอร์ม AI ด้านการตรวจสอบสุขภาพของแคนาดาได้ทำนายการระบาดของโรคให้กับลูกค้าตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม

BlueDot ใช้ อัลกอริทึมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของ AI ซึ่งมีรายงานข่าวและประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อแจ้งเตือนลูกค้าล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นอันตราย เช่น หวู่ฮั่น ในประเทศจีน

ส่วนเรื่องความเร็วในระหว่างการระบาด ฝั่งของเจ้าหน้าที่จีนดูเหมือนจะไม่มีประวัติที่ดีในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับโรคว่าข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันแน่ แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ WHO และ CDC ก็ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากจีนเพื่อตรวจสอบการระบาดของโรคจากไวรัส โคโรน่าใหม่นี้  “เรารู้ว่ารัฐบาลจีนอาจไม่ได้รับความเชื่อถือในการให้ข้อมูลตามกรอบเวลาที่กำหนด” Kamran Khan ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ BlueDot กล่าว “แต่เราสามารถรับข่าวสารของการระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากฟอรัมหรือบล็อกที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ผิดปกติบางประเภทที่เกิดขึ้น”

Khan กล่าวว่าอัลกอริทึมไม่ได้ใช้ข้อมูลจากโพสต์ต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์เพราะข้อมูลนั้น มีความซับซ้อนเกินไป แต่เขาใช้อีกสิ่งหนึ่งซึ่งก็คือ : การเข้าถึงข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบินของสายการบินทั่วโลกที่สามารถช่วยทำนายได้ว่าประชาชนจะติดเชื้อที่ไหนและเมื่อไหร่ โดยสามารถทำนายได้อย่างถูกต้องว่าไวรัสจะแพร่จากหวู่ฮั่นไปยังกรุงเทพฯ โซล ไทเป และโตเกียวในวันต่อมาหลังจากที่ปรากฏตัวครั้งแรก

bluedot สามารถทำนายการกระจายได้อย่างแม่นยำ
bluedot สามารถทำนายการกระจายได้อย่างแม่นยำ

Khan ผู้ซึ่งทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลในโตรอนโตในช่วงที่โรคซาร์สระบาดในปี 2003 ซึ่งเขาฝันที่จะหาวิธีที่ดีกว่าในการติดตามโรค โดยไวรัสโรคซาร์สนั้นก็เริ่มต้นในประเทศจีนและแพร่กระจายไปยังฮ่องกงจากนั้นก็ไปยังโตรอนโต 

โดย Khan กล่าวถึงการระบาดของโรคโคโรน่าไวรัสว่า “ ในปี 2003 ผมเฝ้าดูเชื้อไวรัสดังกล่าวแพร่กระจายไปทั่วเมืองและทำให้โรงพยาบาลเกิดความโกลาหล ทำให้เหล่าเจ้าหน้าที่เกิดความเหนื่อยล้าทั้งจิตใจและร่างกายเป็นอย่างมาก และผมคิดว่า ‘เราจะไม่ทำสิ่งนี้อีกต่อไป’”

หลังจากได้ทดสอบโปรแกรมการทำนายหลายครั้ง Khan ได้เปิดตัว BlueDot ในปี 2014 และระดมทุนได้ 9.4 ล้านดอลลาร์ โดยขณะนี้ บริษัท มีพนักงาน 40 คน โดยแพทย์และโปรแกรมเมอร์ที่คิดค้นโปรแกรมการเฝ้าระวังโรคซึ่งใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) และเทคนิคของ Machine Learning เพื่อคอย Monitor ผ่านรายงานข่าวใน 65 ภาษาพร้อมกับข้อมูลสายการบินและรายงานการระบาดของโรคจากสัตว์ “

เมื่อมีการกรองข้อมูลแบบอัตโนมัติเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์ของมนุษย์ Khan กล่าว นักระบาดวิทยาตรวจสอบว่าข้อสรุปมีเหตุผลจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์จากนั้นรายงานจะถูกส่งไปยังลูกค้าทั้งรัฐบาล ธุรกิจ และเครือข่ายสาธารณสุข

จากนั้นรายงานของ BlueDot จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหลาย ๆ ประเทศ (รวมถึงสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) โดย BlueDot ไม่ได้ขายข้อมูลของพวกเขาให้กับประชาชนทั่วไปแต่อย่างใด ในขณะนี้

ซึ่ง BlueDot เคยประสบความสำเร็จในการคาดการณ์สถานที่ตั้งของการระบาดของโรค Zika ในเซาท์ฟลอริดา ที่ได้ทำการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของประเทศอังกฤษอย่าง The Lancet

BlueDot พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขบางคนกล่าวว่าแม้จะมีการระบาดของโรคซาร์สเป็นเวลาหลายเดือนในปี 2003 แต่เจ้าหน้าที่ของจีนก็ตอบสนองได้เร็วขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นใหม่กับพวกเขา อย่าง ไวรัส โคโรน่า

“ การระบาดน่าจะใหญ่กว่านี้หนึ่งเท่า จากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยัน” James Lawler ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเนแบรสกากล่าว ซึ่งเขาเป็นทีมงานที่ทำการรักษาผู้ป่วยโรคอีโบล่าที่ถูกกักกันในปี 2017 และปี 2018 การคำนวณแบบปรกติต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศจีนในแต่ละสัปดาห์ อาจจะมีความคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก”

Lawler และคนอื่น ๆ กล่าวว่า การระบาดของโรค corona virus จะยังคงแพร่กระจายในขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนไปยังประเทศอื่น ๆ และแสดงอาการของการติดเชื้อ เขาบอกว่าเรายังไม่รู้ว่ามีกี่คนที่จะป่วยและจะมีกี่คนที่จะตายก่อนที่การระบาดจะลดลง

เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรคเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องบอกความจริงและบอกเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันมันก็คุ้มค่าที่จะนำไปใช้เป็นฐานข้อมูล เพื่อการเรียนรู้ของ AI ในอนาคตนั่นเอง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

ถือเป็นการใช้เทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็น Natural Language Processing ที่ทำงานร่วมกับ Machine Learning ในการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากสายการบิน จากฟอรั่ม จาก Blog มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลการระบาดอย่างที่ BlueDot ทำ

แน่นอนว่า การระบาดครั้งนี้ ของ ไวรัสโคโรน่า นั้นก็สามารถมองในแง่ดีได้อีกด้านหนึ่งก็คือ การเป็นฐานข้อมูลใหม่ให้ AI ได้เรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ และ ในอนาคตอาจจะทำนายได้แบบ realtime และสามารถขจัดปัญหาตั้งแต่ต้นตอการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ให้แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างที่เราเห็นกันในตอนนี้ได้นั่นเองครับ

References : https://www.wired.com/story/ai-epidemiologist-wuhan-public-health-warnings https://www.etftrends.com/disruptive-technology-channel/startup-used-ai-to-identify-coronavirus-outbreak-before-who-cdc/