ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 8 : The Internet Trap

พอถึงต้นปี 2000 google นั้นก็ได้กลายเป็นเว๊บไซต์ยอดนิยม ของเหล่านักค้นหา แต่ข่าวร้ายก็มาถึงเช่นเดียวกัน เพราะ เกิดวิกฤติดอทคอมขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมปี 2000 ซึ่งทำให้พวกเหล่าเศรษฐีอินเตอร์เน็ตพากันล้มหายตายจากไปพอสมควร รวมถึงเหล่านักวิจารณ์ก็พากันวิจารณ์ google ว่ามันเป็นเพียงแค่ของเล่น เพราะไม่มี โมเดลธุรกิจที่ชัดเจน ซึ่งคงมีจุดจบไม่ต่างจากบริษัทดอทคอมรายอื่น ๆ ที่ล้มหายตายจากกันเป็นว่าเล่นในขณะนั้น

แต่สิ่งที่ช่วยรักษา Google ให้อยู่รอดปลอดภัยจากวิกฤติครั้งนี้ได้ และเป็นจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ google คงจะเป็นเรื่องของการตัดสินใจต่าง ๆ โดยทุกครั้งนั้น google จะเอาข้อมูลเป็นตัวตั้งเสมอ ทั้งเรื่องการตลาด ผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งเรื่องเทคนิคอลต่าง ๆ ภายใน google เพราะหากไม่มีข้อมูลที่มาสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีพอ คนที่เสนออาจจะถูกตอกกลับหน้าหงายโดยสองผู้ก่อนตั้งไปเลยก็ได้

ซึ่งในขณะที่ Google เติบโตอย่างเงียบ ๆ นั้น ในเวลาเดียวกันในตลาดบนอินเตอร์เน็ต Microsoft โฟกัสไปที่ผลิตภัณฑ์เว๊บพอร์ทัล อย่าง MSN เพราะดูจะเข้าท่ากว่าโปรแกรมค้นหาอย่างเห็นได้ชัด และ Microsoft ยังปั้นให้ MSN กลายเป็นเว๊บท่าที่ยอดนิยมที่สุดในโลก ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

ซึ่งในปี 2000 มีคนเข้ามาใช้งาน MSN กว่า 201 ล้านคน โดยที่ Microsoft แทบจะไม่ได้สนใจโปรแกรมค้นหาใด ๆ ด้วยซ้ำ เพราะพวกเขากำลังก้าวไปสู่จุดสูงสุดของการเป็นเว๊บ portal ที่ทุกคนทั่วโลกต้องเข้าใช้งาน

Microsoft กำลังโฟกัสเว๊บพอร์ทัลอย่าง MSN ไม่สนใจโปรแกรมค้นหาเลยด้วยซ้ำ
Microsoft กำลังโฟกัสเว๊บพอร์ทัลอย่าง MSN ไม่สนใจโปรแกรมค้นหาเลยด้วยซ้ำ

แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่สุดของ google คือการสร้างสิ่งที่เรียกว่า Adwords ซึ่งได้กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในหมู่ผู้โฆษณา  โดยทำให้โปรแกรมค้นหาของ Google นั้นสามารถทำตลาดแทบจะตลอด 24 ชั่วโมงในทุก ๆ วัน

โดยในทุก ๆ วัน มันมีคำหรือ วลีนับล้านคำ ที่ผู้คนกำลังค้นหา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าและบริการแทบจะทั้งสิ้น ตัวอย่างชื่อสินค้าประจำวันเช่น “Pet food” อาจจะมีราคาประมํูลที่ถูก กว่า คำอย่าง “Investment Advice” ซึ่งเป็นกลไกของตลาดในเรื่องราคาที่ผู้ลงโฆษณายินดีที่จะจ่ายเพื่อให้โฆษณาของตนได้ปรากฏเมื่อมีคนค้นหาคำ ๆ นั้นบน Google

มันทำให้ Google ได้เงินทุกครั้งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์คลิกบนโฆษณา ที่มันแสดงขึ้นบนผลการค้นหา และมันถูกทำงานแบบอัตโนมัติ โดยระบบการประมูลออนไลน์ ซึ่งมันทำให้ Google มั่นใจได้ว่า จะได้รับราคาที่ดีที่สุดอยู่เสมอ และสร้างกระแสเงินสดปริมาณมหาศาลให้ Google มากขึ้นเรื่อย ๆ 

และที่สำคัญ Google ยังได้มือดีอย่าง เอริค ชมิดต์ เข้ามาเป็น CEO โดย ชมิดต์ได้เข้ามาเพิ่มมิติของ google ให้ขยายขอบเขตขึ้น ซึ่งจากประสบการณ์บริษัทเก่าที่เขาเคยทำงานด้วยไม่ว่าจะเป็น Novell และ Sun Microsystem เขาล้วนมีประสบการณ์ที่ดีในการสู้กับยักษ์ใหญ๋อย่าง Microsoft ในสงครามกฏหมายในรอบทศวรรษที่ผ่านมา

ชมิดต์ นั้นมักเตือน บรินและเพจ อยู่เสมอว่า อย่าไปท้าทายยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft เหมือนที่ NetScape ทำ พยายามแอบอยู่ในมุมมืด และอย่าพยายามวาดภาพว่า google นั้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่จะมาแข่งกับ Microsoft

ซึ่งส่วนนี้จะทำให้ Microsoft นั้นยังไม่สนใจ และคิดว่า google ทะเยอะทะยานต้องการทำธุรกิจมากกว่าการค้นหา ซึ่งแม้จะเป็นความจริงก็ตาม แต่ไม่จำเป็นต้องประกาศให้คนรับรู้ ยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดของ google คือ กันตัวเองห่างออกจาก Microsoft ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ซึ่งมันเปรียบเสมือนเป็นหลุมพรางที่กันไม่ให้ Microsoft รู้ความเคลื่อนไหวของ Google ในโลก Internet นั่นเอง

Google ได้มือดีอย่าง เอริก ชมิดต์ มาช่วยวางแผนสู้กับ Microsoft
Google ได้มือดีอย่าง เอริก ชมิดต์ มาช่วยวางแผนสู้กับ Microsoft

และในที่สุด ฐานะทางการเงินของ Google ก็เติบโตขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ในปี 2002 นั้น Google สร้างรายได้ 440 ล้านเหรียญ และสามารถทำกำไรได้ถึงกว่า 100 ล้านเหรียญ ซึ่งกำไรทั้งหมดมันมาจากการที่ผู้ใช้คลิกข้อความโฆษณาที่วางอยู่ทางขวาในหน้ารายงานผลการค้นหาบน Google.com

การเป็นผู้ริเริ่มทำเป็นคนแรก และการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทอเมริกาของ Google มันได้ย้ายเงินโฆษณาที่เดิมต้องจ่ายให้สื่อเก่า ๆ อย่าง ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และ นิตยสาร มายังอินเทอร์เน็ตแทน และตอนนี้ บริษัทซึ่งตั้งเป้าหมายแรกเพียงแค่ต้องการเป็นผู้สนองการค้นข้อมูลเพียงอย่างเดียวอย่าง Google ได้ก้าวขึ้นมาท้าทายอำนาจของบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ต ผ่านการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตได้สำเร็จแล้ว

และเมื่อทาง Microsoft เริ่มรู้ตัว Gates ก็สั่งให้ทีมงานเข้ามาลุยในธุรกิจ Search Engine แบบทันที  แต่แน่นอนว่าเป็นงานที่หนักหน่วงมาก ๆ สำหรับ ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ที่ต้องการเข้ามาในตลาดการค้นหา ซึ่ง google ได้นำหน้าไปไกลแล้ว

เพราะตอนนี้มันไม่ใช่แค่เรื่องความสามารถทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของความเข้าใจต่อผู้ใช้งาน ว่าพวกเขาต้องการอะไร และ Search Engine ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดให้กับพวกเขาได้ ซึ่ง Google นั้นนำไปแบบไม่เห็นฝุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Microsoft นั้นสามารถเอาชนะ NetScape ได้แบบไม่ยากนัก เพราะมีการเขียน software มาอย่างดี และติดตั้งเป็นค่าเริ่มต้นมาพร้อมกับ Windows ได้ ส่วน google นั้นให้บริการฟรีอยู่แล้ว จึงไม่มีทางที่ Microsoft จะมาตัดราคาเหมือน NetScape ได้เหมือนกลยุทธ์เก่า ๆ

ซึ่งมันมีเพียงทางเลือกเดียวที่จะสามารถล้ม google ได้คือ การสร้าง Search Engine ที่ดีกว่า แต่ดูเหมือนทุกอย่างมันจะสายไปเสียแล้ว เพราะ Brand ของ Google มันได้กลายเป็นคำสามัญสำหรับการค้นหาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว google กลายเป็นอำนาจที่ทรงพลังที่สุดในอินเตอร์เน็ตได้สำเร็จแล้ว และมันเป็นครั้งแรกที่ Gates และ Microsoft ต้องพ่ายแพ้ในศึกเทคโนโลยี ให้กับบริษัทหน้าใหม่ ที่เพิ่งเกิดไม่กี่ปีอย่าง Google มันเป็นการฝากรอยแผลในใจให้กับ Gates และ Microsoft เป็นอย่างมาก

แล้วสถานการณ์ที่มาถึงขนาดนี้ Bill Gates จะแก้เกมส์ Google อย่างไร ด้วยความสดใหม่ของเหล่าพนักงาน Google แถมยังได้ไปแย่งชิงตัวเอาพนักงานมือดีมาจาก Microsoft อีกมากมาย มันเป็นการหักหน้า Gates ที่แสนจะเจ็บปวดครั้งแรกในการแข่งขันในธุรกิจทางด้านเทคโนโลยี Gates จะแก้แค้นด้วยวิธีไหน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับ

–> อ่านตอนที่ 9 : Revenge of the Fallen

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube