เหตุใด “ประสบการณ์ของนักพัฒนา” จึงส่งผลต่อการก้าวไปข้างหน้าของนวัตกรรมระดับโลก

ภาพขาวดำหมุนวนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ภาพการสแกนด้วย MRI แม้แต่สายตาที่ฝึกมาก็ยังมองเห็นสิ่งผิดปกติได้ยาก แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับรูปภาพที่คล้ายกันนับพันๆ ภาพ จะมองเห็นสัญญาณเริ่มต้นของมะเร็ง ตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ การพยากรณ์โรคทำได้ดีอย่างน่าทึ่ง

เบื้องหลังนวัตกรรมอันน่าทึ่งนี้ เช่นเดียวกับหลายๆ อย่างในชีวิตของเราในปัจจุบัน คือสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งและมักถูกมองข้ามไป นั่นก็คือโค้ด

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพหรือวิธีการสั่งอาหาร การธนาคาร หรือการขับเคลื่อนรถแบบอัตโนมัติ นวัตกรรมที่ใหญ่ที่สุดที่กำหนดชีวิตเราในปัจจุบันนั้นขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ทางด้านคอมพิวเตอร์แทบจะทั้งสิ้น

โดยเฉพาะจากเหล่านักพัฒนาประมาณ 30 ล้านคนทั่วโลกที่เขียนโค้ดขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่าในตอนนี้ชีวิตเราก้าวหน้าได้เร็วเพียงใดทั้งในธุรกิจและสังคม ขึ้นอยู่กับความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาเหล่านี้เฉกเช่นเดียวกัน

แต่ประสิทธิภาพของการแปลงแนวคิดดิบ ๆ เป็นโค้ดและท้ายที่สุดการนำไปยังผู้ใช้ปลายทางนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน 

ในทุกวันนี้ นักพัฒนา ซึ่งเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากมาย กำลังถูกขัดขวางโดยกระบวนการที่ล้าสมัยและการขาดเครื่องมือช่วยเหลือที่ดีมากพอ

การขจัดปัญหาคอขวดเหล่านี้เป็นมากกว่าแค่เรื่องของความสะดวกต่อกลุ่มคนเหล่านี้เพียงเท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความก้าวหน้าของนวัตกรรมระดับโลกเช่นเดียวกัน

งานหนักที่ขวางกั้น Supply Chain ด้านนวัตกรรม 

เราได้เห็นในช่วงการแพร่ระบาดว่าบางสิ่ง เช่น การไม่มีตู้คอนเทนเนอร์สามารถส่งผลกระทบต่อการพาณิชย์และการผลิตไปทั่วโลกได้อย่างไร 

ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก (CR:Pixabay)
ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก (CR:Pixabay)

เฉกเช่นเดียวกัน ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ปัญหาใหญ่ที่รั้งนักพัฒนาไว้ตอนนี้คือปริมาณงานหนักที่คืบคลานเข้ามาในแต่ละวัน ตามที่นักวิจัย Vivek Rau ระบุในงานของเขากับ Google ความเหน็ดเหนื่อยของนักพัฒนาหมายถึงกระบวนการใดๆ ก็ตามที่ มีความซ้ำซาก จำเจ ไร้ซึ่งคุณค่าที่ยั่งยืน และต้องเพิ่มปริมาณงานตามการเติบโตของบริการเหล่านนั้นต ซึ่งงานหนักส่วนใหญ่คืองานด้านธุรการและงานยุ่งอื่น ๆ ที่ควบคู่ไปกับการเขียนซอฟต์แวร์

เนื่องจากซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนมากขึ้น นักพัฒนาต้องทำงานหนักมากเช่นกัน โดยสละเวลาอันมีค่าไปจากงานสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา

ตอนนี้วิศวกรซอฟต์แวร์ใช้เวลาน้อยกว่าครึ่งวันในการเขียนโค้ด โดยประมาณการว่า ตัวเลข นั้นต่ำถึง 20% เวลาที่เหลือของพวกเขาจมอยู่กับงานต่างๆ เช่น การทดสอบและตรวจสอบโค้ด การรอให้งานอื่น ๆ สร้างให้เสร็จก่อน หรืออุปสรรคด้านการดูแลระบบ เช่น การต้องได้รับการอนุมัติเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไปของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโค้ด

ภาวะ overload ของเหล่านักพัฒนาทั่วโลก (CR:Freepik)
ภาวะ overload ของเหล่านักพัฒนาทั่วโลก (CR:Freepik)

สิ่งนี้ส่งผลในหลายระดับ สำหรับนักพัฒนา มันเป็นสิ่งที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งและยับยั้งความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานซึ่งจะนำไปสู่ความเบื่อหน่ายและมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดแคลนของนักพัฒนา ที่หลาย ๆ คนเลิกสนใจอาชีพนี้ 

สำหรับธุรกิจที่แข่งขันกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จะออกมาช้าลงและจำกัดความสามารถในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้แบบทันท่วงที 

การปล่อยให้นักพัฒนาสร้างนวัตกรรมได้เร็วยิ่งขึ้น 

การปลดล็อก Supply Chain ของนวัตกรรมจำเป็นต้องนำประสบการณ์ของนักพัฒนามาเป็นจุดสนใจ ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าทั้งประสบการณ์ของผู้ใช้และแม้แต่ประสบการณ์ของพนักงานได้กลายเป็นจุดสนใจร่วมกันขององค์กรที่ต้องการปรับปรุงผลลัพธ์ให้ดีขึ้น

แต่กลับกันเงื่อนไขที่นักพัฒนาทำงานภายใต้แรงกดดันต่าง ๆ และสิ่งที่พวกเขาถูกขอให้ใช้เวลาอยู่กับมันอย่างยาวนานบางคนใช้เวลาเกือบครึ่งค่อนชีวิตในการเขียนโค้ด แต่สิ่งเหล่านนี้กลับถูกละเลย

แนวคิดของ “DX (Developer Experience)” ได้เกิดขึ้นในแวดวงเทคโนโลยีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และขณะนี้กำลังเริ่มเข้าสู่ชุมชนธุรกิจที่กว้างขึ้น บริษัทจำนวนมากขึ้นตระหนักดีว่าการได้ประโยชน์จากนักพัฒนามากขึ้นหมายถึงการมีพื้นที่ว่างสำหรับความคิดสร้างสรรค์และลดความซับซ้อนของเวิร์กโฟลว์การทำงานลงไป

การใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้กระบวนการที่ซ้ำซากจำเจกลายเป็นให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น การทดสอบ การรักษาความปลอดภัย และการส่งมอบงาน เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำเช่นนั้นได้  

อีกปัญหาที่สำคัญและมีความท้าทายมาก ๆ คือ เรื่องวัฒนธรรมของบริษัทซึ่งหลาย ๆ องค์กรน่าจะประสบพบเจอกัน โดยปรกติแล้วนั้นเหล่านักพัฒนาทำงานได้ดีที่สุดเมื่อได้รับความไว้วางใจและอิสระในการทำงานมากที่สุด 

แต่ผู้จัดการและองค์กรที่มีลำดับชั้นจำนวนมากเกินไปทำให้ทีมนักพัฒนาต้องประสบพบเจอกับความชะงักงันด้วยกระบวนการต่างๆ ที่มีความซับซ้อนหรืองานธุรการที่มากเกินกว่างานสร้างสรรค์ที่แท้จริงที่เป็นนจุดเด่นหลักของเหล่านักพัฒนา 

การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้มีมากกว่าเพียงแค่ประโยชน์ต่อธุรกิจ ในทุกวันนี้นวัตกรรมคลื่นลูกใหม่ก้าวไปไกลกว่าความสะดวกสบายของผู้บริโภค เช่น การสตรีมวีดีโอหรือแอปส่งอาหาร แบตเตอรี่ที่มีพลังมากขึ้นสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรักษาแบบไบโอเมตริกซ์อาจกำจัดมะเร็งบางชนิดได้ และอวัยวะที่พิมพ์ด้วยเทคโนโลยี 3 มิติอาจยืดอายุขัยของคนอีกจำนวนนับไม่ถ้วน

การขจัดงานหนักจากเส้นทางอาชีพของเหล่านักพัฒนา และการปลดล็อก supply chain ของนวัตกรรม จะช่วยให้โลกเราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น เมื่อภาระที่แบกบนไหล่ของเหล่านักพัฒนาทั่วโลกลดลงไปได้ พร้อมกับประสบการณ์ที่ดีขึ้นของพวกเขาเหล่านี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.future-processing.com/blog/how-many-developers-are-there-in-the-world-in-2019/
https://sre.google/sre-book/eliminating-toil/
https://content.techgig.com/career-advice/5-types-of-computer-programming-jobs-to-look-out-for/articleshow/87363459.cms
https://www.fastcompany.com/90771120/why-developer-experience-is-holding-back-the-pace-of-global-innovation
https://codilime.com/blog/developer-experience-what-is-dx-and-why-you-should-care/