Geek Story EP54 : Bill Gates – The Man Behind Microsoft Empire (ตอนที่ 2)

ภาษา Basic ของ Microsoft ได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรม Software ในขณะนั้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้ Gates ต้องลาออกจาการเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard เพื่อมุ่งมาที่ Microsoft แบบเต็มตัว

และเขาก็ได้ขยายทีมงานกว่าหลายสิบชีวิต เหล่าวิศวกรระดับเทพ โปรแกรมเมอร์มือฉมังมารวมตัวกันที่สำนักงานของ Microsoft พร้อมที่จะพา Microsoft พุ่งทะยานไปข้างหน้า และ Gates ก็ได้ชักชวนให้ Ballmer อดีต Roommate ของเขาที่ Harvard มาช่วยกับขับเคลื่อนธุรกิจ Microsoft แบบเต็มตัว เรียกได้ว่าตอนนี้ Microsoft มีกำลังพลที่พร้อมมาก ๆ ที่จะไปรบในศึกใหญ่ จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Bill Gates และ Microsoft ติดตามรับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/35BQADQ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3lSJdhj

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/xE9C2m8gDtA

References : https://www.tharadhol.com/blog-series-bill-gates-the-man-behind-microsoft-empire/
https://spectrum.ieee.org/image/MjgxMDc1OA.jpeg

Geek Story EP53 : Bill Gates – The Man Behind Microsoft Empire (ตอนที่ 1)

ชายผู้เป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยีโลก ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาของ Microsoft การที่ผู้ชายคนนึงได้ก้าวข้ามผ่านยุคการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การเกิดขึ้นของ internet การเข้าสู่โลก Social Network และ การก้าวเข้าสู่ยุคมือถืออย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

ต้องบอกว่า มีเพียงไม่กี่คนในโลกที่ได้เห็นการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ ผ่านบริษัทตัวเองอย่าง Microsoft ทำให้ Microsoft กลายเป็นยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง ที่ผ่านมรสุมการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมามากมายได้อย่างไร Podcast Series ชุดนี้จะมานำเสนอเรื่องราวของชายที่น่าสนใจคนนี้กันครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/35xYMVE

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3fb0Gif

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/6MqEywtu_UU

References : https://www.tharadhol.com/blog-series-bill-gates-the-man-behind-microsoft-empire/

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 7 : Enemy at the Gates

ในขณะที่ Microsoft ชนะศึกทางด้านเทคโนโลยีมาได้ทุกครา ไม่ว่าจะเป็นศึกใหญ่กับ IBM หรือ การบดขยี้เด็กน้อยอย่าง NetScape ให้ตายออกไปจากตลาด Web Browser ได้สำเร็จ และถึงเวลานั้นมันก็ได้เข้าสู่ยุคเริ่มต้นของธุรกิจ Internet แบบเต็มตัว เพราะเกิดเว๊บไซต์ใหม่ ๆ ขึ้นเป็นดอกเห็ด เกิด Business Model ใหม่ๆ ขึ้นบนโลกออนไลน์มากมาย

ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นเอง ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน สองหนุ่มนักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Stanford ได้เริ่มทำการสร้าง Index หรือ ดัชนีให้กับเหล่าเว๊บไซต์ทั้งหลายทั่วโลก

ซึ่งแม้วิธีเริ่มต้นในสิ่งที่ทั้งคู่ทำนั้นจะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้น มีหลายบริษัทก็ทำอยู่เช่นกัน แต่ปัญหาก็คือ ตอนนั้นไม่มีใครคาดคิดถึง Model ธุรกิจของ Search Engine ว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร เพราะกระแสในขณะนั้นกำลังแห่ไปทาง Web Directory อย่าง Yahoo ที่กำลังดังอยู่ในขณะนั้น

เนื่องจากเว๊บเพจได้เริ่มเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดจึงทำให้ Yahoo นั้นได้เริ่มสร้าง Directory ให้กับเหล่าเว๊บไซต์หน้าใหม่เหล่านี้ โดยใช้การคัดเลือกจากบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ และแน่นอนว่า พอจำนวนเว๊บไซต์ยิ่งมากขึ้น มันก็เริ่มที่จะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ในการคัดเลือกเหล่านี้

Yahoo เว๊บไดเรคทอรี่ ที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น
Yahoo เว๊บไดเรคทอรี่ ที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น

อีกฝากฝั่งหนึ่งนั้น Gates และ Microsoft แทบจะไม่ยินดียินร้ายกับการเกิดขึ้นของเหล่าบริการค้นหาทางออนไลน์เลยเสียด้วยซ้ำ Microsoft นั้นสามารถล้มศัตรูมาได้ทั้งหมด และพวกเขาก็ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะกลัวใครหน้าไหนอีกต่อไป

ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขามีการใช้งานอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ ชุด Microsoft Office ซึ่งพวกเขาก็ขายกันไม่ทันอยู่แล้วแค่เพียง product สองตัวนี้ที่มีอยู่ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่แทบจะผูกขาดการใช้งานทั่วทั้งโลก

มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ว่า Microsoft แทบไม่แยแสกับกระแสออนไลน์ บ้าเห่อ ของเหล่าบริษัทหน้าใหม่ในขณะนั้น เพราะมันมีจำนวนผู้ใช้งานเพียงน้อยนิด และยังไม่มีใครคิดว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไรเลยด้วยซ้ำ

แต่ด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่ จึงได้ทำการกระจายความเสี่ยงไว้ โดยในปี 1997 นั้น Microsoft ได้สร้างเว๊บท่าขนาดใหญ่ แต่จะใช้บริการค้นหาจริง ๆ ของอีกหนึ่งบริษัทคือ Inktomi ซึ่งตอนนั้นเริ่มทำบริการที่เป็นลักษณะเว๊บ Crawler เพื่อไปดึงดูดข้อมูลต่าง ๆ ทั่ว WWW มาทำ Index หรือดัชนี

ซึ่งในรายปลายทศวรรษ 1990 แม้จะมี Search Engine มากมาย เช่น Yahoo , Altavista , Lycos , Excite , AOL , Infoseek แต่ดูเหมือนว่าเหล่า Search Engine เหล่านี้นั้น ไม่มีตัวไหนเลย ที่ทำให้เหล่าผู้บริโภคถูกใจและแก้ปัญหาสำคัญของเหล่า User เมื่อมาค้นหาได้

Search Engine ที่มีอยู่อย่างมากมายแต่ยังไม่โดนใจผู้บริโภคในขณะนั้น
Search Engine ที่มีอยู่อย่างมากมายแต่ยังไม่โดนใจผู้บริโภคในขณะนั้น

ตอนนี้ยังไม่มีใครที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ๆ ในเรื่องการค้นหา ทำให้ผลการค้นหาไม่ได้ดั่งใจคนใช้งานเท่าที่ควร คือมีแค่ให้ใช้ แต่ไม่มีตัวไหนที่ประทับใจผู้ใช้งาน แม้กระทั่ง Microsoft เองก็ตามก็ยังไม่เข้าใจจริง ๆ ของความต้องการของ User จากระบบ Search Engine

ซึ่งในช่วงเวลานั้นนั่นเอง ขณะที่เหล่าผู้ใช้งานกำลังเบื่อกับ โปรแกรมการค้นหาที่มีอยู่เต็มไปหมดในตลาด เพจและบริน ได้สร้างอัลกอริทึมสำหรับจัดลำดับเว๊บเพจที่เรียกว่า “PageRank” ภายใน Lab ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดขึ้นมาได้สำเร็จ

ซึ่งตอนนั้น พวกเขาทั้งสองเองก็ตามก็ยังไม่รู้เลยว่าสิ่งยิ่งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น การทดลองที่บังเอิญของพวกเขา สิ่งที่ทั้งสองต้องการนั่นคือ การนำการวิจัยดังกล่าวไปสู่หัวข้อวิทยานิพันธ์ปริญญาเอก โดยใช้เทคโนโลยีเพจแรงค์ กับโลกของอินเตอร์เน็ต

ซึ่งตอนแรกนั้น พวกเขาทั้งสองรวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้คิดถึงการสร้างโปรแกรมค้นหาเลยด้วยซ้ำ แต่เมื่อพวกเขาได้ทำไประยะหนึ่ง กับพบกับความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่พวกเขาร่วมกันสร้าง มันยิ่งใหญ่เกินกว่าจะเป็นเพียงงานวิชาการเสียแล้ว สิ่งที่เขาค้นพบนั้นมันคือประตูไปสู่ธุรกิจใหม่ ที่มีมูลค่ามหาศาล มันคือขุมทรัพย์ทาง Digital รูปแบบใหม่ ที่ไม่มีบริษัทไหน ๆ ในโลกนี้ เคยคาดคิดมาก่อน

Bill Gates และ Microsoft กำลังหลงระเริง อยู่กับความสำเร็จซ้ำแล้วซ้ำเล่าของพวกเขา โดยแทบจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะนี้ ศัตรูรายใหม่ ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว และกำลังจะกลายเป็นศัตรูที่แข็งแกร่งที่สุด ฉลาดที่สุด เท่าที่พวกเขาเคยเจอมานับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจเลยก็ว่าได้ จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Gates และ Microsoft เมื่อธุรกิจเทคโนโลยีกำลังขับเคลื่อนไปยังโลก Internet โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : The Internet Trap

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 4 : The Downfall of IBM

ในช่วงปี 1983 Gates เริ่มมองเห็นอนาคตบางอย่างของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แม้จะประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ MS-DOS แต่เขาก็ได้คิดถึงแผนการในอนาคตของ Microsoft ว่าจะต้องสร้างระบบปฏิบัติการเชิงรูปภาพขึ้นมาแบบมี User Interface แทนที่จะใช้การ input แบบ terminal เหมือนใน MS-DOS

ซึ่งแน่นอนว่า หาก Microsoft ยังยึดติดอยู่กับ MS-DOS ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ Terminal ที่ต้อง input แบบตัวอักษร ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งลงไปก่อนการประมวลผล และจะไปปรากฏบนหน้าจอ MS-DOS โดยไม่มีโปรแกรมรูปภาพหรือกราฟฟิกที่ช่วยให้ผู้ใช้ติดต่อกับโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย

โดยในขณะนั้น นักวิจัย จาก Xerox ที่ศูนย์วิจัย พาโลอัลโต ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการทดลองสร้างวิธีการสื่อสารวิธีใหม่ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ซึ่งมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า ‘เมาส์’ ซึ่งสามารถเลื่อนไปมาบนโต๊ะเพื่อเลื่อนลูกศรไปมาบนจอภาพได้

แม้ในขณะนั้นในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก็ได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้บ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Apple Lisa ที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาโดย Steve Jobs นั่นเอง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของราคาที่ค่อนข้างสูง

และ Jobs ก็สร้างโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ Apple ให้กลายเป็นระบบปิด มันจึงไม่สามารถดึงดูดความสนใจของบริษัทผู้ผลิต Software รายใหญ่ ๆ ให้หันมาเขียนโปรแกรมมาสนับสนุนระบบปฏิบัติการแบบใหม่นี้ได้

ซึ่งแม้ระบบปฏิบัติการแบบกราฟฟิกที่ได้รับความนิยมระบบแรก ๆ นั้นจะเป็น เครื่อง Macintosh ของ Apple ในปี 1984 ซึ่งการทำงานทุกอย่างนั้นแตกต่างจาก MS-DOS อย่างสิ้นเชิง เพราะมันทำงานผ่านกราฟฟิก และขับเคลื่อนด้วยการ input ข้อมูลแบบใหม่ผ่านเมาส์นั่นเอง

Macintosh ของ Apple ที่ดูดีหมดทุกอย่าง แต่เสียดายที่เป็นระบบปิด จนไม่สามารถแจ้งเกิดได้

ซึ่งแน่นอนว่า เครื่อง Mac นั้นประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น แต่ปัญหาคือเรื่องของ Software ที่มีอยู่อย่างมากมายในตลาดในขณะนั้น ยังไม่มาเข้าร่วมกับเครื่อง Macintosh ของ Apple ซึ่งเป็นระบบปิดนั่นเอง

ซึ่งเบื้องหลังนั้น Microsoft ก็ได้ร่วมงานกับ Apple เพื่อช่วยกันผลักดันระบบปฏิบัติการที่เป็นกราฟฟิกให้แจ้งเกิดขึ้นมาให้ได้ ซึ่ง Microsoft ก็ได้สร้างโปรแกรม Microsoft Word และ Excel ที่เป็นระบบกราฟฟิกครั้งแรกให้กับ Macintosh นี่เอง

แต่ความคิดของ Apple นั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง Jobs ไม่ยอมให้ผู้อื่นผลิต Hardware มาใช้ร่วมกับ Apple โดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้าสมัยมากในขณะนั้น และหากผู้ใช้ต้องการใช้ระบบปฏิบัติการ Mac ก็ต้องซื้อคอมพิวเตอร์จาก Apple เท่านั้น

ซึ่งการที่ Apple เป็บระบบปิด ไม่สามารถเชื่อมต่อกับใครได้ software ก็รันของตัวเอง ก็ทำให้ ครองส่วนแบ่งการตลาดได้น้อยมาก ๆ แม้จะวางจำหน่าย แมคอินทอช พร้อมระบบ Inteface ใหม่ พร้อม เม้าส์ ที่เป็นการปฏิวัติวงการในขณะนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าสุดท้ายแล้ว Apple เป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ ไปเลยเมื่อเทียบกับตลาด PC ที่ IBM ครองตลาดอยู่ในตอนนั้น

ส่วนฟากฝั่งของ IBM นั้น เมื่อยอดขายของ PC ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะย้อนกลับมาทำร้ายธุรกิจหลักของตัวเอง เพราะผู้ซื้อ PC ส่วนมากนั้นก็เป็นลูกค้าเก่าแก่ของ IBM แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเดิมทีนั้น IBM คิดว่า PC จะขายได้แต่ในตลาดผู้ใช้งานระดับล่างเพียงเท่านั้น

แต่เนื่องจากตัว Microprocessor ที่มีสมรรถนะที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ IBM จึงต้องเริ่มชะลอโครงการพัฒนา PC เพื่อป้องกันไม่ให้ไปทำลายตลาดเมนเฟรมซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ IBM ในขณะนั้น

แม้ในธุรกิจเมนเฟรมนั้น IBM จะคอนโทรลทุกอย่างได้ ทั้ง Hardware และ Software ที่ IBM นั้นผลิตขึ้นมาเองแทบจะทั้งหมด แต่ในตลาด PC ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว IBM ไม่สามารถโก่งราคา PC ได้ เพราะคู่แข่งสามารถสร้าง PC ที่มีคุณสมบัติเหมือนที่ IBM สร้างได้ในราคาที่ถูกกว่า

และนี่เองเป็นเหตุให้เกิดแบรนด์ใหม่อย่าง Compaq ซึ่งมาเปลี่ยนเกมส์ธุรกิจ PC ไปอย่างสิ้นเชิง โดย Compaq ได้เริ่มทำการผลิตตัว Compaq Portable ตัวแรกออกมา โดยใช้วิธีการ Reverse Engineer หรือ วิศวกรรมย้อนกลับจาก IBM PC  เนื่องจาก IBM ขณะนั้นประสบความสำเร็จ และขายได้ติดตลาดไปแล้ว แค่ทุกอย่างให้สามารถ Run Software ของ IBM ได้ทั้งหมด ก็จะเข้าถึงตลาดขนาดมหาศาลที่ IBM ได้เริ่มเปิดตลาดไว้แล้ว

น้องใหม่อย่าง Compaq Portable ที่เตรียมมาสู้กับพี่ใหญ่อย่าง IBM PC

ซึ่งแม้ IBM นั้นมักจะได้สิทธิ์ Exclusive กับ Chip ของบริษัท intel อยู่เสมอ แต่ แต่สำหรับ Chipset 386 นั้นถือเป็นครั้งแรกที่ IBM ถูกปฏิเสธโดย intel ซึ่ง Chipset 386 นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ รวมถึงเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานของ Chip ที่ ทำให้การทำงานของ PC ก้าวกระโดดไปอีกขั้น

เมื่อ intel ไม่ได้ Exclusive ตัว Chip 386 กับ IBM แล้ว  Compaq ก็เร่งในการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ใช้ Chipset 386 เพื่อออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด ก่อนหน้าที่ IBM จะออกตลาด เพราะตอนนั้น IBM ก็ดูจะยังตัดสินใจได้ไม่ชัดเจนว่าจะเอายังไงกันแน่กับตลาด PC

ซึ่งไม่เพียงแค่ Chipset intel 386 เท่านั้น เมื่อ Compaq ออกผลิตภัณฑ์อย่าง Desktop386 นั้น ได้ร่วมมือกับ Microsoft ของ Bill Gate ที่ยอมให้ระบบปฏิบัติการของเค้าสามารถรันได้บน Compaq แบบที่ว่าไม่ต้องไปทำการ Copy Chip Code ใด ๆ จาก IBM อีกต่อไป  เป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอย่างสิ้นเชิง และ ปลดแอ็ก จาก IBM ได้ในที่สุด

การแก้เกมส์ของ IBM คือ การต้องการออกแบบระบบใหม่ทั้งหมด เพื่อไม่ให้ Compaq สามารถลอกเลียนแบบได้ โดยออกระบบปฏิบัติการใหม่คือ PS2 ที่ยากที่คู่แข่งจะเลียนแบบ ซึ่งต้องบอกว่า IBM ต้องการฆ่าทุกคนในธุรกิจนี้เลยก็ว่าได้แม้กระทั่ง Microsoft เองก็ตาม

PS2 กับการสร้างหายนะด้วยน้ำมือตัวเองของ IBM

แต่หารู้ไม่ การสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ ที่ไม่สามารถเข้ากับผลิตภัณฑ์ตัวเดิมของ IBM ได้เลยนั้น ถือเป็นการฆ่าตัวตายของ IBM เอง เพราะองค์กรใหญ่หลาย ๆ องค์กรในสหรัฐนั้น ได้สั่งซื้อเครื่อง computer ของ IBM ไปเป็นจำนวนมากแล้ว ซึ่ง หากต้องการเปลี่ยน ต้องมีการเปลี่ยนแบบยกองค์กร ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ทำให้องค์กรหลาย ๆ องค์กรไม่ต้องการซื้อ PS2 ของ IBM เพราะต้องมาเริ่มเรียนรู้กันใหม่หมด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่มหาศาลมาก ๆ

เหมือนยื่นดาบให้ศัตรูมาฆ่าตัวเองเลยก็ว่าได้สำหรับ IBM ชัดเจนว่า ต่อจากนี้ ตลาด PC นั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว IBM ไม่ได้เป็นผู้กำหนดตลาดอีกต่อไป ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการรวมตัวของผู้ผลิต PC ขนาดใหญ่จำนวน 9 ราย และได้มีการเจรจากับ Bill Gate จาก Microsoft และพัฒนามาตรฐานของพวกเค้าเองในชื่อ EISA (Extended Industry Standard Architecture) โดยที่ไม่เกี่ยวข้องใด  ๆ กับ IBM อีกต่อไป เป็นการถีบ IBM ออกจากตลาด PC อย่างเป็นทางการนับจากนั้นเป็นต้นมานั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 5 : Windows to the World

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : http://blog.stephengates.com/wp-content/uploads/2010/04/19842.jpg
https://hackaday.com/wp-content/uploads/2017/12/ibmpc.jpg

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 3 : Deal With The Devil

ในช่วงฤดูร้อนปี 1980 ตัวแทนจาก IBM สองคนได้เดินทางมาที่สำนักงานใหญ่ของ Microsoft เพื่อหารือเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ IBM กำลังตัดสินใจครั้งสำคัญว่าจะสร้างมันดีหรือไม่?

แม้ในยุคนั้น IBM จะเป็นเจ้าตลาด Hardware ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมถึงกว่า 80% เรียกได้ว่าเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดครองตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จสำหรับ IBM

แต่ดูเหมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้นจะเป็นปัญหาสำหรับ IBM เพราะพวกเขาคุ้นเคยกับการขายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาในราคาแพง และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าธุรกิจที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกในขณะนั้น

ซึ่งการเข้ามาคุยกับ Microsoft เนื่องจาก ฝ่ายผู้บริหารระดับสูงเล็งเห็นว่า จำเป็นต้องดึงคนนอกเข้ามาช่วยเหลือในตลาดใหม่อย่าง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการขายให้กับผู้บริโภครายย่อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ IBM นั้นไม่ถนัดเป็นอย่างยิ่ง

และ IBM ต้องการเข็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลออกตลาดให้ได้ภายในปีนั้น โดย IBM ได้ตัดสินใจสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด และทำสิ่งที่เซอร์ไพรซ์เป็นอย่างยิ่งคือ การสร้างระบบแบบเปิดและง่ายต่อการเลียนแบบ

แม้ว่าในเครื่องเมนเฟรมขนาดใหญ่นั้น IBM จะออกแบบ Microprocessor เองทั้งหมด แต่ในตลาดใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล IBM ได้ตัดสินใจใช้ Microprocessor ของ intel และที่สำคัญที่สุด คือ IBM ได้ตัดสินใจที่จะให้คนอื่นเขียนระบบปฏิบัติการขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่านี่คือโอกาสทองครั้งสำคัญของ Microsoft

และแน่นอนว่า Gates ไม่มีทางที่จะพลาดโอกาสทองครั้งยิ่งใหญ่แบบนี้ ที่น้อยคนนักที่จะมีโอกาสแบบที่ Gates ได้รับจาก IBM ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเรื่องท้าทายครั้งสำคัญของ Gates และ Microsoft แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ต้องการมีส่วนร่วมกับธุรกิจยักษ์ใหญ่นี้

โดย Gates ได้ไปซื้อโปรแกรมที่เคยพัฒนามาแล้วจากบริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเมืองซีแอตเติล และได้จ้าง Tim Paterson หัวหน้าวิศวกรจากบริษัทดังกล่าวมาร่วมงานกับ Microsoft และนำโปรแกรมดังกล่าวมาปรับแต่งให้กับ Hardware ของ IBM

gates เลือกทางลัดในการสร้าง MS-DOS ด้วยการซื้อ Software พร้อมหัวหน้าทีมพัฒนาอย่าง Tim Paterson มาร่วมงาน

ซึ่งผลที่ได้มันก็คือ MS-DOS (Microsoft Disk Operating System) และ IBM นี่เองที่เป็นลูกค้ารายแรกของ Microsoft ที่ซื้อลิขสิทธิ์ MS-DOS ไป และเปลี่ยนชื่อมันให้กลายเป็น PC-DOS และทำการออกวางขายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM ในปี 1981

และมันประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น ทำยอดขายได้ดีมาก ๆ เป็นการเริ่มต้นตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบจริง ๆ จัง ๆ ครั้งแรกของ IBM ทำให้ชื่อ PC (Personal Computer) นั้นกลายเป็นที่รู้จักไปทั่ว

กลยุทธ์ของ Gates สำหรับการ Deal กับ IBM ครั้งนี้นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่เป็น Case Study ที่น่าสนใจของวงการธุรกิจโลก เพราะ Microsoft ยื่นข้อเสนอที่ดีมาก ๆ ให้กับ IBM โดยเปิดให้เต็มที่กับ IBM นำลิขสิทธิ์ MS-DOS ไปใช้กี่เครื่องก็ได้ที่ IBM ต้องการขาย

Gates นั้นมองเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า คือ การสร้าง MS-DOS ให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง UCSD Pascal P-System และ CP/M-86 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เสนอขายให้ IBM เช่นเดียวกันในยุคนั้น

Gates ต้องการให้ MS-DOS กลายเป็นระบบปฏิบัติการหลักของ PC และกระตุ้นให้บริษัทเขียน Software รายอื่น ๆ เขียนโปรแกรมโดยใช้พื้นฐานของ MS-DOS ของ Microsoft นั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่าข้อเสนอของ Gates นั้นดีกว่าคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัดทำให้ราคา PC ที่มีระบบปฏิบัติการ MS-DOS ราคาถูกกว่าใคร และทำให้ IBM ผลักดัน MS-DOS แบบเต็มที่

เป้าหมายของ Gates และ Microsoft นั้นไม่ได้อยู่ที่รายรับที่ได้จาก IBM แต่จะเป็นกำไรในการขายลิขสิทธิ์ MS-DOS ให้กับบริษัทคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่ต้องการใช้ MS-DOS เพราะตอนนั้นมันได้กลายเป็นระบบเปิดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกรายสามารถใช้ MS-DOS ได้ทั้งหมด และเมื่อ MS-DOS กลายเป็นมาตรฐาน กำไร ก็หลั่งไหลมาที่ Microsoft แทนนั่นเอง

และแน่นอนว่าหลังจากออกวางจำหน่ายได้ไม่นานดูเหมือน IBM PC มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานของตลาดในอุตสาหกรรมใหม่นี้ ดูเหมือน IBM จะประสบความสำเร็จแล้วแถมยังเป็นระยะเวลาอันสั้นมาก ๆ ด้วย

IBM ประสบความสำเร็จในการสร้างมารตรฐานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

แต่หารู้ไม่ว่า คนที่ชนะจริง ๆ ในการสร้างมาตรฐานให้อุตสาหกรรมนี้คือ Microsoft ต่างหากที่ทุกคนต้องใช้ MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการหลัก เหล่าบริษัท Software รายเล็กใหญ่ต่างพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาบนพื้นฐานของ MS-DOS ไม่ใช่บนพื้นฐานของ IBM-PC

ไม่นานหลังจากนั้น Software คุณภาพเยี่ยมตัวใหม่ ๆ อย่าง Lotus 1-2-3 โปรแกรมที่ปฏิวัติรูปแบบของการสร้างสเปรดชีทก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้รันบนระบบปฏิบัติการของ MS-DOS และตลาด Software การใช้งานนับพัน ๆ โปรแกรม ก็ได้เกิดขึ้นมาใน Ecosystem ของ MS-DOS โดยใช้มาตรฐานทาง Hardware ของ IBM-PC นั่นเอง

ซึ่งแม้ IBM จะสร้างมาตรฐาน PC ขึ้นมาก็จริง แต่เป็นมาตรฐานให้ทุกคนเลียนแบบได้ง่าย และบริษัทอื่นก็สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบที่ IBM ทำได้เช่นกัน และแน่นอนว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน บริษัทอื่นก็อาจจะมาครองตลาดแทน IBM

และนี่เองเป็นสิ่งที่ IBM พลาดครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พวกเขาพลาดที่ไปร่วมมือกับ Microsoft และ intel ในการสร้าง PC ขึ้นมาให้กลายเป็นมาตรฐานทางด้าน Hardware เพียงเท่านั้น มันคือจุดผิดพลาดครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีโลกอย่าง IBM แล้วสถานะอันสั่นคลอนของ IBM ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้จะยืนหยัดอยู่ได้นานเพียงใด แผนต่อไปของ Gates และ Microsoft คืออะไร? อย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : The Downfall of IBM

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://spectrum.ieee.org/image/MjgxMDc1OA.jpeg

Credit แหล่งข้อมูลบทความ