Series Review : Mouse กับมนุษย์สายพันธุ์ไซโคพาธ ที่เกิดมาต้องฆ่า

ห่างหายไปจากการรีวิว ซีรีส์นานมาก ๆ เพราะดูเหมือนยังไม่มีซีรีส์ใด ที่ถูกจริต จนต้องดูลุ้นไปทุกตอนเหมือนอย่าง ซีรีส์เรื่องใหม่นี้ ที่นำแสดงโดย อีซึงกิ ตัวผมเองถึงกับต้องยอมสมัครสมาชิกของ Viu Premium เพื่อมาดูเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียวจริง ๆ

‘หากรู้ว่าทารกในครรภ์จะเติบโตขึ้นมาเป็นฆาตกรโรคจิต คุณจะยังให้กำเนิดเด็กคนนั้นอยู่หรือเปล่า’ คำถามสำคัญจากซีรีส์ Mouse ต้องบอกว่าเป็นพล็อตเรื่องที่แหวกแนว ที่แทบจะไม่เคยเจอมาก่อน และเรื่องราวการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ

และที่สำคัญมันมีเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก เรื่องของงานวิจัยที่ต้องการฆ่าตัดตอนเด็กไม่ให้เติบโตมากลายเป็นคนชั่วร้าย

เด็กที่มีพันธุกรรมปีศาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นฆาตกรไซโคพาธ ซึ่งคนเหล่านี้จะไม่มีความรัก มีแต่ความต้องการแพร่พันธุ์ แถมลูกของเขาก็จะเกิดมามีพันธุกรรมปีศาจนี่ด้วย เรียกได้ว่าแค่เปิดเรื่องมา ก็ทำให้ต้องลุ้นตามต่อแทบจะทันที รวมถึงการผูกโยงกับเรื่องของศาสนาได้อย่างน่าสนใจอีกด้วย

มันเป็นการดำเนินเรื่องที่เรียกได้ว่า ลุ้นแทบจะทุกตอนเลยก็ว่าได้ มีความซับซ้อนของตัวละคร ผูกปมต่อเนื่องกัน จนแทบจะไปถึงตอนจบของซีรีส์ ซึ่งหากไม่ได้ฟัง spoil มาก่อน คิดว่าทุกคนต้องอึ้งกับการเฉลยเรื่องราวทั้งหมดของตัวละครในซีรีส์ชุดนี้

ก่อนที่จะมาดู ก็ไม่ได้ตั้งความหวังกับเรื่องนี้ไว้เท่าไหร่ ได้เห็นกระแสมาพักใหญ่แล้วกับ ซีรีส์ เรื่องนี้ จนมาเจอ พี่หนุ่ม กรรชัย แนะนำให้ดู จึงต้องรีบดูทันที เพราะขนาดคนที่งานยุ่งมาก อย่างพี่หนุ่มยังการันตีมาขนาดนี้ จึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ปัญหาใหญ่ของซีรีส์เรื่องนี้ สำหรับคนที่จะดูก็คือ ตัวละคร มีเยอะมาก ๆ และเป็นภาษาเกาหลี บางครั้งก็ต้องมาย้อนดูว่า เค้าพูดถึงใครกัน ต้องตั้งสติให้ดีในการดู เพราะทุกตัวละครในเรื่องนั้นมีปมผูกเรื่องกันแทบจะทั้งหมดไปจนถึงตอนจบของซีรีส์ ใน ep20

ต้องบอกว่าซีรีส์เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งงานในระดับ master pieces จากเกาหลีเลยก็ว่าได้ ทั้งคุณภาพนักแสดง บทของเรื่องที่เล่าได้อย่างสนุกมาก ๆ มีให้ลุ้นกันทุกตอน มีพลอตที่พลิกไปพลิกมา หลายตลบมาก ๆ จนคุณจะเดาไม่ออกแน่ ๆ ว่าตอนจบของเรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร เรียกได้ว่าแกงคนดูกันแทบจะทุกตอนเลย

ผมเองก็ไม่เคยเจอประสบการณ์การดูซีรีส์แบบนี้มาก่อน จากเรื่องที่ว่าต้องอึ้งแล้วในบางตอน พอตัดไปตอนต่อไป ยังมีให้อึ้งกันต่อเนื่อง ต้องชมคนเขียนบทมาก ๆ แม้จะยาวถึง 20 ตอน แต่ก็ดูต่อเนื่องได้ลุ้นไปจนจบ จนแทบไม่อยากลุกไปไหนเลย

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งซีรีส์ ที่คุณผู้อ่านไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง ส่วนตัวดูรอบแรกแล้วรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนจะยังไม่เข้าใจในบางจุด มีโอกาสที่ต้องมาดูรอบสองอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจของเรื่องทั้งหมด ผมแนะนำเลยครับถ้าคุณผู้อ่านมีเวลา เรื่องนี้ ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่งครับผม

Geek Story EP91 : จากความน่าเบื่อในการจองตั๋วเครื่องบิน สู่ Booking Platform อย่าง Traveloka

ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักท่องเที่ยว นักธุรกิจหรือ ครอบครัว การเดินทางเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของทุกคน ดังนั้นจึงค่อนข้างยุ่งยากเมื่อเรามีปัญหาในการจองเที่ยวบินหรือเลือกห้องพักในโรงแรมที่ดี 

ในปัจจุบัน บริษัท ต่างๆได้มีแอพและเว็บไซต์ที่ช่วยในการจองสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เหล่านี้มากมาย ซึ่ง บริษัทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความคิดดังกล่าวนี้ ก็ คือ Traveloka ซึ่งได้เริ่มต้นในปี 2012 แต่มีน้อยคนนักที่รู้ว่า Traveloka กำลังจะปฏิวัติวงการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3wqs7Mx

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/GSE5Egg74gI

จาก ไซโคพาธ ใน ซีรี่ย์ สู่วิทยาศาสตร์การทำนายตั้งแต่แรกเกิดว่าใครจะประสบความสำเร็จทางวิชาการ

หลาย ๆ ท่านน่าจะได้รับชม ซีรีย์ ดังที่กำลังเป็นกระแสในตอนนี้อย่าง Mouse ที่ว่ากันถึงเรื่องราวของฆาตกรโรคจิต ที่ป่วยเป็นโรค ไซโคพาธ ที่ว่ากันว่าได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

แล้วคุณจะตัดสินใจอย่างไร ถ้าลูกของคุณมี ยีนไซโคพาธ นั่นคือคำถามที่เกิดขึ้นในซีรีย์ชื่อดังอย่าง Mouse แต่การศึกษาใหม่จากทีมงานวิจัยระหว่างประเทศ ได้อ้างว่า วิทยาศาสตร์สามารถทำนายได้ว่า เด็ก ๆ คนใดจะประสบความสำเร็จในด้านวิชาการตั้งแต่แรกเกิด

ทีมวิจัยค้นพบว่าความแตกต่างทางพันธุกรรมและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปรกครองเป็นกุญแจที่สำคัญในการสร้างความสำเร็จในอนาคตของเด็ก ที่น่าสนใจคือ แค่เพียงพ่อแม่ มียีนที่ดี ไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด แต่การมีพ่อแม่ที่มีการศึกษาที่ดีและความมั่งคั่ง มีผลกระทบต่ออนาคตการศึกษาเด็กมากกว่า

การศึกษาซึ่งได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเด็ก 5,000 คนที่เกิดในสหราชอาณาจักรระหว่างปี 1994-1996 พบว่าในบรรดาเด็กที่เข้ามหาวิทยาลัย เด็กนักเรียนทีมีภูมิหลังที่ยากจน ประมาณ 47% มีปัญหาในเรื่องการศึกษา  เปรียบเทียบกับ 62% ของเด็กที่มีผลการเรียนที่ดี จะมาจากกลุ่มผู้ปกครองที่มีฐานะร่ำรวย

และกลุ่มสุดท้าย คือเด็กที่ทำผลการเรียนได้ดีที่สุด มีถึง 77% ที่มีทั้งพ่อแม่ที่ร่ำรวย มีการศึกษาดีและมียีนที่ดีสำหรับเรื่องวิชาการ (เช่นมีพ่อแม่ที่หัวดีอยู่แล้ว)

สำหรับการวิเคราะห์ของพวกเขานักวิจัยได้พิจารณาผลการทดสอบในขั้นตอนสำคัญของการศึกษาของเด็ก เชื่อมโยงกับข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่การงานและการศึกษาของพ่อแม่รวมถึงการให้คะแนน polygenic ทั่วทั้งจีโนมเพื่อดูผลของความแตกต่างทางพันธุกรรมที่สืบทอดมา

ศาสตราจารย์โซฟี ฟอนสตัมม์ ผู้เขียนนำการศึกษาจากมหาวิทยาลัยยอร์กแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่าการศึกษาของพวกเขาศึกษา “ผลกระทบของทั้งทางธรรมชาติและการเลี้ยงดู”

เธอตั้งข้อสังเกตว่างานวิจัยของพวกเขายังชี้ให้เห็นว่าการเติบโตมาพร้อมกับสิทธิพิเศษอาจมี “ผลการป้องกัน” ในทางลบกับเด็ก ๆ ในด้านวิชาการ โดยเสริมว่า “การมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ทำให้คุณมีความโน้มเอียงในการศึกษามากขึ้นจะทำให้เด็กที่มาจากภูมิหลังที่ไม่ดีนั้นมีแนวโน้มที่จะไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังน้อยกว่าเด็กที่มีภูมิหลังทางด้านครอบครัวที่ดี”

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การมีภูมิหลังที่ดี มีฐานะหน้าที่การงานของพ่อแม่ที่ดีนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญมากกว่า การที่เด็กมีภูมิหลังที่แย่หรือพ่อแม่อาจจะยากจน แต่มีหัวดี

ศาสตราจารย์ฟอนสตัมม์ยังชี้ให้เห็นว่าในท้ายที่สุดการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็ก ๆ สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างไม่เท่าเทียมกัน “คุณมาจากไหนมีผลอย่างมากต่อการเรียนในชั้นมหาวิทยาลัย” เธอกล่าว

นักวิจัยซึ่งได้รับการยกย่องจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนของสหราชอาณาจักร และคิงส์คอลเลจลอนดอน รวมถึงมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกในสหรัฐอเมริกา หวังว่าจะใช้การศึกษานี้เพื่อระบุเด็กที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะได้รับการศึกษาที่ไม่ดีได้ในอนาคตได้นั่นเองครับผม

References : https://www.york.ac.uk/news-and-events/news/2019/research/genesandfamilyarebiggestpredictorofacademicsuccessstudysuggests/
https://digest.bps.org.uk/2016/09/12/its-now-possible-in-theory-to-predict-life-success-from-a-genetic-test-at-birth/
https://phys.org/news/2019-12-genes-family-biggest-predictor-academic.html
https://www.tagar.id/tagarphoto/137825/

Geek Daily EP79 : GPT-3 กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ อนาคต Search Engine

นักวิจัย AI ของ Google ชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือค้นหารุ่นต่อไปอาจเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ดีที่สุดในโลกทั้งหมด โดยระบบการดึงข้อมูลชั้นนำในปัจจุบันให้กลายเป็น AI ขนาดใหญ่

ในเอกสารบนเซิร์ฟเวอร์ arXiv preprint ทีมงานแนะนำว่าเทคโนโลยีที่จะทำให้อินเทอร์เน็ตสามารถค้นหาได้มากยิ่งขึ้นอยู่ที่ปลายนิ้วของเรา การใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ อัลกอริทึม Machine Learning เช่น GPT-3 ของ OpenAI สามารถที่จะแทนที่ระบบดัชนีของวันนี้ที่มีอยู่ได้ทั้งหมดได้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3fpuEQd

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/a1mukuG0pbI

Credit Image : https://searchengineland.com/

เหตุใดความสำเร็จจึงขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพมากกว่าสติปัญญา

มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมาด้วยมันสมองระดับอัจฉริยะแบบไอน์สไตน์ หรือ มีความมั่นใจในตัวเองแบบสุดขั้ว หลายคนคิดว่าตัวเองเกิดมาด้วยการที่มีมันสมองที่ไม่ดีพอ และสงสัยว่าพวกเขาจะบรรลุความสำเร็จในชีวิตได้หรือไม่? 

ซึ่งจากงานวิจัยใหม่ที่น่าสนใจซึ่งดำเนินการโดย James Heckman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลและเพื่อนร่วมงานของเขาได้กล่าวว่า IQ ไม่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จเลย

เมื่อบุคลิกภาพสำคัญกว่าสติปัญญา

นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนไอคิว, มาตรฐานผลการทดสอบ, เกรด และประเมินบุคลิกภาพผู้คนหลายพันคนในทั้งสหราชอาณาจักร อเมริกา และเนเธอร์แลนด์  จากนั้นพวกเขาคำนวณว่าแต่ละปัจจัยเหล่านี้มีผลอย่างไรต่อรายได้ในอนาคต

มันก็ได้เกิดคำถามที่ว่าความสำเร็จในอนาคตขึ้นอยู่กับ IQ ของเรากี่เปอร์เซ็นต์กันแน่? ต้องบอกว่า “ความสำเร็จ” ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ นอกจากเรื่องรายได้เพียงอย่างเดียว เช่น ครอบครัว ความสมดุลในการทำงาน / ชีวิต เป็นต้น

ซึ่งจากการวิจัยของพวกเขาได้ผลสรุปว่า มีเพียงแค่ 1 หรือ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ความสำเร็จของชีวิตเรานั้นมาจากเรื่องของ IQ เพียงอย่างเดียว

ในแง่ของคนธรรมดาคะแนน IQ เพียงอย่างเดียว แทบจะไม่สำคัญเลย เมื่อพูดถึงความสำเร็จ แล้วลักษณะใดสำคัญกว่ากัน ?

แน่นอนว่าการมีผลการเรียนที่เกรดดีกว่ามันก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นผู้ที่มีรายได้สูงในอนาคต แต่จากข้อมูลของทีมงานวิจัยนั้น สรุปว่าลักษณะนิสัย เช่น ความขยันขันแข็ง หรือ การเปิดกว้าง เปิดรับมุมมองใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของลักษณะทางบุคลิกภาพนั้นเป็นสิ่งที่ทำนายอนาคตของเราได้มากกว่า

 “ผลการเรียน หรือ เกรด ไม่ได้สะท้อนถึงความฉลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่ Heckman เรียกว่า ‘ทักษะที่ไม่รับรู้’ เช่น ความพากเพียร นิสัยการเรียนที่ดี และความสามารถในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ๆ ต่อการประสบความสำเร็จในอนาคต

คุณสามารถเปลี่ยนบุคลิกของคุณได้

นั่นเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่สนใจในการพัฒนาตนเองเพราะในขณะที่เรื่องของ IQ นั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยาก แต่เรื่องของบุคลิกภาพ คุณสามารถที่จะแก้ไขมันได้ง่ายกว่ามาก 

งานวิจัยอื่น ๆ จาก Heckman แสดงให้เห็นว่าการพยายามปรับปรุงในช่วงวัยเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาลักษณะบุคลิกภาพที่เหมาะสมสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประโยชน์ต่ออนาคตที่จะประสบความสำเร็จของเด็กมากกว่าการพยายามพัฒนาเพียงแค่เรื่อง IQ ของเด็กเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอื่น ๆ ก็มองว่าบุคลิกภาพไม่ได้เป็นเรื่องของโชคชะตา ในความเป็นจริงมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่าลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากสถานการณ์หรือความสนใจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา

เพราะฉะนั้น ให้หยุดถามตัวเองว่า “ฉันมีสมองหรือสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จหรือไม่” และเริ่มถามตัวเองว่า “ฉันมีบุคลิกภาพแบบใด” แทน และอย่าเพิ่งท้อใจเกินไป หากเราไม่ได้มีสติปัญญาที่ฉลาดเหมือนคนอื่น ๆ  เพราะมันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของเราให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จได้ในอนาคตนั่นเองครับผม

References : https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2016-12-22/if-you-re-so-smart-why-aren-t-you-rich
https://www.inc.com/jessica-stillman/this-is-the-biggest-predictor-of-career-success.html
http://www.nber.org/papers/w20749
https://www.thecut.com/2016/12/success-depends-on-your-personality-more-than-iq.html
https://www.aiche.org/chenected/2019/04/redefining-career-success