Tesla กับจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญกับอนาคต Apple แห่งวงการยานยนต์

รายงานใหม่จากสำนักข่าวรอยเตอร์เผยให้เห็นว่า Telsa จะเปิดตัวแบตเตอรี่ รุ่นใหม่ ที่สามารถใช้งานได้ถึง “ล้านไมล์” เป็นการพัฒนาร่วมกันกับนักพัฒนาแบตเตอรี่จีน Amperex เทคโนโลยี จำกัด (CATL) ในประเทศจีน

สำหรับแบตเตอรี่หนึ่งล้านไมล์ ( 1.6 ล้านกิโลเมตร) จะต้องสามารถหมุนเวียนการชาร์จ อย่างมีนัยสำคัญได้มากกว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่ li-ion ปัจจุบัน โดยทั่วไปเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นแบตเตอรี่จะเริ่มลดลงหลังจากชาร์จไปประมาณ 1,000 รอบ ในขณะที่ หากทำให้แบตเตอรี่สามารถมีอายุการใช้งานนานถึงหนึ่งล้านไมล์ จะต้องสามารถหมุนเวียนการชาร์จได้ประมาณ 4,000 ครั้ง

ตามที่รายงานจาก The Driven ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเว็บไซต์ได้ กล่าวถึงความคิดเห็นจากแหล่งข่าวจีนที่ใกล้ชิดกับเทสลาว่า “แบตเตอรี่ใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยเทสลานั้นเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีแบตเตอรี่แห้งและซูเปอร์คาปาซิเตอร์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่คาดว่าจะอธิบายในการประชุมเรื่องแบตเตอรี่เทสลาในเดือนเมษายน”

การรวมแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมาตรฐานกับตัวเก็บประจุพิเศษ (เป็นหนึ่งในความเชี่ยวชาญพิเศษของแบตเตอรี่ Maxwell ที่ Tesla ซื้อมาในเดือนพฤษภาคม 2019) สามารถเพิ่มระยะทางในการขับขี่ได้อย่างมาก

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือการรวมกันของแบตเตอรี่ธรรมดาและซุปเปอร์แคปในรูปแบบที่เรียกว่าแบตเตอรี่ไฮบริด สิ่งเหล่านี้มักจะมีคุณสมบัติของอุปกรณ์ทั้งสองนี้ ข้อได้เปรียบที่สำคัญก็คคือ เทสลามีการปรับปรุงความสามารถรอบด้านของอุปกรณ์เป็นอย่างมาก (ซึ่งอาจทำให้ชาร์จได้ถึง 10,000 รอบ) ซึ่งแตกต่างจากแบตเตอรี่ LIBs แบบเดิม ๆ ที่เริ่มลดระดับลงในช่วง 1000 รอบ)

ต้องบอกว่าข่าวนี้เป็นข่าวที่น่าสนใจมาก ๆ ที่ เทสลา กำลังซุ่มพัฒนาแบตเตอรี่ รุ่นใหม่ที่สามารถใช้งานได้ถึง 1.6 ล้านกิโลเมตร มันจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการยานยนต์โลก

เหมือนที่ในปี 2007 Apple ได้ออกผลิตภัณฑ์มือถือใหม่ออกมา ที่ทุกคนต่างค่อนขอดว่าไม่มีทางแจ้งเกิดได้ การใช้งานจอสัมผัส หรือ การที่แบตเตอรี่อยู่ได้ไม่นานนั้น คนต่างมองข้าม Apple Iphone มาในช่วงแรก แต่สุดท้ายกาลเวลามันก็ได้พิสูจน์สิ่งที่ Apple ได้ทำว่ามัน Impact ต่อวงการมือถือโลกเพียงใด

ผมมองว่า Musk ก็กำลังทำสิ่งเดียวกันกับวงการยานยนต์โลกอยู่ เขาพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมา หลังจากที่วงการยานยต์โลกนั้น หยุดนิ่งในการพัฒนามานา เพราะความยิ่งใหญ่ของบริษัทยุคเก่า ไม่ว่าจะเป็น Toyota , Hoda , GM ,Ford บริษัทเหล่านี้นั้นไม่ต่างจากความยิ่งใหญ่ของ Nokia , Blackberry หรือ แม้กระทั่ง Microsoft ในวงการมือถือ

แต่ในอนาคต ทุกอย่างจะถูก Disruption โดยเฉพาะยิ่งมาเจอปัญหาการผลิตในช่วง COVID-19 ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เก่า ๆ เริ่มมีปัญหามากยิ่งขึ้น และ นั่นจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Tesla ที่จะผงาดกลายมาเป็น Apple แห่งวงการยานยนต์ได้ในอนาคตนั่นเองครับ

–> อ่าน Blog Series : ประวัติ Elon Musk

References : https://thedriven.io/2020/05/15/tesla-battery-day-update-flags-launch-of-million-mile-battery-in-china-first/ https://electrek.co/2020/05/14/tesla-new-battery-china-catl-report/

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Geek Monday EP43 : Mercedes Benz เตรียมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

Mercedes Benz ดูเหมือนจะมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การทำงานแบบดิจิตอลของโรงงาน การขาย และประสบการณ์ของลูกค้า

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีของ Big Data และ Machine Learning ทำให้ Mercedes Benz ได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ และสามารถตอบสนองและปรับแต่ง ตามความต้องการของยานพาหนะแต่ละคันตามความต้องการของผู้บริโภค ในปัจจุบันได้ และช่วยให้พวกเขามีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพและชาญฉลาดในการผลิตรถยนต์ในอนาคตได้นั่นเอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : https://bit.ly/3dCF0u6

ฟังผ่าน Apple Podcast :https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  https://bit.ly/2Uquoab

ฟังผ่าน Spotify :  https://spoti.fi/3dzbXHY

ฟังผ่าน Youtube https://youtu.be/vn_XHXfhK6M

References : https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars/the-brand/history/stage.module.html

Geek Monday EP35 : อนาคตของรถยนต์แบบบินได้

ดูจากเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในตอนนี้แล้วนั้น เราจะพบว่า โลกกำลังจะเข้าสู่ยุคของยานพาหนะบินได้ เหมือนจินตนาการที่เกิดขึ้นในหนัง Hollywood ซึ่งจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้เราอาจจะได้เห็นยานพาหนะบินได้จริง ๆ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ก็เป็นได้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/30y66N7

ฟังผ่าน Apple Podcast : https://apple.co/3ar7l52

ฟังผ่าน Google Podcast : http://bit.ly/2GgFWVT

ฟังผ่าน Spotify :  https://spoti.fi/2TCMaHl

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/ukq2-iWFK9w

References : https://fortune.com/2016/06/09/google-billionaire-larry-page-is-secretly-funding-flying-car-startups/

IBM ‘s cobalt-free กับแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่ใช้วัสดุสกัดจากน้ำทะเล

แน่นอนว่ายานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากำลังจะมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำร้ายโลกของเรามาอย่างยาวนาน แต่มันก็ยังไม่ถือว่าเป็นทางออกที่สมบูรณ์แบบนัก โดยในปัจจุบัน พาหนะ EVs ส่วนใหญ่ทำงานบนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ทำด้วยโลหะหนัก เช่น โคบอลต์ ซึ่งก็เป็นผลเสียต่อโลกเราอยู่ดี

แต่ตอนนี้ IBM Research Battery Lab อาจกำลังมีวิธีแก้ไขครั้งใหม่: ด้วยแบตเตอรี่ใหม่ที่สร้างขึ้นโดยไม่มีโลหะหนัก ซึ่งทำขึ้นมาแทนด้วยวัสดุที่สามารถสกัดได้จากน้ำทะเล

ตามการออกแบบครั้งใหม่ของ IBM ซึ่งพวกเขากล่าวว่า สามารถใช้งานได้ดีกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบปัจจุบันในราคาต้นทุนเพียงแค่ 80% ของแบตเตอรี่เดิม ๆ และสามารถทำเวลาในการชาร์จน้อยกว่าห้านาที รวมถึงเรื่องของประสิทธิภาพการใช้พลังงาน  แบตเตอรี่ยังติดไฟได้น้อยและสามารถใช้ในเครื่องบิน, รถยนต์ไฟฟ้าและรถบรรทุกได้อีกด้วย

ภาพจาก IBM Research
ภาพจาก IBM Research

แบตเตอรี่ใช้วัสดุใหม่สามชนิดรวมถึงวัสดุแคโทดที่ไม่มีโคบอลต์ , นิกเกิลและอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งรูปแบบการผสมผสานที่ไม่เหมือนใครนี้สามารถยับยั้งปฏิกิริยา dendrites ในโลหะลิเธียมระหว่างการชาร์จซึ่งช่วยลดโอกาสที่แบตเตอรี่จะติดไฟขึ้นได้นั่นเองแ

และเพื่อที่จะนำแบตเตอรี่ใหม่นี้ไปใช้ IBM ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำอย่าง เมอร์เซเดส – เบนซ์ ร่วมด้วย ผู้ผลิตแบตเตอรี่อิเลคโทรไลต์อย่างบริษัท Central Glass และ บริษัท Sidus ในขณะที่ทีมวิจัยจาก IBM Research จะมีการใช้ AI เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของแบตเตอรี่และค้นหาวัสดุที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้นในอนาคต

ความเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

ถือเป็นหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจสำหรับเรื่องของแบตเตอรี่ EV ที่เหล่ายานพาหนะในอนาคตต้องใช้ ซึ่งแน่นอนว่า แม้ตัวรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นจะใช้พลังงานสะอาดจากไฟฟ้าก็ตาม

แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องเจอปัญหาในเรื่องของแบตเตอรี่ ที่ดูเหมือนยังเป็นสิ่งที่ยากในการทำให้เป็นผลดีต่อโลกเรา 100% แต่แนวคิดใหม่ของ IBM ที่มาวิจัยด้านนี้ ก็ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และถือเป็นอีกหนึ่งในตลาดที่ใหญ่มาก ๆ ในอนาคต หากสามารถที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้เป็นวัสดุใหม่อย่างที่ IBM กำลังทำการวิจัยอยู่ได้

ซึ่งแทนที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง IBM จะ โฟกัสไปที่การวิจัยในเรื่องพาหนะแบบขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ เหมือน google , tesla หรือบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ทำ กลับเลือกหาโอกาสใหม่ ๆ จากเรื่องของแบตเตอรี่แทน ซึ่ง หากพวกเขาทำได้สำเร็จจริงก็สามารถสร้างมูลค่าให้กับบริษัทได้อย่างมหาศาลในอนาคตอย่างแน่นอน

และในท้ายที่สุด IBM ก็จะทำให้เทคโนโลยีทั้งหมดของยานพาหนะ EV ในอนาคตนั้นสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยพลังสะอาดแบบ 100% ได้นั่นเองครับ

References : https://www.engadget.com/2019/12/18/ibm-research-ev-battery-cobalt-free/

Tesla กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ปัดน้ำฝนใหม่ด้วยแสงเลเซอร์

เห็นได้ชัดว่าที่ปัดน้ำฝนกระจกหน้าแบบคลาสสิกที่ใช้เมื่อฝนตกหรือใช้ในการปัดฝุ่นรถยนต์มานานกว่าหนึ่งศตวรรษนั้นเริ่มจะไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับรถยนต์ Tesla เสียแล้ว 

จากรายงานล่าสุด บริษัท Tesla ได้พัฒนาระบบเลเซอร์แบบใหม่สำหรับการกำจัดฝุ่น หรือ ขยะจากแผงกระจกหรือแผงโซลาร์เซลล์ 

โดยทาง Tesla ได้จดสิทธิบัตรใหม่สำหรับที่ปัดน้ำฝนเลเซอร์ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ตามรายงานของ Electrek

โดยสิทธิบัตรดังกล่าวได้อธิบายถึง ระบบทำความสะอาดกระจกรูปแบบใหม่สำหรับรถยนต์ ที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ และเทคโนโลยีแบบพิเศษในการตรวจจับสิ่งสกปรก ที่สะสมอยู่บนกระจกรถยนต์ 

สิทธิบัตรแสดงการทำงานของเลเซอร์ ระบบใหม่นี้
สิทธิบัตรแสดงการทำงานของเลเซอร์ ระบบใหม่นี้

โดยระบบดังกล่าวนั้นจะมีวงจรคอยควบคุมเพื่อปรับค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับลำแสงเลเซอร์ที่ปล่อยออกมาใช้ในการตรวจจับสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ทั่วบริเวณกระจก ให้เหมาะสม

ซึ่งทาง Tesla อธิบายว่าระบบดังกล่าวจะมีประโยชน์ในการกำจัดสิ่งกีดขวาง มุมมองของกล้อง Autopilot รอบ ๆ รถโดยอัตโนมัติ ด้วยเช่นกันทำให้รถสามารถทำงานในโหมด Autopilot ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ Tesla วางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากระบบนี้เพื่อล้างสิ่งสกปรกออกจากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคารถโดยอัตโนมัติอีกด้วย

แต่สิทธิบัตรดังกล่าวจากการรายงานของ Electrek มุ่งเน้นไปที่ระบบของรถเพียงเท่านั้น สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือ Tesla ได้พิจารณาถึงความปลอดภัยของดวงตาของผู้ขับขี่หรือไม่ เมื่อตัดสินใจที่จะเล็งแสงเลเซอร์ตรงไปยังส่วนที่คนขับกำลังมองอยู่ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อผู้ขับขี่ได้นั่นเอง

References : https://electrek.co/2019/11/25/tesla-laser-beams-clean-debris-off-cars/