ผู้ป่วยหลังติด Coronavirus ต้องเผชิญกับความเสียหายของปอดอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้รับการฟื้นฟูรักษาอย่างเต็มรูปเป็นที่เรี่ยบร้อยแล้วนั้น ตอนนี้พบว่าบางรายกำลังเผชิญกับผลกระทบระยะยาวของ coronavirus

ในการวิเคราะห์ 12 ผู้ป่วยที่หายจาก coronavirus แพทย์ที่โรงพยาบาลฮ่องกง Authority (HKHA) พบว่าผู้ป่วยหลายคน ได้เกิดภาวะความจุปอดลดลง

Owen Tsang ผู้อำนวยการแพทย์ของศูนย์โรคติดเชื้อของ HKHA กล่าวในงานแถลงข่าว “ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการทำงานของปอดลดลงประมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์”

หลังจากสแกนปอดของผู้ป่วยแพทย์เห็นสัญญาณของความเสียหายของอวัยวะ

แต่ก็ต้องบอกว่า ข้อมูลดังกล่านั้น เกิดจากขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กเกินไปที่จะประกาศว่า COVID-19 จะทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาวกับปอดของผู้ป่วย แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าแพทย์ควรจับตาดูภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ยังไม่ชัดเจนว่าผลลัพธ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการระบาดในผู้ป่วยส่วนใหญ่ หรือ รายอื่น ๆ ที่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องจาก COVID-19

แต่ถึงกระนั้นมันก็เป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงว่า กรณีที่รุนแรงที่สุดของ COVID-19 อาจนำไปสู่ปัญหาทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวได้นั่นเอง

ต้องบอกว่าเรื่องนี้ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก เพราะว่า หลายคนอาจจะคิดว่าร่างกายสมบูรณ์ดี แล้วไม่ค่อยเป็นห่วงว่าจะติดโรคดังกล่าว เพราะดูเหมือนอัตราของผู้เสียชีวิตจากโรคนี้จะยังต่ำอยู่ จากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ครั้งนี้

แต่ดูเหมือน สิ่งที่ Owen Tsang ได้นำเสนอออกมานั้น เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก ๆ ว่า ผู้ป่วยที่ติด COVID-19 นั้นอาจจะได้รับผลกระทบในระยะยาวได้ และทำให้มีปัญหาสุขภาพเรื่องอื่นๆ ได้ในอนาคต และจะกลายเป็นภาระทางสุขภาพของผู้ป่วยในอนาคตนั่นเอง

References : https://futurism.com/neoscope/coronavirus-patients-lung-damage

นักวิจัยกำลังสร้าง เซลล์ปอดเทียม ที่จะช่วยผู้ป่วยฟื้นฟูอวัยวะได้ดีขึ้น

โรคปอดที่ร้ายแรงนั้นมีอัตราการตายสูงและการรักษาเพียงอย่างเดียวคือการปลูกถ่ายปอด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนที่มีผลกระทบด้านสุขภาพอื่น ๆ และบ่อยครั้งก็ไม่ได้ผล ดังนั้นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ในสาขานี้การฟื้นฟูอวัยวะของปอดคือการปลูกอวัยวะจากเนื้อเยื่อของร่างกายผู้ป่วยขึ้นมาเองจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด 

และตอนนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลบอกว่าพวกเขากำลังวิจัยใหม่ ด้วยกระบวนการคัดกรองที่ซับซ้อน โดยทีมนักวิจัยได้สร้างพิมพ์เขียวของปอดมนุษย์ ทำให้เข้าใจการออกแบบการทำงานของปอดและโรคทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น 

โดยเทคโนโลยีนี้ให้ความละเอียดสูงสุดเป็นล้านเซลล์ได้ในคราวเดียว ศาสตราจารย์ Naftali Kaminski แห่งคณะแพทยศาสตร์ Yale อธิบายว่าสิ่งนี้เป็นไปได้ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ  “ มันเหมือนกับว่าเราได้เปลี่ยนความละเอียดในการวิเคราะห์เซลล์จากการมองท้องฟ้าตอนกลางคืนด้วยตาเปล่าไปเป็นการใช้กล้องโทรทรรศน์ในหอดูดาว” เขากล่าว

พิมพ์เขียวของเซลล์จะให้ข้อมูลโดยละเอียดแก่นักวิจัยเกี่ยวกับวิธีการทำงานของเซลล์ปอดและยังช่วยในการค้นหาเป้าหมายระดับโมเลกุลใหม่สำหรับการรักษา เพื่อรักษาโรคปอด 

ทีมวิจัยกล่าวว่ามีความพยายามด้านวิศวกรรมชีวภาพที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างเนื้อเยื่อปอดในขวดแก้วที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ พิมพ์เขียวใหม่จะช่วยให้นักวิจัยตรวจสอบว่าเนื้อเยื่อที่ปลูกในห้องปฏิบัติการของพวกเขากำลังจะกลายเป็นอวัยวะจริงได้สำเร็จหรือไม่

และยังเป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่พวกเขาจำเป็นต้องทำ “ เรากำลังดูหลักการพื้นฐานของการพัฒนาอวัยวะเทียมรูปแบบใหม่นี้” Kaminski กล่าว “การใช้วิธีการนี้จะทำให้เราสามารถออกแบบอวัยวะใหม่ได้ในอนาคต”

ความเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

แน่นอนว่าเราได้เห็นความก้าวหน้ามาโดยตลอด ในเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเฉพาะเรื่องการสร้างอวัยวะเทียม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยี 3D Printing หรือ ตัวอย่างในบทความนี้

ซึ่งแน่นอน ในอนาคตนั้น มนุษย์เราจะมีอายุยืนยาวขึ้นได้อย่างแน่นอน จากงานวิจัยที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ เมื่อมนุษย์เรามีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งต่อไปเราอาจจะเห็นชีวิตที่ยืนยาวถึง 100 ปีกลายเป็นเรื่องปรกติในอนาคตอันใกล้นี้

แต่ก็จะเกิดปัญหาในเรื่อง สัดส่วนของผู้สูงอายุก็จะสูงขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นภาระหนึ่งให้กับทุกรัฐบาลในการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ และหากหลาย ๆ ประเทศสัดส่วนของวัยทำงานและวัยเกษียณไม่สมดุลกัน ก็จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ไม่วาจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจปากท้องต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอีกมุมหนึ่งของทุก ๆ ประเทศที่ปัญหานี้จะต้องเกิดขึ้นนั่นเองครับ

References : https://www.engadget.com/2019/12/05/researchers-create-lung-blueprint-that-could-aid-organ-regener/