Sharing Economy อย่าง Uber และ Lyft สามารถทำเงินเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรจริง ๆ ได้หรือไม่?

Sharing Economy คำพูดที่ดูสวยหรูที่เราได้ยินกันมากว่า 15 ปีแล้ว ดูเหมือนว่าการจะสร้างธุรกิจด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้นั้นมันยากที่จะเป็นจริง Uber ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2008 เป็นบทพิสูจน์หนึ่งในนั้น

ลองจินตานาการถึงธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สตาร์ทอัพ แล้วพวกคุณคือนักลงทุนคนหนึ่ง และได้ให้โอกาส ให้ทุนเจ้าของกิจการไปเผาผลาญเงินเป็นว่าเล่นเป็นเวลาถึง 15 ปีแล้ว แต่ธุรกิจกลับยังไม่ไปถึงไหน คุณจะคิดอย่างไรกับธุรกิจแบบนี้

ต้องบอกว่ามันกลายเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเหล่านักลงทุนใน Uber ที่เป็นบริษัทเรียกรถโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก นับตั้งแต่ได้ทำ IPO ในปี 2019 ในช่วงหกเดือนแรกในฐานะบริษัทมหาชน ราคาหุ้นของ Uber ดิ่งลงเหวมูลค่าลดลงไปถึงหนึ่งในสี่

ตั้งแต่จุดต่ำสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว สัญญาณทางวินัยทางการเงินที่มากขึ้นได้ผลักดันราคาหุ้นของ Uber กลับสู่จุดที่ซื้อขายครั้งแรกในปี 2019

ด้วยต้นทุนที่ลดลง ค่าโดยสารที่สูงขึ้น ในเดือนนี้บริษัทรายงานผลกำไรจากการดำเนินงาน 326 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่สองของปี

และมีข่าวที่น่ายินดีของ Uber เมื่อในวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา Lyft ซึ่งเป็นคู่แข่งตัวฉกาจในประเทศ รายงานผลกระกอบการขาดทุนอีก 159 ล้านเหรียญ มูลค่าตลาดของ Lyft ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลงลงสูงถึง 85% จากจุดที่บริษัทเริ่มทำ IPO ในปี 2019

แต่อย่างไรก็ตาม Uber ก็ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน แม้จะเพิ่มผลกำไร แต่บริษัทยังขาดทุนสุทธิ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เปิดเผยผลประกอบการครั้งแรกในปี 2014

เงินของนักลงทุนที่ถูกเน้นไปที่การเผาผลาญเพื่อการเติบโต การเพิ่มผลกำไรจากการดำเนินงานไตรมาสล่าสุด เมื่อคิดเป็นผลตอบแทนจากเงินทุนนั้น มันเป็นเพียงแค่ 5% เท่านั้น ซึ่งมันชี้ให้เห็นว่าเงินของเหล่านักลงทุนที่สูญเสียไป ที่หวังผลตอบแทนแบบบ้าคลั่งเหมือนธุรกิจสตาร์ทอัพรายอื่น ๆ เช่น Faceboook , Google ฯลฯ มันดูเหมือนเป็นเรื่องเพ้อฝัน

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมานั้น การเติบโตของรายได้ของ Uber มากกว่า 60% มาจากธุรกิจอื่นนอกเหนือจากบริการเรียกรถ และที่สำคัญที่สุดของเป็นธุรกิจการจัดส่งอาหารซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่อัตรากำไรของ Uber ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาในธุรกิจจัดส่งอาหารนั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับธุรกิจเรียกรถ

ธุรกิจการจัดส่งอาหารซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 (CR:Lawyer Weekly)
ธุรกิจการจัดส่งอาหารซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 (CR:Lawyer Weekly)

สิ่งทีน่ากังวลเพิ่มเติมก็คือ Uber มุ่งเน้นไปที่การขยายธุรกิจนอกอเมริกา ซึ่งตอนนี้แทบจะไม่เติบโตอีกต่อไปแล้ว อัตรากำไรที่สูงที่สุดนั้นอยู่ในอเมริกา โดยครองส่วนแบ่งการตลาดของบริการเรียกรถได้เกือบสามในสี่ ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ นั้น ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมาก ๆ จากคู่แข่งในท้องถิ่น เช่น Bolt และ Freenow ในยุโรป , Gojek และ Grab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Ola ในอินเดีย

ผู้ชนะ Sharing Economy ตัวจริงคือ Airbnb

ลองมาเปรียบเทียบธุรกิจแบบ Sharing Economy อย่าง Airbnb นั้น ก็เกิดมาพร้อม ๆ กับยุค การบูมขึ้นของ sharing economy ที่นำโดย Uber เป็นเจ้าแรก แต่ดูเหมือนผู้ที่มาก่อนอย่าง Uber จะตกอยู่สถานการณ์ที่ยากลำบากในขณะนี้

และที่สำคัญ เราจะเห็นได้ว่า แทบจะทั่วโลกนั้น ดันไปเลียนแบบ และ copy โมเดลมาจาก Uber กระจายไปทั่วโลก เพราะมัน copy ได้ง่ายมากและไม่มีอะไรที่ซับซ้อน Grab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เวลาไม่นานก็สามารถเอาชนะ Uber ที่เป็นต้นแบบของพวกเขาได้

และเมื่อเกิดบริการใหม่ ๆ ที่ต่อยอด อย่างบริการขนส่งอาหาร หรือ ขนส่งสินค้าของชำ ก็เกิดบริการแบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นเดียว ทุกบริการต่างอัดเงินเข้ามาอย่างบ้าคลั่ง สอดรับกับผลประกอบการที่ขาดทุนกันแทบจะทุกเจ้า ตั้งแต่ทางฝั่งตะวันตก ยุโรป มาจนถึงเอเชีย รวม ๆ กัน อาจจะขาดทุนไปกว่าแสนล้านเหรียญในธุรกิจดังกล่าวนี้

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น กลับกัน เจ้าพ่อห้องพักแบบ sharing อย่าง Airbnb แทบจะมีคู่แข่งน้อยมาก ๆ จะเห็นได้ว่าเมื่อไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร Airbnb ก็ปรับราคาสูงขึ้น หรือมีบริการต่าง ๆ ยิบย่อยที่สามารถสร้างรายได้ให้กับพวกเขาได้อีกมากมาย

ตัวเลขทุกอย่างของ Airbnb เป็นบวกแทบจะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รายรับที่เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อนหน้า จำนวนคืนที่พักก็เพิ่มขึ้น 25% มูลค่าของการจองเพิ่มขึ้น 31% เรียกได้ว่า ตัวเลขเป็นสีเขียวในแทบทุกจุด

Airbnb คือผู้ชนะตัวจริงใน Sharing Economy (CR:borneobulletin)
Airbnb คือผู้ชนะตัวจริงใน Sharing Economy (CR:borneobulletin)

กลับกัน มาดูธุรกิจจัดส่งอาหาร หรือบริการเรียกรถ ผลประกอบการที่ออกมาเรียกได้ว่าบัดซบเอามาก ๆ มองไปจุดไหนก็เป็นสีแดง แถมคู่แข่งก็มากมายมหาศาลในไทยประเทศเดียว ก็มี 4-5 บริการมาแข่งกันอย่างดุเดือด ขาดทุนกันทุกเจ้า

ซึ่งบางครั้ง ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับว่าเหล่านักลงทุนเขาเห็นอะไรในธุรกิจพวกนี้ การเดิมพันของเหล่านักลงทุนกับธุรกิจอย่าง Uber ที่พวกเขามองว่าธุรกิจเรียกรถจะเป็นธุรกิจแบบ winner-takes-all  นั่นแสดงให้เห็นถึงการเผาผลาญเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในการแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด

แต่มาถึงวันนี้มันเป็นเวลากว่า 15 ปีแล้ว ความคาดหวังของนักลงทุนที่จะเห็น Uber กลายเป็นเหมือน Facebook หรือ Google ในธุรกิจเรียกรถนั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลเกินฝันไปแล้วนั่นเองครับผม

References :

แปลและเรียบเรียงจากบทความ Can Uber and Lyft ever make real money? – The Economist
https://www.usnews.com/news/business/articles/2022-11-01/airbnb-posts-1-2-billion-profit-in-3q-as-revenue-jumps-29
https://www.foxbusiness.com/markets/airbnb-posts-1-2-billion-profit-3q-revenue-jumps-29-percent
https://www.dailymail.co.uk/news/article-11379203/Airbnb-reports-record-revenue-2-88B-warns-risks-inflation.html
https://www.youtube.com/watch?v=9TrzpSvn_d4


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube