BeIn Sport vs BoutQ กับมหาศึกสงครามการเมืองในอ่าวเปอร์เซีย สู่การละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งร้ายแรงในวงการกีฬาโลก

ต้องบอกว่าด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวไกลในปัจจุบัน มันก็ได้เกิดผลกระทบต่อวงการกีฬาอย่างชัดเจนมาก ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการถ่ายทอดสด ที่เรียกได้ว่าตอนนี้มีการละเมิดลิขสิทธิ์กันอย่างรุนแรงมาก ๆ

ตัวอย่างในบ้านเราเอง กีฬายอดฮิตอย่างฟุตบอล มีเว็บไซต์ หรือ เพจมากมายใน facebook เองที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์กัน และทำกันแบบง่ายมาก ๆ เนื่องจากการพัฒนาของระบบ live สดในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทำให้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อวงการกีฬา

นั่นเองที่ทำให้ในอนาคต หากมีบริษัทใดซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาเหล่านี้มา อาจจะต้องพินิจพิเคราะห์แบบละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้ัน เนื่องจากการละเมิดที่ทำได้ง่ายขึ้นในยุคปัจจุบัน

เราจะเห็นเทรนด์ที่ราคาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดกีฬาชื่อดังราคาประมูลลดลงไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ ที่ยังไม่มีเทคโนโลยีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ง่าย ๆ เหมือนในยุคปัจจุบัน

และนั่นเองที่ทำให้เกิดประเด็นใหญ่ขึ้นในวงการกีฬา กับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ beIn Sport ของทางประเทศซาอุดิอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีการสร้างบริการ beoutQ มาขโมยสัญญาณและออกอากาศเป็นของตนเอง

มหาศึกสงครามการเมืองในอ่าวเปอร์เซีย

เช้าตรู่ของวันที่ 24 พฤษภาคม 2017 ได้มีคำแถลงที่เซอร์ไพรส์มาก ๆ จากประธานาธิบดีกาตาร์ ผ่านสำนักข่าวกาตาร์ (QNA)

สื่อระดับภูมิภาคในอาหรับ และที่อื่น ๆ ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการรับข่าวดังกล่าว และได้ทำการเผยแพร่ให้ขยายวงกว้าง เพื่อให้ผู้คนนับล้านได้เห็นแถลงการณ์ครั้งนี้

“อิหร่านเป็นตัวแทนของอำนาจในภูมิภาค และอิสลามไม่สามารถละเลยได้ และไม่ฉลาดที่จะเผชิญหน้ากับพวกเขา” ชีค ทามิม บิน ฮาหมัด อัลธานี ผู้ปกครองกาตาร์กล่าวในพิธีสำเร็จการศึกษาทางทหารเป็นภาษาอาหรับ

ราชวงศ์กาตาร์ รู้ตัวทันทีว่าระบบรัฐบาลของพวกเขากำลังถูกรุกราน และพวกเขามั่นใจว่ามันเป็นแผนการของ ซาอุดิอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ทำเรื่องชั่ว ๆ ดังกล่าวนี้

ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะมีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าระบบของพวกเขาถูก hack โดยกลุ่มนับรบไซเบอร์ของรัสเซียที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานดังกล่าว

พวกเขาไม่เคยเห็นการลอบโจมตีในลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาก่อน สถานการณ์ที่มีความตึงเครียดมานานหลายปี กำลังจะถึงจุดแตกหัก

ภายในสิบสามวัน ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของพวกเขารวมถึงอียิปต์และหมู่เกาะโคโมโรเล็ก ๆ ได้เคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในการปิดกั้น เพื่อคว่ำบาตรกาตาร์แบบเต็มรูปแบบ

พวกเขาขับไล่ชาวกาตาร์ออกจากประเทศตัวเอง ตัดความสัมพันธ์ทางการเงิน และปฏิเสธที่จะให้เครื่องบินของกาตาร์ใช้น่านฟ้าของพวกเขา เหล่าร้านค้าในกาตาร์ต่างขาดแคลนอาหาร เนื่องจากประเทศนี้พึ่งพาการค้าทางบกกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก

ปัญหาใหญ่น่าจะเกิดจากกาตาร์ได้ทำการผูกมิตรกับศัตรูของซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เช่น กลุ่มภราดรภาพมุสลิม

ซึ่ง ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรน ต่างนำทูตของพวกเขาออกจากกาตาร์ในปี 2014 เนื่องจากกาตาร์ได้ไปสนับสนุนการประท้วงอาหรับสปริง

การประกาศคว่ำบาตรสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวกาตาร์จำนวนมาก ครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศบางครอบครัวเริ่มสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนตัวไว้ในบ้านพักตากอากาศและพระราชวังเพื่อเตรียมพร้อมหากมีการรุกรานขึ้นมาจริง ๆ

องบอกว่าสงครามเย็นกับกาตาร์นั้นมีเวลานานมาหลายปีแล้ว แต่กาตาร์เริ่มตีตัวออกห่างจากเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็วเมื่อ ฮาหมัด บิน คาลิฟา โค่นล้มบิดาของตัวเองในการรัฐประหารที่ไร้การนองเลือดในปี 1995

ด้วยความที่ฮาหมัดเติบโตมาในโลกที่มีความสากล และด้วยความมั่งคั่งของประเทศในยุคนั้น ความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับสหราชอาณาจักร เขาจึงเข้าเรียนที่ Royal Military Academy , Sandhurst ก่อนที่จะกลับไปโดฮาเพื่อเป็นนายทหารและในที่สุดก็ได้กลายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เขาได้เข้ามายึดอำนาจโดยความเห็นชอบของสมาชิกคนสำคัญในครอบครัว ฮาหมัดได้เข้ามาเปลี่ยนนโยบายกาตาร์ใหม่ แม้กระทั่งการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับอิสราเอล

เขาได้พัฒนาแหล่งก๊าซของประเทศซึ่งเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติยังไม่ได้เป็นวัตถุดิบที่ทำกำไรได้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งการเดิมพันครั้งนี้ทำให้กาตาร์ร่ำรวยมหาศาล ด้วยความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น ฮาหมัด ได้กำหนดนโยบายต่างประเทศที่มุ่งเน้นไปที่บทบาทของกาตาร์ในส่วนที่เหลือของโลก ไม่ใช่แค่เหล่าประเทศเพื่อนบ้านในอ่าวเท่านั้น

หนึ่งในปัจจัยใหญ่ที่สุดคือการสร้าง Al Jazeera ช่องข่าวที่ใช้เวลาอย่างฟุ่มเฟือยในการสรรหานักข่าวต่างประเทศ และนำเสนอให้ครอบคลุมตะวันออกกลางมากที่สุด

โดยเป็นการแสดงให้เห็นว่ากาตาร์เป็นกลาง แต่ภายในช่อง Al Jazeera เองก็แทบจะไม่มีการรายงานประเด็นทางสังคมหรือการโต้เถียงภายในกาตาร์เองแต่อย่างใด

การถือกำเนิดของ Al Jazeera คืออีกหนึ่งชนวนสำคัญ (CR:Inside Arabia)
การถือกำเนิดของ Al Jazeera คืออีกหนึ่งชนวนสำคัญ (CR:Inside Arabia)

เพื่อนบ้านของกาตาร์มองว่า Al Jazeera ไม่เป็นกลาง และเมื่อเกิดเหตุการณ์อาหรับสปริง เมื่อเยาวชนชาวอียิปต์ประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัคที่ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเตส์หนุนหลัง

แต่หลังจากมูบารัคลงจากอำนาจ กาตาร์ก็ได้แต่งตั้งโมฮาเหม็ด มอร์ซี จากกลุ่มมุสลิมภราดรภาพให้กลายเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอียิปต์ และนั่นเองที่ทำให้ซาอุดิอาระเบียและยูเออีโมโห และสนับสนุนนายพลในการโค่น มอร์ซี และปราบปรามกลุ่มมุสลิมภราดรภาพ

กาตาร์มีความเชี่ยวชาญมากกว่าซาอุฯ หรือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในการล็อบบี้และสื่อสารกับโลกภายนอก พวกเขาเปรียบเสมือนสวิตเซอร์แลนด์แห่งตะวันออกกลางที่รักษาการติดต่อกับทุกกลุ่มเพื่ออำนวยความสะดวกในการเจรจาและนำสันติภาพมาสู่ภูมิภาค

อีกปัจจัยหนึ่งที่ได้สร้างความขุ่นเคืองมายาวนานหลายปี คือ กาตาร์มีนิสัยขี้อิจฉาเพื่อนบ้านที่ใหญ่กว่า ด้วยความมั่งคั่งมหาศาล กองทุนความมั่งคั่งของกาตาร์ ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัทในโลกตะวันตกที่มีชื่อเสียงมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากเยอรมันอย่าง Volkswagen Group หรือ Royal Dutch Shell รวมถึงการกว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก โครงการพัฒนาสนามบิน Heathrow ย่านธุรกิจ Canary Wharf และสร้าง Shard ซึ่งเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในสหราชอาณาจักร

แถมกาตาร์ยังได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก (FIFA World Cup) ในปี 2022 ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงที่สุดรองจากโอลิมปิก

และสำหรับเหล่าเศรษฐีผู้ร่ำรวยของกาตาร์ การซื้อห้างสรรพสินค้า Harrods ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าชื่อดังบนถนน Old Brompton Road ในลอนดอนมูลค่า 1,500 ล้านปอนด์ในปี 2010 ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ภาษาอาหรับได้กลายเป็นภาษาที่สองของห้างดังเหล่านี้ เนื่องจากบรรดาลูกค้าผู้ร่ำรวยจากดูไบ ริยาด หรือ คูเวตซิตี้ จะมาช็อปปิ้งในช่วงวันหยุด

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็รู้สึกว่า การกระทำต่าง ๆ ของกาตาร์เกิดจากความหยิ่งผยองของพวกเขา กาตาร์มีฐานทัพ Al Udeid การสื่อสารกับชาติตะวันตกก็ดูราบรื่น แถมยังมีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยมากกว่าประเทศอื่น ๆ

นั่นเป็นเหตุให้เหล่าชีคที่เขี้ยวลากดินของเอมิเรตส์พร้อมกับเหล่าพันธมิตร มองหาข้ออ้างที่จะตัดกาตาร์ออกไป และถือเป็นการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวที่สุดในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้

แต่ดูเหมือนกาตาร์จะไม่แคร์ เพราะด้วยความมั่งคั่งของพวกเขา ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดที่รองรับประชากรในประเทศจึงได้รับการออกแบบใหม่ โดยไม่แคร์เพื่อนบ้านชาวอาหรับอีกต่อไปนั่นเอง

การถือกำเนิดขึ้นของ beoutQ

ต้องบอกว่า beoutQ เป็นมากกว่าแค่การละเมิดลิขสิทธิ์แบบธรรมดา ๆ ทั่วไปที่เราได้เห็นกันทั่วโลก ที่มีการลักลอบนำสัญญาณไปใช้อย่างผิดกฏหมาย แต่ส่วนใหญ่ เป็นการกระทำแบบลับ ๆ ไม่ประเจิดประเจ้อเหมือนกับสิ่งที่ beoutQ ทำ

beoutQ เป็นองค์กรละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมี 10 ช่องสัญญาณที่เริ่มออกอากาศทางผู้ให้บริการดาวเทียม Arabsat หลังจากข้อพิพาททางการทูตกระตุ้นให้ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ( UAE ) บาห์เรน และ  อียิปต์

ไม่นานหลังจากที่กาตาร์ถูกปิดล้อม ช่อง beIn ซึ่งเป็นช่องกีฬาชื่อดังได้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศคู่ขัดแย้งกับกาตาร์

การสอบสวนของ Al Jazeera ในปีที่แล้วเปิดเผยว่า  ผู้ให้บริการซาอุดีอาระเบีย 2 ราย คือ Selevision และ Shammas มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานที่ดำเนินการโดย beoutQ 

การสอบสวนพบว่า beoutQ ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทสื่อแห่งหนึ่งในเขตอัล-กิราวัน กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดิอาระเบีย แต่ทางซาอุดีอาระเบียได้ปฏิเสธการอ้างว่า beoutQ อยู่ในราชอาณาจักร

beoutQ กับการละเมิดลิขสิทธิ์แบบอื้อฉาวที่สุดครั้งนึงในวงการกีฬาโลก (CR:soupskotom.com)
beoutQ กับการละเมิดลิขสิทธิ์แบบอื้อฉาวที่สุดครั้งนึงในวงการกีฬาโลก (CR:soupskotom.com)

โดยสำนักข่าว Al Jazeera ได้รับเอกสารที่พิสูจน์ว่ามีการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างบริษัทซาอุดิอาระเบียและฝ่ายบริหารของ Arabsat

การสอบสวนยังแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่การกระทำของแฮ็กเกอร์ทั่วไป เหมือนในประเทศอื่น ๆ แต่เป็นส่วนหนึ่งของระบบบูรณาการที่มีการปกปิดอย่างเป็นทางการและได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากซาอุดิอาระเบีย

ในการให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera อัยการของกาตาร์กล่าวว่าจำเลยหนึ่งในสามคนที่ถูกกล่าวหาว่าสื่อสารกับซาอุดิอาระเบียและอียิปต์เกี่ยวกับปัญหานี้ได้เดินทางไปยังซาอุดิอาระเบียหลังจากการปิดล้อมดังกล่าว

จำเลยได้พบกับเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของซาอุดิอาระเบีย Maher Mutreb และแชร์ข้อมูลลับและละเอียดอ่อนกับหน่วยข่าวกรองอียิปต์

Mutreb เป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของซาอุดิอาระเบียที่ทำงานให้กับที่ปรึกษาอาวุโสของมกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ของซาอุดิอาระเบีย (ผู้ที่เข้าซื้อสโมสรนิวคาสเซิล แห่งพรีเมียร์ลีก)

ตามรายงานจาก   ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรม Mutreb มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในการสังหาร Jamal Khashoggi นักข่าวชาวซาอุดีอาระเบีย   ในสถานกงสุลของประเทศในอิสตันบูลเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2018

บทสรุป

แม้ตอนนี้สถานการณ์จะคลี่คลาย เนื่องจากซาอุดิอาระเบียต้องการเข้ามาลงทุนในสโมสรฟุตบอลชื่อดังอย่าง นิวคาสเซิล ซึ่งมีการล็อบบี้จนสามารถปิดดีลดังกล่าวได้ในท้ายที่สุด

แต่จะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของ beoutQ ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่แคร์สายตาชาวโลก ซึ่งทำให้ประเทศซาอุดิอาระเบียถูกจัดให้อยู่ใน Priority Watch List โดยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เป็นเวลาถึงสองปี

นั่นเองที่ทำให้ซาอุดิอาระเบียกลายเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่ล้มเหลวในการปกป้องและบังคับใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ทั่วโลก

ซึ่งทางการสหรัฐได้มีการบีบบังคับให้ ซาอุดิอาระเบียเพิ่มการบังคับใช้กฏหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับ beoutQ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ในเวทีการค้าโลกนั่นเองครับผม

แล้วคุณล่ะมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไร อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับผม

References :
https://www.qatar-tribune.com/news-details/id/124128
https://www.broadbandtvnews.com/2021/10/07/saudi-arabia-to-lift-ban-on-bein-sports/
https://theathletic.com/news/saudi-arabia-reverses-bein-sport-ban/
https://www.aljazeera.com/economy/2020/6/16/explainer-the-piracy-case-against-saudis-beoutq-channel


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube